แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายงานเสวนาทีดีอาร์ไอ หัวข้อ "คิดใหม่อนาคตข้าวไทย"

ที่มา ประชาไท


นิพนธ์ พัวพงศกร - วิโรจน์ ณ ระนอง – อธิบดีกรมการค้าข้าวภายใน และ อธิบดีกรมการข้าว ร่วมวงทีดีอาร์ไอเสวนาสาธารณะถกทบวนโครงการรับจำนำข้าว มองหาอนาคตข้าวไทย กับข้อเสนอเชิงนโยบาย ในหัวข้อ "คิดใหม่อนาคตข้าวไทย"
วิโรจน์, ชัยฤทธิ์, นิพนธ์ และวิบูลย์ลักษณ์
16 ส.ค.56 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) จัดเสวนาสาธารณะ หัวข้อ "คิดใหม่อนาคตข้าวไทย" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าข้าวภายใน กระทรวงพาณิชย์ ชัยฤทธิ์ ดํารงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ และ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อํานวยการวิจัยดานเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร ทีดีอาร์ไอ
0000
รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร
ประเด็นที่นำเสนอเกี่ยวกับนโยบายจำนำข้าว ทักษิณคิด เพื­อไทยทำ ขณะที่เพื­อไทยบางส่วนกำลังคิดหาทางถอย รวมถึงข้อเสนอต่างๆจะเกิดผลต่อราคาข้าวเปลือก สิ่งที่ต้องรีบหาทางแก้ไข และอนาคตข้าวไทยจะเป็นอย่างไร
ใครได้ประโยชน์จากโครงการจำนำข้าว ชาวนา โรงสี-โกดัง-เซอร์เวย์เยอร์ ผู้บริโภค พ่อค้าที­มีเส้นซื้อข้าวจากรัฐ เจ้าของท­ดิน พ่อค้าปุ๋ย-ยา-เมล็ดพันธุ์ เจ้าของเครื่­องจักรกลเกษตร ตารางนี้(ดูกราฟค่าเช่าทางเศรษฐกิจด้านล่างประกอบ)เป็นการคิดออกมาว่าแต่ละ คนในนาปี นาปรัง ปี 54-55 แต่ละส่วนได้เท่าไหร่
 
เรื่องที่ทำมา เป็นเรื่องที่ทักษิณ ชินวัตรคิด เพื่อไทยทำ ซึ่งทักษิณก็พูดอยู่ตลอดเวลา โดยทักษิณคิดว่าโครงการรับจำนำข้าวจะขาดทุนน้อย เพราะจะขายได้ในราคาต้นทุน 660 เหรียญ ชัดเจนว่าทักษิณเป็นคนคิด และ “ คาดการณ์ว่าโครงการรับจำนำข้าวปีนี3จะขาดทุนประมาณ 6 หมื­นล้านบาท โดยอิงต้นทุนซื้อ ณ ระดับราคา 660 ดอลลาร์ต่อตัน ” จากบทสัมภาษณ์ใน Bloomberg, 24 ก.ย. 55
ข้อมูลจากอนุกรรมการปิดบัญชี ขาดทุน 136,896.80 ล้านบาท โดยทักษิณคิดต่อไปว่า “ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ราคาข้าวเพิ่­มขึ้นเป็น 600 ดอลลาร์ต่อตัน เพิ­มขึ้น 50% ดังนั้นข้าวในสต๊อกของเราเริ­มมีมูลค่าขึ้นมาแล้ว ถ้าคุณเทขาย คุณสามารถขายได้อย่างรวดเร็วแน่ แต่ก็จะขาดทุนเยอะเช่นกัน ” จาก Forbes, 30 ต.ค. 55
ทักษิณว่าราคาตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้น โดยเขากล่าวว่า “ หากควบคุมกลไก (ตลาด) สัก 2-3 ปี หลังจากนั้นสิ­งต่างๆจะขับเคลื่­อนไปตามธรรมชาติ (หมายความว่า ราคาจะสูงขึ้น) ขณะนี้ราคาข้าวในตลาดโลกกำลังปรับตัวสูงขึ้น ” จาก บทสัมภาษณ์ใน Bloomberg, 24 ก.ย.55
นี่คือความผันแปรในตลาดโลก(ดูกราฟประกอบ) ตอนที่ทักษิณพูดนั้นราคาสูงแล้วก็ปรับลงมาเรื่อยๆ
การผันแปรในตลาดโลก มีอินเดีย ดับฝันของทักษิณ เพราะผลผลิตของอินเดียล้นโกดังก็ต้องระบายข้าว เวียดนามหันราคาแข่งอินเดีย ผลก็คือราคาเฉลี่­ยทั่ว­ โลกลดลง ไม่ใช่สูงขึ้น
แผนภูมิ ราคาข้าวในตลาดโลกลดลงในปี พ.ศ. 2555
ทักษิณคิดว่าไทยยังคงเป็นที­หนึ­งด้านส่งออกข้าว โดยทักษิณ ให้สัมภาษณ์ กับ Bloomberg เมื่อ 24 ก.ย.55 ว่า “ ไทยยังคงเป็นที่­หนึ่­งด้านการส่งออกด้วยราคาที่­ดีขึ้น สำหรับปีนี้รัฐบาลได้ตั้ง เป้าหมายส่งออกไว้ที­ 8.5 ล้านตัน โดยขายให้กับบังคลาเทศ จีนและอินโดนีเซีย ”
ตัวเลขส่งออกข้าวของไทยไปยังบังคลาเทศ จีนและอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 54 –56 ผลก็คือว่า 3 ประเทศส่งออกได้หมด ส่วนการจัดอันดับการส่งออกข้าวเวลานี้กลายเป็นอินเดียเป็นอันดับ 1 และเพื่­อไทยคุยว่าปี 55 จะส่งออกให้ 6 ประเทศ แบบรัฐต่อรัฐได้ 1.76 ล้านตัน แต่การส่งออกทั้ง รัฐ-เอกชน มีแค่ 0.89 ล้านตัน
ทักษิณคิด “ให้คนอื­นขายก่อน เราสามารถขายทีหลัง..เวียดนามเพิ่มผลผลิตไม่ได้” โดยที่ทักษิณกล่าวใน Forbes เมื่อ 30 ต.ค. 55 ว่า “ท้ายที่สุด เวียดนามจะไม่ยอมโง่ ขายข้าวในราคาถูก อีกอย่างเวียดนามก็ไม่สามารถเพิ่­มผลผลิตได้มากกว่านี้ ปริมาณในขณะนี้คือสิ่งที่เขาผลิตได้ทั้งหมด ในขณะที่เราผลิตได้ในปริมาณเท่ากับที­โลกบริโภค ถ้าเขารีบก็ปล่อยให้เขาขายไป เราสามารถขายทีหลังได้” แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือความผันแปรในตลาด เวียดนานเพิ่มผลผลิตมากขึ้น
ราคาตลาดข้าวของโลกผันแปรเร็วมา เวียดนามผลิตมากขึ้น เพราะผลจากการเพิ­มผลิตภาพการผลิต และมีแนวโน้มบริโภคลดลงปีละ 1.4% ในช่วงปี 41-51 การบริโภคต่อหัวลดลงมาก ขณะนี้อยู่ไม่ถึง 135 กก/คน ในเมือง 100 กก./คน ทำให้การส่งออกเพิ่ม และรัฐบาลเวียดนามจำเป็นต้องขายข้าวและขาดดุลเพราะต้องรับผิดชอบฐานะการคลัง รวมไปถึงถ้าราคาตลาดโลกสูงขึ้น ชาวนาทั่ว­โลก 144 ล้าน ครัวเรือนจะเพิ่­มผลผลิต เพราะฉะนั้นราคาก็จะลง ดังนั้นจะเอาอะไรไปคุมราคาตลาดโลก
และเพื­อไทยทำ โดยการขายข้าวตัดราคาบริษัทไชยพร ซึ่งอันนี้ก็มีข่าวขายข้าวให้อิรักว่าขายข้าวตัดราคา บ.ไชยพร และทักษิณก็วิจารณ์ ผ่าน Facebook เมื่อ 7 ส.ค. 56 ว่า “เมื่­อ2วันก่อน มีเพื่­อนต่างชาติคนหนึ่­งโทรมาหาผมบอกว่า อิรักยกเลิกการประมูลข้าวจากไทยเพราะไม่มัน­ ใจในคุณภาพ เหตุเกิดเนื่องมาจากเมื่อ 3 ปี ที่แล้วที่เขาซื้อข้าวไทย ข้าวขาวชั้น ดีแล้วส่งมอบข้าวคุณภาพต่ำให้เขา ผมก็เลยเชิญเขามาพบเพื่อเล่าข้อเท็จจริงให้ฟัง เขาตำหนิ Surveyors (ผู้ตรวจสอบ)ของไทยที­ไม่จริงจังในการตรวจสอบคุณภาพของที่­จะส่งมอบตาม ที­ตกลงกันไว้ แต่เขายังซื้อข้าวหอมมะลิต่อไปเพราะการควบคุมคุณภาพที­ส่งมอบไม่มีปัญหา อิรัคซื้อข้าวไทยปีละ 1 ล้านตัน ทำให้ตลาดหายไปดื้อๆ เขาบอกผมว่าไทยไม่ต้องมาตัดราคาขายข้าวถูกๆแล้วเอาของไม่ดีให้เขา เขาพร้อมจ่าย premium เพราะข้าวไทยรสชาติดีกว่าของข้าวเวียดนาม เขาไม่แคร์ที­จะจ่ายเพิ่­มเพราะประเทศเขารวยแล้ว คนของเขาควรได้กินข้าวมีคุณภาพจากไทย ก็เลยรีบบอกไปยังกระทรวงพาณิชย์ให้ไปรับรองกับทางการอิรัคเลย เขาพร้อมจะซื้อในราคาสูงกว่าตลาดโลกด้วยซ้า”
ทำไมอิรักปฏิเสธข้าวไทย ปกติอิรักซื้อข้าวคุณภาพสูง และยินดีจ่ายราคาแพง อันนี้คุณทักษิณก็วิจารณ์เอง แต่ไชยพรเป็นผู้ขายประจำเพราะขายข้าวใหม่ คุณภาพสูง ปัญหาเซอร์เวย์หรือปัญหาข้าวในโกดังนั้น มีคุณภาพต่ำ เวลาไปขายก่อนหน้านี้ไม่เคยเอาข้าวเก่าไปขาย แต่เวลานี้กลับเอาข้าวในโกดังไปขาย จึงไม่อย่าจะเชื่อว่าบริษัทไทยที่อยู่เบื้องหลังอันนี้จะไม่รู้ปัญหาคุณภาพ ข้าวในโกดัง
ทักษิณประสบความสำเร็จทางธุรกิจ เพราะทำธุรกิจผูกขาด จึงใช้วิธีให้บริษัทรายหนึ่งผูกขาดการขายข้าว ในรัฐบาลในยุคทักษิณ และพยายามชวนเวียดนามมาฮั้ว ราคากันอีก ส่วนสิ่งที่เพื่­อไทยทำนั้นคือจงใจระบายข้ายผ่านประตูแคบๆไม่กี่­บริษัท แถมยังปกปิดราคาขายและปริมาณขาย ทั้งๆที่ส่วนใหญ่ เป็นการขายภายในประเทศไม่มีความลับทางการค้าใดๆทั้งสิ้น เหตุผล คือ จะได้ขายข้าวในราคาต่ำกว่าตลาดให้พ่อค้าพรรคพวกขอตนเองได้กำไร
รัฐขายข้าวราคาต่ำกว่าตลาดมาก จึงไม่เปิดเผยราคา ทำให้เหขาดทุนหนัก กราฟราคาระบายในโครงการฯ เทียบกับราคาขายส่งข้าวสารในตลาด ส่วนต่างตรงนั้นภาษานักเศษฐศาสตร์เรียกว่า “ค่าเช่าทาเศรษฐกิจ” หรือ ค่าเก๋าเจี๊ยะ ซึ่งนี่คือส่วนต่าง และเป็นเหตุผลหรือเปล่าที่ไม่เปิดเผยราคาและปริมาณการขายข้าวในประเทศ
ตารางการคำนวณหา ”ราคาข้าว” และ การขาดทุนต่อตัน
เพราะฉะนั้นโดยสรุปถ้าทักษิณคิดผิด เพื่อไทยจะทำผิดต่อไปอีกหรือเปล่า นักการเมืองบางส่วนในเพื่­อไทยกำลังคิดหาทางถอย ขณะนี้จึงมีข้อเสนอนโยบายหลายอย่าง โดยเพื่­อไทยกำลังคิดทำอะไร ขณะนี้ พาณิชย์ประกาศเป้าหมายการระบายข้าวเดือนละ 1 ล้านตัน ซึ่งอันนี้ไม่ควรทำ เพราะเกิดผลกระทบต่อราคาอย่างมโหราฬ มีผลกระทบต่อราคาตลาดมากกว่าการเปิดเผยสต๊อค เพราะแม้รัฐบาลเปิดเผยก็ไม่มีผลต่อราคาแล้วเพราะทุกคนในตลาดรู้แล้ว คาดคเนเอาไว้แล้วว่าสต๊อคมีอยู่เท่าไหร่ เพราะตลาดดีดลูกคิด “ลดราคาตลาด” จากผลของสต๊อคไปแล้ว แต่ข่าวใหม่คือรัฐบาลประกาศว่าจะขายข้าวเดือนละ 1 ล้านตัน อีนนี้มีผลและ­อาจเป็นเหตุให้มีคนซื้อแค่ 2 แสนตัน เวลาประมูล เพราะคาดว่าไม่ต้องซื้อวันนี้ ­แต่ซื้อทีหลังราคาจะถูกลงอีก เพราะฉะนั้นนัยคือว่าไม่ควรประกาศจำนวนและราคาที­ต้องการขาย แต่ประกาศวิธีขายที่โปร่งใสพอแล้ว
ทำไมการประมูลข้าวโปร่งใสจึงขายข้าวได้ราคาต่ำ เพราะ พ่อค้ารู้ว่ารัฐบาลร้อนเงิน และต้องมีการขายข้าวอีก พ่อค้าทุกคนรู้ดังนั้นรอซื้อวันหน้าราคาจะถูกลงอีก รวมทั้งการขายข้าวแบบ “เหมาเข่ง” รวมคละคุณภาพและบังคับให้ผู้ประมูลได้ต้องยอมรับสภาพข้าวไม่มีทางขายข้าว ราคาที่สูง ประการต่อมาคือพ่อค้าเชื­อว่าข้าวในโกดังมีคุณภาพต่ำเพราะหลายเหตุผล เช่น ปัญหาการตรวจรับ วิธีบำรุงรักษาข้าวในโกดัง เป็นต้น
ทางออกคือ รัฐบาลเพื่อไทยจะต้องไม่ขายข้าวเก่าหรือข้าวเน่าโดยเด็ดขาด แต่ถ้าไม่ขายเอาไปทิ้งทะเลก็ติดคุก เพราะถือว่ทำให้ทรัพย์สมบัติของประเทศหาย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องต้องหาทางออกกฎหมายเรื่­องการ “write off” ให้ถูกกฎหมาย แล้วเน้นขายข้าวที­มีคุณภาพชัดเจน โดยอาศัยอาศัยตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าประมูลขายแบบ “ประมูลส่วนต่าง basis” จากราคาล่วงหน้าของตลาด
ส่วน การลดราคาจำนำและจำกัดปริมาณจำนำ ผลจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นกับการเจรจากับชาวนา และขั้วอำนาจในพรรคเพื่­อไทย ชาวนาอีสานอาจยอมให้จำนำ 1 ครั้ง แต่ขอยืนราคา 15,000 บาท ฯลฯ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต้องลดราคาและจำกัดปริมาณแน่นอน แต่จะต้องคิดถึงผลกระทบสำคัญและหาทางแก้ไข ปัญหาบางอย่าง เพราะการลดราคาจำนำและจำกัดปริมาณนั้นจะเกิด 2 ตลาดสองราคา ระหว่างข้าวตลาดในราคาโครงการจำนำกับนอกจำนำ ซึ่งราคานอกจำนำราคาจะต่ำมาก ชาวนาในอิสานและจังหวัดที­มีโรงสีน้อยจะถูกกดราคาเป็นพิเศษ
สำหรับมาตราการโซนนิ่­ง รัฐบาลจะมีปัญญาบังคับเกษตรกรนอกเขต จะไม่ให้ปลูกข้าวได้อย่างไร จะใช้เครื­องมืออะไร เพราะลำพังแค่ขาดทะเบียนเกษตรกรก็ยังไม่สามารถทำให้ถูกต้องได้ รวมทั้งการโซนนิ­งเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเกษตรกรด้วย
อนาคตข้าวไทยจะเป็นอย่างไร
ต้องยกเลิกการจำนำ แล้วหาวิธีอื่นๆในการช่วยเหลือชาวนา แต่ถ้าไม่ยกเลิกก็คงไม่มีอนาคตที่­จะพูดถึง วิธีของสหรัฐอเมริกา-เกาหลีใต้ “Enhanced Income Policy” โดยรัฐบาลจ่ายชดเชย 70-85% ของส่วนต่างระหว่าง “ราคาเป้าหมายกับ “ราคาตลาด ราคาเป้าหมายกำหนดจากราคาตลาด การชดเชยโดยตรง ความผันผวนของราคา โดยใช้ค่าเฉลี่­ย 3-5 ปีในอดีต
หรือใช้วิธีญี่ปุ่น เช่น จ่ายเงินชดเชยในอัตราชดเชยตายตัวต่อไร่ แก่พืชชนิดต่างๆ จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาตลาดกับต้นทุนการผลิต การประกันความเสี่­ยงราคาลดต่ำกว่าต้นทุน โดยรัฐอุดหนุนเบี้ยประกันบางส่วน การประกันดัชนีดินเป้าอากาศ  แต่ยังมีปัญหา อาจเลียนแบบญี่ปุ่นชั่วคราว มีการประกันต่อหลายช่วงๆสุดท้ายเป็นการประกันต่อกับกระทรวงเกษตรกรฯ รัฐบาลอุดหนุนเบี้ยประกันบางส่วนและค่าใช้จ่ายดำเนินการบางส่วนของบริษัท ประกันต่อ รวมไปถึงนโยบายคูปองซื้อสินค้าและบริการสำคัญคนจน เป็นต้น
อนาคตข้าวไทยจะต้องห่วงเรื่องอะไร
ปัญหาน่าห่วงชาวนาไทยแก่ตัวรวดเร็ว 32% ของหัวหน้าครัวเรือนอายุเกิน 60 ปี แต่ส่วนใหญ่ไม่มีประกันสังคมหรือบำนาญ มีแต่ที่­ดินเป็นหลักประกัน
แผนภูมิโครงสร้างอายุเกษตรกรไทย 15-59 ปี
แม้ความสามารถในการแข่งขันทรงตัว (RCA)แต่แนวโน้มแย่ลง ต้นทุนสูงขึ้น คู่แข่งปรับปรุงความสามารถรวดเร็ว การขายข้าวขาวคุณภาพต่ำและขาดทุน อนาคตลาดข้าวไม่แจ่มใสอีกเพราะประชากรโลกกินข้าวน้อยลง ยกเว้นอาฟริกา ผู้นำเข้ารายใหญ่ใช้นโยบายเลี้ยงตัวเอง ทำให้ราคามีแนวโน้มลดลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการย่างเข้าสู่วัฏจักร El Nino จะแล้งมากขึ้น จึ่งมีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวค่อนข้างมาก
โจทย์นโยบายสำคัญสำหรับชาวนาไทย คืออะไร
เพิ่­มผลิตภาพแรงงาน (labor productivity)ไม่ใช่ ผลผลิตต่อไร่ (yield) เนื่องจากไทยมีที่­ดินเหลือเฟือ แปลงนาใหญ่ขึ้น แต่ขาดแรงงาน รายได้ต่อหัวแรงงานเกษตรต่ำกว่านอกภาคเกษตร เพิ่­มมูลค่าข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว ย้ายคนออกจากเกษตร สร้างงานในชนบท ที่ดินเกษตรจะทำอะไร การรับมือกับการเปลี­ยนแปลงภูมิอากาศและศัตรูพืช และกรณีชาวนาที่เกษียณจะมีชีวิตอยู่อย่างไร
รวมไปถึงเพิ่­มผลิตภาพแรงงาน เทคโนโลยีการผลิตและหลังเก็บเกี­ยว นโยบาย land consolidation หรือ กฏหมายค่าเช่านา กฎหมาย ภาษีที่ดินป้องกันเก็งกำไร การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าว การวิจัยการตลาดคู่กับการปรับปรุงพันธุ์ การรับมือกับความผันแปรภูมิอากาศและศัตรูพืช เช่นพันธุ์ข้าวทนน้ำท่วม-น่ำแล้ง  รวมทั้งชาวนานิยมใช้พันธุ์ข้าว 4-5 พันธุ์และเป็นพันธุ์อายุกว่า 10 ปี ปัญหาการขาด maintenance research นโยบายการรวมกลุ่มเกษตรกรที่รัฐทำไม่สำเร็จ เพราะปัญหาการสร้างผลงานแบบผักชีโรยหน้า NGO ทำได้ แต่แค่กลุ่มเล็ก เพราะรังเกียจภาคธุรกิจ ต้องมี 4 ประสาน โดยให้ NGO เป็นหัวหอก นโยบายรักษาสิ่­งแวดล้อมและระบบนิเวศ นโยบายภาษีสารเคมีเกษตร วิจัยระบบนิเวศของข้าวป่าและการทำข้าวไร่ของชาวเขา การสร้างแรงจูงใจการทำไร่นาเพื่อรักษานิเวศ รวมไปถึงการมีนโยบายประกันสังคมที่­ประชาชนมีส่วนร่วมสมทบ เป็นต้น

วิโรจน์ ณ ระนอง
ปัญหาเราไม่ได้อยู่แค่ข้าว ปัญหาใหญ่ รัฐมีความหวังเก็บเลขผสมน้อย เพื่อลดขนาดการจำนำข้าวลงมา รวมถึงให้เกษตรกรไปหาพืชอื่น ทางออกนี้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเท่าไหร มาตรการยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงกว่าตลาดโลก โดยเฉพาะในประเทศส่งออกอย่างไทย มีปัญหาทุกมาตรการ ข้อเสนอสำหรับอนาคต เลิกใช้นโยบายทีพยายามดันให้ราคาสินค้าเกษตรสูงกว่าตลาดโลก มาตรการทีจะช่วย(หรือจะขายประกันราคา ควรตั้งราคาเป้าหมายที่สะท้อนราคาในอดีตเพื่อช่วยเกษตรกรรับมือกับกรณีที ราคาตกต่ำจริงๆ เท่านั้น เลิกนโยบายและมาตรการจูงใจให้เกษตรกรอยู่กับภาคเกษตร ส่วนข้อเสนออาจทำได้ยาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้ ในทางการเมือง แต่ถ้าไม่ยอมหรือไม่กล้าคิดใหม่ทำใหม่กันจริงๆ ปัญหาก็ทับถมขึ้นเรื่อยๆ
บทเรียนตอนนี้ ปัญหาการแทรกแซงสินค้าเกษตรของเราไม่ได้อยู่แค่ข้าว
  1. มันสำปะหลังที่อาจยังไม่เป็นข่าวใหญ่ แต่ปัญหาแทบไม่ต่างกัน เพราะมันวิ่งมาทีรัฐการระบายผ่านเอกชนรายเดียวหรือน้อยราย สต๊อกทีไม่ชัดเจน ผู้ส่งออกหาสินค้าไม่ได้และคาดว่ารัฐจะเสียหายหลายหมื่นล้านบาทต่อปี
  2. ยางพารา แทรกแซงราคาสูง ใช้เงินไปหลายหมื่นล้าน และสต๊อกที่รอเสื่อม
  3. รัฐบาลยังฝากความหวังกับอ้อย และคิดว่าอาจแก้ปัญหาส่วนหนึ่งได้จากการให้เกษตรกรโยกย้ายไปปลูกอ้อยแทน
3.1.         แต่อ้อยก็มีปัญหาในตัวเองอยู่ไม่น้อย และความพยายามปฏิรูประบบก็อาจจะไม่เกิดขึ้นจริงในเร็วๆ นี้ ทั้งที่เป็นมติ ครม. มาตลอดตั้งแต่ต้นปี 55
3.2.         และการตั้งราคาข้าวที่ยังสูงก็จะสร้างแรงจูงใจในการขยายพื้นทีปลูกข้าวต่อไป ถึงแม้จะเปลี่ยนมาเป็นรับจำนำปีละครังก็ตาม
ปัญหาโครงการจำนำข้าวจะยังคงย้อนรอยเดิม
แม้ว่าการแก้ปัญหาจำนำข้าวคงจะดีขึ้นกว่าเดิมบ้าง แต่ปัญหาใหญ่ๆ จะยังย้อนรอยเดิม เพราะการลดการรับจำนำครั้งเดียว ก็ยังจะต้องใช้เงินปีละประมาณสามแสนล้าน ตามที่รัฐบาลประมาณการ ซึ่งคงไม่พลาดมาก ซึ่งใกล้เคียงกับจำนำในปีแรก โดยสมัยก่อนจำนำ 20-30% ก็มีปัญหาการขายข้าว ดังนั้น ถึงต่อไปข้าวจะเข้ามาแค่ 50-67% ซึ่งไม่ทุกเมล็ด การขายข้าวก็ยังเป็นปัญหาที่ใหญ่มากอยู่ดี เนื่องจากการประมูลข้าวในปัจจุบันก็ยังมีปัญหา ทั้งความไม่เชื่อมั่นและการเก็งว่าราคาจะลงอีก จึงมีการเสนอราคาที่ต่ำ รวมทั้งมาตรการทางกฎหมาย เช่น ตรวจโกดังผู้ส่งออก คงไม่ช่วยอะไรมาก นอกจากสต๊อกข้าวเก่า 17 ล้านตัน แล้ว ถ้าจำนำข้าวต่อแบบนี้จะยังมีข้าวใหม่เข้ามาทีรัฐปี ละ 10 ล้านตัน เฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านตัน ดังนั้นถึงตั้งแต่นี้ไปจะระบายข้าวได้เดือนละล้านตัน ซึงยังไม่เห็นแนวโน้ม สต๊อกก็จะยังไม่ลดลง
การตั้งราคาที่สูงกว่าตลาดมากๆ เช่น 15,000 บาทต่อตัน หรือแม้กระทั่ง13,500 นอกจากรัฐจะมีต้นทุนสูงกว่าตลาดโลกมากแล้ว  ก็ยังสร้างปัญหาต่อไปในระยะยาว จากแรงจูงใจในการปลูกข้าวเพิ่ม แรงจูงใจในการสวมสิทธิ และการนำข้าวข้ามแดน และต้องตามมาปิดกั้นไม่ให้นำข้าวข้ามแดน ซึ่งขัดเจตนารมณ์ของ AEC ด้วย อีกทั้งมาตรการควบคุมต่างๆ นอกจากจะใช้ทรัพยากรจำนวนมากแล้ว รวมทั้ง ข้าราชการ เกษตร พาณิชย์ และต่อไปคงรวมมหาดไทย  ซึ่งส่วนนี้ยังไม่ได้คิดต้นทุนจริงเต็มที่เกิดจากข้าราชการไม่ได้ไปทำงานใน หน้าที่ประจำของตัวเอง แต่ก็ยังมีปัญหาใน การอุดช่องโหว่สำคัญๆ ที่มีอยู่เต็มไปหมด กลายเป็นว่าเราสร้างโครงการที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทุจริต แล้วต้องคอยตามมาอุดช่องโหว่ไม่ให้เกิดการทุจริตเหล่านั้น
แต่มาตรการอื่นจะช่วยแก้ปัญหาได้ไม่มาก
มาตรการสำคัญอีกอันทีรัฐบาลนี้ฝากความหวังคือโซนนิ่ง (zoning) ซึ่งเป็นมาตรการที่พูดกันมาหลายสิบปีแล้ว แต่ถึงทำได้เต็มรูปแบบ มาตรการนี้ก็จะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร เนื่องจากพื้นที่เกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งควบคุมน้ำไม่ได้ กระทั่งในเขตชลประทานเอง หลายครั้งก็ไม่มีน้ำหรือเจอน้ำท่วม ดังนั้น ถึงจำกัดหรือกำหนดพื้นที่ได้ก็ไม่ได้ทำให้สามารถกำหนดปริมาณการผลิตได้ และถึงแม้จะกำหนดปริมาณการผลิตของไทยได้ แต่ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ขึ้นกับผลผลิตของทั้งโลกมากกว่า โดยสินค้าหลักๆ ผลผลิตของเราน้อยมากเมื่อเทียบกับทั้งโลก เช่น ข้าวประมาณ 7% น้ำตาล น้อยกว่า 5% แม้กระทั่งยางพาราที่เราเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ก็ไม่สามารถกำหนดราคาในตลาดโลก ได้ และในทางปฏิบัติคงจะมีผลไม่มาก เพราะรัฐบาลจะทำแค่แนะนำและส่งเสริม” ไม่ใช่ห้าม โดยรัฐบาลบอกว่าจะ “ช่วย” เฉพาะเกษตรกรใน zone ซึ่งถ้าทำจริงก็อาจมีปัญหาพอสมควร รวมทั้งการกำหนดโซนอาจกลายมาเป็นประเด็นถกเถียงสำคัญ
ยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงกว่าตลาดโลกทำในประเทศส่งออกได้ยากกว่าในประเทศที่นำเข้า
สำหรับประเทศที่นำเข้าสินค้าเกษตร การทำให้ราคาในประเทศสูงนั้นง่ายกว่ามาก เช่น กำหนดโควต้าและเก็บภาษีสินค้านำเข้า และจะมีรายได้จากภาษีนำเข้าทีสามารถเอามาอุดหนุนเกษตรกรในประเทศด้วย แต่แม้กระทั่งในประเทศเหล่านี้ มาตรการกีดกันการนำเข้าก็ทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามมาตรการเหล่านี้จะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อราคาที่สูงไม่ได้จูงใจให้มี การผลิตมากจนสินค้าล้นตลาดในประเทศ หรืออีกนัยหนึ่งเกษตรกรมีช่องทางที่จะหารายได้ที่ดีกว่าจากการหันไปประกอบ อาชีพอื่น หรือมีมาตรการควบคุมอละจำกัดว่าแต่ละปีใครหรือพื้นที่ไหนปลูกพืชนั้นได้บ้าง เช่น มีมาตรการหมุนเวียนพื้นที่ที่มีสิทธิปลูกหรือพื้นที่ที่จะได้รับน้ำชลประทาน
แต่สำหรับประเทศที่ยังจะพึ่งหรือขยายการส่งออกสินค้าเกษตร หรือตั้งเป้าเป็น “ครัวของโลก” ถ้าจะยกราคาก็คงต้องใช้วิธีอุดหนุน และมาตรการอุดหนุนมักจะใช้เงินมาก เพราะต้องอุดหนุนสินค้าส่วนที่ส่งไปขายต่างประเทศด้วย
การยกระดับราคาไม่ใช่คำตอบสำหรับเกษตรกรในระยะยาว
แม้ว่าการยกราคาจะช่วยเกษตรกรจำนวนหนึ่ง ทำให้มีกำไรเพิ่ม “ลืมตาอ้าปาก” ได้จริง แต่ราคาที่สูงขึ้นก็จูงใจให้เกษตรกรอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่า ให้เข้ามาผลิต สินค้านั้นก็จะเพิ่ม โดยเกษตรกรเหล่านี้ก็จะมีกำไรไม่มากอยู่ดี ดังนั้นการที่มีคนหันมาปลูกข้าวมากขึ้น ดึงให้ต้นทุนของเกษตรกร รวมทั้งกลุ่มแรกที่ปลูกก่อนด้วยนั้น สูงขึ้น
เจ้าของที่ดิน ซึ่งรวมเกษตรกรบางส่วนด้วย จะมีรายได้เพิ่มจากค่าเช่าที่สูงขึ้น ผลในทีสุดก็คือ ราคาที่สูงขึ้นทำให้ต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย แสดงว่า ในความเป็นจริง “ราคากำหนดต้นทุน” ไม่ใช่และไม่สามารถ “กำหนดราคาที่เป็นธรรมจากต้นทุน” ตามที่หลายฝ่ายเรียกร้อง ถ้าราคาปัจจัยการผลิตและค่าเช่านั้นขึ้นง่ายกว่าลง การปรับราคาจำนำหรือประกันลงก็อาจสร้างปัญหาให้เกษตรกรได้มากอีกเช่นกัน
“ประกันรายได้” สร้างปัญหาคล้ายกันถ้าเอามาใช้เพื่อยกระดับราคาให้สูงกว่าตลาด
เดิมโครงการประกันรายได้นี้ถูกออกแบบให้เป็นโครงการประกันความเสี่ยง ไม่ใช่การอุดหนุนราคา ซึ่งข้อดีที่สำคัญ ซึ่งตอกย้ำให้เห็นจากปัญหาในโครงการจำนำนั้น คือรัฐไม่ต้องยุ่งและไม่ต้องสูญเสียจากการสต๊อกและขายข้าว ซึ่งเป็นสองข้ันตอนที่มีปัญหามากมาตลอด แต่ถ้าทำเป็นโครงการอุดหนุนเพื่อยกระดับราคาอย่างชัดเจน เงินอุดหนุนส่วนหนึ่งก็จะถูกแบ่งไปให้ผู้ซื้อ เช่น มีเกษตรกรเข้ามาผลิตแข่งกันมากขึ้น ผู้ซื้อก็ย่อมมีอำนาจต่อรองและกดราคารับซื้อลงได้ส่วนหนึ่ง โดยเป็นกลไกตรงกันข้ามกับการเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิต ที่ผู้ขายจะสามารถผลักภาระภาษีที่ถูกเก็บส่วนหนึ่งไปให้ให้ผู้ซื้อ โดยปัญหาจะรุนแรงขึ้นตามการอุดหนุนที่เพิมขึ้น และจะชักนำให้คนมาทำนามากขึ้นด้วย และยิงถ้าตั้งเป้าว่าจะอุดหนุนให้ได้ราคาเป้าหมายที่กำหนดขึ้นมาเองให้สูง กว่าตลาดอย่างชัดเจน ในระยะยาวก็จะมีปัญหาแรงจูงใจที่รุนแรง โดยที่ราคาตลาดอาจต่ำลงเพราะทั้งผู้ซื้อและผู้ขายรู้ว่ารัฐบาลจะต้องชดเชย ให้ได้ตามเป้านั่นเอง
ปัญหาของโครงการ “ประกันรายได้” ทีตั้งราคาสูงกว่าตลาด ข้อเสียอีกประการในภาคปฏิบัติทีผ่านมาคือปัญหาชาวนาปลอมเพราะลงทะเบียนแล้ว มีแต่ได้และมีโอกาสได้แทบทุกปี ไม่ใช่เฉพาะเมื่อราคาตกต่ำกว่าปกติ และเจ้าของที่ดินก็อ้างสิทธิ อย่างไรก็ตามข้อที่ถูกยกว่าเป็นข้อดีประการหนึ่งคือช่วยชาวนารายเล็ก ที่ปลูกข้าวไว้กินเองเป็นหลักด้วย แต่ก็มีคำถามถึงเหตุผลทางเศรษฐกิจ ยกเว้นเราจะเชื่อว่ารัฐควรจ่ายเงินอุดหนุนให้ประชาชนปลูกข้าวไว้กินเอง หรือประเทศเราควรมีชาวนาจำนวนมาก
การผูกขาดตลาดสินค้าเกษตรไม่เคยทำได้จริง
สำหรับประเทศทีต้องพึงการส่งออกสินค้าเกษตร มาตรการสร้างอำนาจผูกขาดเหนือตลาดโลกไม่เคยได้ผลจริง แม้ในทางทฤษฏีอาจทำได้ถ้าเป็นสินค้าทีไม่มีคู่แข่งที่มาทดแทนได้ แต่ในปัจจุบันไม่มีสินค้าที่ว่านั้น แม้กระทั่งข้าวหอมมะลิ ส่วนมาตรการ “จับมือประเทศผู้ผลิตอื่น” สร้าง cartel ก็ไม่เคยได้ผล แม้กระทั่ง ในกรณียางพาราที่ไทย อินโดฯ มาเลย์ มีผลผลิตรวมกันเป็นส่วนใหญ่ของผลผลิตโลก มาจับมือกันตั้ง IRCo
การตั้งราคาสินค้าเกษตรให้สูงกว่าตลาดโลก สามารถทำได้ง่ายกว่าสำหรับประเทศผู้นำเข้าที่สามารถจำกัดปริมาณการนำเข้า ด้วย แต่ไม่ควรพยายามใช้นโยบายนี้ กับสินค้าที่เรายังมีสถานะเป็นผู้ส่งออกรายสำคัญ การนำเงินภาษีมาอุดหนุนราคาในประเทศให้สูงกว่าตลาดโลกมีปัญหามาก เพราะทำให้เกษตรกรไม่ปรับตัวตามสัญญาณของตลาดจริง แต่เกิดแรงจูงใจที่­จะผลิตมากขึ้นเรื่­อยๆ ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของโครงการเพิ­มขึ่นตามอย่างรวดเร็ว ดังนั้นรัฐไม่ควรพยายามฝืนตลาดในระยะยาว แต่ควรมีมาตรการช่วยเกษตรกรรับมือกับความเสี่ยงด้านราคาในระยะสั้น เช่น ในกรณีที่ราคาในฤดูนั้นตกลงมามากเมื่อเทียบกับแนวโน้มราคาในอดีต ซึ่งเกษตรกรอาจจะไม่อยู่ในวิสัยที่จะคาดการณ์ได้ล่วงหน้า และเกษตรกรที่มีฐานะไม่ดีมากอาจจะไม่สามารถรับมือกับราคาที่ผันผวนมากได้ ด้วยตัวเอง แต่ในกรณีพืชที่มีมูลค่าสูงควรให้เกษตรกรร่วมรับภาระอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เก็บภาษีส่งออกยางพาราในช่วงทีราคาสูงกว่าแนวโน้ม และนำเงินมาอุดหนุนเมื่อราคาตก
เกษตรกรรมไม่ใช่คำตอบหรือทางออกจากความยากจนของคนส่วนใหญ่ของประเทศ
ในเชิงเศรษฐกิจ เกษตรกรรมหรือเกษตรกร-กสิกร-ชาวนา หมดบทบาทในการเป็นกระดูกสันหลังของชาติมานานแล้ว เพราะสัดส่วนของผลผลิตภาคเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศลดลงจากประมาณ 20% ในปี 2522 เหลือ 7.7% ในปี 2538 เพิ่มกลับไปอยู่ที่ 9-10% หลังวิกฤต 40 แล้วลดกลับมาเป็น 7.7 ในปี 2554 ซึ่งแนวโน้มที่­ลดลงเป็นทิศทางเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว และสัดส่วนรายได้จากเกษตรมักไม่เกิน 3-7% ของ GDP และมีสัดส่วนของเกษตรกรพอๆ กับสัดส่วนรายได้ แต่ประเทศไทยยังมีคนอยู่ในภาคเกษตรเป็นจำนวนมาก ถึง 25-40% แม้กระทั้งเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่อหัวใกล้เคียงกัน โดยเฉลี่ย­แล้วเกษตรกรไทยจึงมีรายได้สุทธิที่ไม่ถึงครึ่งของคนที่ไม่ใช่ เกษตรกร ดังนั้นภาคเกษตรจึงไม่สามารถเป็นแหล่งรายได้หลักของคนจำนวนมาก หรือไม่เช่นนั้นเกษตรกรก็จะเป็นอาชีพทีต้องอยู่คู่กับความยากจนไปอีกนาน
ตาราง สัดส่วนสินค้าเกษตร
เกษตรกรจำนวนมากเข้าใจสภาพปัญหาดีและโหวตให้ตัวเองหรือลูกหลานค่อยๆออก จากภาคเกษตร จนมีจำนวนลดลงมาพอสมควร รวมทั้งปรับตัวโดยไปทำงานอื่นนอกฟาร์ม (off-farm & non-farm) ทั้งถาวรและตามฤดูกาล รวมทั้งขับแท็กซี ขายของ ฯลฯ ซึ่งรวมแล้วมีรายได้ดีกว่าทำเกษตรอยู่กับที ในขณะที่ภาครัฐ NGO และ “ปราชญ์” ชาวบ้าน กลับพยายามส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรอยู่กับเกษตรต่อไปด้วยหลายมาตรการ เช่น สัญญาว่าจะทำให้ราคาดีขึ้น ให้อยู่อย่างพอเพียง ที่รายได้และรายจ่ายต่ำ ให้ปรับเปลี่ยนวิธีหรือวิถีการเกษตรให้ได้ผลผลิตสูงโดยมีต้นทุนต่ำ แต่ภาคเกษตรเองมักไม่มีงานเต็มเวลาที่สามารถรองรับคนจำนวนมากได้ทั้งปี จะเห็นได้จากการเกิดอาชีพรับเหมาดำนาหรือหว่านกล้า ฉีดยา ก็เป็นตัวอย่างที่สะท้อนปัญหานี้
การมีคนอยู่ในภาคเกษตรมากเกินก็เป็นตัวกำหนดผลิตภาพ จะเห็นได้จากก่อนปี 40 ผลิตภาพการปลูกข้าวของไทย ที่วัดด้วยผลผลิตต่อแรงงาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นลำดับ แต่หลังวิกฤตปี 40 ที่คนจำนวนมากกลับบ้านไปพึ่งเกษตร ผลิตภาพการปลูกข้าวปี 40/41 ตกลง แล้วค่อยกระเตื้องกลับขึ้นมาในปี 41/42 (ดูกราฟ) และผลิตภาพสวนทางกับจำนวนชาวนา (ดูตาราง)
กราฟผลผลิตข้าวนาปีต่อแรงงาน
ตารางแสดงผลิตภาพที่สวนทางกับจำนวนชาวนา
การลดลงของเกษตรกรไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นทางออก
กรณีจำนวนเกษตรกรที่­ลดลงนั้น ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาความมั่น­คงทางอาหารทั้งของไทยและของโลก จึงไม่จำเป็นต้องหามาตรการที่­พยายามเก็บรักษาคนไว้ในภาคเกษตรมากกว่าที่เขา สมัครใจอยู่เอง และจะยังมีเกษตรกรจำนวนมากที่มีเงื่อนไขที่ทำให้เหมาะที่จะอยูในภาคเกษตรต่อ ไป เช่น มีที่ดินอยู่แล้ว รวมทั้งรายที่ทำไว้กินเองเป็นหลัก และเกษตรกรที่มีรายได้หลักจากทางอื่น เกษตรกรจำนวนมากมีขนาดฟาร์มใหญ่ขึ้นและมีรายได้และผลผลิตเพิ่มขึ้นมากเพราะ ตราบที่ยังมีเกษตรกรหรือคนที่พร้อมกลับเข้ามาทำเกษตร เป็นจำนวนมากโอกาสที่เกษตรกรโดยรวมจะมีรายได้ดีก็เป็นไปได้ยาก ในหลายประเทศทีสินค้าเกษตรมีมูลค่า 3-7% ของ GDP ก็มีเกษตรกรในสัดส่วนที่พอๆกัน เกษตรกรจะมีฐานะดีได้ก็ต่อเมือคนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถหารายได้ทีดีได้จาก อาชีพอื่น จนไม่สนใจมาเป็นเกษตรกรอีกต่อไป ถึงแม้คนที่อยู่จะได้รับการอุดหนุนพอสมควรก็ตาม
ข้อเสนอนโยบายแทรกแซงราคาในอนาคต
ทำไมเราจึงควรเลิกนโยบายหรือมาตรการ“ยกระดับราคาให้สูงกว่าตลาด” เพราะนอกจากมาตรการอุดหนุนราคาในประเทศให้สูงกว่าตลาดโลกมักจะมีภาระค่าใช้ จ่ายสูงแล้ว ผลกระทบที่สำคัญกว่านั้นก็คือทำให้เกษตรกรเลิกปรับตัวตามสัญญาณของตลาด แต่หันมาปรับตัวตามสัญญาณจากรัฐบาลแทน ใน กรณีนี้ ถ้าโครงการอุดหนุนทำได้อย่างเป็นระบบพอสมควร เช่น ทั้งโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลประชาธิปัตย์และโครงการรับจำนำทุกเมล็ดของ เพื่อไทย ก็จะเกิดแรงจูงใจในการขยายการผลิต ซึ่งจะกลายเป็นแรงกดดันที­กลับมาสร้างปัญหาให้กับโครงการในระยะยาว โดยที่งบอุดหนุนที่ใช้ในโครงการของประชาธิปัตย์นั้นก็เพิมขึ้นมากในปีเดียว สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือจำนวนชาวนาที่ลงทะเบียนเพิมขึ้นและคาดว่าน่าจะ เพิ่มเป็นประมาณแสนล้าน ถ้าประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาล และ “เพิ่มกำไรเป็น 40%” ตามทีหาเสียงไว้
ขณะที่โครงการจำนำข้าวปีหน้าที่จะรับจำนำปีละครั้งและจำกัดวงเงินต่อราย ก็ยังคาดว่าจะใช้เงิน 300,000 ล้าน ซึ่งพอๆ กับโครงการรับจำนำทุกเมล็ดในสองปีที่ผ่านมา และเมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าราคาที่สูงขึ้น จากการนำเงินภาษีมาอุดหนุน จะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นตามและในที่สุดประโยชน์ก็จะไปตกกับเจ้าของทีดินและ ชาวนาที่มีที่ดินเองในขณะที่จะยังมีชาวนาที่มีต้นทุนสูงที่แทบจะไม่มีกำไรใน จำนวนที่แทบจะไม่ต่างจากเดิม
โดยในระยะยาว โครงการ “ช่วยเหลือ” เกษตรกรจึงควรล้มเลิกเป้าหมายที่จะยกราคาในประเทศให้สูงกว่าราคาตลาดโลก โดยให้เกษตรกรตัดสินใจเองจากสัญญาณที่เขาได้รับจากแนวโน้มราคาตลาด แต่ควรเป็นโครงการที่ช่วยเกษตรกรรับมือกับความเสียงจากการผันผวนของราคาใน ระยะสั้น และช่วยให้เกษตรกรมีเวลาปรับตัวพอสมควร เช่น 2-3 ปี ในกรณีทีเกษตรกรจะเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น โดยที่โครงการอาจทำได้หลายรูปแบบ แต่หัวใจของโครงการคือการกำหนดราคาเป้าหมายที่สะท้อนแนวโน้มราคาตลาดในอดีต
ถ้าต้องการลดปัญหา “ชาวนาปลอม” อาจทำโครงการในรูปการประกันภัย โดยเรียกเก็บเบี้ยประกันต่อไร่ในอัตราต่ำ  โดยคำนวณเบี้ยประกันแล้วให้รัฐหรือ ธกส. เรียกเก็บในอัตราไม่เกิน 20-50% ซึ่งแม้ว่าจะเก็บไม่เต็มที่ แต่ก็น่าจะลดการรายงานพื้นที่ทีเกินจริงลงได้อย่างมีนัยสำคัญ จริงๆจะทำเป็นโครงการรับจำนำก็ยังได้ เช่น รับจำนำในราคา 90%ของราคาเป้าหมาย ซึ่งผลกระทบจะน้อยกว่าโครงการในปัจจุบันมาก ในปีที่ราคาไม่ได้ตกต่ำมากเกษตรกรก็จะไม่ค่อยมาจำนำ ซึ่งต่างกับปัจจุบันที่ตั้งราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดอย่างชัดเจน แต่เมื่อคำนึงถึงปัญหาการระบายข้าวของรัฐที่ผ่านมา การทำโครงการโดยสองวิธีแรกจะมีความเสียงต่อรัฐน้อยกว่ามาก
ถ้าต้องการให้เกษตรกรมีเวลาปรับตัวนานขึ้น การตั้งราคาเป้าหมายอาจเป็นค่าเฉลี่ยทียาวกว่าสามปี เช่น 5 ปี แต่ก็จะทำให้ระบบอาจยืดหยุ่นน้อยลงและปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ ได้ช้าลง และอาจทำให้บางช่วงรัฐอาจมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น วิธีหนึ่งที่จะสร้างหลักประกันว่าระบบจะทำงานตามที่ออกแบบไว้ ก็ด้วยการออกกฎหมายมารองรับ เพื่อไม่ให้สามารถเปลี่ยนแปลงตามดุลยพินิจของผู้บริหารฝ่ายการเมืองหรือข้า ราชการ

วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์
‘จำนำข้าว’ ไม่ได้มุ่งที่กำไร-ขาดทุน แต่มุ่งยกระดับชีวิตชาวนา
เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่าน่าจะมีชาวนาในเวทีเสวนานี้ ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียหลัก โครงการจำนำข้าวไม่ได้มุ่งที่กำไร-ขาดทุน เป้าหมายอยู่ที่ช่วยเกษตรกร ยกระดับฐานะของเกษตรกร เราจะเห็นว่าชาวนาไทย เป็นชาวนาที่ยากจนมานาน และไม่สามารถหลุดพ้นวงจรจากความยากจน การประกันรายได้หรือจำนำก็เป็นโครงการที่เข้ามายกระดับชีวิตของเกษตรกร และโครงการจำนำข้าว ในช่วงที่ผ่านมาจากการติดตาม ไม่อาจปฏิสเธได้ว่า ทำให้ชาวนามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าในอดีต
ประเด็นรที่ 2 เป็นการลงทุนในกับภาคการเกษตร เหมือนรัฐบาลอื่นที่ลงทุนกับสุขภาพหรือการศึกษา หรือโครงสร้างพื้นฐาน
ประเด็นที่ 3 กลไกตลาดสินค้าเกษตร มันไม่มีทางเดินหน้าโดยตลาดสมบูรณ์ ดังนั้นมันจะมีการดูแลของรัฐหรือกลุ่มอำนาจดต่างๆ  ในตลาดโลก โดยมีรัฐหรือองค์กรต่างๆเข้ามาแทรกแซง
ราคาข้าวไทยถูกกำหนดโดยผู้ค้าตลาดโลก
หลายส่วนในโครงสร้างตลาดข้าวของไทย เมื่อเทียบกับเวทีโลกแล้วเราต้องมองพอว่าผู้ผลิตไม่สามารถควบคุมอุปทานได้ ยังขึ้นกับดินฟ้าอากาศ โรงสี พ่อค้าคนกลาง โดยที่ยังไม่ได้เป็นคนที่ไม่ได้กำหนดอะไรได้ ยังต้องรอคำสั่งผู้ส่งออกที่ดูกลไกตลาดโลก  ดังนั้นราคาข้าวไทยนั้น คนที่มีอำนาจในการกำหนดราคาข้าวคือผู้ค้าในต่างประเทศทมากกว่า การปล่อยให้เป็นไปตามกลไกอย่างต่อเนื่องอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้
จากโครงการจำนำ ทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นในตลาดโลก มีการยกระดับสูงขึ้นยิ่งเวทีข้าวต่างประเทศ ราคาข้าวของไทยเป็นราคาข้าวที่เริ่มขยับเข้ากับของสหรัฐฯ มากขึ้น และราคาที่เหนือกว่าข้าวของเวียดนามและอินเดีย และข้าวหอมมะลิเราสามารถดีดราคาของตัวเองขึ้นไปได้ อยู่ในระดับประมาณ พันสองร้อยกว่าเหรียญสหรัฐฯ
การระบาย น่าจะเริ่มได้ในเดือน ก.ย. นี้ ที่จะเริ่มประมูลได้ เป็นวิธีการระบายที่โปร่งใสชัดเจน ตอนนี้อยู่ในขั้นทำความเข้าใจผู้ร่วมในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยมีการซอยให้เล็กขึ้น และในตลาดซื้อขายล่วงหน้านั้นก็ต้องการให้มีผู้ค้าที่หลากหลาย
สำหรับโครงการใหม่ หลายท่านกังวล จากที่มีการพูดถึงความเท่าเทียบมกันของเกษตรกรนภาคต่างๆ โดยตั้งแต่การจัดโครงร่างที่หารือนั้น ก็ทำความเข้าใจ อย่างกรณีข้าวหอมฯ ชาวนาอีสานปลูกได้ครั้งเดียว ดังนั้นราคาที่รัฐบาลเสนอก็เป็นราคาที่เดิมอยู่ สำหรับข้าวที่มีปัญหาค่อนข้างมากนั้นคือข้าวขาว เพราะมีคู่แข่งมาก ราคาในตลาดโลกค่อนข้างต่ำ จำเป็นที่จะปรับปรุงโครงการใหม่เพื่อโน้มน้าวให้เกษตรกรไปปลูกข้าวที่มี คุณภาพมากขึ้น เช่น จากข้าวขาวไปปลุกข้าวหอมแทน
ต้องมองทั้งอุตสาหกรรมข้าวเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของไทย ต้องมองทั้งต้น, กลางและปลายน้ำ เห็นด้วยเรื่อง R&D ที่จะทำให้เรายืนอยู่ต่อไปได้ ซึ่งต้องเป็นการวิจัยทั้งระบบ ตั้งแต่เกษตรกรเกี่ยวข้าวมาแล้วมันมีรั่วไหลต่อลอดจนถึงโรงสี  คุณภาพข้าวมาที่โรสีมีความหลากหลายความชื้น ทำให้ถูกตัดราคา ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งนี้ก็ต้องพัฒนา มีโรงสีที่เป็นการผลิตดั้งเดิมจนถึงโรสีสมัยใหม่ที่คุณภาพข้าวที่ดี สิ่งที่สำคัญคือภูมิอากาศเราไม่เอื้อต่อการเก็บ คลังสินค้าเราก็ไม่เอื้อที่จะเก็บได้
เรื่องการตลาด มียุทธศาสตร์เยอะมากทั้งในและต่างประเทศ ส่วนใหญ่แล้วเน้นเรื่องตลาดเฉพาะมาก เน้นข้าวมีคุณภาพ มีลักษณะเฉพาะ พยายามพลักดันให้มีการยอมรับหรือขึ้นทะเบียนข้าวที่มีสิ่งบงชี้ทาง ภูมิศาสตร์ เช่น ข้าวหอมสุรินทร์ แม้ด้อยด้านการผลิต แต่มีความเฉพาะของข้าว เมื่อเทียบกับข้าวขาว มันจะมีความแตกต่างกับข้าวแบรนด์หรือข้าวที่มีลักษณะเฉพาะ ทำน้อยได้มาก
สร้างเครือข่ายข้าวประชาคมอาเซียน
อีกส่วนที่อยากให้มองอนาคตข้าวไทย ไกลกว่าประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ทำงานมากในส่วนของประชาคมอาเซียน ถ้าดูเรื่องของข้าวในอาเซียน ศักยภาพของเราที่จะแข่งนอกอาเซียน จะดึงเครือข่ายอย่างไร มีความร่วมมือในอาเซียนทุกระดับชั้่น มีระดับชาวนา โรงสี ผู้ส่งออก หน่วยรายชการของอาเซียน สิ่งที่มองเห็นคู่แข่งได้คือสหรัฐฯ ที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญๆ

ชัยฤทธิ์ ดํารงเกียรติ
การวิจัยและพัฒนาที่สัมพันธ์กันทุกภาคส่วน
กรมการข้าวเน่นการทำงานในภาคการผลิต ดังนั้นการจำนำข้าวไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง ประเด็นที่กรมฯ ยอมรับอยู่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือเรื่องคุณภาพข้าว สิ่งที่เราเป็นห่วงหากไม่มีการส่งเสริมหรือใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง ปัญหาในอนาคตเราจะมีปัญหาการแข่งขัน
สิ่งที่เราเป็นห่วงคือต้นทุนในการผลิตข้าวจะสูงขึ้น ดังนั้นต้องมีการพัฒนาข้าวและชาวนาไทยอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาข้าวแก้เฉพาะนาก็จะไม่สิ้นสุด ในเรื่องการมองเรามองทั้งระบบ ทั้งต้น-กลาง-ปลายน้ำ ถ้าทำงานไม่เชื่อมโยงกันความสำเร็จจะเกิดขึ้นยาก เรื่องวิจัยและพัฒนาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญสุด เราต้องเชื่อมโยง ภาคการผลิตที่หัวใจอยู่ที่การวิจัยและพัฒนา
ทำไมการวิจัยถูกแยกกันไปอย่างหลายมหาลัยฯ มีความซ้ำซอน และวิจัยไปแล้วไม่ได้นำไปใช้ ดังนั้นจึงมีการจับมือกัน ทำให้การวิจัยพัฒนาที่มีการจัดระเบียบ โดยที่กรมการข้าวจะรับงานวิจัยส่งต่อไปยังเกษตรกร ภาคชาวนา เกี่ยวข้องกับหลายส่วน จึงคิดว่าทำอย่างไรที่จะทำให้องค์กรเหล่านี้มีเอกภาพดังนั้นเราจึงพยายามให้ จับมือกันเพื่อมีสมาพันธ์ชาวนาในอนาคต เช่นในการทำงานภาคการตลาดนั้นต้องบอกภาคการผลิต ที่ผ่านมาเราแยกส่วนการทำงาน เชื่อว่าการทำงานข้าวของประเทศ ต้องบูรณาการ 3 ภาคส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถรู้ว่าจะทำอย่างไร วิจัยอะไรด้วย
เมล็ดพันธ์พันธ์ข้าวที่ดีและทั่วถึง
ปัญหาเรื่องเมล็ดพันธ์พันธ์ข้าว ปัจจัยส่งหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จคือเมล็ดพันธ์ ดังนั้นต้องผลิตมล็ดพันธ์ข้าวให้ดีและทั่วถึง แต่กรมการข้าวมีคนไม่เพียงพอก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นทำอย่างไรที่จะให้มีเมล็ดพันธ์ที่ดีและเพียงพอ ขณะนี้การผลิตใกล้ความจริงแล้ว แต่ต้องใช้เวลา เพราะถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่ดี ผลผลิตเพิ่มขึ้น 10-20 % โดยที่เมล็ดพันธ์ถ้าปลูกไว้หลายครั้งคุณภาพจะไม่ดี เราสร้างกลไกสมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และจังหวัดควรมีบทบาทในบริหารจัดการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วย
สถิติต้นทุนการผลิตข้าวของไทย ตั้งแต่ปี 38 ต้นทุนการผลิตข้าวเราสูงมาโดยตลอด กรมการข้าวได้สร้างหมู่บ้านต้นแบบการลดต้นทุนการผลิตเพื่อเป็นแนวทางในการ ผลิต และปัญหาออีกอย่างคือทำอย่างไรที่จะให้เทคโนโลยีนี้ถึงชาวบ้าน สิ่งที่จะต้องทำต่อ "ลด ละ เลิก" สามเหลี่ยมพีระมิดกระบวนการยกระดับคุณภาพข้าว (ดูภาพประกอบ)
สามเหลี่ยมพีระมิดกระบวนการยกระดับคุณภาพข้าว
เราต้องดูภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เราต้องทำข้าวหอมฯที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ แต่กรมการข้าวฯ หน่วยเดียวนั้นทำไม่ได้ เรื่องข้าวหอมปทุมฯ ที่เป็นข้าวหอมที่รองลงมานั้น เป็นตลาดกลาง แต่มีปัญหาเพลี้ยกระโดด และมีการไปทำวิจัยเพื่อต้านเพลี้ย แต่ก็ต้องทราบว่าพ่อค้าเอาข้าวนี้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นเมื่อวิจัยออกมาแต่พ่อค้าไม่เอาก็จะเสียโอกาส
เราต้องหนีชาติอื่นไปให้ไกล กรมฯเสนอ การเปลี่ยนแปลง เมล็ดพันธ์ข้าวเป็นหัวใจ 22 ปีมาแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากการเปลี่ยนครั้งนั้นเมื่อ 22 ปีที่แล้ว ทำให้เรามีข้าวคุณภาพ แต่ข้าวเก็บไว้นานมันก็จะไม่เป็นข้าวหอมมะละแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น