โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
23 ตุลาคม 2556
การพัฒนาของระบบทุนนิยมทั่วโลก บวกกับการขยายตัวของระบบการค้ าเสรี สร้างทั้งปัญหาและโอกาสให้กั บกษัตริย์ไทย ซึ่งเป็นผู้ที่เคยได้ประโยชน์ จากการพยายามผูกขาดการควบคุ มระบบแรงงานบังคับและการค้าขาย ปัญหาคือรายได้ที่เคยได้ จากการควบคุมการค้าอย่างผู กขาดลดลงหรือหายไป แต่ในขณะเดียวกันการเปิดเศรษฐกิ จเชื่อมกับตลาดโลกที่กำลั งขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีผลในการสร้างโอกาสมหาศาลสำหรั บนายทุนที่สามารถลงทุนในการผลิ ตสินค้า แต่โอกาสนั้นจะใช้ไม่ได้ ถ้าไม่รีบพัฒนาแรงงาน
การผลิตข้าวในไทยเป็นตัวอย่างที ่ดี ระหว่างปี ค.ศ. 1870-1880 การผลิตข้าวเพื่อส่ งออกไปขายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 93% ในสภาพเช่นนี้ระบบศักดินาที่ เคยอาศัยการเกณฑ์แรงงาน เป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิ จในรูปแบบใหม่ ถ้าจะมีการลงทุนในการผลิตข้ าวเพื่อขายในตลาดโลก จะต้องใช้กำลังแรงงานในการขุ ดคลองชลประทานและการปลูกข้ าวมากขึ้น และแรงงานนั้นจะต้องมีประสิทธิ ภาพสูงกว่าเดิม แรงงานเกณฑ์ที่ไม่ได้รับค่ าตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจ มักจะไม่มีประสิทธิ ภาพในการทำงาน ถ้าจะแก้ปัญหานี้ได้ผู้ปกครองต้ องเปลี่ยนระบบแรงงานไปเป็ นแรงงานรับจ้าง เพื่อขยายกำลังงานที่มีอยู่ให้ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และต้องนำแรงงานรับจ้างเข้ ามาจากประเทศจีนอีกด้วย ซึ่งมีผลทำให้อัตราการค่าจ้ างลดลงเมื่อกำลังงานเพิ่มขึ้น ในไทยค่าแรงลดลง 64% ระหว่างปี ค.ศ. 1847 กับ 1907
ในขณะเดียวกันต้องมีการสร้ างชนชั้นชาวนาแบบใหม่ขึ้นด้วย ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้ ประกอบการรายย่อยอิสระที่มี เวลาและแรงบันดาลใจในการผลิตข้ าวมากกว่าไพร่ในอดีตใครที่คุ้นเคยกับเขตรังสิ ตจะทราบดีว่าที่นี่มี คลองชลประทานที่ตัดเป็นระบบอุ ตสาหกรรมการเกษตรอย่างชัดเจน คลองชลประทานที่ขุดขึ้นที่รังสิ ต ขุดโดยแรงงานรับจ้าง และการลงทุนในการสร้างที่นาเหล่ านี้เป็นการลงทุนโดยบริษัทหุ้ นส่วนของระบบทุนนิยมเพื่อการผลิ ตส่งออก ผู้ที่ลงทุนคือญาติใกล้ชิ ดของกษัตริย์กรุงเทพฯ และนายทุนต่างชาติ หลังจากที่มีการขุดคลองก็มี การแจกจ่ายกรรมสิทธ์ที่ดินบริ เวณริมฝั่งคลอง และชาวนาที่ปลูกข้าวในพื้นที่นี ้เป็นชาวนาอิสระที่มาเช่าที่นา
นอกจากนี้ในการแข่งขันระหว่างรั ฐต่างๆ รัฐที่ยกเลิกแรงงานบังคับไปแล้ว เช่นอังกฤษ อาจใช้ข้ออ้างเกี่ยวกั บการปลดปล่อยทาสเพื่อโจมตีรัฐคู ่แข่งที่ยังมีระบบนี้อยู่ อันนี้เป็นประเด็นหนึ่ งในการยกเลิกระบบแรงงานบังคั บในไทย
ในประเด็นการเมือง การที่รัชกาลที่ ๕ ยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงานบังคับ ซึ่งต้องอาศัยเจ้าขุนมูลนาย ถือว่าเป็นการตัดอำนาจเศรษฐกิ จและการเมืองของเจ้าขุนมู ลนายเหล่านั้นไป เพื่อสร้างระบบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ และรวมศูนย์รัฐแบบทุนนิยมเป็ นครั้งแรกในไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น