ที่มา มติชน
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 1 ตุลาคม
เห็นชอบให้ขยายมาตรการลดค่าครองชีพด้วยการต่ออายุรถเมล์และรถไฟฟรีอีก 6
เดือน คือตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 - 31 มีนาคม 2557 วงเงินชดเชย 2,085
ล้านบาท
ขณะเดียวกันจะเร่งพิจารณาหามาตรการควบคุมการให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าใช้
บริการรถเมล์และรถไฟฟรีอย่างแท้จริง
เบื้องต้นมีแนวคิดจะออกบัตรประจำตัวติดรูป
พร้อมติดบาร์โค้ดให้บุคคลที่อยู่ในข่ายของผู้มีรายได้น้อยได้รับสิทธิใช้
บริการรถเมล์ร้อนขององค์การขนส่งมวชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถไฟชั้น 3
ฟรีทุกคัน โดยรัฐบาลยังคงให้เงินอุดหนุนเช่นเดิม
ซึ่งภายหลังได้รูปแบบดำเนินการที่ชัดเจน
แล้วจะยกเลิกมาตรการรถเมล์ฟรีที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันจำนวน 800 คัน
"บริการรถเมล์ฟรีในปัจจุบันไม่ได้จำกัดกลุ่มผู้ใช้อย่างแท้จริง
จึงมีทั้งผู้มีรายน้อยและมีรายได้มาก
รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติใช้สิทธิบริการรถเมล์ฟรีจำนวนมาก
เพื่อให้นโยบายดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ กระทรวงคมนาคมจะร่วมกับ
ขสมก.หารูปแบบที่ชัดเจน โดยอาจจัดทำบัตรประจำตัวผู้มีรายได้น้อย
ซึ่งจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติว่าจะพิจารณาจากรายได้
หรือการใช้จ่ายค่าน้ำ และไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ในการได้สิทธิดังกล่าว
รวมทั้งจะกำหนดจำนวนเที่ยวในการใช้บริการที่เหมาะสมว่า
แต่ละเดือนควรจะได้สิทธิกี่ครั้ง เพื่อให้สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
เป็นต้น" นายชัชชาติกล่าว และว่า ในช่วง 6 เดือนจากนี้
ยังมีเวลาที่จะหาแนวทางออกในการควบคุมการใช้รถเมล์ฟรีให้กับผู้มีรายได้น้อย
จริงๆ ต้องไปดูว่าจะกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข กติกาอย่างไรในการควบคุมการใช้
และความเหมาะสมในการกำหนดจำนวนเที่ยวที่จะได้ใช้สิทธิขึ้นฟรี
เพื่อให้เหมาะสมกับวงเงินที่จะให้การช่วยเหลือ
นายชัชชาติกล่าวต่อว่า
ในส่วนของการลงทุนติดตั้งระบบหรือตัวเครื่องอ่านและการจัดทำบัตรแบบติดบาร์
โค้ดนั้น
มีความเป็นไปได้ที่จะจัดสรรเงินบางส่วนจากเงินอุดหนุนในโครงการรถเมล์และ
รถไฟฟรีเพื่อมาลงทุนในระบบนี้ ดังนั้น
ผู้ที่มีบัตรจะสามารถใช้บริการโดยการนำบัตรไปแตะที่เครื่องอ่านเพื่อใช้
บริการได้ฟรีเช่นเดิม
สำหรับการให้บริการรถเมล์ฟรี ขสมก. ให้บริการใน 73 เส้นทาง
ส่วนรถไฟฟรี ให้บริการรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม 164 ขบวนต่อวัน และรถไฟชั้น 3
ระยะทางไกลในขบวนรถเชิงพาณิชย์ 8 ขบวนต่อวัน ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ 1
กันยายน 2552 - 30 กันยายน 2556 รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายรวม 14,453.29
ล้านบาท แบ่งเป็น ขสมก. จำนวน 10,475.12 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทย
(ร.ฟ.ท.) 3,978.17 ล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น