เรื่องราวของคนงานเก็บเบอร์รี่ กับการเปิดโปงขบวนการค้าแรงงานข้ามชาติ
คนงานเก็บเบอร์รี่หลายร้อยคนที่ถูกหลอกไปเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนแต่ยังไม่ได้
เงิน
การต่อสู้ที่ประเทศไทย
เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน
และสถานทูตไทยช่วยประสานเรื่องการเปลี่ยนตั๋ววันกลับเมืองไทยให้พวกคนงานที่
ประท้วงทั้ง 240 คน ให้เดินทางกลับประเทศไทยในระหว่างวันที่ 28 กันยายน - 1
ตุลาคม 2556
เมื่อมาถึงเมืองไทย พวกเขาได้ไปยื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี
ทำเรื่องร้องทุกข์ต่อกระทรวงแรงงาน และเข้าแจ้งความข้อหาค้ามนุษย์กับบริษัท
M (ประชาไทขอสงวนชื่อเต็มของบริษัท) กับ
DSI ... และในระหว่างการสอบสวนของ DSI ยังคงดำเนินอยู่จนถึงขณะนี้
กระทรวงแรงงานได้แต่งตั้งทนายความของกระทรวง 3 คน
ที่ได้นำเรื่องฟ้องร้องยังศาลแรงงานภาค 3 จังหวัดนครราชสีมา
ในวงเงินค่าจ้างค้างจ่ายและค่าเสียหายเท่าที่เห็นในเอกสารของคนงาน 192 คน
รวมกันเป็นเงิน 47.7 ล้านบาท
ทนายความของกระทรวงแรงงานไม่ได้คำนวณค่าจ้างทำงานล่วงเวลาและการทำงาน
ในวันหยุดไปในคดีเรียกร้องด้วย แต่กระนั้น บริษัท M
ก็ยังไม่สนใจที่จะเจรจากับคนงาน และจนบัดนี้
การไกล่เกลี่ยและเจรจากันมาตลอดที่ศาล ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม และ 20
ธันวาคม 2556 และในปี 2557 พวกเขาต้องขึ้นศาลมาแล้ว 3 นัด ในวันที่ 13
มกราคม, 20 มกราคม และ 12 กุมภาพันธ์ 2557 ก็ยังไม่มีความคืบหน้า
และถูกขู่กลายๆ ว่า "สู้ไปก็ไม่ชนะ"
ก็ยิ่งทำให้คนงานไม่มีความวางใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าจะได้รับความยุติธรรม
และบริษัท M ก็จะยังคงได้รับอนุญาตให้หลอกลวงเกษตรกรไทย
อีกหลายร้อยคนให้ไปเผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกับพวกเขาอีกแล้ว ในฤดูกาลปี 2014
ค่าเสียหายของคนงานเก็บเบอร์รี่
ทนายของกระทรวงแรงงาน
คำนวณค่าจ้างค้างจ่ายและค่าเสียหายของคนงานที่ฟ้องร้องว่าเป็นเงินคนละ
248,952 บาท โดยเฉลี่ยค่าแรงวันละ 3,036 บาท จากการทำงานตลอดสัญญาจ้าง
ทั้งนี้ทนายของกระทรวงแรงงานไม่ได้คำนวณค่าทำงานล่วงเวลา
และค่าทำงานในวันหยุด ระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม – 9 ตุลาคม 2556
(ซึ่งมีระบุในสัญญาข้อ 2 และในเอกสาร)
ผู้เขียนจึงขอคำนวณในส่วนนี้เพิ่มเติมมา ณ ที่นี้
ค่าทำงานในวันหยุด 8 วันๆ ละ 12 ชั่วโมง คิดเป็นค่าแรงวันละ 9,108 บาท = 72,864 บาท
ค่าทำงานล่วงเวลา วันละ 4 ชั่วโมง x 1.5 เท่า = 4,554 บาท x 42 วัน = 191,268 บาท
รวมรายได้ที่ยังไม่ได้คำนวณ = 72,864 + 191,268 = 264,132 บาท
รวมค่าจ้างถ้าคำนวณตามกฎหมายทั้งสิ้นจะเป็นเงินคนละ (248,952 +264,132) = 513,084 บาท
เมื่อรวมค่าแรงส่วนนี้ ราคาค่าเสียหายของคนงานเก็บเบอร์รี่ M ทั้ง 500
คน จะคิดเป็นตัวเงินสูงถึง 256,542,000 ล้านบาท (สองร้อยห้าสิบหกล้าน
ห้าแสนสี่หมื่นสองพันบาท) แต่ตามคำบอกเล่าของสมศักดิ์ จนถึงขณะนี้
มีคนงานเพียง 10 กว่าคนเท่านั้นที่ได้รับเงินค่าผลไม้
และเป็นเงินเพียงคนละไม่กี่หมื่นบาท ... ในขณะที่คนงานส่วนใหญ่ ... ประมาณ
300 คน ยังคงมีคดีฟ้องร้องกันทั้งที่ DSI และที่ศาล ... และคนงานอื่น
ที่ไม่ได้ร้องเรียนต่างก็ถูกบริษัทเกลี่ยกล่อมว่า
พวกเขายังติดหนี้เบอร์รี่ค้างคากับบริษัท
และขอให้เดินทางไปกับบริษัทเพื่อเก็บเบอร์รี่ใช้หนี้ในฤดูกาลปี 2014
เพื่อใช้หนี้และลองเสี่ยงอีกครั้งหนึ่ง
ตัวเลข 513,084 บาท คือค่าแรงจริง ถ้าต้องจ่ายตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานของประเทศสวีเดน ที่ไม่เคยมีคนงานเก็บเบอร์รี่ชาวไทยที่เซ็นสัญญาจ้างงาน ได้รับเงินเต็มตามกรอบกฎหมายอย่างแท้จริงแม้แต่คนเดียว นับตั้งแต่รัฐบาลสวีเดนออกกฎให้มีการทำสัญญาจ้างแรงงานเก็บเบอร์รี่ เมื่อปี 2554
อุตสาหกรรมเบอร์รี่ บริษัทจัดหาคนงานเบอร์รี่ สหภาพแรงงานคอมมูนอล
สภาแรงงานสวีเดน รัฐบาลสวีเดน และรัฐบาลไทย ต่างก็รู้ดีว่า
ตัวเลขค่าจ้างจริง ถ้าคำนวนตามกฎหมายเช่นนี้
คือค่าจ้างจริงของแรงงานในประเทศสวีเดน แต่เพราะไม่ต้องการจ่ายค่าจ้างจริง
และเพื่ออุ้มอุตสาหกรรมเบอร์รี่ ...ทั้งสองรัฐบาล
จึงยอมประนีประนอมกับหลักการทางกฎหมาย และปล่อยให้บริษัทค้าแรงงานไทย
ที่ขึ้นชื่อเรื่องการหลอกลวงและแสวงหากำไรจากคนอีสาน
ทำหน้าที่จัดส่งแรงงานทาสไปป้อนให้กับอุตสาหกรรมเบอร์รี่ที่สวีเดนกันมาต่อ
เนื่องยาวนานนับสิบปี
แม้ว่าคนงานหลายร้อยคนจะประท้วงทุกปี และมีคนงานใหม่ที่ไม่เคยไปมาก่อนถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อและไปปีละถึง 60% หรือ 6,000 กว่าคน ของจำนวนคนงานทั้งหมด คนงานที่เสียหายต่างเรียกร้องให้ปิดเส้นทางค้าทาสนี่เสียที แต่ก็ไม่มีใครยอมฟังเสียงของพวกเขา และพากันอ้างว่ามีคนงานกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ - ซึ่งก็คือคนงานที่ได้เหรียญทองแคมป์ละไม่กี่คนนั่นล่ะ!
ทั้งนี้ สหภาพแรงงานที่สวีเดนเองก็ควรจะรู้ดีในเรื่องนี้
แต่ก็กลับประนีประนอมกฎหมายคุ้มครองแรงงาน -
เพราะว่าไร้ศักยภาพในการแก้ไขปัญหา
หรือเพื่ออุ้มอุตสาหกรรมเบอร์รี่ในประเทศบ้านเกิดกระนั้นหรือ?
ว. เจ้าของตัวจริงของบริษัท M
ว. (ประชาไทขอสงวนนาม) ของตัว
จริงของบริษัท M เป็นเจ้าของบริษัทจัดหางานอื่นมาก่อน
แต่เมื่อถูกคดีฟ้องร้องก็เปิดบริษัทใหม่ และหนีคดีมาได้เรื่อยๆ มากว่าสิบปี
... นอกจากเป็นหนึ่งในต้นตอและอุปสรรคของการจัดส่งแรงงานแล้ว ว.
ยังอาจหาญนำบทเรียนการขูดรีดแรงงานอีสานไปเขียนวิทยานิพนธ์จนได้รับปริญญาโท
คนงานที่ถูก ว. และพรรคพวกค้าไปทำงานที่ไต้หวันด้วยค่านายหน้ามหาโหด
180,000 บาทต่อคน และดอกเบี้ยเงินกู้ 5% ต่อเดือน ตั้งแต่ปี 2543
หลายร้อยคน ยังคงมีคดีความฟ้องร้องกับ ว.
เพื่อเรียกร้องโฉนดที่ดินที่เธอยึดไว้คืนมา
รวมทั้งเรียกคืนเงินรายได้ที่ส่งมาจากไตัหวันที่ถูกยักยอกเอาไว้ด้วยกลโกง
ต่างๆ นานา
แม้ว่า DSI จะส่งทีมงานสอบสวนเรื่องของ ว.
และพรรคพวกมาได้หลายปีแล้วก็ตาม
และแม้ว่าพวกมาเฟียกลุ่มนี้จะมีหมายจับรวมกันเป็นสิบใบ
และแม้ว่าจะมีผู้เสียหายร้้องทุกข์รวมกันนับพันคน DSI
ก็ยังไม่สามารถจัดการกับ ว. และแก็งค์ได้
ยังคงปล่อยให้เธอและพรรคพวกทำธุรกิจค้าแรงงานไปต่างประเทศ
โดยเฉพาะคนงานเก็บเบอร์รี่อยู่ได้จนถึงบัดนี้
ว. เป็นหนึ่งในตัวอย่างนักค้าแรงงานอีสาน
ที่จำต้องขอเอ่ยชื่อถึงอย่างตรงไปตรงมา
เพราะเธอและครอบครัวได้สร้างความทุกข์ยากให้กับคนงานอีสานหลายร้อย
(หรืออาจจะหลายพันครอบครัว) มามากมายมหาศาลและมาอย่างยาวนานกว่าสิบปี
และแม้ว่า "จะมีหมายจับนับสิบใบ" ตามที่คนงานเล่าให้ฟัง
เธอก็ยังคงทำธุรกิจนี้อย่างเย้ยกฎหมายมาได้จนถึงบัดนี้
และขณะนี้ก็ยังลงพื้นที่หลอกลวงคนอีสานว่า
กำลังจัดหาคนงานเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนตามโควต้าที่ได้รับกว่า 400 คน
ในฤดูกาลปี 2014
เหตุผลหนึ่งว่าทำไมบริษัทหรือนายหน้าค้าแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ
เช่น ว. ถึงหลอกลวงคนงานครั้งแล้วครั้งเล่า
และคนงานเอาชนะพวกนี้ได้ยากทางกระบวนการกฎหมาย
เพราะการใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกให้คนงานเซ็นเอกสารข้างบนนี่ล่ะ
เพื่อเอามาอ้างกับศาลทำนองว่่า "คนงานถูกยุยงปลุกปั่นให้ประท้วงบริษัท" และ "คนงานรับรู้ทุกเรื่องแต่สมยอมไปกับบริษัทเอง"
เรื่องของแม่แดง(ชื่อสมมุติ) และลูกชายทั้งสาม
แม่แดงเป็นหนึ่งในคนงานกลุ่มแรกๆ ที่ฟ้องร้อง ว. ร่วมกับผู้เสียหายจากไต้หวันหลายร้อยคน
แม่แดงเล่าว่า ลูกชายคนเล็ก (อายุ 21 ปี
ในตอนนั้นในปี 2543 ปัจจุบันอายุ 35 ปี)
ตัดสินใจไปทำงานโรงงานทอผ้าที่ไต้หวันกับบริษัทจัดหางานซินเซียของ ว.
โดยเอาโฉนดที่ดินและบ้าน ซึ่งเป็นทรัพย์สินเดียวที่ครอบครัวมี (1 ไร่ 20
ตรว.) ไปค้ำประกันเงินกู้ค่านายหน้าจำนวน 180,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 5
ต่อเดือน
ซึ่งแม่ของ ว.
ได้พาแม่แดงไปเปิดบัญชีกับธนาคารกรุงเทพ
เพื่อให้ลูกชายโอนเงินมาให้และเพื่อที่พวกเขาจะหักเงินใช้หนี้สินที่กู้ยืม
ทั้งนี้เมื่อเปิดบัญชีเสร็จแล้ว แม่ของ ว.
ก็ยึดทั้งสมุดบัญชีและบัตรเอทีเอมเอาไว้ทันที โดยที่ในแต่ละเดือน
แม่แดงจะไปทำเรื่องเซ็นเบิกรับเงินเดือนละ 3,000 – 5,000 บาทจากทีมงาน ว.
แต่ปรากฎว่าเมื่อสิ้นสุดสัญญา 3 ปี ว. แจ้งว่า
แม่แดงและลูกชายยังเป็นหนี้บริษัทอยู่อีก 300,000 บาท
และไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้ แม่แดงจึงตัดสินใจดำเนินคดีฟ้องร้อง ว.
เพื่อเรียกร้องโฉนดที่ดินคืน
โชคดีที่ลูกชายแม่แดงเก็บสลิปโอนเงินไว้
แม่แดงจึงนำสลิปเหล่านี้ไปเรียกร้องให้ธนาคารกรุงเทพเปิดเผยรายการเงินฝาก
ตลอดสามปีที่ผ่านมาในบัญชีของแม่แดงที่เปิดไว้
แม่แดงบอกว่า
แม้จะเป็นบัญชีของแม่แดงเอง เจ้าหน้าที่ธนาคารก็ยึกยักไม่ยอมให้ข้อมูล
จนแม่แดงต้องร้องเรียนไปยังผู้จัดการธนาคารกรุงเทพที่สาขานั้น
จึงได้รับข้อมูลทางบัญชีการเงินของตัวเอง
ซึ่งทำให้เธอทราบว่าลูกชายได้โอนเงินเข้าบัญชีเป็นวงเงินสูงถึงประมาณ
900,000 บาท (ซึ่ง ว. ยอมให้ให้แม่แดงเบิกมาใช้เพียงเดือนละ 3,000 และ
5,000 บาท รวมกันสามปีก็เป็นเงินเพียงประมาณ 150,000 บาทเท่านั้น
ที่เลวร้ายยิ่งกว่านั้น ว. ได้นำเอกสาร (ที่ถูกปลอมแปลง)
มาอ้างกับทางศาลว่าแม่แดงเบิกเงินไปแล้วถึง 700,000 บาท)
แม่แดงมีลูกชายสามคน
แม่จะวัยจวนสี่สิบกันแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครแต่งงานสักคนเดียว
โดยลูกชายคนโตและลูกชายคนเล็กต่างก็ไปเสี่ยงโชคที่ต่างประเทศ
โดยเฉพาะไปเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนกันทั้งสองคน ทั้งนี้ลูกชายคนเล็ก
เป็นคนเดียวที่ยังทำงานที่ต่างประเทศระยะยาวที่ไต้หวัน
(ต่อเนื่องมากว่าสิบปีตั้งแต่ปี 2543 แม้จะหยุดพักเป็นเวลา 1
ปีเพื่อลองไปเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดน)
และตอนนี้เขาก็กำลังทำงานอยู่ในในโรงงานทอผ้า (แห่งใหม่)
ภายใต้สัญญาจ้างงาน 3 ปี โดยครั้งนี้เขาไปโดยเสียค่าใช้จ่ายเพียง 60,000
บาท
ส่วนลูกชายคนโตไปเก็บเบอร์รี่มาต่อ
เนื่อง 4-5 ปีแล้ว และได้เงินกลับมาบ้านอย่างมากก็ไม่เคย 50 - 60,000 บาท
และแม้ว่าจะไม่ได้เงินจากการทำงานเก็บเบอร์รี่เลยเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา
ในปีนี้ ลูกชายคนโตก็ได้ตัดสินใจวางเงิน 20,000 บาทไปแล้ว
และกำลังเตรียมทำทำสัญญากู้ ธกส. อีก 60,000 บาท
เพื่อจะไปเสี่ยงเก็บเบอร์รี่อีกครั้งในฤดูกาลปี 2014
ในขณะที่ลูกชายคนกลาง
ไม่เคยเดินทางไปทำงานที่ไหนไกล
เพราะถูกขอร้องโดยน้องชายให้อยู่ดูแลแม่แดงที่มีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัว
และต้องได้รับการดูแลรักษาอยู่อย่างต่อเนื่อง
ในสภาพคนชนบทไร้ที่ดินทำกิน
แม้จะแก่เฒ่า - แม่แดงในวัย 65 ปี และสามีวัย 70 ปี -
ก็ยังต้องออกไปรับจ้างตัดอ้อย ได้คนละ70 - 80 บาทต่อวัน
เพื่อนำมาเป็นรายได้ค่าอาหาร
เพราะแม้ว่าจะมีรายได้จากเงินที่ลูกชายคนเล็กส่งมาให้จากไต้หวันเดือนละ
3,000 – 5,000 บาท และเงินเบี้ยยังชีพคนละ 600 กับ 700 บาท
แต่แม่แดงก็บอกว่า "จะพออะไร เงินลูกชายมาถึง ก็ต้องเบิกจ่ายค่าณาปนกิจไปแล้วกว่า 2,000 บาท เหลือให้ใช้ไม่กี่ร้อยบาท และไหนจะการ์ดเชิญไปงานอีกมากมาย"
แม่แดงเล่าให้ฟังทางโทรศัพท์ในวันนี้ระหว่างอยู่ดงอ้อยในยามบ่ายคล้อยว่า "เพิ่งตัดอ้อยได้แค่ 20 มัดเอง"
และให้สัมภาษณ์ต่อถึงสาเหตุของความดิ้นรนของลูกชายทั้งสาม
ก็เพื่อต้องการหาเงินก้อนสำหรับซื้อที่นาสัก 2-3
ไร่ให้พ่อกับแม่เพื่อให้ได้มีที่ดินทำกินบ้าง แต่ก็ถูกโกงเงินไปอีก
ทุกคนในครอบครัวคนจนที่ไม่เคยมีที่ดินทำกินเลย
จึงยังต้องเป็นแรงงานรับจ้างรายวันกันต่อไป ...
เมื่อถูกถามว่า ที่ลูกชายไม่ได้แต่งงานซะทีเพราะถูกโกงเงินจากการทำงานต่างประเทศกันหมดใช่ไหมเนี่ย แม่แดง "หัวเราะ" และบอกว่า "ก็เพราะลูกชายมันเป็นคนจน จะมีสาวที่ไหนมาเอา"
เมื่อถามว่า แล้วลูกชายอีกสองคนช่วยเหลืออย่างไรบ้าง? แม่แดงบอกว่า "แม่บอกว่าไม่ต้องมาช่วยหรอก แม่ยังมีแรงเลี้ยงดูตัวเองได้อยู่" และเมื่อถามต่อว่า "แม่มีอะไรที่อยากให้คนช่วยไหม" แม่แดงบอกว่า "เรื่องที่ต้องการความช่วยเหลือก็เยอะแยะไปหมด แต่มันก็ไม่รู้จะบอกออกมาได้ยังไง" ทั้งนี้ แม่แดงกล่าวทิ้งท้ายก่อนบอกร่ำลากันว่า "ถ้าอยากเห็นเอกสารคดีฟ้องร้องต่างๆ มาบ้านแม่แดงได้ทุกเมื่อ แม่พร้อมโชว์เอกสารเหล่านี้ให้ดู"
ผลจากการต่อสู้ของแม่แดงและคนงานอื่นๆ
ที่ตามมาสมทบเมื่อทราบเรื่องการฟ้องร้องของแม่แดง ทำให้ DSI เข้ามาสอบสวน
แม่แดงเล่าว่า เมื่อประมาณสามปีที่ผ่านมา
พวกคนงานและครอบครัวที่เสียหายจากการถูก ว. และครอบครัวหลอกลวง
ได้รับเชิญจาก DSI ให้ไปให้ปากคำที่โรงแรมเมเจอร์แกรนด์ ที่ชัยภูมิ
ปรากฎว่ามีคนงานเสียหายจากการกู้เงินไปนอกกับ ว. รวมกันถึง 496 คนในวันนั้น
(ตัวเลขผู้เสียหายจากรายงานของกระทรวงยุติธรรมทั้งหมดคือ 595 คน)
กระนั้น จนถึงบัดนี้ ว.
และพรรคพวกก็ยังไม่มีใครถูกจับ และแม้เวลาจะผ่านมาหลายปี
และมีคดีความกรณีคนงานเบอร์รี่ M อีกหลายร้อยคน รวมคนเสียหายกว่าพันคน
และแม้ว่าจะมีคดีความที่ตัดสินให้คนงานชนะไปบ้างแล้วก็ตาม
คนงานรวมทั้งแม่แดงต่างก็บอกว่า "ยังไม่ได้รับโฉนดที่ดินคืน"
เมื่อถูกคนงานดำเนินคดีฟ้องร้อง
วิธีการของพวกนักค้าแรงงานทุกคน รวมทั้ง ว.
ที่ทำกันมาตลอดเพื่อให้หลุดรอดจากการถูกลงโทษก็คือ
การเกลี่ยกล่อมให้คนงานเซ็นในหนังสือยอมความว่า
จะไม่เอาเรื่องและถอนคดีฟ้องร้องต่างๆ (ดูบันทึกข้อตกลงของบริษัท M )
รวมทั้งการใช้ความสัมพันธ์ที่มีกับข้าราชการและนักการเมือง (ศาล?)
เพื่อช่วยเกลี่ยกล่อมให้คนงานยอมยุติคดี
และเจรจาให้คนงานยอมยุติการฟ้องร้อง
บันทึกข้อตกลงของบริษัท M
ในกรณีของ ว.
จากคำบอกเล่าจากคนที่เสียหาย ... จ.
และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดชัยภูมิ
เป็นคนไปช่วยเกลี่ยกล่อมชาวบ้านที่ฟ้องร้อง ว.ตั้งแต่ปี 2546 - 2547
ให้ยุติการฟ้องร้องด้วยการพูดว่า "บอกกับคนงานทุกคนว่าอย่ายุ่งกับคนของผม"
“ผมก็เป็นคนเลือก จ. เป็น ส.ส. เมื่อทราบเรื่องนี้ก็น้อยใจว่าทำไม จ. ถึงไปหนุนหลังคนพวกนี้" สม
ศักดิ์ ที่เป็นหนึ่งในแกนนำของคนงานเก็บเบอร์รี่ ที่สู้กับ ว. มาหลายเดือน
และถูก ว.
ขู่ฟ้องร้องในข้อหาว่าเป็นคนยั่วยุปลุกปั่นคนงานให้ประท้วงกล่าวด้วยน้ำ
เสียงเหน็ดเหนื่อย
เนื่องจากแม่แดงมีหลักฐานการโอนเงิน
ชัดเจนที่สำคัญต่อรูปคดี ... เมื่อปีที่ผ่านมา ว.
ได้ขอเจรจายอมความและขอจ่ายเงินเดือนลูกชายที่โกงไว้เป็นเวลา 2 ปีคืนให้
แม่แดงจึงยอมเซ็นเอกสารยอมความกับ ว.
เมื่อลองค้นหาชื่อ ว. ก็พบในรายงานผลงานของกระทรวงยุติธรรมรอบ 1 ปี (23 ส.ค. 54 – 23 ส.ค. 55) หน้า 11 ที่ระบุว่า "3.2 กลุมราษฎรจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดใกลเคียง ไดรับความเดือดรอนจากเจหนี้เงินกู้รายนาง ว. จํานวน ๕๙๕ ราย ทุนทรัพยฟ้อง จํานวน ๑๐๖ ล้านบาท (อยู่ระหว่างดําเนินมาตรการทางอาญา ภาษี ควบคู่กับการให้ความชวยเหลือด้านกฎหมายและคดีความ)”
คนงานที่เสียหายต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า "ที่สู้ก็เพราะอยากเห็น ว. ติดคุกรับโทษ"
ขบวนการทำนาบนหลังเกษตรกรรายย่อยที่อีสาน
เกษตกรชนบทในพื้นที่อีสาน (และทั้งประเทศไทย) ส่่วนใหญ่
ไม่รู้จักสหภาพแรงงาน ไม่รู้จักกฎหมายแรงงาน
ไม่รู้แม้แต่กระทั่งกฎหมายสิทธิมนุษยชน
และต้องกลายเป็นเหยื่อหลอกลวงขบวนการค้าแรงงานมาต่อเนืื่องนับตั้งแต่งานก่อ
สร้างยุคซาอุดรฯ ในต้นทศวรรษ 2520 ยุคสร้างเมืองสิงคโปร์ในต้นทศวรรษ 2530
ยุคเสือเศรษฐกิจไต้หวันในช่วงต้นทศวรรษ 2540
มาสู่ยุคเกาหลีใต้-อิสราเอล-งานเกษตรที่ยุโรป ในปลายทศวรรษ 2540
และเมื่อช่วงต้นทศวรรศ 2550
ก็ถึงคราวของการระดมคนปีละหมื่นคนเพื่อฤดูกาลเก็บเบอร์รี่ที่สแกนดิเนเวีย
แน่นอนว่ามันมีคนประสบความสำเร็จ
แต่จากบทเรียนที่คลุกคลีกับคนงานที่เสียหายและตามไปเยี่ยมเยียนและช่วยเหลือ
พวกเขาในหลายประเทศ การประสบความสำเร็จมักจะไม่ยั่งยืน และจะเป็นรูปแบบ -
นำเงินที่ได้จากประเทศหนึ่ง มาจ่ายค่านายหน้าเพื่อไปประเทศใหม่ -
ทั้งนี้เพราะไม่มีกลไกใดของรัฐไทยเข้าไปช่วยคนหางานต่างประเทศและครอบครัว
ในการจัดการวางแผนการใช้เงินเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาอย่างมี
ประสิทธิภาพ มีศักยภาพ และอย่างยั่งยืน
ขบวนการค้าแรงงานอีสานผูกโยงกับกลไกข้าราชการและการเมืองในพื้น
(ไม่ว่าจะพรรดใดก็ตาม) มาโดยตลอดด้วยข้ออ้างว่า "เพื่อเศรษฐกิจอีสาน"
ซึ่งจริงๆ ก็รู้กันดีว่าเพื่อ "เศรษฐกิจครอบครัวพวกเขาเหล่านั้นเท่านั้น"
ที่พากันร่ำรวยอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
บนการกินค่าหัวคิวและค่าดอกเบี้ยโหดจากการส่งออกคนงานส่งออกปีละแสนกว่าคนไป
ทำงานเมืองนอก – ต่อเนื่องยาวนานกว่าสี่สิบปี - โดยที่คนงานกว่า 70%
เป็นคนจากภาคอีสาน
เงินที่ได้มาจากการขูดเลือดขูดเนื้อแรงงานอีสานเหล่านี้
ถูกใช้ไปกับซื้อเสียง จ่ายหัวคะแนน และสร้างเครือข่าย
เพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งสำคัญทางราชการและทางการเมือง
เพื่อทำมาหากินบนหลังคนกันต่อไป ... พวกเขาเหล่านี้คือขบวนการบอนไซ
ที่ทำให้อีสานไม่สามารถพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพและอย่างยั่งยืนมาจนถึงบัดนี้
กรณี จ. ซึ่งเป็น ส.ส.
กับความสัมพันธ์กับนักค้าแรงงานที่มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องการโกงเงินชาว
บ้านเช่น ว. ก็เป็นเพียงกรณีหนึ่งเท่านั้น และไม่ใช่กรณีเดียว
ถ้าตรวจสอบกันจริงๆ อาจจะพบว่า ส.ส.
เกือบทุกคนในพื้นที่ภาคอีสานมีสายสัมพันธ์กับบริษัทค้าแรงงานเหล่านี้กัน
ทั้งนั้น
และนี่ก็คือสาเหตุที่ผู้เขียนกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำหลังจากศึกษาและให้
ความช่วยเหลือคนงานอีสานที่ถูกหลอกไปต่างแดนมากว่า 20 ปีว่า "นี่ล่ะ ต้นตอสำคัญ ที่ทำให้ปัญหาการหลอกลวงคนอีสานไปทำงานที่เมืองนอก ที่มีคดีร้องเรียนมาต่อเนื่องกว่า 40 ปี ก็ยังไม่สามารถได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจนถึงบัดนี้"
ด้วยความมักง่ายและเคยชินกับผลประโยชน์ที่ได้มาอย่างง่ายๆ ส.ส.
ของอีสาน และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
จึงไม่ค่อยจะคิดถึงมาตรการการพัฒนาอีสานในรูปแบบอื่นๆ
ที่ดีกว่าและยั่งยืนกว่า
เพื่อทดแทนการส่งเสริมให้เกษตรกรจากชนบทโดยเฉพาะจากอีสานและในพื้นที่ไกล
แหล่งน้ำ ให้ไปทำงานเมืองนอก ในสภาวะที่มีความต้องการแรงงานต่างชาติน้อยลง
เพราะวิกฤติเศรษฐกิจและการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกประเทศร่ำรวยเช่นนี้
ยกเว้นงานเก็บเบอร์รี่ที่เป็นงานระยะสั้น แต่ต้นทุนสูงมาก
และคนงานถูกโกงและเอาเปรียบอย่างรุนแรง
เพื่อการคงอยู่ของนักค้าแรงงาน และด้วยการมีสายป่านครอบคลุมทุกระดับ
ตั้งแต่หมู่บ้านจนถึงกระทรวงแรงงานและรัฐสภา
ขบวนการค้าแรงงานก็ได้พัฒนากลยุทธการหลอกลวง จาก
"การไปทำงานแบบถูกกฎหมายบ้าง-ผิดกฎหมายบ้าง" มาสู่
"การทำงานโดยการรับรองของกฎหมายแต่ไร้การคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพ"
โดยที่มีเจ้าหน้าที่รัฐของทั้งสองประเทศคู่สัญญา
ทำหน้าที่แสตมป์รับรองทางกฎหมาย
และเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยก็ยังพยายามและ/หรือหลีกเลี่ยงที่จะให้การศึกษากับคน
งานไทย
ในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองทางกฎหมายที่พวกเขาควรได้
รับภายใต้กรอบกฎหมายของประเทศปลายทางกันอยู่ต่อไป
เมื่อคนงานเก็บเบอร์รี่
ลุกขึ้นประท้วงที่สวีเดนและฟินแลนด์นับตั้งแต่ปี 2009 ปีละหลายร้อยคน ...
คำแนะนำของทุกกลุ่ม ทั้งอุตสาหกรรมเบอร์รี่ รัฐบาลสวีเดน รัฐบาลฟินแลนด์
รัฐบาลไทย และสหภาพแรงงาน ที่มีต่อพวกเขามาตลอด คือ "กลับไปสู้ที่เมืองไทยเถอะ" ทั้งๆ
ที่มีบทเรียนมาตั้งแต่ปี 2009, 2010, 2011 และ 2012
ที่พอจะช่วยให้คาดเดาได้ว่า คนงานทั้ง 400 หรือ 500 คนของบริษัท M และคนงาน
50 คน ของ Ber-Ex ที่ประท้วงพร้อมกันทั้งสองประเทศ (สวีเดนและฟินแลนด์)
ในปี 2013 จะเผชิญชะตากรรมอย่างไรบ้าง และจะเดือดร้อนแสนสาหัสขนาดไหน
เมื่อกลับไปถึงเมืองไทยแล้วก็ตาม
ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงานไทยที่เป็นเพียงกระดาษเปล่า
เมื่อบวกกับทัศนคติของข้าราชการกระทรวงแรงงานในฐานะหน่วยงานตรงที่ต้อง
รับผิดชอบปัญหา ที่เป็นลบต่อเกษตรกรชาวชนบท -
ที่จำต้องการหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวเพราะรายได้จากผลิตผลทางการเกษตรนั้น
ไม่พอเพียง ด้วยการเดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศ -
ส่งผลให้หลายทศวรรษที่ผ่านมา เกษตรกรจากอีสาน ได้กลายเป็นเหยื่ออันโอชะ
ที่หล่อเลี้ยงขบวนการค้าแรงงานไทย
และข้าราชการและนักการเมืองที่คอรัปชั่นของไทยมาอย่างยาวนานหลายสิบปี
ดังที่กล่าวไปแล้ว
มันเป็นเรื่องสายสัมพันธ์และการเอื้อประโยชน์ระหว่างกันที่มีมายาวนาน
ระหว่างบริษัทจัดหางานและเจ้าหน้าที่แรงงานของไทย
ที่เริ่มอับจนเส้นทางค้าแรงงานไทยไปต่างประเทศมากขึ้น
เมื่อประสบโอกาสที่จะกินค่าหัวคิวจากการระดมคนงานจำนวนนับหมื่นคนเพื่อมา
เก็บเบอรืรี่เพียง 2-3 เดือน ในแต่ละปี จึงสนใจแต่เฉพาะประโยชน์ของตน
และหาช่องทางกินกำไรจากดอกเบื้ยเงินกู้ของคนงานในอัตรา 4% – 5% หรือ 7%
(แม้ในระยะสั้นแต่จำนวนเงินมหาศาลก็ทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ)
จนยอมเผิกเฉยต่อความเสียหาย - ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม
ชีวิตและสุขภาพ(ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ) ทางด้านกำลังแรงงาน
และผลผลิตทางเกษตรที่เสียหาย –
อันเกิดจากการถูกค้ามาเป็นแรงงานทาสป้อนให้กับอุตสาหกรรมเบอร์รี่ที่สวีเดน
และฟินแลนด์
ขณะนี้ แม้ว่ายังไม่สามารถแก้ไขความเดือดร้อนของคนงานในฤดูกาลที่ผ่านๆ
มาได้ แต่สถานทูตสวีเดนและสถานทูตฟินแลนด์
ก็ได้ปล่อยโควต้านำเข้าแรงงานทาสในฤดูกาล 2014 กันแล้ว
โดยมีกระทรวงแรงงานไทยทำหน้าที่รับรองว่า "ไม่มีการหลอกลวง ทุกอย่างทำตามกฎหมาย"
ความเสียหายและความทุกข์ของคนงานบริษัท M
ที่เดินทางไปเก็บแบร์ที่สวีเดน และคนงาน Ber-Ex
ที่เดินทางไปเก็บเบอร์รี่ที่ฟินแลนด์
และคนงานเก็บเบอร์รี่ที่สูญเสียทุกคนในฤดูกาล 2556 และครอบครัวของพวกเขา
รวมกันไม่ต่ำกว่า 600 คน และคิดเป็นความเสียหายทางตัวเงินประมาณ 150
ล้านบาท ยังไม่มีใครรับผิดชอบ และกำลังถูกทำให้เลือนหายไปอีกครั้ง
กับกระบวนการจัดหาคนงานใหม่ และการเดินสายโกหกเกษตรกรในหมู่บ้านใหม่ๆ
ให้หลงเชื่อ ยอมลงทุนค่าใช้จ่ายคนละ160,000 บาท
เพื่อเดินทางไปเสี่ยงโชคทำงาน(ฟรี)
เพื่อเก็บเบอร์รี่ให้กับอุตสาหกรรมเบอร์รี่ป่า ในฤดูกาลปี 2557 กันอีกครั้ง
...
ยุทธวิถีของนักค้าแรงงานเหล่านี้ที่ประสบความสำเร็จมาตลอด คือ
การยกตัวอย่างเฉพาะคนงานได้รับรางวัลเหรียญทอง
และคำพูดที่ไม่เคยต้องรับผิดชอบ ที่ใช้ประสบความสำเร็จมากว่าสิบปีว่า "ถ้าขยัน อดทน สู้งาน ทำงานเพียงแค่ 2 เดือนกว่า ได้เงินกับบ้านเป็นแสน ... และ... และ ปีนี้เบอร์รี่เยอะ ไม่ขาดทุนแน่นอน"
ทั้งที่ในความเป็นจริง ฤดูกาลเบอร์รี่ไม่เคยคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ
แม้แต่ในหมู่คนเจ้าถิ่น
จนกว่าจะเห็นลูกเบอร์รี่ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนหรือต้นเดือนกรกฎาคม
การพูดเรื่อง "เบอร์รี่เยอะ" อย่าง
พล่อยๆ เพียงเพื่อได้คนงานของบริษัทจัดหางานเมืองไทย
เป็นการกระทำที่นอกจากไม่รับผิดชอบแล้ว ยังเป็นการขนเงินกู้ ธกส.
ปีละหลายร้อยล้านบาทเพื่อส่งเกษตรกร(ที่ควรจะได้อยู่ดูแลไร่นาของตัวเอง)
ไปทำงานฟรีเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับอุตสาหกรรมเบอร์รี่ในประเทศร่ำรวย
และเพื่อหล่อเลี้ยงขบวนการค้ามนุษย์ของไทย
ให้สามารถขูดรีดเอากับชาวไร่ชาวนาโดยไม่สนใจต่อความเสียหายของพวกเขา -
เป็นพฤติกรรมที่ต้องประณามและลงโทษ
มันพอแล้ว หยุดส่งออกเกษตรกรอีสานไปทำงานฟรีได้แล้ว
ตราบใดที่ยังคงมี ส.ส. ข้าราชการกระทรวงแรงงาน เจ้าหน้าที่ ธกส.
ผู้ว่าราชการหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ
ที่ไม่ใส่เคยใจกับความเสียหาย
และที่ไม่เคยมีใครรับผิดชอบต่อความเสียหายของเกษตรกร
คนงานที่ถูกค้าไปทำงานเก็บเบอร์รี่
ยังคงพากันช่วยประชาสันพันธ์หาคนงานให้บริษัทค้าแรงงานเหล่านี้กันอย่างหน้า
มืดตามัว อีกทั้งยังไปพูดในวันอบรมคนงานก่อนเดินทางด้วยความภาคภูมิใจว่า "งานเก็บเบอร์รี่เป็นงานที่ทำรายได้ให้กับคนชัยภูมิมายาวนานหลายปี"
โดยที่แทบจะไม่มีใคร หรือหน่วยงานใดที่เมืองไทย
พยายามให้ข้อมูลด้านความเสียหาย
หรือเตือนสติคนงานให้ศึกษาข้อมูลให้รอบด้านและคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ
แม้แต่ข้อมูลความเสียหายจากคนงานที่ร้องเรียนรวมกันก็หลายพันคนเข้าไปแล้ว
ก็ถูกโยนทิ้งลงถังขยะ พร้อมคำว่า "คนขี้เกียจ หัวรุนแรง ไปเพื่อสร้างปัญหา"
ทัศนคติเช่นนี้ เป็นตัวเพิ่มปัญหาและสร้างความเสียหายให้กับเกษตรไทย
โดยเฉพาะจากภาคอีสานปีละหลายพัน หลายหมื่นครอบครัว
โดยที่ไม่เคยมีใครรับผิดชอบและได้รับโทษจากการกระทำความผิด
และไม่มีบริษัทใด หรือหน่วยงานใดทั้งจากไทยและจากประเทศปลายทาง
จ่ายค่าเสียหายให้กับคนงานที่เสียหาย
คนงานเก็บเบอร์รี่ทุกกลุ่มที่ร้องเรียนปัญหานี้มาตั้งแต่ปี 2552 รวมกันก็หลายพันคน ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า บริษัทค้าแรงงานเก็บเบอร์รี่เหล่านี้ คือ "อาชญากร" และ "นี่คือการค้าทาส" กระทรวงแรงงานต้องหยุดให้ใบอนุญาตบริษัทเหล่านี้ และ สถานทูตสวีเดนและสถานทูตฟินแลนด์ต้องหยุดให้โควต้าบริษัทค้าแรงงานเหล่านี้
ทั้งนี้ ต้องหยุดระบบการให้บริษัทค้าแรงงาน
ไทยทำการส่งออกเกษตรกรไทย
และบริษัทที่สวีเดนและฟินแลนด์ทำการน้ำเข้าพวกเขาเพื่อไปเก็บเบอร์รี่ที่
สแกนดิเนเวียโดยทันที!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น