ที่มา มติชน ออนไลน์
นับแต่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ ดำเนินการเคลื่อนไหวเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นต้นมา ปรากฏลักษณะอัน"ย้อนแย้ง" มากมาย
1 เรียกร้อง "ประชาธิปไตย" แต่ไม่เอา "การเลือกตั้ง"
ที่น่าสนใจไม่เพียงแต่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งประกาศยืนหยัดใน"แนวทางรัฐสภา" ตั้งแต่แรกก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2489 จะออกมาปฏิเสธหลักการของตน
หากแม้กระทั่ง "กกต." ก็ไม่แฮปปี้กับ "การเลือกตั้ง"
ทั้งๆ ที่นามเต็มของ กกต.คือ "คณะกรรมการการเลือกตั้ง" ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญได้มอบอำนาจนี้ให้กับ กกต.อย่างถึงที่สุดและสิ้นเชิง
1 การแสดงตน "เป็นกลาง" ของกลไก "อำนาจรัฐ"
ทั้งๆ ที่ กปปส.ประกาศอย่างไม่ปิดบังอำพรางต้องการ "การปฏิวัติประชาชน"ต้องการล้มรัฐบาลอันมาตามวิถีแห่งรัฐธรรมนูญ
ที่สำคัญก็คือต้องการเป็น "รัฎฐาธิปัตย์"
แต่ก็มีกลไกแห่ง "อำนาจรัฐ" จำนวนมากที่อยู่ได้เพราะเงินภาษีของประชาชนแสดงตนเป็น "คนกลาง" ไม่เข้าข้างฝ่ายใด
ลักษณะ "ย้อนแย้ง" นี้ชวนให้ "พะอืดพะอม"
ยิ่งมองอย่างหยั่งลึกเข้าไป "ภายใน" การเคลื่อนไหวและการขยับในแต่ละจังหวะก้าวของ กปปส.ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ยิ่งมากด้วยความ "ย้อนแย้ง" กับตนเอง
ภาพ 1 เราเห็น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เปล่งความเชื่อมั่นบนเวทีไม่ว่าที่แยกศาลาแดง ไม่ว่าที่แยกปทุมวัน
ถึงภาวะ "ร่อแร่" อย่างยิ่งของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ขณะเดียวกัน ภาพ 1 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อีกเหมือนกันที่เรียกร้องต่อ ผบ.เหล่าทัพให้แสดงออกเหมือนกับที่ ผบ.ทบ.ท่านหนึ่งเคยแสดงออกเมื่อปี 2551 ทางทีวี
นั่นก็คือวาทกรรมที่ว่า "ถ้าผมเป็นนายกฯ ผมลาออกแล้ว"
เหมือนคอลัมนิสต์ "กปปส." บางคนตั้งหัวข้อเขียนของตน "นายกฯหมดสภาพ หมดสภาพนายกฯ ยิ่งอยู่ยิ่งสร้างความเสียหาย" แต่ในท่อนขมวดสุดท้ายกลับเป็น "กองทัพไทยถึงเวลาแสดงความกล้าหาญ ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ รักษาไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยของชาติ
"จัดการกับภัยคุกคามความมั่นคงของชาติอย่างเด็ดขาดและแม่นยำ"
ความหมายก็ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันกับความหมายอันมาจากปากและหัวใจของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
นั่นก็คือ หวังพึ่ง "บริการ" จาก "กองทัพ"
คําถามที่เสนอเข้ามาในท่ามกลางการปรากฏขึ้นของลักษณะอัน "ย้อนแย้ง"ทางการเมืองตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 คือ
1 เมื่อเรียกร้อง "ประชาธิปไตย" ทำไมไม่เอา "การเลือกตั้ง"
ขณะเดียวกัน 1 เมื่อเสนอแนวทางและหนทางแห่ง "การปฏิวัติโดยประชาชน"ทำไมจะต้องวิงวอนร้องขอกำลังจาก "กองทัพ"
ถามว่า "มวลมหาประชาชน" อยู่ที่ไหน
ตามหลักการแล้ว หากสิ่งที่ กปปส.และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เสนอโดยความเห็นชอบเต็มพิกัดจากพรรคประชาธิปัตย์เป็นคุณ
นั่นก็คือ ยืนอยู่บนพื้นฐานแห่ง "ธรรมาธิปไตย" แท้จริง
ลักษณะแห่ง "มวลมหาประชาชน" จะต้องแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างไพศาล ไม่เพียงแต่จะกระจุกตัวอยู่เพียงบางจังหวัดทางภาคใต้ ไม่เพียงแต่จะกระจุกตัวอยู่เพียงบางส่วน บางเขตของกรุงเทพมหานคร
จะต้องมีเสียงขานรับจาก ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตรงกันข้าม ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งมิอาจอ้างอิงต่อวลีแห่ง "มวลมหาประชาชน" ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งมีคนเข้าร่วมจำนวนน้อย
นี่ย่อมสวนกับสัจจะแห่ง "มีธรรมะ คนช่วยมาก" อย่างสิ้นเชิง
สภาพการ "เข้าร่วม" ของมวลชน
ลักษณาการอันถดถอยของ "มวลมหาประชาชน" สำคัญยิ่ง
สำคัญ 1 ต่อความรับรู้ความเข้าใจของประชาชนที่เฝ้ามอง ขณะเดียวกัน สำคัญ 1 ต่อกองเชียร์ที่เคยให้ความเชื่อมั่นและเคยเป็น "อีแอบ" จำเป็นต้องทบทวนและพิจารณาใหม่
เช่นนี้ประดา "อัศวินม้าขาว" ย่อมบังเกิดความ "ลังเล" เรรวน
1 เรียกร้อง "ประชาธิปไตย" แต่ไม่เอา "การเลือกตั้ง"
ที่น่าสนใจไม่เพียงแต่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งประกาศยืนหยัดใน"แนวทางรัฐสภา" ตั้งแต่แรกก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน 2489 จะออกมาปฏิเสธหลักการของตน
หากแม้กระทั่ง "กกต." ก็ไม่แฮปปี้กับ "การเลือกตั้ง"
ทั้งๆ ที่นามเต็มของ กกต.คือ "คณะกรรมการการเลือกตั้ง" ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญได้มอบอำนาจนี้ให้กับ กกต.อย่างถึงที่สุดและสิ้นเชิง
1 การแสดงตน "เป็นกลาง" ของกลไก "อำนาจรัฐ"
ทั้งๆ ที่ กปปส.ประกาศอย่างไม่ปิดบังอำพรางต้องการ "การปฏิวัติประชาชน"ต้องการล้มรัฐบาลอันมาตามวิถีแห่งรัฐธรรมนูญ
ที่สำคัญก็คือต้องการเป็น "รัฎฐาธิปัตย์"
แต่ก็มีกลไกแห่ง "อำนาจรัฐ" จำนวนมากที่อยู่ได้เพราะเงินภาษีของประชาชนแสดงตนเป็น "คนกลาง" ไม่เข้าข้างฝ่ายใด
ลักษณะ "ย้อนแย้ง" นี้ชวนให้ "พะอืดพะอม"
ยิ่งมองอย่างหยั่งลึกเข้าไป "ภายใน" การเคลื่อนไหวและการขยับในแต่ละจังหวะก้าวของ กปปส.ของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
ยิ่งมากด้วยความ "ย้อนแย้ง" กับตนเอง
ภาพ 1 เราเห็น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เปล่งความเชื่อมั่นบนเวทีไม่ว่าที่แยกศาลาแดง ไม่ว่าที่แยกปทุมวัน
ถึงภาวะ "ร่อแร่" อย่างยิ่งของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ขณะเดียวกัน ภาพ 1 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อีกเหมือนกันที่เรียกร้องต่อ ผบ.เหล่าทัพให้แสดงออกเหมือนกับที่ ผบ.ทบ.ท่านหนึ่งเคยแสดงออกเมื่อปี 2551 ทางทีวี
นั่นก็คือวาทกรรมที่ว่า "ถ้าผมเป็นนายกฯ ผมลาออกแล้ว"
เหมือนคอลัมนิสต์ "กปปส." บางคนตั้งหัวข้อเขียนของตน "นายกฯหมดสภาพ หมดสภาพนายกฯ ยิ่งอยู่ยิ่งสร้างความเสียหาย" แต่ในท่อนขมวดสุดท้ายกลับเป็น "กองทัพไทยถึงเวลาแสดงความกล้าหาญ ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ รักษาไว้ซึ่งความมั่นคงปลอดภัยของชาติ
"จัดการกับภัยคุกคามความมั่นคงของชาติอย่างเด็ดขาดและแม่นยำ"
ความหมายก็ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันกับความหมายอันมาจากปากและหัวใจของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
นั่นก็คือ หวังพึ่ง "บริการ" จาก "กองทัพ"
คําถามที่เสนอเข้ามาในท่ามกลางการปรากฏขึ้นของลักษณะอัน "ย้อนแย้ง"ทางการเมืองตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 คือ
1 เมื่อเรียกร้อง "ประชาธิปไตย" ทำไมไม่เอา "การเลือกตั้ง"
ขณะเดียวกัน 1 เมื่อเสนอแนวทางและหนทางแห่ง "การปฏิวัติโดยประชาชน"ทำไมจะต้องวิงวอนร้องขอกำลังจาก "กองทัพ"
ถามว่า "มวลมหาประชาชน" อยู่ที่ไหน
ตามหลักการแล้ว หากสิ่งที่ กปปส.และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เสนอโดยความเห็นชอบเต็มพิกัดจากพรรคประชาธิปัตย์เป็นคุณ
นั่นก็คือ ยืนอยู่บนพื้นฐานแห่ง "ธรรมาธิปไตย" แท้จริง
ลักษณะแห่ง "มวลมหาประชาชน" จะต้องแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างไพศาล ไม่เพียงแต่จะกระจุกตัวอยู่เพียงบางจังหวัดทางภาคใต้ ไม่เพียงแต่จะกระจุกตัวอยู่เพียงบางส่วน บางเขตของกรุงเทพมหานคร
จะต้องมีเสียงขานรับจาก ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตรงกันข้าม ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งมิอาจอ้างอิงต่อวลีแห่ง "มวลมหาประชาชน" ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งมีคนเข้าร่วมจำนวนน้อย
นี่ย่อมสวนกับสัจจะแห่ง "มีธรรมะ คนช่วยมาก" อย่างสิ้นเชิง
สภาพการ "เข้าร่วม" ของมวลชน
ลักษณาการอันถดถอยของ "มวลมหาประชาชน" สำคัญยิ่ง
สำคัญ 1 ต่อความรับรู้ความเข้าใจของประชาชนที่เฝ้ามอง ขณะเดียวกัน สำคัญ 1 ต่อกองเชียร์ที่เคยให้ความเชื่อมั่นและเคยเป็น "อีแอบ" จำเป็นต้องทบทวนและพิจารณาใหม่
เช่นนี้ประดา "อัศวินม้าขาว" ย่อมบังเกิดความ "ลังเล" เรรวน
...............
(ที่มา:มติชนรายวัน 25 ก.พ.2557)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น