ที่มา มติชน
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 4
สิงหาคม 2556 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย
โฆษกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) แถลงว่า
ศอ.รส.ตั้งทีมงานตรวจสอบข่าวในโซเชียลมีเดีย
หากพบว่ามีเจตนาปล่อยข่าวสร้างสถานการณ์ให้วุ่นวาย ให้เข้าใจผิด
ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก การกดไลค์หรือกดแชร์ ถือว่ามีความผิดทางอาญาตาม
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสน
หรือทั้งจำทั้งปรับ จากการตรวจสอบพบว่าบางข่าวไม่เป็นความจริง เช่น
จะมีการปฏิวัติ และการแอบอ้างชื่อบุคคลต่างๆ
นอกจากนี้ให้ฝ่ายกฎหมายบันทึกคำปราศรัยตลอดว่ามีข้อความใดผิดกฎหมายหรือไม่
"ส่วน
การตั้งด่านภายในพื้นที่ประกาศ พ.ร.บ.มั่นคงฯ 11 จุดและรอบนอกจำนวนหนึ่ง
เป็นการตั้งด่านตามปกติ ไม่ได้สกัดกั้นผู้มาชุมนุม" โฆษก ศอ.รส.กล่าว
และว่า
ที่มีสื่อมวลชนบางฉบับระบุว่ามีการใช้งบประมาณจำนวนมากในการอบรมการถ่ายภาพ
ให้กับตำรวจนั้น ยืนยันว่าไม่มีการใช้งบประมาณอย่างที่เป็นข่าว
เพียงแค่ให้ผู้เชี่ยวชาญมาอบรมการถ่ายภาพเพื่อให้เจ้าหน้าที่บันทึกภาพ
เหตุการณ์ได้ถูกวิธี
ด้าน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.
ในฐานะ ผอ.ศอ.รส. กล่าวว่า จากการข่าวพบว่าเมื่อวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา
มีกลุ่มบุคคลจงใจสร้างสถานการณ์โดยโพสต์ข้อความให้เกิดความวุ่นวาย
จึงประสานงานกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทาง
เทคโนโลยี (บก.ปอท.) เพื่อตรวจสอบแล้ว
สามารถจับกุมผู้ที่โพสต์ข้อความดังกล่าวได้ 4 คน ส่งตัวไปดำเนินคดีแล้ว
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก
กล่าวถึงกระแสข่าวว่าจะมีการปฏิวัติ ว่า ที่มีข่าวลือต่างๆ ในขณะนี้
ขอให้สังคมใช้วิจารณญาณในการบริโภคข่าวสาร
โดยเฉพาะจากโซเชียลเน็ตเวิร์กที่สร้างความสับสนให้สังคม
เป็นเพียงการสร้างจินตนาการส่วนบุคคลด้วยการผูกสร้างเรื่องและนำไปเผยแพร่
จุดกระแสชี้นำสังคม
เห็นได้บ่อยครั้งว่าเนื้อหาไม่มีข้อมูลข้อเท็จจริงที่เพียงพอ
โดยเฉพาะเรื่องที่พยายามนำกองทัพบกเข้าไปเกี่ยวข้องเรื่องการเมือง
"ขอ
ความกรุณาว่า เรื่องต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกองทัพบก
ขออย่านำกองทัพเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือนำไปจินตนาการปะติดปะต่อสร้างเรื่องเป็น
ประเด็นให้สังคมสับสน
และขอให้พี่น้องประชาชนอย่าหวั่นวิตกกับการเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ของกองทัพ
บก เพราะช่วงนี้กองทัพบกจะมีการเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ไปฝึกตามวงรอบปกติ
จึงไม่อยากให้จินตนาการคาดเดาทำให้เกิดความสับสน" พ.อ.วินธัยกล่าว
นาย
ประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า
จากการติดตามสถานการณ์ของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น
พบว่ามีความพยายามระดมมวลชนเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาล โดยว่าจ้างหัวละ
300-500 บาทต่อวัน หรือเหมาจ่ายคนละ 2,500 บาทในการร่วมชุมนุม 3-5 วัน
โดยมีการระดมเงินจากนายทุนธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
เป็นหลักพันล้านบาทเพื่อล้มรัฐบาล
นายประชากล่าวว่า
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ชี้แจงทำความเข้าใจ และขอความร่วมมือประชาชน
เชื่อว่าจะจำนวนผู้เข้าร่วมการชุมนุมลดลง
คาดว่าผู้เข้าร่วมการชุมนุมหลักหมื่น และชุมนุม 3-5 วันน่าจะยุติ
อีกทั้งพบว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะมาจากภาคใต้ กรุงเทพฯและปริมณฑล
เป็นการจัดตั้ง เชื่อว่าการชุมนุมจะผ่านไปด้วยความเรียบร้อย
โดยไม่มีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้น แต่จะไม่ประมาทมือที่สาม
สร้างสถานการณ์ความรุนแรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น