แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: กวีของนายผี และการเมืองของอัศนี พลจันทร

ที่มา ประชาไท

 Wed, 2013-10-02 15:07



วิดีโอนำเสนอการอภิปรายของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ภาคประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานเสวนา "กวีของนายผี และการเมืองของอัศนี พลจันทร" จัด ในวาระครบรอบชาตกาล 95 ปีของนายผี อัศนี พลจันทร พร้อมทั้งเปิดตัวโครงการ "อ่านนายผี" โดยสำนักพิมพ์อ่าน ร่วมกับ โครงการปริญญาโท ภาควิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยงานเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 56 ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในการเสวนา "กวีของนายผี และการเมืองของอัศนี พลจันทร เมื่อ 18 ก.ย. 56 ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
000
ตอนหนึ่งสมศักดิ์อภิปรายว่า นายผีได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ราวปี พ.ศ. 2491-2493 และ ปี พ.ศ. 2495-2496 เป็นช่วงที่นายผีทำงานพีคที่สุด คือเรื่อง "ความเปลี่ยนแปลง" ขณะที่เรื่อง "อีศาน" ที่ว่าดังที่สุดนั้นเขากลับไม่เห็นว่าเป็นงานที่พีค เพราะอ่านยังไงก็ไม่ลงรอย ยังด่านักการเมืองซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด ในขณะที่วิธีคิดเขาเปลี่ยนไปแล้ว แต่หากอ่านเรื่องความเปลี่ยนแปลง นายผีอธิบายสภาวะ  "กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินา" ได้ดี
รุ่นนายผี นักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) มาเป็น พคท. เยอะมากหรือไม่ก็เป็นแนวร่วม ตอนที่ พคท. ตัดสินใจสู้ด้วยอาวุธ ส่วนหนึ่งเพราะสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปราบปรามอย่างหนักด้วย แต่มันทำให้สถานการณ์ของปัญญาชนฝ่ายซ้ายเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง
นายผีช่วงพีคนั้นไปเมืองจีน ไปศึกษาลัทธิมาร์กซ์-เลนิน น่าเสียดายมากจาก พ.ศ.2495-2525 หรือช่วง 30 ปีนี้แทบไม่เห็นงานนายผีเลย นายผีคงมองเห็นตัวเขาเป็นนักปฏิวัติมากกว่ากวี  เอาเข้าจริงนายผียุ่งการเมืองในขบวนปฏิวัติมากกว่าจิตร ภูมิศักดิ์เยอะ และผลจากการเข้าไปยุ่งนี้ทำให้การต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ในพรรคมีผลกำหนดงานของเขา ในช่วงความขัดแย้งแนวทางของพรรค ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เสนอว่าต่อสู้ในชนบทไม่ได้ต้องต่อสู้ทางการเมือง หลายคนเห็นด้วยกับประเสริฐรวมทั้งนายผีด้วย แต่สุดท้าย พคท.ก็หันไปสู้ด้วยอาวุธ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีเอกสารของการโต้เถียงของกลุ่มฝ่ายซ้ายในเรื่องนี้แล้ว
เมื่อนายผีกลับมาในปี พ.ศ. 2500 ปี พ.ศ. 2504 ได้รับเลือกเป็นกรรมการกลางในสมัขชา 5 ของ พคท. จากตรงนี้ถึง พ.ศ. 2520 นายผีมีบทบาทสูง อุดม ศรีสุวรรณ บอกว่านายผีไปเข้ากับพวกที่เชื่อในการปฏิวัติวัฒนธรรมและต้องการโค่นศูนย์ การนำ หนังสือ “ดาวเหนือ” ออกมา 11 ฉบับแล้วหายไป พอเกิดกรณีพิพาทนายผีเป็น บก. ของหนังสือพิมพ์เล่มใหม่ชื่อ “ชาวคอมมิวนิสต์”  โดยเปิดฉากวิจารณ์สหายนำอย่างเผ็ดร้อน สรุปแล้วนายผีมีบทบาทเยอะมากในการผลิตเอกสารในการสู้กันในป่า แต่เราไม่เหลือหลักฐานอะไร ซึ่งการสู้กันนั้นมีผลสำคัญมากกับชีวิตเขา สุดท้ายกลุ่มนี้แพ้เพราะมีลักษณะซ้ายจัด พอแพ้ก็ไปจีน เวียดนาม แล้วไปลงเอยที่ลาว อย่างไรก็ตาม งานการเมืองนายผีมีลักษณะซ้ายมาก แต่หากเป็นเรื่องวรรณกรรมงานจะมีลักษณะผ่อนปรนมากกว่า
“เราจะเห็นว่า เรายังรู้จักนายผีน้อยในแง่งานของเขาจริงๆ แม้กระทั่งงานวรรณกรรมในป่า บทความในป่า 30 ปี หลังจาก พ.ศ. 2495 เราไม่เหลือเลยทั้งที่เขามีบทบาทสูง นายผีเป็นตัวอย่างให้เห็นเลยว่า พอมีปัญหาเรื่องการเมืองแล้วทำงานไม่ได้” สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลกล่าว
สำหรับรายละเอียดของการเสวนาสามารถติดตามได้ ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น