แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะเปิดเวทีปฏิรูปการเมือง เสียดายมาไม่ครบ ไร้เงา ปชป.-พธม. ย้ำไม่เสียเวลาเปล่าแน่นอน

ที่มา มติชน

 http://www.matichon.co.th/online/2013/08/13774044601377409679l.jpg


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 07.00 น. ที่ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) รัฐบาลจัดการประชุมหารือแลกเปลี่ยนและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอทางออก ประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า "เดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย พัฒนาประชาธิปไตย และประเทศร่วมกัน" มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 70 คน โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้ทยอยมาตั้งแต่เวลา 07.00 น. โดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นคนแรก นอกจากนี้ อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภา อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ นักวิชาการ ตัวแทนภาคเอกชน ภาคประชาชน สื่อมวลชน รวมทั้งตัวแทนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายอุทัย พิมพ์ใจชน นายพิชัย รัตตกุล พล.อ.สนธิ บุญยรักลิน  อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรคชาติพัฒนา นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรม นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เป็นต้น โดยบุคคลสำคัญได้เข้าไปพักยังห้องรับรองพิเศษ 

จากนั้นเวลา 09.30 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางมาถึงและเข้าไปยังห้องรับรองพิเศษ ประมาณ 5 นาที จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวเปิดเวทีว่า แม้รัฐบาลจะเป็นผู้เริ่มต้นในการจัดเวทีพูดคุย แต่เราจะขอเป็นเพียงผู้ประสานงานในการพูดคุยเท่านั้น เวทีดังกล่าวเป็นการเชิญผู้มีประสบการณ์ที่มีมุมมองแต่ละมิติต่างกัน ออกมาแสดงความคิดเห็น เพื่อหาทางออกร่วมกัน วางอนาคตประเทศไทยต่อไป โดยผู้ที่มาครั้งนี้ต่างเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ตุลาการ นักวิชาการ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน

นายกฯกล่าวว่า เป็นที่น่าเสียดาย เพราะยังไม่ครบถ้วน เพราะไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน รวมถึงฝ่ายพันธมิตร เรียนว่า เวทีนี้พร้อมเปิดรับทุกเมื่อ ทุกเวลาที่เหมาะสม ยืนยันว่ารัฐบาลมีความจริงใจอยากเห็นการพูดคุย ในการหาทางออกและมองไปข้างหน้า ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าเหตุใดรัฐบาลพูดถึงแต่อนาคต เพราะเราอยากเห็นการปฏิรูปการเมืองในมิติกว้างครบทุกองค์กร สามารถวางกรอบยุทธศาสตร์ โดยต้องมองทั้งสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมถึงรายละเอียดของปัญหาที่ยังหาทางออกไม่ได้

ส่วนกรณีที่อาจมีความสงสัยว่าทำไมไม่ถอนกฎหมายบางข้อออกจากสภา เพื่อให้เวทีนี้สามารถเดินหน้าไปได้ ต้องเรียนว่า เวทีนี้เรามองเห็นภาพในหลายๆ มิติมากขึ้น ส่วนเวทีในสภาก็เป็นเวทีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมในครั้งนี้มีตัวแทนจากหลายภาคส่วน เพื่อเอาข้อมูลต่างๆ มารวมกันในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง หากจะมองบริบทข้างหน้าในการหาทางออกให้ประเทศ ก็อยากจะให้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 1 มกราคม 2556 ที่ปรารถนาอยากเห็นคนไทยตั้งจิตตั้งใจหวังดีต่อกัน ดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ผูกพันกัน ซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเปิดเวที ครั้งนี้

นายกฯกล่าวว่า ทั้งนี้ ในเดือนกันยายนที่จะมีการเชิญบุคคลระดับผู้นำจากต่างประเทศมาปาฐกถาให้ความ รู้ เรียนว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเวทีปฏิรูปการเมือง แต่เป็นการให้ความรู้เล่าประสบการณ์ เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับประเทศไทย โดยรัฐบาลอยากเห็นบรรยากาศที่ดีในการพูดคุย สามารถมองไปข้างหน้าโดยต้องรับฟังทุกฝ่าย รวมทั้งเสียงข้างน้อยด้วย เราอยากเห็นประเทศมีความสุขมีความสามัคคี หากเห็นตรงกันก็จะพูดกันด้วยบรรยากาศที่สร้างสรรค์ ซึ่งเมื่อเห็นตรงกันแล้วก็จะสามารถคุยกันได้ว่า จะแก้ไขปัญหาการเมืองได้อย่างไร เชื่อว่ากลไกปัจจุบันก็สามารถแก้ปัญหาได้อยู่แล้ว

นายกฯกล่าวต่อว่า เราตั้งเป้าในการพูดคุยเวทีปฏิรูปฯ ว่าทำอย่างไรให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความมั่นคง ให้ประชาชนกินดีอยู่ดี และจะมีการวางระบบทั้ง 3 เสาหลักอย่างไรให้มีการถ่วงดุล และตรวจสอบซึ่งกันและกัน โดยเราจะหันไปหาประชาธิปไตยที่โปร่งใส เป็นกลไกมาตรฐานสากล ที่นานาประเทศยอมรับ โดยต้องดูตั้งแต่กระบวนการเข้ามา ซึ่งประกอบด้วยการตรวจสอบการประมวลผล ให้มีความเป็นกลาง เป็นที่ยอมรับ

ต่อมาเมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 25 สิงหาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบนายอุทัยว่า การเชิญทุกท่านมาในที่ประชุมแห่งนี้ รัฐบาลไม่มีเจตนาให้ทุกท่านไม่เสียเวลา แต่เราต้องการให้ทุกฝ่ายได้หารือกัน การที่นายอุทัยถามว่า ผู้ที่มานั้นมาในฐานะอะไร ก็ต้องตอบว่า คือผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ที่อยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้าในฐานนะผู้มีประสบการณ์ รัฐบาลเหมือนผู้ที่อยู่ปลายน้ำ ไม่สามรถทำอะไรคนเดียวได้ และอยากรับฟังทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

"วันนี้เราเห็นขีดความสามารถของประเทศที่ถดถอย มีความเหลื่อมล้ำและการแก้ปัญหายาเสพติดที่ปลายทางจริงๆ แต่ต้นทางคือการแก้ปัญหาทั้งระบบ เนื่องจากมิติทางสังคมเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นที่มาของรัฐบาลให้ทึกภาคส่วนได้มาถกหาทางออกและจากที่รัฐบาลอยู่ปลาย ทางจะทำการเดินหน้าก็ไม่สามารถเดินไปได้เนื่องจากมีผู้ที่มีความเห็นต่างและ อะไรที่เห็นร่วมกันเราจะเดินหน้าก่อน รัฐบาลยินดีที่จะผลักดัน และจะไม่ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมเสียเวลาเปล่า ในที่ประชุมหากมีอะไรที่เห็นตรงกันแล้ว ก็สามารถเดินหน้าได้ก่อน การปฏิรูปประเทศเป็นความหมายกว้าง หมายถึงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ยืนยันว่าจะไม่ทำให้การมาครั้งนี้ของทุกท่านเสียเวลาเป็นอันขาด" น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น