คอลัมนิสต์ไฟแนนเชียลไทมส์วิจารณ์เมืองไทย ใกล้เหมือนยูเครน
เกิดกระแสความคิดแยกประเทศเหนือ-ใต้ ศาลจ่อทำ "รัฐประหารโดยตุลาการ"
คนไทยหมดที่พึ่งที่เชื่อถือได้
เมื่อวันพุธ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ของอังกฤษ เผยแพร่ข้อเขียนของคอลัมนิสต์ David Pilling เรื่อง "เหตุที่ประเทศไทยยิ่งดูคล้ายยูเครน" ระบุว่า ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โลกสนใจความเป็นไปในยูเครน แต่การเผชิญหน้าทางการเมืองในเขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อย่างไทย ก็ยากเยียวยาเช่นกัน
เดวิด พิลลิง บอกว่า ความขัดแย้งในไทยทำให้เกิดเสียงพูดกันถึงความเป็นไปได้ ที่ประเทศนี้จะแบ่งเป็นสอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งยากจนกว่า แยกตัวออกจากพื้นที่ตอนใต้ ซึ่งเป็นเขตเมืองและร่ำรวยกว่า มีกรุงเทพเป็นศูนย์กลาง
เขาบอกว่า แนวโน้มนี้อาจไม่ไปถึงจุดนั้นก็ได้ อย่างไรก็ดี สองฝ่ายที่ขัดแย้งต่างปักหลักห้ำหั่นกันกว่าที่เคยเป็นมา พลังของฝ่ายต่อต้านกำลังบีบคั้นรัฐบาล บ่วงเชือกของตุลาการกำลังรัดคอนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขม็งขึ้นเรื่อยๆ วันเวลาในตำแหน่งของเธอใกล้หมดลงแล้ว
พิลลิง บอกอีกว่า คนไทยกำลังหมดศรัทธากับสถาบันต่างๆของชาติ กองทัพของประเทศนี้เคยยึดอำนาจสำเร็จ 11 ครั้งนับแต่ปิดฉากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อปี 2475 รัฐบาลที่กองทัพตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร 2549 ก็เป็นแค่ละครตลก
รอบนี้ กองทัพยืนดูที่ขอบสนาม ขณะ "รัฐประหารโดยศาล" กำลังเกิดขึ้นดกดื่นในหลายคดี ศาลไทยโค่นรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร มาแล้วหลายชุด คนไทยไม่เหลือใครให้เชื่อถือไว้วางใจได้อีก
@ ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ชูป้ายประท้วง ที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2557
ความขัดแย้งในประเทศไทยมีความสลับซับซ้อน มองในภาพรวมแล้ว นับเป็นการช่วงชิงอำนาจระหว่างกลุ่มอำนาจเก่ากับมวลชนที่เคยถูกลิดรอนสิทธิ มาช้านาน กลุ่มอำนาจเก่ามองว่า มวลชนถูกทักษิณหลอกใช้ ไม่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศมีสติปัญญาพอที่จะสามารถเลือกผู้แทนของตนได้
คอลัมนิสต์ผู้นี้ กล่าวในที่สุดว่า หากยิ่งลักษณ์ถูกบังคับให้พ้นจากตำแหน่ง ผู้สนับสนุนเธอจะปักใจว่า ไม่ว่าพวกเขาจะออกเสียงอย่างไร กลุ่มอำนาจเก่าก็จะไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง หากนั่นเป็นข้อสรุปสุดท้ายของพวกเขา เมืองไทยจะวุ่นวายอย่างแน่นอน.
หมายเหตุ รายงานข่าวชิ้นนี้ งดเว้นการถอดความบางช่วงบางตอนของต้นฉบับ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎหมายภายในประเทศไทย.
Source : Financial Times
Photo : AFP
เมื่อวันพุธ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ของอังกฤษ เผยแพร่ข้อเขียนของคอลัมนิสต์ David Pilling เรื่อง "เหตุที่ประเทศไทยยิ่งดูคล้ายยูเครน" ระบุว่า ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โลกสนใจความเป็นไปในยูเครน แต่การเผชิญหน้าทางการเมืองในเขตเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อย่างไทย ก็ยากเยียวยาเช่นกัน
เดวิด พิลลิง บอกว่า ความขัดแย้งในไทยทำให้เกิดเสียงพูดกันถึงความเป็นไปได้ ที่ประเทศนี้จะแบ่งเป็นสอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งยากจนกว่า แยกตัวออกจากพื้นที่ตอนใต้ ซึ่งเป็นเขตเมืองและร่ำรวยกว่า มีกรุงเทพเป็นศูนย์กลาง
เขาบอกว่า แนวโน้มนี้อาจไม่ไปถึงจุดนั้นก็ได้ อย่างไรก็ดี สองฝ่ายที่ขัดแย้งต่างปักหลักห้ำหั่นกันกว่าที่เคยเป็นมา พลังของฝ่ายต่อต้านกำลังบีบคั้นรัฐบาล บ่วงเชือกของตุลาการกำลังรัดคอนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขม็งขึ้นเรื่อยๆ วันเวลาในตำแหน่งของเธอใกล้หมดลงแล้ว
พิลลิง บอกอีกว่า คนไทยกำลังหมดศรัทธากับสถาบันต่างๆของชาติ กองทัพของประเทศนี้เคยยึดอำนาจสำเร็จ 11 ครั้งนับแต่ปิดฉากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อปี 2475 รัฐบาลที่กองทัพตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร 2549 ก็เป็นแค่ละครตลก
รอบนี้ กองทัพยืนดูที่ขอบสนาม ขณะ "รัฐประหารโดยศาล" กำลังเกิดขึ้นดกดื่นในหลายคดี ศาลไทยโค่นรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร มาแล้วหลายชุด คนไทยไม่เหลือใครให้เชื่อถือไว้วางใจได้อีก
@ ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ชูป้ายประท้วง ที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2557
ความขัดแย้งในประเทศไทยมีความสลับซับซ้อน มองในภาพรวมแล้ว นับเป็นการช่วงชิงอำนาจระหว่างกลุ่มอำนาจเก่ากับมวลชนที่เคยถูกลิดรอนสิทธิ มาช้านาน กลุ่มอำนาจเก่ามองว่า มวลชนถูกทักษิณหลอกใช้ ไม่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศมีสติปัญญาพอที่จะสามารถเลือกผู้แทนของตนได้
คอลัมนิสต์ผู้นี้ กล่าวในที่สุดว่า หากยิ่งลักษณ์ถูกบังคับให้พ้นจากตำแหน่ง ผู้สนับสนุนเธอจะปักใจว่า ไม่ว่าพวกเขาจะออกเสียงอย่างไร กลุ่มอำนาจเก่าก็จะไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง หากนั่นเป็นข้อสรุปสุดท้ายของพวกเขา เมืองไทยจะวุ่นวายอย่างแน่นอน.
หมายเหตุ รายงานข่าวชิ้นนี้ งดเว้นการถอดความบางช่วงบางตอนของต้นฉบับ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎหมายภายในประเทศไทย.
Source : Financial Times
Photo : AFP
by
sathitm
27 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 10:50 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น