บทความเติมเต็มต่อประเด็นคนมั่งมีล้นหลาม
ชนชั้นเจ้านายในสังคมของอังกฤษถูกเปิดโปงว่าได้รับเงินสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นมาช่วยเหลือคนยากจน
ดังที่นำเสนอในไทยอีนิวส์มาแล้วสองตอน คือ ฤๅว่าพระราชินีทรงถังแตก และ พระราชินี (a sequel) ทรงเหวยสวัสดิการ
ครั้งนี้จัดเป็น
finale จากการวิพากษ์บริษัทยักษ์ใหญ่ในอเมริการับเงินเกื้อหนุนหน้าไม่อาย
เรื่อง "บริษัทกลุ่มฟอร์จูน ๕๐๐ รับเงินช่วยจากรัฐ ๖๓,๐๐๐
ล้านดอลลาร์" ในเว็บ pandodaily เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗ เขียนโดย เดวิด สิโรตา
จำกันได้ไหมเมื่อประธานาธิบดีโอบาม่าถูกกระหน่ำอย่างหนักต่อคำพูดว่า
"คุณไม่ได้เป็นคนสร้าง" เสร็จแล้วดูเหมือนว่าท่านน่ะพูดถูกต้อง อย่างน้อยเกี่ยวกับหลายๆ
สิ่งที่บรรษัทมั่งคั่งขนาดยักษ์หลายแห่งสร้างขึ้นมา นั่นเป็นการฉกชิงไปจากงานค้นคว้าชิ้นใหม่ต่อข้อตกลงช่วยเหลือบริษัทใหญ่ๆ
ในอเมริกา ๒๕,๐๐๐ แห่งจากเงินภาษีอากรในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
รายงานชื่อ
"เกื้อหนุนบรรษัท ๑ เปอร์เซ็นต์" จากกลุ่มตรวจสอบผู้เสียภาษี
'กู๊ดจ๊อบเฟิร์ส'แสดงให้เห็นว่าบริษัทใหญ่ๆ
ที่สุดของโลกนั้นไม่ได้เป็นแบบอย่างแห่งความพอเพียง และทุนนิยมจำกัด
ในทางตรงข้ามพวกนี้ยังคงรับเอาเงินช่วยเหลือเป็นพันๆ ล้านดอลลาร์จากรัฐบาล
เงินเกื้อหนุนดังกล่าวจะควรแก่การปกป้องถ้าหากนำไปใช้ในแนวทางที่เสริมสร้างต่อธุรกิจย่อยที่กำลังตั้งไข่
แต่ดังที่ผลการค้นคว้าแสดงให้เห็น
เงินเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจล้วนๆ
จำนวนสามในสี่ที่จัดสรรให้และแจ้งไว้โดยทางการมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น ไปตกอยู่กับบริษัทใหญ่ๆ
เพียง ๙๖๕ ราย ไปไม่ถึงกิจการย่อยขนาดเล็ก
และที่กำลังเริ่มตั้งไข่ซึ่งพวกนักการเมืองมักเสแสร้งว่าเห็นอกเห็นใจเสียเต็มประดา
ผู้ได้
รับประโยชน์แท้จริงจากการให้เงินเกื้อหนุนมักซ่อนอยู่ภายในเปลือกคลุมหลาย
ชั้นของบริษัทแม่และข้อตกลงซับซ้อนในการถือครองเป็นเจ้าของ
แต่ว่ากู๊ดจ๊อบเฟิร์สทำงานได้ผลในการเชื่อมโยงให้เห็นเส้นทางเงินเกื้อหนุน
เหล่านี้ที่ไปถึงบริษัทแม่
กลุ่มตรวจสอบค้นพบว่าเงินเกื้อหนุนสั่งสมจำนวน
๗๕ เปอร์เซ็นต์หรือ ๑๑๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ ตกไปอยู่กับบริษัทใหญ่ๆ ๙๖๕ แห่ง เพียงแค่บริษัทในกลุ่มฟอร์จูน
๕๐๐ เท่านั้นก็ได้ส่วนแบ่งไปถึง ๑๖,๐๐๐ รายการ มูลค่า ๖๓,๐๐๐ ล้านดอลลาร์แล้ว
นอกจากนี้ ๘ บริษัทในจำนวน ๒๐
แห่งที่ได้รับเงินเกื้อหนุนจากภาษีอากรมากที่สุดไม่ใช่บริษัทอเมริกัน
ซึ่งหมายความว่าผู้เสียภาษีในสหรัฐถูกบังคับให้ต้องเกื้อหนุนบริษัทต่างชาติไปเสียฉิบ
แน่ละการให้เปล่าเหล่านี้มันตรงกันข้ามกับสิ่งใดๆ ที่เกี่ยวกับ ‘ตลาดเสรี’
มันเป็นจำกัดความของการที่รัฐบาลยื่นมือเข้าไปแทรกแซงในการตลาด
แต่กระนั้นภาพพจน์การเป็นตลาดเสรีของบริษัทเหล่านี้ไม่ได้เสียไปแม้แต่น้อย
เมื่อพวกเขายื่นมือไปรับเอาเงินสวัสดิการจำนวนมหาศาล
ลองดูที่ค้อชอินดัสตรี้ส์
ทั้งที่สองพี่น้องสกุลค้อชเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินใหญ่ของกลุ่มฝ่ายขวาต่อต้านรัฐบาล
แม้พวกเขาจะได้รับการเอ่ยถึงว่าเป็นนักกิจกรรมเพื่อตลาดเสรีอันสำคัญของกลุ่มอิสระนิยม
พวกนี้ก็ยังพึ่งพาเงินเกื้อหนุนจากรัฐถึง ๘๘ ล้านดอลลาร์
บริษัทเท็คโนโลยี่ใหญ่ๆ
หลายแห่งก็เช่นกัน
พวกนี้มักจะได้รับการกล่าวถึงว่าประสพความสำเร็จด้วยการไต่เต้าขึ้นมาจากปากกัดตีนถีบ
กระนั้นจากที่เห็นได้ด้วยข้อมูลของกู๊ดจ๊อบเฟิร์ส
เป็นพวกที่รับเงินเกื้อหนุนจากรัฐบาลทั้งนั้น
ดังเช่นบริษัทอินเทลเป็นตัวอย่าง
ที่นำหน้ารายอื่นๆ ด้วยมูลค่าเงินเกื้อหนุน ๕๘ รายการจำนวน ๓,๘๐๐ ล้านดอลลาร์
ตามมาด้วยไอบีเอ็มได้รับการเกื้อหนุนมากกว่า ๑ พันล้านดอลลาร์
ส่วนใหญ่ของบริษัทที่รับเงินเกื้อหนุนเหล่านี้อยู่ในรัฐนิวยอร์ค
ซึ่งกำลังรณรงค์อย่างเต็มพิกัดส่งเสริมโครงการเกื้อหนุนด้วยความภาคภูมิ
นอกนั้นมีบริษัทกูเกิ้ลได้รับ
๖๓๒ ล้านดอลลาร์ และยาฮูได้ ๒๖๐ ล้าน
ซึ่งส่วนใหญ่ของทั้งสองบริษัทได้มาจากข้อผูกพันในการดำเนินกิจการศูนย์ข้อมูล
ไมโครซ้อฟได้ไป ๙๕ ล้าน หลักใหญ่มาจากการยกเว้นภาษีของรัฐวอชิงตัน
แล้วยังมีห้างหุ้นส่วนซิลเวอร์เล้คซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท
(คอมพิวเตอร์) เดล ได้รับเงินเกื้อหนุนผ่านทางสวัสดิการบรรษัทถึง ๔๘๒ ล้านดอลลาร์
และต้องไม่ลืมบริษัทซ้อฟแวร์
๓๘ สตูดิโอ ซึ่งปัจจุบันล้มละลายไปแล้ว
ก็ได้รับเงินช่วยเหลือจากภาษีของชาวโร้ดไอส์แลนด์ ๗๕ ล้านดอลลาร์
ในเวลาเดียวกับขณะที่ทางการมลรัฐต้องตัดรายจ่ายสวัสดิการเลี้ยงชีพแก่ข้าราชการ
พร้อมๆ กันไปกับการอุ้มชูกิจการที่ควรจะเป็นตัวอย่างของระบบตลาดเสรี
เงินเกื้อหนุนสวัสดิการได้ไหลไปยังธุรกิจการเงินที่กลายเป็นปี่เป็นขลุ่ยกับการกู้ชีพไม่รู้จบสิ้นแก่กิจการที่ตกต่ำ
และเป็นแบบอย่างบรรษัทสังคมนิยมจกเปรต
ที่จริงแล้วกิจการอย่างยูบีเอส
โกลด์แมนแซ็ค แบ๊งค์ออฟอเมริกาและซิตีคอร์ปซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือจากภาษีอากรอย่างมหาศาลในช่วงวิกฤตการเงินของประเทศ
ล้วนแต่ได้รับเงินเกื้อหนุนเพิ่มเติมเป็นหลายๆ สิบล้านดอลลาร์ นี่จากการค้นพบของกู๊ดจ๊อบเฟิร์ส
เงินได้เปล่าเหล่านี้แน่ละจะต้องถูกเยอะเย้ยว่าเป็นสวัสดิการที่ยื่นให้ถ้าไปสู่คนยากไร้ แต่เหตุที่มันไปถึงมือเครือข่ายธุรกิจร่ำรวยล้นหลามที่มีเส้นสายผูกพันในวงการเมือง มันจึงได้รับการประโคมโหมเชิดด้วยถ้อยคำสวยหรู เช่น สินน้ำใจ หรือกระตุ้นเศรษฐกิจ
คำหวานเคลือบน้ำตาลเหล่านั้นถูกนำมาใช้กันซ้ำซากทั้งที่เงินเกื้อหนุนจำนวนมากเหล่านี้ไม่ได้ลงเอยด้วยการช่วยเพิ่มการจ้างงาน
หรือว่าทำให้รายได้สาธารณะเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
เดวิด สิโรตา |
เช่นนี้
เองรายงานของกู๊ดจ๊อบเฟิร์สเป็นการตรวจสอบต่อถ้อยวลีเร้าใจทางการเมือง
เรื่องการพึ่งพาต่างๆ
นานาได้อย่างดี คำหวานเหล่านั้นส่วนใหญ่พุ่งเป้าไปที่พวกคนยากจน
ทั้งนี้เนื่องจากพวกคนจนต่างจากบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ได้รับเงินเกื้อหนุน
ทั้งหลายตรงที่พวกเขาไม่สามารถว่าจ้างนักล็อบบี้
และเงินบริจาคก้อนยักษ์เป็นคันรถเพื่อการรณรงค์ให้ตายใจได้
ว่าโครงการอย่างตั๋วแลกอาหารกลายเป็นเสาหลักให้กับวาทกรรมแห่งการเยียวยาที่
เรียกว่า
สินน้ำใจ และการพัฒนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น