21 ส.ค.56 เวลา 13.00 น. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ ไทย และสำนักงานคณะกรรมการกิ จการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกันจัดงานเสวนาเรื่อง สิทธิเสรีภาพสื่อกับ พ.ร.บ.ประกอ บกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิ จการโทรทัศน์: เสรีภาพสื่อในวันที่ไร้ฮอร์ โมนส์ เพื่อวิพากษ์ถึงปัญหาในร่างกำกั บดูแลเนื้อหาฯ และจัดทำข้อเสนอเพื่อให้เกิ ดการปรับปรุงแก้ไข
สืบเนื่องจากร่ างประกาศคณะกรรมการกิ จการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้ อหารายการในกิจการกระจายเสี ยงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ....(ร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ) ที่คณะอนุกรรมการด้านผั งรายการและเนื้อหารายการ กสทช. เสนอต่อที่ประชุมใหญ่กสทช.ไปเมื ่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 ร่างดังกล่าวมีใจความถึงเนื้ อหาที่ต้องห้ามนำเสนอในสื่อวิ ทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทั ศน์ โดยขยายความจากมาตรา 37 แห่งพ.ร.บ.ประกอบกิ จการกระจายเสียงและกิจการโทรทั ศน์ พ.ศ. 2551 ที่ห้ามนำเสนอเนื้อหาที่ก่อให้ เกิดการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิ ปไตย หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่ นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอั นดีของประชาชน หรือมีการกระทำซึ่งเข้าลั กษณะลามกอนาจาร หรือมีผลกระทบต่อการให้เกิ ดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุ ขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง อีกทั้งยังกำหนดมาตรการการดำเนิ นรายการที่เน้นควบคุมรายการเชิ งข่าวอย่างเข้มงวด
ในงานนี้มีวิทยากรและผู้ร่ วมเสวนาเข้าร่วมประมาณ 70 คน ได้แก่ นักวิชาการ นักศึกษา องค์การพัฒนาภาคเอกชน และสื่อมวลชน
การเสวนามีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
ร่างประกาศเนื้อหาฯ พบปัญหาสำคัญหลายประการ คือ
1. เนื้อหามีความกำกวมและคลุมเครือ เช่น คำว่า ความมั่นคงของรัฐที่กำหนดถึงเนื้อหาที่ “ล้มล้างอำนาจในระบอบประชาธิปไตยไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน” เรื่องศีลธรรมที่กำหนดถึงเนื้อหาที่ “ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือลดคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และการห้ามนำเสนอที่ “น่ารังเกียจ” หรือ “ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน”
ทั้งนี้ ปัจจุบันฝ่ายที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลสื่อ นอกจากตัวสื่อเองที่ย่อมเซ็นเซอร์ตัวเองอยู่แล้ว ยังมีกลุ่มการเมืองและกลุ่มทุน และเมื่อถ้อยคำในกฎหมายมีความกำกวม ย่อมเปิดช่องให้เกิดการใช้ดุลพินิจตีความไปในทางที่ฝ่ายตนได้ประโยชน์ และเปิดช่องให้เกิดการเลือกปฏิบัติแน่นอน
2. ปัญหาของร่างนี้ คือเน้นกลไกการควบคุมมากกว่ากลไกการกำกับ ทั้งที่ กสทช.มีหน้าที่หนึ่งในการร่วมสร้างบรรยากาศที่ดีเพื่อให้เกิดการกำกับดูแล กันเองของสื่ออย่างสร้างสรรค์ แต่ลักษณะของร่างฉบับนี้ ยิ่งส่งเสริมการใช้อำนาจของกสทช.ในการสร้างกลไก “ควบคุม” สื่อ มากกว่ากลไกการ “กำกับดูแล”
3. เนื้อหาในร่าง เขียนทับซ้อนกฎหมายอื่นๆ ที่กำหนดเอาไว้ครอบคลุมและชัดเจนกว่าอยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล้าและบุหรี่ ทำให้เกิดองค์กรบังคับใช้ที่ทับซ้อนกันไปมา
4. นอกจากร่างฉบับนี้จะไม่เปิดพื้นที่ให้กลไกกำกับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพ ทำงานแล้ว ยิ่งสร้างปัญหาในบรรยากาศของการปฏิรูปสื่อ และย้อนการทำงานของสื่อกลับไปยังยุคที่ทำให้เจ้าของธุรกิจ เข้ามาแทรกแซงสื่อ
5. หากร่างฉบับนี้นำมาใช้จริง จะมีปัญหาในการบังคับใช้ เพราะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติงานสื่อ เช่น การบังคับให้สื่อต้องนำเสนอเนื้อหาโดยเชิญผู้ที่อยู่ในความขัดแย้งทั้งหมดมา นำเสนอ การบังคับให้สื่อต้องนำเสนอเนื้อหาข่าวที่เป็นกลาง การห้ามเสนอรายการที่จะตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ขึ้นกับการตีความ อาจจะส่งผลให้การนำเสนอเนื้อหาในรายการวิทยุและโทรทัศน์ จะมีแต่รายการลักษณะขี้หมูราขี้หมาแห้ง
โดยสรุปแล้ว เนื้อหาของร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ ขาดเจตนารมณ์ที่จะให้เกิดการจัดสรรคลื่นอย่างมีคุณภาพและหลากหลาย ภายใต้กลไกการควบคุมวิชาชีพกันเองของสื่อมวลชน อีกทั้งยังขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่มุ่งคุ้มครองการทำงานและการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน กล่าวคือ ร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ ละเลยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจ
วงเสวนาสรุปข้อเสนอแนะต่อ กสทช. ดังนี้
1. ถ้อยคำที่กำหนดเอาไว้ว่าเป็นเนื้อหาต้องห้ามนั้น ยังถือเป็นประเด็นที่เปิดให้เกิดการถกเถียง แทนที่จะออกมาตรการ รัฐควรทำความเข้าใจว่า ที่สุดแล้วไม่ใช่เรื่องกติกา แต่มันเป็นความเชื่อบางชุดที่ยังต้องปล่อยให้เกิดการถกเถียง โดยรัฐควรเริ่มจากการเชื่อมั่นในประชาชน คืนอำนาจให้ประชาชน และอย่าคิดว่าประชาชนโง่ตลอดเวลา แต่ปล่อยพื้นที่ให้ประชาชนถกเถียง เพื่อที่ว่า สิ่งต่างๆ ที่ยังเป็นความเชื่อจะได้ไม่ถูกกันจากสังคมไปตั้งแต่แรก
2. แทนที่เนื้อหาในร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ จะกำหนดเพียงรายละเอียดของการให้อำนาจผู้รับใบอนุญาต ใช้ดุลพินิจของตนควบคุมสื่อ ผ่านการสั่งปรับหรือถอนใบอนุญาต ร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ ฉบับนี้ ควรศึกษากลไกอื่นๆ ที่ควรคำนึงถึง ซึ่งจะรักษาสมดุลของสิทธิเสรีภาพกับประโยชน์สาธารณะ เช่น กลไก watershed ที่ใช้เรื่องการกำหนดเวลาสำหรับเนื้อหาบางประเภท เช่น เนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน สามารถนำเสนอได้ในช่วงเวลาเฉพาะที่กำหนดไว้
3. ในร่างนี้ ควรมีเนื้อหาว่าด้วยการกำกับดูแลตัวเอง หรือการกำกับดูแลร่วม ดังที่กำหนดเอาไว้ในมาตรา 39 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อีกทั้งยังควรกำหนดหลักเกณฑ์ที่ให้รายละเอียดถึงวิธีการตรวจสอบการใช้ ดุลพินิจ รวมถึงกำหนดรายละเอียดขั้นตอนการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของทั้งผู้รับใบ อนุญาตและกสทช.ด้วย
4. กสทช. ควรสร้างและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งแทนที่จะเปิดการมีส่วนร่วมเพียงแค่ช่วงการประชาพิจารณ์ซึ่งเป็นการเปิด รับฟังความคิดเห็นในช่วงท้ายเท่านั้น กสทช.ควรมีกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม กระบวนการยกร่าง กำหนดเจตนารมณ์ และกำหนดรายละเอียดร่วมกัน
ที่มา: โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
สืบเนื่องจากร่
ในงานนี้มีวิทยากรและผู้ร่
การเสวนามีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
ร่างประกาศเนื้อหาฯ พบปัญหาสำคัญหลายประการ คือ
1. เนื้อหามีความกำกวมและคลุมเครือ เช่น คำว่า ความมั่นคงของรัฐที่กำหนดถึงเนื้อหาที่ “ล้มล้างอำนาจในระบอบประชาธิปไตยไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน” เรื่องศีลธรรมที่กำหนดถึงเนื้อหาที่ “ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือลดคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และการห้ามนำเสนอที่ “น่ารังเกียจ” หรือ “ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน”
ทั้งนี้ ปัจจุบันฝ่ายที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลสื่อ นอกจากตัวสื่อเองที่ย่อมเซ็นเซอร์ตัวเองอยู่แล้ว ยังมีกลุ่มการเมืองและกลุ่มทุน และเมื่อถ้อยคำในกฎหมายมีความกำกวม ย่อมเปิดช่องให้เกิดการใช้ดุลพินิจตีความไปในทางที่ฝ่ายตนได้ประโยชน์ และเปิดช่องให้เกิดการเลือกปฏิบัติแน่นอน
2. ปัญหาของร่างนี้ คือเน้นกลไกการควบคุมมากกว่ากลไกการกำกับ ทั้งที่ กสทช.มีหน้าที่หนึ่งในการร่วมสร้างบรรยากาศที่ดีเพื่อให้เกิดการกำกับดูแล กันเองของสื่ออย่างสร้างสรรค์ แต่ลักษณะของร่างฉบับนี้ ยิ่งส่งเสริมการใช้อำนาจของกสทช.ในการสร้างกลไก “ควบคุม” สื่อ มากกว่ากลไกการ “กำกับดูแล”
3. เนื้อหาในร่าง เขียนทับซ้อนกฎหมายอื่นๆ ที่กำหนดเอาไว้ครอบคลุมและชัดเจนกว่าอยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล้าและบุหรี่ ทำให้เกิดองค์กรบังคับใช้ที่ทับซ้อนกันไปมา
4. นอกจากร่างฉบับนี้จะไม่เปิดพื้นที่ให้กลไกกำกับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพ ทำงานแล้ว ยิ่งสร้างปัญหาในบรรยากาศของการปฏิรูปสื่อ และย้อนการทำงานของสื่อกลับไปยังยุคที่ทำให้เจ้าของธุรกิจ เข้ามาแทรกแซงสื่อ
5. หากร่างฉบับนี้นำมาใช้จริง จะมีปัญหาในการบังคับใช้ เพราะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติงานสื่อ เช่น การบังคับให้สื่อต้องนำเสนอเนื้อหาโดยเชิญผู้ที่อยู่ในความขัดแย้งทั้งหมดมา นำเสนอ การบังคับให้สื่อต้องนำเสนอเนื้อหาข่าวที่เป็นกลาง การห้ามเสนอรายการที่จะตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ขึ้นกับการตีความ อาจจะส่งผลให้การนำเสนอเนื้อหาในรายการวิทยุและโทรทัศน์ จะมีแต่รายการลักษณะขี้หมูราขี้หมาแห้ง
โดยสรุปแล้ว เนื้อหาของร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ ขาดเจตนารมณ์ที่จะให้เกิดการจัดสรรคลื่นอย่างมีคุณภาพและหลากหลาย ภายใต้กลไกการควบคุมวิชาชีพกันเองของสื่อมวลชน อีกทั้งยังขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่มุ่งคุ้มครองการทำงานและการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน กล่าวคือ ร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ ละเลยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจ
วงเสวนาสรุปข้อเสนอแนะต่อ กสทช. ดังนี้
1. ถ้อยคำที่กำหนดเอาไว้ว่าเป็นเนื้อหาต้องห้ามนั้น ยังถือเป็นประเด็นที่เปิดให้เกิดการถกเถียง แทนที่จะออกมาตรการ รัฐควรทำความเข้าใจว่า ที่สุดแล้วไม่ใช่เรื่องกติกา แต่มันเป็นความเชื่อบางชุดที่ยังต้องปล่อยให้เกิดการถกเถียง โดยรัฐควรเริ่มจากการเชื่อมั่นในประชาชน คืนอำนาจให้ประชาชน และอย่าคิดว่าประชาชนโง่ตลอดเวลา แต่ปล่อยพื้นที่ให้ประชาชนถกเถียง เพื่อที่ว่า สิ่งต่างๆ ที่ยังเป็นความเชื่อจะได้ไม่ถูกกันจากสังคมไปตั้งแต่แรก
2. แทนที่เนื้อหาในร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ จะกำหนดเพียงรายละเอียดของการให้อำนาจผู้รับใบอนุญาต ใช้ดุลพินิจของตนควบคุมสื่อ ผ่านการสั่งปรับหรือถอนใบอนุญาต ร่างกำกับดูแลเนื้อหาฯ ฉบับนี้ ควรศึกษากลไกอื่นๆ ที่ควรคำนึงถึง ซึ่งจะรักษาสมดุลของสิทธิเสรีภาพกับประโยชน์สาธารณะ เช่น กลไก watershed ที่ใช้เรื่องการกำหนดเวลาสำหรับเนื้อหาบางประเภท เช่น เนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน สามารถนำเสนอได้ในช่วงเวลาเฉพาะที่กำหนดไว้
3. ในร่างนี้ ควรมีเนื้อหาว่าด้วยการกำกับดูแลตัวเอง หรือการกำกับดูแลร่วม ดังที่กำหนดเอาไว้ในมาตรา 39 ของพ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ อีกทั้งยังควรกำหนดหลักเกณฑ์ที่ให้รายละเอียดถึงวิธีการตรวจสอบการใช้ ดุลพินิจ รวมถึงกำหนดรายละเอียดขั้นตอนการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของทั้งผู้รับใบ อนุญาตและกสทช.ด้วย
4. กสทช. ควรสร้างและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งแทนที่จะเปิดการมีส่วนร่วมเพียงแค่ช่วงการประชาพิจารณ์ซึ่งเป็นการเปิด รับฟังความคิดเห็นในช่วงท้ายเท่านั้น กสทช.ควรมีกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วม กระบวนการยกร่าง กำหนดเจตนารมณ์ และกำหนดรายละเอียดร่วมกัน
ที่มา: โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น