ที่มา ข่าวสด
เมื่อ 21 ต.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานคำชี้แจงของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมชี้แจงต่อที่ประชมวุฒิสภา
ในการแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลครบรอบ 1 ปี
ตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐหลังได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว วันที่
21 ตุลาคม 2556 เวลา 12.45 น. ณ อาคารรัฐสภา มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
ดิฉัน
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ก่อนอื่นต้องขอกราบเรียน ขอประทานโทษท่านสมาชิกวุฒิสภาทุกท่านว่า
วันนี้เพิ่งเข้ามาเนื่องจากติดภารกิจด่วน และต้องขอขอบพระคุณท่านประธานฯ
ที่ได้แจ้งให้ทางท่านสมาชิกทราบ
ดิฉันเองก็ต้องขอใช้เวลาของทางสมาชิกวุฒิสภาในเวลาช่วงต้นนี้
กราบเรียนในส่วนของผลงานนโยบายภาพรวมปีแรกของรัฐบาล
ซึ่งอาจจะมีเนื้อหาบางส่วนซ้ำกับที่รัฐมนตรีได้ชี้แจ้งไป
จึงขอเรียนในข้อสรุปดังนี้
ตั้งแต่รัฐบาลได้รับการเลือกตั้งมาเมื่อ
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เป็นที่ทราบกันดีว่า
เรามีปัญหาในเรื่องของปัญหาและอุปสรรคการเริ่มต้นที่เข้ามารับงานอยู่หลาย
ประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ซึ่งยังมีปัญหาต่าง
ๆ ที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ ในการแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดนี้
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 เราได้มีการแถลงนโยบาย
โดยยึดถือจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ คือ 1)
การสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลและรวมถึงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจใน
ประเทศ 2)
การสร้างบรรยากาศในเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับในประเทศและต่างประเทศ
รวมถึงการสร้างความปรองดองบนหลักของความเสมอภาค และมีมาตรฐานเดียว 3)
การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลัก 3
ประการที่ได้ชี้แจงต่อรัฐสภาไว้
สำหรับความท้าทายในการบริหารประเทศ
ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามา ในส่วนแรกเรื่องของปัญหาเศรษฐกิจ
เรื่องของความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการพึ่งพาการส่ง
ออก โดยเปอร์เซ็นต์ของการพึ่งพาการส่งออกอยู่ที่ประมาณ 70% ของ GDP
ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกก็มีการผันผวน
แน่นอนในส่วนของการผันผวนก็มีผลกระทบในส่วนของการส่งออก
จึงเป็นที่มาของมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาล
ที่ต้องการจะเห็นการสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล หมายความว่า
การสร้างความแข็งแรงให้กับเศรษฐกิจในประเทศเพื่อให้มีความสามารถเป็นภูมิ
คุ้มกันในการรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
และในขณะเดียวกันก็เสริมความเข้มแข็งของประเทศ
โดยเฉพาะประเทศไทยมีพื้นฐานทางด้านเกษตรกรรม
ซึ่งเราก็ยังขาดการพัฒนาในเรื่องของสินค้าเกษตรต่าง ๆ มากมาย
รวมถึงการพัฒนาเรื่องของการแปรรูปสินค้าต่าง ๆ ดังนั้น
จึงเป็นที่มาของนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะเสริมเห็นในเรื่องการแก้ไขปัญหา
อย่างยั่งยืน เรื่องโซนนิ่งภาคการเกษตรด้วย
สำหรับเรื่องรายได้จะ
เห็นว่า
ช่วงต้นที่ผ่านมาได้เกิดช่องว่างระหว่างรายได้ของผู้ที่มีรายได้น้อยกับผู้
ที่มีรายได้มาก ยังเป็นช่องว่างของสังคมอยู่
และยังมีหนี้นอกระบบเป็นจำนวนมาก ซึ่งหนี้นอกระบบนี้
ทำให้พี่น้องประชาชนรับภาระเรื่องของหนี้สินที่สูง ถ้าหากเราช่วยให้ประชาชน
สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เป็นต้นทุนต่ำจะทำให้ประชาชนมีช่องว่างในการลด
รายจ่ายในส่วนของหนี้นอกระบบนำไปใช้จ่ายเพื่อให้คุณภาพชีวิตในชีวิตประจำวัน
ดีขึ้นและยาเสพติดต่าง ๆ เป็นปัญหา เป็นบ่อนทำลายเยาวชนไทย
สำหรับ
ต้นทุนภาคการเกษตรที่สูงขึ้นนั้น มาจากหลาย ๆ สาเหตุด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสภาวะภูมิอากาศที่ไม่สัมพันธ์กัน เช่น
อากาศร้อนทำให้สินค้าเกษตรไม่ได้ผลผลิตดีเท่าที่ควร
หรือบางพื้นที่มีปัญหาเรื่องของอุทกภัย ขณะเดียวกันการปลูกพืชที่เหมาะสม
เป็นการลดต้นทุน ทำให้สินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น เมื่อแข่งขัน
และเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาโครงสร้างของสินค้าเกษตรเพื่อทำให้สินค้าเกษตร
สามารถปลูกในพื้นที่เหมาะสมและได้ผลผลิตดีขึ้น
จะทำให้พี่น้องประชาชนมีรายได้ดีขึ้นด้วย รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ของภาครัฐ
ใน
เรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา
โครงสร้างพื้นฐาน น้ำ ประปา ไฟฟ้า
รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานในชุมชนอย่างเท่าเทียมกัน นี่คือสิ่งต่าง ๆ
ที่เป็นปัญหาสังคม หรือเป็นความเหลื่อมล้ำที่รัฐบาลพยายามจัดสรรงบประมาณ
ส่งเสริมให้มีความเจริญ เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้ด้วย
จะเห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานในหลาย ๆ อย่าง
ตลอดเวลาหลายปีไม่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่เพื่อ
แก้ปัญหาระยะยาว ซึ่งโครงสร้างนี้จะมีผลถึงต้นทุนของอุตสาหกรรมด้วย
ถ้าเรามีโครงสร้างที่ดี มีการลงทุนโครงสร้างคมนาคมต่าง ๆ
นอกจากจะลดต้นทุนการผลิตแล้ว ยังเกิดการสร้างงานขึ้นในอนาคต
การ
พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ท่านสมาชิกฯ
ก็คงจะได้เห็นตัวเลขขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเมื่อเทียบกับหลาย ๆ
ประเทศ
เราคงต้องร่วมกันในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นทางด้าน
สังคม การศึกษา และเศรษฐกิจ
รวมถึงขีดความสามารถในการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมด้วย
ขณะเดียวกันในอนาคตปี 2558 ถ้าเราเปิดประชาคมอาเซียน
แน่นอนเราต้องแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ
เราคงต้องช่วยกันในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นฐานรากที่สำคัญของเศรษฐกิจ
สำหรับ
ปัจจัยความท้าทายภายใน
ที่นอกเหนือจากสิ่งที่ได้กราบเรียนท่านสมาชิกวุฒิสภาแล้ว
คือการเปลี่ยนแปลงระดับโลก
หรือระดับภูมิภาคคือเศรษฐกิจระดับโลกนั้นมีความผันผวน
นอกจากมีความผันผวนแล้วยังมีความซับซ้อนมากขึ้น
และการค้าขายการลงทุนกับประเทศต่าง ๆ นั้น
สิ่งที่ต้องเห็นคือการก้าวไปสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน หรือการมีกฎกติกา
การแข่งขันต่าง ๆ ที่เป็นสากลที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น
ดังนั้นความสลับซ้ำซ้อนนี้ต้องมาช่วยกันในการเตรียมตัวของภาคธุรกิจให้
สามารถที่จะแข่งขัน และสามารถที่จะเปิดตลาดใหม่ ๆ ได้
นอกจากที่จะต้องรักษาตลาดเก่าที่เป็นฐานที่ดี
โดยเฉพาะฐานส่งออกก็ต้องมองในฐานส่งออกใหม่
เพราะถ้าเศรษฐกิจโลกมีการเคลื่อนตัว โดยเฉพาะเคลื่อนไปสู่ภูมิภาคเอเชีย
ประเทศไทยจะปรับตัวอย่างไร
ตรงนี้ก็เป็นความท้าทายของปัญหาในเรื่องของเศรษฐกิจโลก
สำหรับการ
เปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อน
และมีความละเอียดอ่อน
เพราะความต้องการของผู้บริโภคนั้นคำนึงถึงสุขภาพและมาตรฐานมากขึ้น
ดังนั้นอาหารหรือสินค้าต่าง ๆ
ของประเทศไทยต้องก้าวไปสู่การพัฒนาในเรื่องของมาตรฐานต่าง ๆ
ที่เป็นที่ยอมรับ ความสะอาด ความปลอดภัย การลดการใช้สารต่าง ๆ
ที่ไม่ใช่สารธรรมชาติ
ก็ต้องทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมนี้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ขณะเดียวกันโรงงานอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นก็ต้องเติบโตภายใต้การพัฒนาของ
อุตสาหกรรมที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม การคำนึงถึงสภาวะภูมิอากาศต่าง ๆ
ที่สะท้อนเข้าไปในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ก็เข้ามาอย่างรวดเร็ว เช่น
สื่อทางด้านอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ก็ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนแปลงไป
ขณะเดียวกันความมั่นคงก็เปลี่ยนรูปแบบไป
ในเรื่องของภัยคุกคามต่าง ๆ
ที่เรียกว่าไร้พรหมแดน
ซึ่งต้องช่วยกันในการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนี้ ในปี 2556
ก็จะก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ การดูแลเรื่องของสาธารณสุข
การดูแลสังคมผู้สูงอายุต้องมีแนวทางในการพัฒนาทิศทางต่าง ๆ
และการเตรียมที่จะรองรับเรื่องของแรงงานทางด้านของประชากรต่าง ๆ ของประเทศ
ซึ่งก็เป็นปัญหาระยะยาวที่ต้องเริ่มวางแผนกันตั้งแต่ส่วนนี้
ตรงนี้ก็เป็นความท้าทายอีกด้านหนึ่งของทางด้านปัจจัยภายนอก
ในส่วน
ของรัฐบาล ในปีแรกที่รัฐบาลเข้ามานั้น
สิ่งแรกคงต้องร่วมกันในการสร้างความเชื่อมั่นคือการทำอย่างไรให้ประเทศของ
เรานั้น มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งคือการเสริมในเรื่องของเศรษฐกิจภายในประเทศ
และเรื่องของการแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศ
ด้วยบรรยากาศของการสร้างความปรองดอง บรรยากาศของการไม่ตอบโต้
และการแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี
รวมถึงในเรื่องของการแก้ปัญหาต่าง
ประเทศ ประเทศไทยเรานั้น
เรียกว่าเราก็ต้องเร่งในการที่จะแก้ปัญหาความร่วมมือทางด้านความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในอดีตต่าง ๆ ก็ต้องเร่งในการฟื้นฟู
เพราะว่าวันนี้เศรษฐกิจต่าง ๆ นั้น เราต้องค้าขายกับหลาย ๆ ประเทศแน่นอน
การ
ที่เราจะต้องมีประเทศต่าง ๆ ที่จะมาทำการค้าการลงทุน
เขาก็ต้องมีความมั่นใจทางด้านเศรษฐกิจพื้นฐาน ความมั่นคงทางด้านของการเมือง
ความสงบต่าง ๆ ก็จะเป็นพื้นฐานในการที่จะสร้างความแข็งแรงของเศรษฐกิจ
และเป็นพื้นฐานของการสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศด้วย สิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้ก็จะทำให้เราสามารถที่จะค้าขายและขยายการค้าในแต่ละภูมิภาคได้
ซึ่งโจทย์ในการสร้างความเชื่อมั่นในแต่ละภูมิภาคก็ต่างกัน
ดังนั้น
เราก็ต้องเข้าใจในยุทธศาสตร์ของแต่ละภูมิภาค
เพื่อที่จะได้เน้นในการเชื่อมโยงของภูมิภาคต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
โดยเฉพาะประเทศไทยเรา
ถือว่าเราเป็นประเทศที่อยู่ในจุดศูนย์กลางของยุทธศาสตร์ที่ดี
เราสามารถที่จะเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้ก็จะสอดคล้องกับสิ่งที่รัฐบาลได้มีการนำเสนอในเรื่องของโครงสร้าง
พื้นฐานที่จะเชื่อมประเทศไทยสู่ภูมิภาคอาเซียน ด้วย concept ของ
connectivity และการเชื่อมโยงภูมิภาคแต่ละภูมิภาคเข้าด้วยกัน สิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้เป็นการวางนโยบายในเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่น
ต้องขอ
อนุญาตใช้เวลาในการเรียนท่านสมาชิกวุฒิสภาว่า ในปีแรกของการเข้ามาทำงานนั้น
การสร้างความเชื่อมั่นก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการเร่งด่วน
การกู้ศักดิ์ศรีให้กับประเทศไทยให้ได้รับการยอมรับ
ก็จะเห็นว่าจากตัวเลขของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในปี 2554 อยู่ที่ 19.2
ล้านคน รวมทั้งในปี 2555 มีจำนวนนักท่องเที่ยวถึง 22.3 ล้านคน
นั่นแปลว่าหลาย ๆ ประเทศให้ความเชื่อมั่น
แม้ว่าเราจะมีปัญหาในเรื่องของวิกฤต ในเรื่องของอุทกภัยในปลายปี 2554 ก็ตาม
เราก็คงยังรักษาในเรื่องของตัวเลขนักท่องเที่ยว
และขออนุญาตรับข้อห่วงใยของท่านสมาชิกวุฒิสภา
ที่ท่านห่วงใยเรื่องของความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
ซึ่งวันนี้เราก็ได้พยายามที่จะบูรณาการร่วมกัน
โดยเฉพาะกับทางเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจ
และดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน
สำหรับการแก้
ปัญหาเรื่องของวิกฤตช่วงมหาอุทกภัยในปี 2554 ซึ่งเราคงทราบดีอยู่แล้วว่า
ปัญหานั้นทำให้ประเทศไทย มีผลทางด้านของ GDP ที่เรียกว่าถดถอยไปในปลายปี
2554 แต่ด้วยการที่พี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเอกชน ประชาชน
และทุกหน่วยงาน เข้ามาบูรณาการด้วยกัน ทำให้เราสามารถที่จะก้าวพ้นปัญหาต่าง
ๆ และทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลับเข้ามาในลักษณะของวีเชฟ
ที่เพิ่มขึ้นมาภายในเพียง 6 เดือน ทำให้ตัวเลข GDP ของปี 2555
โดยเฉลี่ยทั้งปีมาอยู่ที่ โตประมาณ 6.7 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งในส่วนนี้การทำงานของรัฐบาลในช่วงเร่งด่วนของปีแรกที่เราเข้ามา
เราก็ได้จัดสรรงบประมาณจากของทุกกระทรวงมาเป็นงบกลาง 120,000 ล้านบาท
เพราะว่าในขณะนั้น
ขณะที่รัฐบาลเข้ามารับภาระนั้นก็มีสถานการณ์อุทกภัยก็ถือว่าเป็นขั้นวิกฤต
ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าความเสียหายจะเท่าไร
แต่เราก็ได้ใช้งบประมาณส่วนของกระทรวงนั้นมาเป็นงบกลาง 120,000 ล้านบาท
ซึ่งในส่วนนี้ทำให้เราสามารถที่จะช่วยเหลือเยียวยาทางด้านบ้านเรือน
และไร่นาที่เสียหายให้กับพี่น้องประชาชน
และเราได้จัดสรรงบประมาณเพียงส่วนหนึ่ง ประมาณ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์
ไปใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
ให้กลับคืนสู่สภาพเดิม และบางส่วนก็ใช้ในการดูแลปกป้องพื้นที่เศรษฐกิจหลัก ๆ
ซึ่งก็ทำให้การแก้ปัญหาในปี 2555 และ ปี 2556 ในปีนี้
ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ แก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง
แต่ขณะเดียวกันเราก็
ได้เสนอแผนในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ด้วยออก พ.ร.ก. เงินกู้
350,000 ล้านบาท
เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำทั้งในภาวะอุทกภัยและ
ภาวะภัยแล้งควบคู่กันไปด้วย นอกจากนั้น
รัฐบาลยังได้มีการตั้งศูนย์รวมในการปฏิบัติงานให้เป็นภายใต้หน่วยเดียว คือ
คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ใช้หลัก Single Command
ในการบูรณาการฐานข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งวันนี้ฐานข้อมูลต่าง ๆ ก็ได้ถูกบูรณการ ณ
จุดเดียว เพื่อให้มีโอกาสได้มีการแจ้งเตือนภัยต่าง ๆ
และหน่วยงานในหลายหน่วยงานก็ได้บูรณาการร่วมกับกรมป้องและบรรเทาสาธารณภัย
และหน่วยงานต่าง ๆ ในการเตรียมแผนที่จะป้องกันและเข้าไปแก้ปัญหาได้ล่วงหน้า
เพราะจากที่ผ่านมานั้น จากระเบียบตอนแรกนั้น เราต้องให้เหตุเกิดขึ้น
ระเบียบราชการถึงจะทำงานได้ แต่วันนี้เราได้มีการปรับปรุงระเบียบต่าง ๆ
เหล่านี้
เพื่อให้หน่วยงานสามารถที่จะเข้าไปแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้เร็วขึ้น
ดัง
นั้น โดยรวมเรียนว่า แม้ว่ารัฐบาลจะพบกับปัญหาในช่วงของอุทกภัยในช่วง 3 – 4
เดือนแรก ในขณะเดียวกัน
รัฐบาลก็ไม่ได้ละเลยที่จะทำตามคำมั่นสัญญากับพี่น้องประชาชนที่ได้มีการแถลง
ไว้ต่อรัฐสภา ด้วยนโยบายเร่งด่วนทั้ง 16 นโยบาย
ซึ่งก็ได้ดำเนินการตั้งแต่ในปีแรกภายใต้หลักของการรักษาสมดุลและการลดราย
จ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส รวมถึงการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานต่าง ๆ
กราบเรียนท่านสมาชิกวุฒิสภาว่า ปีแรกของรัฐบาลนี้
จะเป็นปีแรกของการแก้ปัญหาส่วนหนึ่ง
และขณะเดียวกันก็เร่งนโยบายเร่งด่วนเพื่อที่จะแก้ปัญหาพื้นฐาน
ขณะ
เดียวกัน เราก็ได้เริ่มมีการเตรียมสำหรับปีที่ 2
ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศ เพื่อที่จะแก้ปัญหาระยะยาว
ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจไม่สมดุล การแก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางพลังงานต่าง ๆ
และขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งในปีที่ 2
ก็เป็นปีของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศภายใต้หลักยุทธศาสตร์ 4
ประการด้วยกัน คือ 1) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
เพื่อให้รายได้ของประเทศนั้นดีขึ้น 2) การลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ 3)
การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่วนที่4)
การบูรณาการพัฒนาการบริหารจัดการของภาครัฐ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
นี่ก็เป็นแผนงานเบื้องต้นที่เราพยายามที่จะแก้ปัญหาที่มีอยู่
และเร่งรัดในส่วนของนโยบายที่เร่งด่วน
ขณะเดียวกันก็ต้องเริ่มมองแนวทางในการที่จะแก้ปัญหาระยะยาว
ซึ่งก็เป็นแนวทางในการที่จะเริ่มต้นของการทำงานของรัฐบาลในปี 2
และเป็นแนวทางที่เราจะยึดใช้ต่อในปีที่ 3 ต่อไป
ทั้งหมดนี้ก็เป็นแนว
ทางในการแก้ปัญหาภาพรวมของปีแรกของรัฐบาล
ขอใช้เวลากับท่านสมาชิกวุฒิสภาแต่เพียงเท่านี้
ดิฉันและคณะรัฐมนตรีก็เตรียมที่จะตอบข้อซักถามและข้อห่วงใยของท่านสมาชิก
วุฒิสภา ขอบคุณค่ะ
และดิฉันต้องขอเรียนในภาพรวม จริงๆ
แล้วดิฉันเองต้องขออนุญาตใช้เวลาสักเล็กน้อยของท่านสมาชิกในการชี้แจงใน
ภาพรวมสั้น ๆ ซึ่งก็จะขออนุญาตไม่ลงไปในรายละเอียด
ทางรัฐบาลก็ได้รับเอกสารแล้วก็จะขออนุญาต
รับเอกสารของท่านสมาชิกนำไปเป็นแนวทางในการทำงาน
ต้องขอกราบเรียนท่านสมาชิกที่เคารพว่า จริง ๆ แล้ว
ในส่วนที่ดิฉันได้เรียนว่าการแก้ปัญหาของรัฐบาลในปีแรกนั้น ต้องยอมรับว่า
ช่วงปีแรกนั้น ได้มีปัญหา ต่าง ๆ ที่เป็นความท้าทายอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างภายใน โครงสร้างทางด้านการแก้ปัญหาของต่างประเทศ
ซึ่งแน่นอนว่าในปีแรกรัฐบาลต้องเร่ง คือการเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
และเร่งแก้ปัญหาในระยะ สั้น ซึ่งต้องเรียนว่า ในหลาย ๆ นโยบายนั้น
เราต้องการความต่อเนื่องในการทำงาน จึงเป็นที่มาของปีที่ 2
เราต้องสานต่อนโยบายที่เร่งด่วน
ซึ่งตลอดระยะเวลาได้มอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้ติดตามและ
พยายามที่จะปรับปรุงในตัวเนื้อหานโยบายต่าง ๆ
ขออนุญาตรับข้อเสนอและข้อห่วงใยของท่านสมาชิกฯ ไว้
ในส่วนของเรื่อง
ใหญ่ ๆ ดิฉันต้องขอเรียนว่า รัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาในภาพใหญ่เช่นกัน เช่น
ในเรื่องแรกที่ท่านสมาชิกฯ ได้กราบเรียนไว้ เป็นเรื่องที่ใหญ่จริง ๆ
ในส่วนของรัฐบาล ตั้งแต่วันแรกที่ได้ประกาศว่าต้องการเห็นการปรองดอง
จะเห็นได้จากที่ผ่านมารัฐบาลได้มีความพยายามมุ่งมั่นในการทำงานและมุ่งมั่น
ที่จะใช้ความอดทน ไม่ตอบโต้เพราะเราอยากเห็นบรรยากาศที่ดีของประเทศ
แต่แน่นอนการทำงานรัฐบาลฝ่ายเดียวก็คงไม่ได้ ดังนั้น
ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่ายด้วย และพร้อมยินดีที่จะเข้าหา
สำหรับ
การแก้ปัญหานั้น
รัฐบาลต้องการเห็นการแก้ปัญหาในระยะยาวของประเทศและต้องการเห็นทางออก
เพราะฉะนั้นการพูดคุยก็มี การรับฟัง ข้อคิดเห็น และพูดคุยมุมที่ต่าง ๆ กัน
ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศในเวทีการรับฟังไม่ว่าจะเป็นเวทีปฏิรูปทางการเมือง
และรับฟังการแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
และในส่วนของการรับฟังท่านสมาชิกวุฒิสภานั้น ด้วยความเคารพ
ดิฉันก็เคารพสภาแห่งนี้ เคารพท่านสมาชิก ฯ
และเคารพในทุกเสียงที่ท่านได้กรุณาแนะนำ ต้องกราบเรียนด้วยความเคารพว่า
ในส่วนของการบริหารก็มีงานประจำมากมาย
แต่ถ้าช่วงไหนที่มีเวลาก็จะพยายามที่จะมา แต่ในขณะเดียวก็มีปัญหาต่าง ๆ
มากมาย อีกทั้ง ยังมีทีมงานที่จะติดตามปัญหาต่างๆ เหล่านี้
และนำข้อแสนอแนะนำต่าง ๆ
ของข้อสมาชิกนั้นไปให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
สำหรับ
เรื่องปัญหาปากท้องหรือการแก้ปัญหานั้น ต้องกราบเรียนว่า
เป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาในระยะยาวด้วยเช่นกัน
ขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์ต้องเร่งที่เป็นปัญหาในเรื่องของปากท้องของพี่
น้องประชาชน
ในส่วนของโครงสร้างปัญหาสินค้าเกษตรนั้น
เรามีปัญหาเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้น แน่นอนเมื่อต้นทุนสูงขึ้น
พี่น้องเกษตรกรเวลาขายสินค้า เขาก็อยากได้ราคาที่สูงขึ้น
จึงต้องมีแนวทางที่เหมาะสม ดังนั้น
จึงเป็นแนวทางระยะยาวที่จะแก้ปัญหาในเรื่องการจัดกลุ่มโครงสร้างโซนนิ่งใน
เรื่องภาคการเกษตร โดยเน้นในเรื่องการเพาะปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม
เพื่อทำให้สินค้าทางการได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ได้ต้นทุนที่ต่ำลง
ในขณะ
เดียวกัน ในส่วนของต้นน้ำคือ ต้องลดต้นทุนผลิตสินค้าเกษตรต่าง ๆ กลางน้ำ
วันนี้เราร่วมกันบูรณาการงานวิจัย การแปรรูปสินค้าเกษตร
ซึ่งถ้าเราไม่มีการแปรรูป ไม่มีการส่งเสริมส่วนนี้มากขึ้น
ก็จะทำให้สินค้าต่าง ๆ อาจจะสูญเสียไปได้
วิธีการแก้ปัญหาของรัฐบาล
จะเน้นแก้ปัญหาในระยะยาวไม่ว่าจะเป็นการทำโซนนิ่งภาคการเกษตร
และการแก้ไขปัญหาสินค้าการเกษตร
เป็นลักษณะของห่วงโซ่อุปทานคือตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
ซึ่งได้มีการมอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ดูสินค้าเกษตรเป็นรายสินค้า
เพื่อที่จะได้มองในภาพรวมเพื่อการแก้ปัญหาต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ซึ่งได้มีการมอบหมาย อย่างเช่น เมื่อเช้านี้เรื่องยางพารา อ้อย ฯลฯ
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อนำผลผลิตนอกจะเพียงพอกับการบริโภคแล้ว
ส่วนที่เหลือใช้สามารถนำไปปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดประโยชน์สินค้าปลายน้ำให้
มากที่สุด
ดิฉันก็ขออนุญาตกราบเรียนโดยภาพรวมนะค่ะ
ส่วนในรายละเอียดนั้นก็คงจะให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตอบต่อไป อีกทั้ง
ขอขอบคุณข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ของท่านสมาชิกค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น