แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เชิญชวนประกวดเรียงความสิทธิมนุษยชน รางวัลชนะเลิศ ๑ แสนบาท

ที่มา Thai E-News

ภาคีไทย
เพื่อสิทธิมนุษยชน
สำนักงานใหญ่ ณ นครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
1268 Grant Avenue, 3rd Floor, San Francisco, CA 94133
Email: president@thai‐ahr.org Website: http://thai‐ahr.org

 _____________________________________________________
A non‐profit organization registered with the State of California, the United States of America on June 28, 2012


ระเบียบการแข่งขัน
บทความเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกการเคารพสิทธิมนุษยชน

“ประเทศไทยในฝันแบบสังคมอารยะที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชน”

หลักการและเหตุผล

งานสิทธิมนุษยชนนั้น ปกติมักจะมีในรูปการแสดงตัวตามสื่อต่าง ๆ การตีพิมพ์ข่าวสาร การแถลงข่าว และการส่งจดหมายร้องเรียน เพื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยประชาชนทั่วไปมักไม่ได้มีส่วนรับรู้หรือเรียนรู้ด้วย นอกจากผู้ที่อยู่ในแวดวงนักสิทธิมนุษยชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น การเข้าถึงประชาชนเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกจึงเกิดขึ้นน้อย

ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน เน้นโครงการที่จะต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และทุกกิจกรรมต้องตอบสนองต่อภารกิจด้านใดด้านหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งในสาม ด้านของภาคีฯ คือ การป้องปราม เยียวยา และการสร้างเสริมจิตสำนึก สิ่งที่เป็นหัวใจของการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนที่ภาคีฯ ยึดมั่นคือ การก้าวไปสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้งานทั้งสามด้านได้ผลในเชิงลึก กว้าง และยั่งยืน อันจักเป็นการสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าได้อย่างแท้จริง

การประกวดบทความในหัวข้อที่เหมาะสม นอกจากจะทำให้ผู้มีส่วนร่วมได้ศึกษาค้นคว้าเปิดหูเปิดตา และเปิดใจแล้ว ยังเป็นการทำให้คนไทยมองปัญหาของชาติในกรอบอารยธรรมสากล เพื่อสานฝันที่ดีงามสำหรับชาติ แล้วสร้างแนวทางไปสู่ฝันบนหลักสิทธิมนุษยชนสากล

การเผยแพร่ตั้งแต่เริ่มโครงการ การเรียนรู้ของผู้ประกวดระหว่างการเขียน การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ผลงานไปสู่สังคมไทยระดับโลก ตลอดจนการประกาศกิตติคุณและตอบแทนด้วยเงินที่มีจำนวนไม่มากและไม่น้อยเกินไป ถือว่าน่าจะเป็นการช่วยให้สังคมไทยได้หันมามองแนวทางต่างๆ ร่วมกัน ในอันที่จะผลักดันประเทศไทยร่วมกัน เพื่อไปสู่การเป็นสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่หลักสิทธิมนุษยชนได้รับการเคารพจากผู้ใช้อำนาจรัฐและประชาชนผู้ได้เปรียบ ในสังคม และในหมู่ประชาชนทุกภาคส่วนในเวลาเดียวกัน

วัตถุประสงค์ของการประกวดบทความ

1. เพื่อสร้างความเข้าใจในหมู่คนไทยทั่วโลกเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ที่ซ่อนรูปอยู่ใต้จิตสำนึกและวัฒนธรรมที่ไม่เอื้อต่อการตระหนักรู้

2. เพื่อกระตุ้นคนไทยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการศึกษาในระบอบปัจจุบันของไทย ที่ส่งผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนไทยทั้งโดยตรงและโดยอ้อม โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาและแก้ไขอย่างแท้จริงและเหมาะสม

3. เพื่อสร้างจิตสำนึกแห่งการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนใต้ระบอบประชาธิปไตยตามหลักอารยะสากล

ผู้มีสิทธิส่งผลงานเข้าประกวด

บุคคลเชื้อชาติไทยทั่วโลก ทุกเพศ วัย อาชีพ ความเชื่อ และระดับการศึกษา

ข้อกำหนดและรายละเอียดเกี่ยวกับการประกวด

บทความต้องอยู่ใต้หัวข้อ “ประเทศไทยในฝันแบบสังคมอารยะที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชน”

ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดซึ่งไม่จำกัดเพศ วัย อาชีพ ความเชื่อ และระดับการศึกษา ต้องเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานจริง และต้องเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ต้องมีอีเมล์และ/หรือเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้จริง โดยจะใช้ชื่อจริงหรือนามปากกาก็ได้

แต่ละบุคคลสามารถส่งผลงานเป็นไฟล์ Word document ได้ไม่เกินสองชิ้น (ในกรณีจำเป็น เราจะรับผลงานในรูปไฟล์ที่สแกนเป็น PDF ด้วย) ภายในไม่เกินเที่ยงคืน วันที่ 20 กันยายน 2556 โดยส่งผลงานไปที่ president@thai-ahr.org

เนื้อหาบทความที่ผ่านการเข้ารอบสุดท้าย 20 ผลงาน จะต้องถูกอ่านหรือนำเสนอโดยเจ้าของผลงานหรือตัวแทนที่ภาคีฯ จัดให้ โดยจะส่งในรูป MP3 (เสียง) หรือ WMA (วิดีโอ) ก็ได้ โดยผลงาน 20 ชิ้นจะถูกนำไปไว้สำหรับการโหวตที่สถานียูทูปของภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ในระหว่างวันที่ 21 กันยายน - 10 ตุลาคม 2556 โดยคะแนนเสียงโหวตของผู้อ่านจะคิดเป็น 10 % แล้วนำไปรวมกับอีก 90 % จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิรับเชิญ การตัดสินของคณะกรรมการ และการประกาศผลโดยภาคีฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด


เกณฑ์การตัดสิน

คณะกรรมการผู้ทรงเกียรติที่ภาคีฯ เชิญเข้าร่วม ตัดสินตามกรอบต่อไปนี้ (10 คะแนน/แต่ละข้อ )

1) มีเนื้อหาสาระตรงตามหัวข้อ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประกวด

2) มีเนื้อหาสร้างสรรค์ และไม่ล่วงละเมิดหลักกฎหมายสากลและศีลธรรมจรรยาอันดี

3) แสดงถึงความรู้และความเข้าใจในหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 30 ข้อซึ่งท่านสามารถไปศึกษาเพิ่มเติม ที่ http://tinyurl.com/mvjauss หรือแหล่งอื่น

4) แสดงถึงความเข้าใจปัญหาทางการเมืองไทยที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษย ชนอย่างถูกต้อง และสอดคล้องกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยสากล

5) มีความยาวประมาณไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4 ไม่เว้นบรรทัด โดยมีความห่างจากขอบด้านบน และด้านข้างไม่เกินหนึ่งนิ้ว และตัวอักษรมีขนาดเท่าขนาด 11-12 ของแบบ Times New Roman (อ่านได้ชัดเจน แต่ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป)

6) มีคำนำ (introduction) ตามด้วยเนื้อหาสาระหลัก (body) ซึ่งมีคำอธิบายที่มีหลักมีเกณฑ์และการสนับสนุนด้วยตัวอย่าง หลักฐาน หรือข้อมูลชัดเจน พร้อมบทสรุป (conclusion)

7) บทสรุปมีความสร้างสรรค์ นำไปคิดต่อยอดได้ หรือสามารถนำไปปฎิบัติได้

8) การนำเสนอชัดเจน มีการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องตามสมควร นำเสนอเป็นลำดับขั้นตอน เหมาะสมชวนติดตาม และดึงดูดผู้ฟังแต่ต้นจนจบ

9) มีมุมมองที่ไม่ธรรมดาเกินไปหรือคาดเดาได้ทุกอย่าง กล่าวคือ มีความแปลกใหม่ ลึกซึ้ง ชวนให้คนคล้อยตาม และเกิดการงอกเงยของภูมิปัญญา

10) มีการใช้ข้อมูล สื่อ และวิธีการนำเสนอที่สร้างสรรค์ เสริมเนื้อหาให้เข้าใจง่าย และทำให้การสื่อสารสาระเกิดประสิทธิผล

แบบฟอร์มการส่ง

ผลงานของท่านจะต้องมีรายละเอียดต่างๆ ในไฟล์ ดังนี้
  • หัวข้อบทความ “ประเทศไทยในฝันแบบสังคมอารยะที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชน”
  • ชื่อ-นามสกุล อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้จริง
  • วันเดือนปี ที่ส่ง
  • ความยาวต้องเป็นไปตามที่กำหนด คือ ไม่น้อยกว่า 3 หน้ากระดาษ แต่ไม่เกิน 5 หน้า (หากไม่เข้าข่ายนี้ ทางภาคีฯ สงวนสิทธิที่อาจจะไม่รับพิจารณาผลงานของท่าน
  • หมายเลขหน้าพร้อมชื่อและสกุลบนหัวของทุกหน้า
รางวัลสำหรับผลงานที่ชนะการแข่งขัน
  • รางวัลชนะเลิศ โดย (ชื่อผู้บริจาครางวัลจะประกาศภายหลัง) 100,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศ โดย (ชื่อผู้บริจาครางวัลจะประกาศภายหลัง) 50,000 บาท
  • รางวัลที่สาม โดย (ชื่อผู้บริจาคจะประกาศภายหลัง) 20,000 บาท
  • รางวัลชมเชย (ชื่อผู้บริจาคจะประกาศภายหลัง) 10 รางวัล ๆ ละ 3,000 บาท
รายละเอียดอื่นๆ

เมื่อท่านส่งผลงานเข้าประกวด ถือว่าท่านเข้าใจแล้วว่า ผลงานทุกชิ้นที่ส่งจะเป็นลิขสิทธิ์ที่ยกให้ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนในการ ตัดต่อหรือทำซ้ำ เพื่อการเผยแพร่ในกิจกรรมใดๆ ในอนาคตของภาคีฯ แต่ไม่ได้ตัดการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของท่านในฐานะผู้ผลิตผลงานด้วยเช่นกัน

การประกาศผลชนะเลิศ จะทำขึ้นในการประชุมประจำปีของภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน ในวันที่ 13 เดือนตุลาคม 2556 ที่นครลอสแอนเจลีส สหรัฐอเมริกา และเจ้าของผลงานชนะเลิศจะได้รับการติดต่อ และมอบเงินรางวัลภายในไม่เกินปลายเดือนพฤศจิกายน 2556

หมายเหตุ:

โครงการนี้ได้รับการตรวจสอบ และอนุมัติโดยคณะกรรมการบริหาร และบอร์ดอำนวยการของภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนแล้ว เมื่อวันที่ 3 เดือนกรกฎาคม ปี 2556

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่เว็บไซต์ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ที่ http://tinyurl.com/k6vqywk หากท่านมีคำถามใดๆ ท่านสามารถส่งคำถามทางอีเมล์ได้ที่ president@thai-ahr.org


ท่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ทาง http://thai-ahr.org เพื่อทำความเข้าใจ และเรียนรู้สาระเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและทั่วโลก เพื่อนำมาใช้ประกอบการเขียนบทความของท่าน

ขอให้ทุกท่านโชคดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น