สองสำนักข่าวจีน ไชน่าเดลี่ และซินหัว ย้ำยืนยันจีนมีโครงการซื้อข้าวจากประเทศไทยปีละ ๑ ล้านตันเป็นเวลา ๕ ปี
ภาพประกอบของสำนักข่าวซินหัว แสดงถึงชาวนาจีนในมณฑลกวนหยุน จังหวัดเจียงสู กำลังเก็บเกี่ยวข้าวเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม |
หากแต่ความเป็นจริงปรากฏว่า ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ สำนักข่าวซินหัวนั้นได้นำเสนอข่าวเรื่องทางการจีนตกลงซื้อข้าวไทยปีละ ๑ ล้านตัน เป็นเวลา ๕ ปีโดยเป็นการรายงานซ้ำจากข่าวของสำนักข่าวไชน่าเดลี่ (China Daily USA) อันเป็นสำนักข่าวทางการของจีนเช่นกัน
ผู้อ่านไทยอีนิวส์ท่านหนึ่ง (ซึ่งใช้นามว่า Prasong Suwanpanich -Red USA) ได้ กรุณาแนะนำข่าวเกี่ยวกับโครงการซื้อข้าวไทยของสำนักข่าวจีนทั้งสอง ไทยอีนิวส์เห็นว่าสมควรถ่ายทอดให้ผู้บริโภคข่าวชาวไทยได้รับทราบข้อเท็จจริง อย่างครบถ้วน จึงมอบหมายให้ ระยิบ เผ่ามโน ทำการถอดความข่าวของไชน่าเดลี่มานำเสนอดังนี้
ประเทศเราเริ่มเพิ่มจำนวนนำเข้าข้าว
โดย
ซอง นาน (ไชน่าเดลี่ ยูเอสเอ) อัปเดท ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๖
รัฐบาลคาดหมายว่าจะผ่อนผันข้อจำกัดในการนำเข้าข้าว
ในความพยายามเพิ่มปริมาณข้าวสำหรับการบริโภคภายในประเทศ
ผู้เชี่ยวชาญในกิจการด้านนี้กล่าว
ภาพประกอบข่าวไชน่าเดลี่ จากงานไชน่า-อาเซียนเอ็กซ์โป ในนานหนิง เขตปกครองพิเศษกวงสีซวง |
ติง
เช็งจุน นักวิจัยอาวุโสประจำสถาบันบริหารจัดการเรื่องข้าวแห่งชาติกล่าวว่า ผลกระทบจากภาวะผิดปกติของดินฟ้าอากาศ
และอุทกภัยในพื้นที่ปลูกข้าวของจีน เช่นฮูนาน เจียงสี และเสเจียง
เป็นข้อจำกัดต่อปริมาณการผลิตข้าวของประเทศ
และทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวจากภายนอก
ระหว่างการเยือนกรุงเทพฯ
ในเดือนนี้ของนายกรัฐมนตรีหลี เค่อเฉียง
จีนตกลงที่จะเพิ่มปริมาณการนำเข้าข้าวจากประเทศไทยในช่วง ๕ ปีข้างหน้าเป็น ๑
ล้านเมตริกตันต่อปี
“หลังจากความพยายามนับสิบปีที่จะเพิ่มปริมาณการผลิต
อุตสาหกรรมข้าวของจีนได้พบกับภาวะด้อยประสิทธิภาพในการแข่งขัน” นายติงกล่าว “รัฐบาลตระหนักว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวของประเทศต้องการพักฟื้นจากการโหมใส่ปุ๋ยเคมี
ยาฆ่าแมลง และอาหารพืชอย่างหนักหน่วง”
ปริมาณการผลิตข้าวของจีนเป็นจำนวน
๒๖ เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตทั่วโลก
เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ
ในเอเซีย จีนใช้นโยบายกระตุ้นการปลูกข้าวในประเทศด้วยการประกันราคาซื้อขั้นต่ำ
นับแต่ที่มีการเพิ่มปริมาณมาเกือบทศวรรษ
ราคาข้าวของจีนขึ้นสูงมากกว่าราคาเฉลี่ยในตลาดนานาชาติ
ศูนย์ข้อมูลแห่งชาติเกี่ยวกับข้าว
และน้ำมันของจีนเผยด้วยว่าผลผลิตต่อพื้นที่ ๑ เฮคตาร์ลดลงไปเช่นกัน
ปีนี้ปริมาณการผลิตข้าวต่อเฮคตาร์ของจีนลดลง ๑.๗ เปอร์เซ็นต์ ไปอยู่ที่ ๖.๗ ตัน
อย่างไรก็ดี ผลผลิตข้าวโพด และข้าวสาลีต่อเฮคตาร์กลับเพิ่มขึ้น ๒.๖ และ ๑.๖
เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
“การพัฒนาอุสาหกรรม และการขยายชุมชนเมืองอย่างรวดเร็ว
ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวจำนวนมากเปลี่ยนไปเป็นแหล่งโรงงานประกอบสินค้าอุตสาหกรรม
และโครงการถิ่นที่อยู่อาศัยในเมือง
การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นผลให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวของจีนย้ายศูนย์จากภาคใต้ไปสู่ภาคเหนือ” เว็น ทีจัน คณบดีของคณะเศรษฐกิจการเกษตร และการพัฒนาชนบท
แห่งมหาวิทยาลัยเร็นมินในกรุงปักกิ่งกล่าว
เว็นยังบอกอีกว่า
การจัดการด้านโลจิสติกส์เรื่องข้าวที่ล้าสมัยมีส่วนทำให้ประสิทธิภาพในแบบแผนการผลิตข้าวของจีนด้อยลงไป
ท้องที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็อยู่ห่างไกลจากจังหวัดที่เป็นพื้นที่ผู้บริโภค
ซึ่งระบบโลจิสติกส์ของจีนยังไม่พร้อมสำหรับการแก้ปัญหานี้
ยก
ตัวอย่างเช่น
ต้นทุนการขนส่งข้าวจากจังหวัดไฮลองเจียงไปสู่ท้องที่ผู้บริโภคหลักอย่าง
จังหวัดเซเจียง
และเจียงสู ปัจจุบันมีมูลค่าเป็นจำนวน ๓๐ เปอร์เซ็นต์ของราคาขายปลีกข้าว
ตามข้อมูลที่มาจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือในฮาร์บิน
นี่เป็นผลให้เกิดความกดดันต่อบริษัทที่จัดการเรื่องโลจิสติกส์ในอันที่จะ
อำนวยปริมาณอุปทานตอบสนองความต้องการบริโภคในช่วงที่อุปสงค์สูงสุด
เปิดช่องให้พ่อค้าข้าวในทางตอนใต้ของจีนไปหาซื้อข้าวเพิ่มจากประเทศเพื่อน
บ้าน
เช่นกัมพูชา พม่า และเวียตนาม
ติง
ลิซิม นักวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรของจีนในกรุงปักกิ่งกล่าวว่า
การเพิ่มปริมาณนำเข้าข้าวเป็นเพราะความแตกต่างอย่างมากระหว่างราคาข้าวภายใน
และต่างประเทศ
เขาเพิ่ม
เติมว่าปริมาณการนำเข้าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปถ้าหากราคาข้าวในประเทศ
ขึ้นต่อเนื่องไปจนกระทั่งเทศกาลตรุษจีนในปลายเดือนมกราคมปีหน้า
(๒๕๕๗)
อย่างไรก็ดี
ราคาข้าวในประเทศนั้นสามารถควบคุมได้ด้วยการนำเข้าจากต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น