แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทามาดะ โยชิฟูมิ: การจับมือเป็นพันธมิตรกันของพลังต้านประชาธิปไตย

ที่มา ประชาไท



ระหว่างวันที่ 24 - 25 สิงหาคม ที่โรงแรมฟูรามา จ.เชียงใหม่ มีการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ: ไทยศึกษาในสายลมตะวันออก (International Conference: Thai Studies through the East Wind) ซึ่งจัดร่วมกันโดยคณะมนุษยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ The Japanese society for Thai Studies และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น
ในวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันแรกของการจัดงาน ศาสตราจารย์ ทามาดะ โยชิฟูมิ จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ได้นำเสนอหัวข้อ "Powerful Alliance against Democracy: How to justify its attemps" หรือ "การจับมือเป็นพันธมิตรกันของกลุ่มพลังที่ต้านประชาธิปไตยในประเทศไทย" โดยการอภิปรายของอาจารย์ทามาดะ เริ่มด้วยการนำเสนอว่า การเมืองไทยแปลกจริงๆ เพราะมีพวกต่อต้านการเมืองแบบการเลือกตั้ง และคนกลุ่มนี้ก็มีพลังมากพอสมควร ทำไมจึงเป็นเช่นนี้
"รู้สึกแปลกใจว่าการเมืองไทยแปลก อันหนึ่งที่เมืองไทยมีคือคนต่อต้านการเมืองแบบเลือกตั้ง คือพวกต่อต้านประชาธิปไตยนะครับ ที่ไหนก็มี เช่น ญี่ปุ่นก็มี มีคนไม่ชอบประชาธิปไตย แต่ที่เมืองไทยนี่แปลกเพราะพวกที่ไม่เอา ไม่ชอบประชาธิปไตย มีพลังมากพอสมควร เขากล้าพูด กล้าปฏิเสธว่าไม่ต้องมีการเลือกตั้ง พูดที่อื่นไม่ค่อยได้ แต่ที่เมืองไทยพูดได้ แล้วก็ไม่ต้องอาย ก็แปลก" อาจารย์ทามาดะกล่าวตอนหนึ่ง
ทั้งนี้รู้สึกว่าแปลกผิดปกติ เพราะโดยปกติพวกที่ต่อต้านประชาธิปไตยเป็นผู้กุมอำนาจที่ไม่อยากเสียอำนาจ จากการแพ้การเลือกตั้ง และพวกที่ไม่กุมอำนาจต้องการจัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อจะได้อำนาจ แต่ที่เมืองไทย พวกที่ไม่เอาการเลือกตั้ง และไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งเป็นพวกที่ไม่ได้กุมอำนาจ
โดยพวกนิยมเจ้า และพวกประชาสังคมหรือชนชั้นกลาง ได้ร่วมกันจับมือต่อต้านประชาธิปไตย การเมืองไทยจึงขาดเสถียรภาพ โดยในการนำเสนออาจารย์ทามาดะได้มีคำถามตั้งต้นว่า "ทำไมสองพวกนี้ไม่ชอบประชาธิปไตย" และ "สองพวกนี้จับมือกันได้เพราะเหตุใด"
ในการอภิปรายอาจารย์ทามาดะ ได้แสดงภาพของ "ระบอบใหม่" อันเป็นการเมืองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแบบหลัง 14 ตุลาคม 2516 นอกจากนี้ทามาดะยังอภิปรายถึงภาวะ ทวิราชย์ (Dyachy) หรือระบบกึ่งรัฐสภา (Semi-parliamentary system) ที่เกิดขึ้นในการเมืองไทยด้วย
อาจารย์ทามาดะ อภิปรายด้วยว่า ภาวะที่ฝ่ายนิยมเจ้าและชนชั้นกลาง จับมือกัน มีเป้าประสงค์ต้องการจำกัดสิทธิ ต้องการรักษาอำนาจกับอภิสิทธิ์ของตัวเอง จึงอ้างศีลธรรม อ้างความชั่วของทักษิณ นอกจากนี้สถาบันกษัตริย์หลัง 2516 และชนชั้นกลางหลัง 2535 ก็มีพลังนอกเวทีการเลือกตั้งมากขึ้น เพราะฉะนั้นการจับมือระหว่างพวกนิยมเจ้ากับพวกประชาสังคมมีพลังทางการเมือง สูง
และยังมีตัวช่วยคือสื่อมวลชน สื่อมวลชนหลังปี 2535 เท่าที่ศึกษาการเมืองไทย ก่อนปี 2535 สื่อมวลชนมีอำนาจทางการเมืองไม่มากเท่าไหร่ แต่หลังพฤษภาคมปี 2535 สื่อมวลชนมีอำนาจมากขึ้น เพราะได้อำนาจเชิงทางวาทกรรม เพราะเวลาเขาเขียนอะไร ต้องคิดว่าตัวเองถูกต้อง ตัวเองดี ประชาชนต้องเชื่อฟัง
แต่ว่าประชาชนเขาไม่ต้องการ "การเมืองแบบศีลธรรม" อีกต่อไปแล้ว ใช้ไม่ได้ เช่น การเมืองแบบศีลธรรมก็มีรัฐบาลแบบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่ว่าเขาเป็นคนดี มีทุจริตน้อยกว่าแน่นอน แต่ว่าดีไหม ไม่ดี ประชาชนก็ไม่เอา แค่ศีลธรรมอย่างเดียวไม่มีความหมาย และอย่างที่อาจารย์อภิชาต สถิตนิรามัย เขียนไว้ว่า ประชาชนไม่ใช่ไพร่ฟ้าแล้ว เขาต้องการสิทธิเท่ากับชนชั้นกลางและชนชั้นสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น