ที่มา มติชน
ทุกครั้งที่มีการถ่ายทอดสดแพร่ภาพการพิจารณากฎหมายหรือ
อภิปรายไม่ไว้วางใจบุคคลที่เป็นคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสภา
การลุกขึ้นพูดเป็นเรื่องปกติ
การขึ้นยกมือประท้วงต่อประธานที่ประชุมก็เป็นสิ่งที่กระทำกันแบบปกติเช่นกัน
หรือแม้แต่เหตุการณ์ประท้วงที่วุ่นวายเล็กน้อยจนถึงขั้น "ป่วนหนัก"
อย่างที่เกิดขึ้นในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 ว่าด้วยที่มาส.ว.
หนักข้อถึงขั้นท่านประธานที่เคารพ
ต้องขอเชิญผู้อภิปรายออกจากห้องประชุมไปเลยก็มี
ยังไม่นับกรณีที่มี
การแสดงออกด้วยท่าทางต่างๆ ประกอบการอภิปราย เพื่อบอกต่อสาธารณชนว่า
"ไม่พอใจแล้วนะ" ทั้งการโห่ฮา
อภิปรายแทรกเป็นสิ่งที่ประชาชนที่เฝ้าชมการถ่ายทอดสดแบบขาประจำและขาจรต่าง
แทบจะชาชิน
ทุกครั้งผู้ที่รับบทบาทหนักในการควบคุมความวุ่นวายจาก
การประท้วงให้กลับเข้ามาในกรอบเพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่นและนำไป
สู่ข้อสรุป คือ "ประธานสภา"
แต่ละคนล้วนมีเทคนิคเฉพาะในการปราบประท้วงที่ได้ผลชะงักไม่เหมือนกัน
"เป็นประธานสภา ต้องมือไว"
คำ
อธิบายสั้นๆ ติดตลกของ วิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่เผยถึงเทคนิคทำให้การประชุมสภาเป็นไปอย่างราบรื่น
ปราบการประท้วงที่ได้ผลที่สุด
วิสุทธิ์กล่าวว่า
การประชุมที่มีการเถียงประธานหรือการพูดไม่เหมาะสม
ส่วนใหญ่ในคำพูดสุดท้ายมักจะมีการใส่ฝ่ายตรงข้ามสักที เหวี่ยงใส่สักหน่อย
เป็นการต่อยก่อนเข้าบ้าน ตรงนี้ประธานจะต้องมือไวสักหน่อยกดปิดไมค์ให้เร็ว
"ถ้า
ดูทีท่าลีลาแล้วว่ามีการประท้วงที่แรงขึ้นๆ
สุดท้ายก่อนจะวกไปชกเขาก็ต้องตัดตรงนั้นออกไปให้ได้
ตรงนี้จะลดการตอบโต้ได้สูง จากนั้นก็อาจจะต้องขอร้องสมาชิก
ส่วนมากเมื่อขอร้องก็จะได้ผล ได้รับความร่วมมือดีขึ้น แต่ถ้าห้ามไม่ได้
เอาไม่อยู่ ต้องใช้วิธีเด็ดขาด คือกดไมค์ บังคับให้นั่ง
ถ้ายังไม่นั่งและโวยวายก่อกวนสภา ต้องเชิญออก ผมเองยังไม่เคยเชิญใครออก
นอกจากท่านสุนัย (จุลพงศธร) ครั้งเดียว"
นอกจากนี้ยังใช้ข้อ
บังคับเป็นหลักเพราะสภาเป็นที่ประชุมที่มีความขัดแย้ง
ปกติที่ไหนมีความขัดแย้งจำเป็นต้องยึดข้อกฎหมาย ข้อบังคับ และความยุติธรรม
หากประธานสภามีความยุติธรรม มีความเป็นธรรม มองสมาชิกทุกคนเท่าเทียมกันหมด
ไม่ดูสีเสื้อ หรือเข้าข้างฝ่ายใด ความขัดแย้งก็จะลดลงได้
ทำให้การประชุมสภาเป็นไปอย่างราบรื่น
เรียกได้ว่าเทคนิคการเบื้องต้นปราบปรามลดประท้วงในสภาที่ได้ผล คือ ต้องมือไวปิดไมค์ ขอร้อง และเชิญออก
ด้าน
พิชัย รัตตกุล เป็นอดีตประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เผยว่า
การลดความรุนแรงให้การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น
บุคคลที่สำคัญที่สุดคือประธานสภา วิธีที่ลดความรุนแรงให้ดีที่สุด คือ
ประธานจะต้องมีความเที่ยงธรรม ประธานต้องแสดงออกมาให้เห็นว่าทำตัวเป็นกลาง
ไม่สังกัดพรรคนั้นพรรคนี้ การประท้วงต่างๆ ก็จะเบาบางลดความรุนแรงลงไปเอง
สำหรับกรณีที่มีการประท้วงที่รุนแรง หรือการกระทำที่ไม่เหมาะสม
หากประธานสภามีความเที่ยงธรรมมากพอ ประชาชนจะรู้และจะเป็นผู้ตัดสินเอง
ขณะ
ที่ เจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง กล่าวว่า
การเกิดความวุ่นวาย หรือการประท้วงในสภา เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ
ตั้งเเต่การประท้วงประเด็นอะไร สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมือง
รวมถึงบรรยากาศของการประชุม
"ถ้าเนื้อหาของเรื่องที่นำมาประชุมสภา
เป็นเรื่องของการต่อสู้ทางการเมือง
ตรงนี้มักจะเกิดการประท้วงและอาจจะมีความร้อนเเรง
แต่ถ้ามากเกินไปก็จะปิดไมค์ให้คนอื่นพูดแทน
แต่หากยังไม่หยุดหรือมีการเพิ่มระดับความร้อนเเรงขึ้นก็จะอาศัยข้อบังคับ
173-174 เชิญให้ออกไปพักผ่อนนอกห้องประชุมสภา" เจริญกล่าว
นี่เป็น
เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ
และประสบการณ์ของเหล่าประธานที่ต้องควบคุมองค์ประชุมให้เป็นไปด้วยความเรียบ
ร้อย สิ่งที่หนึ่งที่แสดงให้เห็นคือ
ความแม่นยำในกฎระเบียบข้อบังคับและการเป็นผู้ฟังที่ดี
เพื่อจะได้วินิจฉัยอย่างเที่ยงธรรมและเป็นกลางที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว
คราวนี้อยู่ที่ตัวองค์ประชุมหรือ ส.ส. ที่เป็นตัวแทนของประชาชน
จะทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา หรือจะทำหน้าที่แค่เป็น "ตัวป่วน"
ประชาชนที่เฝ้าชมสามารถตัดสินใจเองได้
(ที่มา:หน้า 13 มติชนรายวัน ฉบับวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2556 )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น