แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผ่าใจ "บรรหาร" ผ่าน "สมศักดิ์" ปฏิบัติการ-ปฏิรูปใต้เงา "ยิ่งลักษณ์"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

 http://www.prachachat.net/online/2013/10/13823537671382353796l.jpg


updated: 21 ต.ค. 2556 เวลา 18:25:32 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

56 วันหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้รับภารกิจเดินหน้าประสานงานเวทีปฏิรูปประเทศไทย ยังคงไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

เป็น 56 วันที่เขาเดินเข้า-ออกเคาะประตูบ้าน "คู่ขัดแย้ง" รับฟังความเห็นต่าง แต่ปรากฏผลลัพธ์เพียงภาพคณะกรรมการหลากชุด แต่ไร้ความคืบหน้าที่ให้สัมผัสเป็นรูปธรรม

กระทั่ง "คู่ขัดแย้ง-ฝ่ายตรงข้าม" ต่างปรามาสว่าภารกิจครั้งนี้ของ "มังกรสุพรรณ" มีแต่ "เสี่ยง" กับ "เสีย"

เวลานี้ชื่อของ "บรรหาร" ถูกตีตราว่าเป็น "หุ่นเชิด" คอยรับศึกการเมืองแทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำตัวจริงจากฝ่ายบริหาร

แม้ เสียงลือ-คำนินทาจะลอยไปไกล แต่ปากคำคนใกล้ชิดอย่าง "สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล" ประธานที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ผู้อยู่ใต้ร่มเงา "บรรหาร" มาร่วม 20 ปีไม่คิดเช่นนั้น

เขาบอกว่า ทั้งยุทธวิธีการเคลื่อนไหวทางการเมือง-ทางวาจา ยังมีโอกาสที่พรรคชาติไทยพัฒนาจะปฏิรูปสำเร็จเหมือนครั้งที่เคยมาแล้วในปี 2540

"ประชาชาติธุรกิจ" สนทนากับเขา เพื่อหาคำตอบพร้อมคิดคำนวณเครดิตของ "บรรหาร" กับการลงทุนนำขบวนปฏิรูปหนนี้ ท่ามกลางความเชื่อมั่นของฝั่งรัฐบาล และคำปรามาสจากฝ่ายตรงข้าม

- ความคืบหน้าการปฏิรูปตอนนี้เป็นอย่างไร
หลัง จากท่านบรรหารได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประสานงาน เราได้เดินทางไปพบกับบุคคลที่ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าจะไม่เข้าร่วมคณะกับ ฝ่ายรัฐบาล ผมกับท่านหัวหน้าเห็นตรงกันว่าจะเข้าร่วมหรือไม่มันไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญคือเราอยากรู้ว่าพวกเขาต้องการเห็นประเทศไปในทิศทางไหน เขามีแนวคิดอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการปฏิรูป

ที่ผ่าน มามีการประชุมคณะทำงานชุดย่อย 3 คณะ เราก็ได้รับความร่วมมือจากบุคคลต่าง ๆ มากมาย มีตัวแทนทั้งจากลูกจ้าง สภาหอการค้า ภาคเอกชน ฯลฯ ที่มาแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ซึ่งเราจะนำข้อเสนอเหล่านี้มาสรุปในคณะทำงานใหญ่ต่อไป ก็คาดว่าประมาณเดือนธันวาคมน่าจะมองเห็นทิศทางที่จะก้าวเดินกันต่อ

- เดือนธันวาคมนี้เราอาจได้เห็นพิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศ
ยัง ไม่ถึงตรงนั้น แต่เราจะได้เห็นแนวทางในแต่ละด้านว่าควรเดินหน้าต่ออย่างไร ผมคิดว่าคณะทำงานย่อยน่าจะได้ข้อสรุปแต่ละประเด็นในช่วงพฤศจิกายน และนำข้อมูลมาสังเคราะห์ก่อนนำเสนอให้คณะทำงานชุดใหญ่ที่มีท่านนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในช่วงธันวาคม

- เดินหน้าปฏิรูปมาเกือบ 2 เดือน ผลลัพธ์มีแต่แต่งตั้งคณะกรรมการ อะไรคือหลักประกันว่างานนี้จะสำเร็จ
ผม ว่าถ้าทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่นตั้งใจ อย่างน้อยที่สุดวันนี้ก็กระตุกความรู้สึกคนแล้ว แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดเพราะเป็นไปไม่ได้ แต่คนส่วนหนึ่งเริ่มมีความหวัง และทุกคนก็เต็มใจที่อยากจะนำพาประเทศไทยให้ก้าวพ้นช่วงของความขัดแย้ง เราเริ่มได้เห็นเรื่องพวกนี้แล้ว

- ควรเริ่มปฏิรูปจากประเด็นไหนก่อน
(สวน ทันที) ผมไม่อยากให้เน้นเรื่องไหน จะไปบอกเรื่องไหนก่อนไม่ได้ ทุกอย่างต้องควบคู่กันไป มันไม่มีข้อสรุปหรอกว่าอันไหนสำคัญกว่ากัน อะไรทำได้ก่อนก็ทำ เรื่องไหนไม่มีความขัดแย้งก็เดินก่อน เช่น ปฏิรูปการศึกษา การเตรียมตัวเข้าสู่ AEC ทุกคนเห็นตรงกัน ก็ผลักดันเรื่องนี้ก่อน

- หลังรัฐประหาร 2549 พรรคชาติไทยพัฒนานำเสนอแผนสร้างความปรองดองมาตลอด การเริ่มต้นโดยรัฐบาลนี้ถือว่าสอดคล้องกันหรือไม่

ผม ว่านี่คือการเริ่มต้นที่ดี เป็นการแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ว่า รัฐบาลต้องการเห็นความปรองดอง และท่านนายกฯก็แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ ส่วนจะสำเร็จเมื่อไรผมไม่แน่ใจ อย่างน้อยที่สุดถ้าคุณไม่เริ่มต้น ก็ไม่มีทางประสบความสำเร็จ

- แนวทางเหมือนที่พรรคคิดไว้หรือไม่
(สวน ทันที) ไม่แตกต่างเลย ท่านบรรหารพูดมาเสมอว่า ทันทีที่พ้นโทษ ทันทีที่ผ่าตัดเข่าและเดินสะดวก ท่านจะไปหาทุกคนเพื่อประสานความคิดที่เห็นต่าง เพื่อหาคำตอบว่า ทำไมคนไทยกับคนไทยจะคุยกันไม่ได้ ถ้าคุณยังมัวแตกแยก ไม่ร่วมมือ ประเทศมันเดินไม่ได้

หลายคนถามว่า ท่านมาเปลืองตัวทำไม ท่านก็พูดเสมอว่า ถ้าไม่ทำแล้วใครจะทำ จะปล่อยให้ลูกหลานเขามาทำมานั่งวิจารณ์คนรุ่นเราว่า ไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้บ้านเมืองขัดแย้งหรือ

- เทียบกับการปฏิรูปเมื่อปี 2540 มีความยากง่ายแตกต่างกันอย่างไร

ต่าง กันเยอะมาก ปี 2540 การแตกต่างทางความคิดก็มีแต่ไม่ถึงกับขัดแย้ง ไม่แยกพวกออกเป็นกลุ่มเป็นสี เมื่อก่อนไม่มี ทุกคนคิดตรงกันว่าต้องปฏิรูป ท่านบรรหารจึงชูธงปฏิรูปการเมือง ทุกคนก็ขานรับ ก็มาสนับสนุน กระทั่งกลายเป็นวาระแห่งชาติ

วันนี้ความแตกต่างทางความคิดมันเยอะ การไม่ยอมรับของแต่ละฝ่ายมีมาก การมองฝ่ายหนึ่งเป็นศัตรูกลายเป็นเรื่องใหญ่ จะปฏิรูปให้เหมือนปี 2540 คงต้องใช้เวลา ใช้ความจริงใจ

- คู่ขัดแย้งจะเห็นความจริงใจได้จากตรงไหน
(สวน ทันที) การกระทำต้องดูว่าข้อเสนอของพวกเขาได้ทำหรือไม่ เช่น การเหลื่อมล้ำ ปฏิรูปการศึกษา ถ้านำไปสู่การปฏิบัติจริง ผมว่าทุกคนมาเข้าร่วมแน่ เพราะทุกคนเห็นเหมือนกันหมดว่าต้องทำ เรื่องนี้ทำได้ง่าย เห็นผลชัดเจน ก็อาจจะสำเร็จก่อน

- แต่สุดท้ายหน้าตาของคณะทำงานปฏิรูป ก็ถูกกล่าวหาว่ามีแต่คนพวกเดียวกัน

คือ...คน ที่มีความขัดแย้งก็ต้องมองว่า เราทำหรือเปล่า เราจริงใจกับปัญหาที่จะทำหรือไม่ ผมเชื่อว่าเมื่อได้เห็นการเริ่มต้นแบบนี้ แม้จะยังไม่มีอีกฝ่ายอยู่เป็นพวกในคณะ แต่พวกที่เห็นด้วยก็มีอยู่ไม่น้อย เมื่อเราเริ่มต้นเดินก้าวแรกลงไป ก้าวที่สองหรือสามจะเริ่มเห็นโครงสร้างที่ชัดเจน ถึงเวลานั้นพวกเขาอาจจะกระโดดมาเข้าร่วมก็ได้

- การปฏิรูปทั้งระบบยังมีโอกาสสำเร็จ
ผม คิดว่ามี แต่ต้องใช้เวลา ผมมองเห็นง่าย ๆกรณีพรรคประชาธิปัตย์ หรือคุณสนธิ (ลิ้มทองกุล) คุณจำลอง (ศรีเมือง) ที่ประกาศตัวชัดเจนว่าจะไม่เข้าร่วม แต่เขาก็เสนอแนวความคิดผ่านท่านบรรหาร ท่านก็จะนำเรื่องนี้ไปนำเสนอในเวที นี่คือการผสมผสานความคิดของทุกฝ่าย ทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล

- หากปฏิรูปสำเร็จ แต่สุดท้ายถูกเคลมว่าเป็นผลงานของคุณยิ่งลักษณ์
(สวน ทันที) อันนี้เราไม่สนใจ ผมเชื่อว่าไม่มีใครสนใจหรอกว่าเป็นผลงานใคร ทุกคนเป็นคนไทย เป็นผลงานของคนไทย การปฏิรูปให้สำเร็จไม่ใช่เรื่องของท่านบรรหารคนเดียว ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาลฝ่ายเดียว แต่เป็นเรื่องคนไทย 60 ล้านคนที่จะช่วยกัน ไม่งั้นไม่มีทางหรอกครับ

- คุณยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ มา 2 ปี เพิ่งมาเริ่มต้นปฏิรูป ถือว่าช้าไปหรือไม่


ต้องไม่ลืมว่า ทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาล เราก็เจอปัญหา เจอกระแสต่อต้านเยอะมาก พอเสนอแนวคิดอะไรไปก็ถูกต่อต้าน ท่านก็พยายามอดทน ไม่โต้ตอบ ก็เอานโยบายรัฐบาลเป็นตัวตั้ง ก็ทำงานไป แต่เมื่อทำงานมาได้ระดับหนึ่ง เริ่มเห็นว่าควรจะหยิบเรื่องเหล่านี้มาทำให้จริงจัง ก็จุดประกายขึ้นมา ทุกฝ่ายก็ขานรับ ทุกคนเห็นว่าจะปล่อยให้ประเทศบอบช้ำกว่านี้ไม่ได้

- เป็นแค่การซื้อเวลาทางการเมืองหรือไม่
(สวน ทันที) เป็นเรื่องปกติที่คนเห็นต่างต้องมองประเด็นนี้ แม้แต่ตอนเราเดินทางไปคุยกับแต่ละฝ่าย ก็มีคนถามว่า ทำไมมาเป็นเครื่องมือรัฐบาลให้ซื้อเวลา เราก็บอกว่า เราไม่ได้เป็นเครื่องมือของเขา แต่เราเชื่อว่าถ้าไม่เริ่มต้นก็ไม่มีทางไปถึงจุดหมายได้

มันอยู่ที่ พวกคุณแล้วว่า พอพวกผมเริ่มต้นแล้ว พวกคุณจะร่วมมือกับผมไหม วันนี้คุณอาจยังไม่เชื่อใจ แต่เมื่อพวกผมทำให้เห็น คุณจะว่าอย่างไร ก็เหมือนการสร้างอาคาร ผมลงฐานราก ตอกเสาเข็ม คุณเห็นแล้วว่าเราทำจริง ก็มาเข้าร่วมกันได้นี่

- แต่สุดท้ายไม่ว่าจะปฏิรูปสำเร็จหรือไม่ รัฐบาลก็ไม่เจ็บตัว เพราะคนที่เดินนำคือคุณบรรหารไม่ใช่คุณยิ่งลักษณ์
อย่า ไปมองว่าเป็นอะไร มองว่าทุกคนเป็นคนไทยเหมือนกัน เราไม่ได้มองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ท่านบรรหารพูดเสมอว่า ต้องมองว่าเราคือคนไทยที่ต้องการเห็นประเทศก้าวพ้นจากปัญหาที่มีอยู่ อยากคืนความสงบสุขให้กับประชาชน

- ควรคิดเช่นนั้น แม้ว่าคุณบรรหารจะถูกกล่าวหาว่าเป็นหุ่นเชิด

(สวน ทันที) ผมคิดว่าท่านไม่แคร์นะ ถ้าท่านแคร์คงไม่มาทำเรื่องนี้ วันนี้ไปไหนมีแต่คนบอกว่า ท่านกลายเป็นหุ่น เป็นตุ๊กตาให้เขาหลอกใช้ ท่านก็บอกว่า ท่านไม่มองตรงนั้น

- หมายความว่ายอมเจ็บตัวได้ไม่มีปัญหา

ท่านยอมเจ็บตัวเพื่อสังคม เพื่อให้เราหลุดพ้นจากวิกฤตเสียที

- คุณบรรหารหวังผลลัพธ์แค่ 50% หมายความว่า รัฐบาลหมดสมัยก็เลิกกัน
คง ไม่อย่างนั้น วันนี้ถ้าหากว่าทุกฝ่ายเห็นสอดคล้องกันและร่วมกันเดินมาถึงขนาดนี้ ผมว่ารัฐบาลคงไม่ทิ้งกลางทางหรอก เขาคงประคับประคองจนสำเร็จ

- คุณบรรหารบอกว่า การปฏิรูปยากกว่าในอดีต เพราะไม่ได้เป็นนายกฯ
ต้อง ไม่ลืมว่า การเป็นนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการสั่งการ เป็นศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่รัฐบาล สามารถใช้องคาพยพต่าง ๆ ตั้งแต่เครื่องไม้เครื่องมือ บุคลากร รวมถึงงบประมาณ แต่วันนี้ท่านบรรหารอยู่ข้างนอก ไม่ได้เป็นแม้กระทั่ง ส.ส. ไม่ได้เป็นอะไรเลย แถมยังถูกจองจำยังไม่พ้นโทษอีกก็มีข้อจำกัดมากมาย

- ถือว่าส่งสัญญาณถึงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่
ท่านก็ประกาศตัวแล้วว่า ทันทีที่พ้นโทษจะมาผลักดันเรื่องปรองดองอย่างเต็มที่

- ที่ผ่านมาคุณบรรหารมักประกาศบ่อยว่าจะเลิกเล่นการเมืองแล้ว
คือ คำว่า เล่น หมายความว่า ไม่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เป็นรัฐมนตรี นี่คือเลิกแล้ว วันนี้แม้จะไม่ได้เป็นอะไรเลย ท่านก็มาทำงานให้กับสังคมได้ ตอนนี้เหลือแค่รอเวลา เพราะที่ผ่านมาท่านถูกจองจำ ข้อห้ามเยอะ ทำงานไม่คล่องตัว

- คุณบรรหารลงทุนเสียเครดิตไปเยอะ อะไรคือผลกำไรที่จะได้รับกลับมา
ผมว่าเราไม่ได้มองตรงจุดนั้น ท่านไม่ได้มองตัวเอง ท่านไม่ได้มองพรรค วันนี้ท่านหลุดพ้นเรื่องเหล่านี้แล้ว ท่านเป็นผู้ใหญ่แล้ว

ท่าน พูดอยู่เสมอว่า ห้วงเวลาของท่าน นับวันเวลาถอยหลังแล้ว ฉะนั้นใช้ช่วงเวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด นั่นคือสิ่งที่ท่านมอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น