แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ยุทธการล้มพรรคร่วมรัฐบาลกับวิธีป้องกันแก้ไขปัญหา

ที่มา Thai E-News


เจาะข่าวเด่น เมื่อพ.ร.บ. นิรโทษกรรมเข้าสภา? (ตอน2) 5 08 56

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรพล  พรหมิกบุตร
นักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี

 (๑) นิรโทษกรรมประชาชน : ประวัติศาตร์แห่งการเปลี่ยนแปลง

                   เมื่อถึงวันเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญนิติบัญญัติ วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ข้อมูลและความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ปรากฏทั้งในทางผลักดันสนับสนุนและคัด ค้านต่อต้านการพิจารณาออกกฎหมายพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชนที่กระทำผิด เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง (ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ฉบับ สส.วรชัย เหมะ) ก็ทะยอยปรากฏให้ประเมินได้ว่าร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวจะสามารถผ่านการรับรอง ในวาระที่ ๑ (การรับหลักการ) ของสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่ยากนัก ขณะเขียนต้นฉบับนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวจะ สามารถผ่านมติสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ ๒ และวาระที่ ๓ ภายในวันเดียวกันได้หรือไม่  และยังจะผ่านวาระที่ ๓ ได้หรือไม่ภายในกี่วันหลังจากนั้น

                   ไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์และเครือข่ายกลุ่มพลังต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมให้[i]ประชาชน จะดำเนินการอย่างไรทั้งในและนอกรัฐสภาหรือไม่ว่าจะใช้บริการตุลาการภิวัตน์ ในศาลต่าง ๆ อย่างไรก็ไม่น่าจะสามารถยับยั้งการพิจารณาเพื่อรับหลักการร่างกฎหมายดัง กล่าววาระที่ ๑ ในวันที่ ๗-๘ สิงหาคมได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าความพยายามในการแก้ไชปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่ มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็จะคืบหน้าไปได้อีก ถึง ๑ ใน ๓ ส่วน

                   กลไกบริหารที่เป็นแกนนำและ สส. ลูกพรรคจำนวนหนึ่งของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน (พรรคประชาธิปัตย์) ประกาศในเวทีปราศรัยมวลชนนอกรัฐสภาแสดงการคัดค้านต่อต้านร่างกฎหมายดังกล่าว อย่างแข็งกร้าวทั้ง ๆ ที่ร่างกฎหมายนั้นมีเนื้อหาที่เป็นคุณต่อมวลชนพันธมิตรประชาธิปไตยฯที่สนับ สนุนพรรคประชาธิปัตย์ในการต่อต้านล้มล้างอำนาจรัฐบาลพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. ๒๕๕๑) แต่ใช้วิธีการผิดกฎหมายโดยบุกยึดสนามบินของรัฐ  แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ยังแถลง ข้อแนะนำ (ที่ไม่เป็นมิตร)” ให้นายกรัฐมนตรีกระทำการในทางที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ (กล่าวคือ แนะนำให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการให้ถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกจากการประชุมพิจารณาของรัฐสภา) ความเคลื่อนไหวเหล่านี้บ่งชี้ถึงความตกต่ำทางการเมืองมากยิ่งขึ้นกว่าที่ตกต่ำมากอยู่แล้ว

ใน ทางตรงข้าม การแถลงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลความมั่น คงตามพระราชบัญญัติความมั่นคงฯ พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งจะใช้อำนาจรักษาควมสงบเรียบร้อยของการชุมนุมมวลชนที่ต่อต้านรัฐบาล ปัจจุบัน เป็นคำแถลงที่บ่งชี้ถึงความแตกต่างและวุฒิภาวะทางการเมืองที่เหนือกว่าการ ดำเนินนโยบายของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยสั่งการสลายการชุมนุมของคน เสื้อแดงด้วยกองทัพและอาวุธกระสุนจริงสังหารประชาชน  สาระสำคัญตอนหนึ่งของคำแถลงจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คือ ประชาชนสามารถใช้สิทธิชุมนุมได้ แต่ต้องดำเนินการภายในขอบเขตกฎหมาย  ไม่มีอาวุธ และใม่ใช้ความรุนแรงในการชุมนุม

                   จุดยืนเชิงยุทธศาสตร์ขององค์กรประชาชนเสื้อแดงที่สนับสนุนร่างกฎหมายดัง กล่าวและมีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางมากที่สุด คือ นปช. ที่แถลงให้แกนนำและสมาชิกรวมพลังกันอยู่ในที่ตั้งทำให้โอกาสการปะทะระหว่าง มวลชนที่เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลกับมวลชนเสื้อแดงที่สนับสนุนร่างกฎหมาย ดังกล่าวหมดไป เหลือเพียงการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงขึ้นเองระหว่างผู้จัดการชุมนุมกับผู้ชุมนุมที่ตกเป็นเหยื่อทางการเมือง

                        ข้อแนะนำให้ถอนร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับดังกล่าวออกจากการประชุมพิจารณาวัน ที่ ๗ สิงหาคม รวมทั้งข้อแนะนำคล้ายกันว่าถึงแม้รัฐสภาไม่สามารถออกกฎหมายนิรโทษกรรมเป็น พระราชบัญญัติได้  แต่รัฐบาลก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมเป็นพระราชกำหนดแทนได้นั้นไม่น่าจะมีผลเป็น จริงได้อีกต่อไป

                   พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชนฉบับนี้จะเป็นกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับแรกใน ประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เกิดจากผลของความร่วมมือผลักดันทั้งทางความคิด  ข้อมูล  ความรู้ และพลังการขับเคลื่อนต่อเนื่องทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยระหว่าง ประชาชนกับพรรคการเมืองในรัฐสภาที่ให้ความสำคัญกับประชาชนผู้ร่วมชุมนุมทาง การเมืองมากกว่าแกนนำผู้ชุมนุมและอำนาจรัฐที่สั่งการปราบปรามการชุมนุมทาง การเมือง
(๒) การสร้างสถานการณ์รุนแรงและยุทธศาสตร์การล้มรัฐบาล

                   การระดมมวลชนเพื่อชุมนุมประท้วงการพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่แกนนำพรรค ประชาธิปัตย์และแนวร่วมพันธมิตรประกาศต่อต้านข้างต้นเป็นเพียงกระบวนวิธี ขั้นต้นในเส้นทางยุทธศาสตร์การยึดอำนาจการเมืองเบ็ดเสร็จรอบใหม่ซึ่งกลุ่ม อำนาจคณาธิปไตยดั้งเดิม (คณะรัฐประหาร ๒๕๔๙ และกลุ่มผู้บงการ) จะต้องพยายามดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ให้สำเร็จก่อนที่สมาชิกรัฐสภาเสียงส่วนใหญ่จะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ และก่อนที่พรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันจะสามารถดำเนินการผลักดันร่างพระราช บัญญัติเงินกู้ ๒.๒ ล้าน ๆ บาทและโครงการพัฒนามูลค่ามหาศาลของประเทศได้ต่อไป โดยกลุ่มอำนาจคณาธิปไตยและพรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถเข้าควบคุมผลประโยชน์ ของชาติไว้ในกำมือได้ต่อไป

                   ในฐานะที่เป็นกระบวนวิธีในขั้นตอนแรกของยุทธศาสตร์การยึดอำนาจกลับคืน,  การสร้างสถานการณ์รุนแรงให้กระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของกลุ่มผู้บงการเบื้องหลังการชุมนุม โดยจะต้องเป็นการกระทบทางกายภาพที่แนบเนียนควบคู่กับการดำเนินยุทธวิธีเปิด ช่องทางให้ระบบสื่อสารมวลชนสามารถรายงานเป็นข่าวในทิศทางที่มุ่งชี้ว่าเป็น ความผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน  เพื่อก่อผลกระทบทางการเมืองลูกโซ่ต่อไปในการขยายข่าวสารข้อมูลว่าเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องแสดงความรับผิดชอบ   ผู้บงการเบื้องหลังและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการชุมนุมดังกล่าวสามารถ ประเมินทราบได้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่ารัฐบาลจะไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องหรือ การกล่าวอ้างของแกนนำผู้ชุมนุม

                   ยุทธศาสตร์ความรุนแรงและกระบวนการข่าวสารปรักปรำเจ้าหน้าที่ตำรวจและรัฐบาลดังกล่าวยังเป็นขั้นตอนก่อนการนำกรณีเหตุการณ์สถานการณ์รุนแรงนั้นไปสร้างเป็นคดีทางการเมืองและ คดีทางอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ในศาลยุติธรรม  ศาลปกครอง  และศาลรัฐธรรมนูญ (ซึ่งจะมีทั้งนักกฏหมายที่ทำงานให้พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรเดิม พร้อมจะให้บริการทางคดีอยู่แล้ว) และยังเป็นไปได้ว่าจะมีการนำกรณีดังกล่าวไปยื่นเรื่องเป็นวาระเร่งด่วนใน วุฒิสภาเพื่อพิจารณาถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง รวมทั้งอาจรวมถึงการขู่ถอดถอนผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติ   หากเข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด (ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งพร้อมที่จะใช้อำนาจดำเนินการอยู่ แล้ว)

                   ขั้นตอนยุทธวิธีข้างต้นมีวัตถุประสงค์นำร่องในการสร้างบรรยากาศระส่ำระสายและความปั่นป่วนทางการเมืองมากขึ้นตามลำดับเพื่อสอดรับกับหลักการเรื่อง ความ(ไม่)มั่นคงแห่งชาติ ที่สามารถมีผู้นำไปใช้เป็นเหตุผลข้ออ้างสนับสนุนความจำเป็นที่กองทัพจำเป็น จะต้องเข้ามีส่วนร่วมดูแลแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง  ในขั้นตอนนี้เราจะสังเกตเห็นการใช้ประโยชน์จากสำนักสำรวจความคิดเห็น ประชาชน  (โพล) เพิ่มเติมมากขึ้นรวมทั้งการดำเนินยุทธการข่าวสารเพื่อโน้มน้าวความคิดเห็น สาธารณะของประชาชนว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรรวมทั้งกลไกบริหารต่าง ๆ ภายในบังคับบัญชาไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำพัง และไม่สามารถบริหารจัดการความขัดแย้งภายในได้  แรงกดดันเหล่านี้จะสร้างความระส่ำระสายและความคิดเห็นอันไม่เป็นเอกภาพภายใน กลไกบริหารของพรรคเพื่อไทย  พรรคร่วมรัฐบาล และสมาชิกวุฒิสภาที่สนับสนุนการผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมและร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญได้พอสมควรในทางปฏิบัติ  ความคิดเห็นไม่เป็นเอกภาพนี้จะไม่ปรากฏทางสื่อมวลชนจนกว่ากลุ่มผู้เคลื่อน ไหวแสดงความคิดเห็นที่คิดแย้งแตกต่างกันภายในระบบพรรคร่วมรัฐบาลจะสามารถตก ผลึกความคิดทางใดทางหนึ่งได้เรียบร้อยแล้ว  การแสดงความเห็นแย้งแตกต่างที่ไม่เป็นทางหนึ่งทางเดียวกันนั้นจะสามารถก่อผล ในทางยับยั้งการผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับนี้ได้หรือไม่จะมีความ ชัดเจนขึ้นภายในค่ำวันที่ ๖ สิงหาคมนี้  หากการเคลื่อนไหวของฝ่ายค้านทั้งในและนอกรัฐสภาผนวกกับความเห็นแย้งถ่วงรั้ง ภายในกลไกพรรครัฐบาลประสบผลสำเร็จทำให้รัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างพระราช บัญญัตินิรโทษกรรมถึงวาระที่ ๓ ได้  ก็จะมีผลกระทบเป็นความล้มเหลวในการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่รอการพิจารณาอยู่ในรัฐสภาแล้ว ๔ ฉบับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่างแก้ไขว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาให้มาจากการเลือก ตั้งทั้งหมด)  หากพลังของฝ่ายต่อต้านคัดค้านไม่สามารถคุกคามข่มขู่ให้เสียงส่วนใหญ่ใน รัฐสภาหวาดกลัวได้  โอกาสความสำเร็จในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีมากขึ้นควบคู่กับความเข้มแข็งของ มวลชนฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล  สาธารณชนยังคงจำเป็นต้องรอความชัดเจนจากการแถลงที่เป็นทางการของรัฐสภา เกี่ยวกับการบรรจุวาระและความคืบหน้าหรืออุปสรรคการชะงักงันในการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญที่ค้างวาระการประชุมในรัฐสภา    ความมั่นคงและเข้มแข็งของประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภาที่เคารพเสียงส่วน ใหญ่จะเพิ่มชึ้นหรือลดลงจึงขึ้นอยู่กับผลรูปธรรมของการพิจารณาร่างพระราช บัญญัตินิรโทษกรรมฉบับนี้หลายส่วน

                   แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แถลงชัดเจนแล้วว่าให้สมาชิกรวมตัวเตรียมความพร้อมอยู่ในที่ตั้งและไม่ให้ตก เป็นเหยื่อทางการเมืองที่นำกลุ่มมวลชนเสื้อแดงออกมาชุมนุมเผชิญหน้ากับกลุ่ม ผู้ต่อต้านรัฐบาล  ขณะที่ฝ่ายที่มุ่งสร้างภาวะความปั่นป่วนและสถานการณ์รุนแรงเพื่อการยึดอำนาจ กลับคืนมีวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ตามลำดับขั้นตอนเหล่านั้นในการ กระตุ้นให้มวลชนเสื้อแดงเคลื่อนกำลังออกมาเผชิญหน้ากับมวลชนที่ต่อต้าน รัฐบาล  เพื่อสร้างบรรยากาศความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเมืองต่อเนื่องและเพิ่มเติมให้ ถึงระดับที่จะสามารถจัดการล้มล้างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยต่อไปได้  กลุ่มผู้กำหนดยุทธศาสตร์การล้มรัฐบาลที่บงการอยู่เบื้องหลังการชุมนุมมวลชน ต่อต้านรัฐบาลครั้งนี้ไม่มีวิธีอื่นใดเหลืออยู่นอกจากการประเมินว่าจะใช้ วิธีตุลาการภิวัตน์หรือวิธีรัฐประหารในสถานการณ์ สุกงอม ที่เกิดจากการสร้างภาวะปั่นป่วนวุ่นวายแบบจลาจลโดยกลุ่มมวลชนคุ้มคลั่งปะทะ ขยายวงกว้าง  (มวลชนเสื้อแดงอิสระกลุ่มย่อยหลายกลุ่มและนักเคลื่อนไหวข่าวสารข้อมูลที่มี สถานีวิทยุชุมชนของตนเองบางกลุ่มมีภูมิหลังทางอารมณ์ที่อ่อนไหวต่อการ ถูกกระตุ้นให้ดำเนินกิจกรรมข่าวสารกระตุ้นยั่วยุมวลชนเสื้อแดงต่อไปอีกทอด หนึ่งให้เคลื่อนตัวแสดงตนเผชิญหน้าตอบโต้กับมวลชนที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลนาง สาวยิ่งลักษณ์  การตอบโต้กันระหว่างมวลชนจะยิ่งช่วยหนุนเสริมให้แผนยุทธศาสตร์ของกลุ่มผู้ มุ่งล้มล้างรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ในการชุมนุมครั้งนี้บรรลุเป้าหมายใกล้ผล สำเร็จมากขึ้น  การเพิ่มสถานการณ์ความรุนแรงและความวุ่นวายบานปลายนอกจากจะเพิ่มความยาก ลำบากต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมดูแลการชุมนุมให้อยู่ภายในกรอบของ กฎหมายแล้วยังสร้างภาระทางการเมืองเพิ่มเติมให้แก่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยโดยตรง  คำแถลงเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคมที่ผ่านมาของแกนนำนปช.ทั่วประเทศช่วยป้องกันปัญหาน้ำผึ้งหยดเดียวที่อาจจเกิดจากภาวะอารมณ์วู่วามของกลุ่มสมาชิก นปช. ได้เป็นอย่างดี (คงเหลือแต่ภาวะ จงใจวู่วาม ที่อาจปรากฏขึ้นได้ไม่มากนัก) แม้ว่าแกนนำ นปช.จะแถลงจุดยืนและเผยแพร่ข่าวสารแจ้งเตือนกลุ่มสมาชิกเพื่อป้องกันผลกระทบ เสียหายเช่นนั้นแล้ว  แต่ก็ยังจำเป็นต้องดำเนินการต่อเนื่องด้วยการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลติดตาม สถานการณ์และย้ำให้มวลชนเสื้อแดงรวมตัวดำเนินกิจกรรมด้วยความตื่นตัวเตรียม ความพร้อมอยู่ในที่ตั้งห่างไกลจุดชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาล  ไม่ใช่เพื่อรอวันปะทะกับมวลชนต่อต้านรัฐบาลแต่เพื่อจับตาดูความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้นำกองทัพ (ว่าจะสั่งการเคลื่อนกำลังพลออกกระทำรัฐประหารหรือไม่)  เป้าหมาย หลักของมวลชนเสื้อแดงในการต่อสู้กับพายุการเมืองครึ่งหลังของปี ๒๕๕๖ ไม่ใช่การกำราบ “มวลชนแช่แข็งประเทศไทย” ในสนามชุมนุมมวลชน   แต่เป็นการเตรียมความพร้อมและสะสมความเข้มแข็งของพลังประชาธิปไตยไว้ในที่ ตั้งสำหรับการกำราบผู้นำกองทัพที่ยังคงหรืออาจยังคงมีความคิดฉวยโอกาสยก ระดับอำนาจสูงสุดของตนด้วยการก่อกบฎตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ โดยการวางแผนกระทำรัฐประหาร การยับยั้งการรัฐประหารได้สำเร็จจะกดดันให้กลุ่มคณาธิปไตยจำเป็นต้องใช้ บริการจากอำนาจตุลาการภิวัตน์และการใช้อำนาจถอดถอนของสมาชิกวุฒิสภาในอาณัติ การแต่งตั้งของตน  อย่างไรก็ตาม, อำนาจตุลาการภิวัตน์ที่ฉับพลันรุนแรงเท่าที่มีอยู่ในกลไกตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญในปัจจุบันอ่อนเปลี้ยพลังการเมืองและสูญเสียความชอบธรรมตามหลัก นิติธรรมถึงระดับตกต่ำจนถูกประชาชนแจ้งความจดำเนินคดีอาญาร้ายแรงแล้วหลาย คดี หากศาลรัฐธรรมนูญกำหนดวันประชุมพิจารณาคดีทางการเมืองที่มีตำแหน่งนายก รัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐสภา ๓๐๐ กว่าคนเป็นเดิมพัน (ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นภายใน ๑-๒ เดือน) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะเปิด เกม ต่อสู้กับนักการเมืองในระบบรัฐสภาที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ของอำนาจนิติบัญญัติ ในปัจจุบันซึ่งผู้เขียนเห็นว่านักการเมืองในระบบรัฐสภาทั้งที่เป็น สส. ในพรรคร่วมรัฐบาลและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในฐานะที่เป็นตัวแทน โดยชอบธรรมของประชาชนสามารถบริหารจัดการและต่อสู้ด้วยวิถีทางรัฐสภาตาม กฎหมายกับปัญหาการใช้อำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันได้

                   กล่าวโดยสรุป  ยุทธศาสตร์การยึดอำนาจเบ็ดเสร็จรอบใหม่ (อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  อำนาจตุลาการ และอำนาจองค์กรตามรัฐธรรมนูญทุกส่วน) ปรากฏให้เห็นความเคลื่อนไหวชัดเจนเป็นลำดับแล้ว  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อล้มล้างอำนาจบริหารของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการดำเนินกระบวนวิธีที่มีผลในทางคุกคามข่มขู่ หรือพยายามทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในรัฐสภาที่มีอำนาจนิติบัญญัติ ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสียงส่วนใหญ่และสมาชิกวุฒิสภารวมกันจำนวนกว่า ๓๐๐ คนพ้นจากตำแหน่ง (ด้วยการใช้กฎหมายผนวกอำนาจศาลรัฐธรรมนูญและอำนาจถอดถอนของวุฒิสภา และ/หรือด้วยวิธีผิดกฎหมายโดยการรัฐประหารซึ่งอาจลงมือก่อนหรือหลังสลับกัน ตามการประเมินสถานการณ์ของเจ้าของแผนยุทธศาสตร์) ขั้นตอนระยะแรกในแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นแล้วหลังจากที่พรรคประชา ธิปัตย์ใช้สิทธิตามกฎหมายเคลื่อนไหวนำร่องเดินสายเปิดเวทีปราศัยตามโครงการ ผ่าความจริง ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ  โดยมีการถ่ายทอดเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์บลูสกายของพรรคประชาธิปัตย์  และต่อมาแกนนำพรรคประชาธิปัตย์แสดงตนให้เห็นชัดเจนขึ้นว่ามีบทบาทสำคัญในการ ผลักดันสนับสนุนการเคลื่อนไหวมวลชนที่มุ่งล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและอ้าง ระบอบทักษิณ เป็นจำเลย รวมทั้งการประกาศในเวทีปราศรัยทั้งก่อนและหลังวันนัดชุมนุมเป็นการเรียกร้อง เชิญชวนประชาชนให้เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรด้วยวาทกรรม ล้มล้างระบอบทักษิณ อีกรอบหนึ่ง (อย่าง ไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์จะไม่เข้าร่วมเป็นแกนนำการชุมนุมอย่างเป็นทางการโดยมติพรรค แต่จะปล่อยให้อดีตนายทหารและแกนนำมวลชนนอกพรรคต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการ ถูกดำเนินคดีต่อไปตามลำพัง)

                   เส้นทางยุทธศาสตร์การยึดอำนาจเบ็ดเสร็จระยะแรกยังคงเป็นวิธีการที่ดำเนินได้ ตามกฎหมาย กล่าวคือ การใช้สิทธิเผยแพร่แสดงความเห็นในการปราศรัยทางการเมือง (แต่บางกรณีอาจมีการกระทำผิดกฎหมายเล็กน้อยบางส่วนเช่นการหมิ่นประมาทด้วย การโฆษณา หรือบางกรณีอาจถึงขั้นการใส่ร้ายป้ายสีพรรคการเมืองอื่นที่อาจเข้าข่ายความ ผิดตามกฎหมายพรรคการเมือง เป็นต้น)  แต่การใช้สิทธิแสดงความเห็นหรือการวิจารณ์รัฐบาลภายในกรอบของกฎหมายไม่ สามารถจะมีผลในการล้มล้างอำนาจบริหารของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ปัจจุบันได้  การชุมนุมมวลชนต่อต้านรัฐบาลโดยใช้วิธีการภายในขอบเขตของกฎหมายก็ไม่สามารถ มีผลในการล้มล้างรัฐบาลได้ (ไม่ว่าจะมีประชาชน ๑ คนหรือแสนคนเข้าร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลตามวาทกรรมประวัติศาสตร์ของหัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์เอง) ดังนั้นการดำเนินยุทธวิธีตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่มุ่งหวังผลทางปฏิบัติเป็น บันไดการเมือง นำไปสู่การใช้อำนาจตุลาการภิวัตน์  การใช้อำนาจถอดถอนของวุฒิสภา และการใช้อำนาจรุนแรงเบ็ดเสร็จโดยการรัฐประหารจึงถูกออกแบบขึ้นและเริ่ม ปฏิบัติการในทางปฏิบัตืบางส่วนแล้วตามลำดับขั้นตอน

                        ลำดับขั้นตอนของยุทธศาสตร์การล้มรัฐบาลและการหวังผลตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของยุทธศาสตร์ภาพรวมข้างต้นเป็นการประมวลจากข้อมูลและ สถานการณ์ความเป็นไปได้มากที่สุดเท่าที่มีข้อมูลรองรับถึงปัจจุบัน  การป้องกันการล้มล้างอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติที่ผู้พยายามล้มล้าง มุ่งใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายและขัดรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ประชาชนตามระบอบ ประชาธิปไตยควรกระทำด้วยความรู้เท่าทัน  ความไม่ประมาท และความไม่ตกเป็นเหยื่อของการสร้างสถานการณ์ที่กลับส่งเสริมความพยายามที่ ผิดทำนองคลองธรรม
 (๓) บทอภิปราย

                   ฐานข้อมูลที่ปรากฏชัดเจนแน่นอนแล้วในสถานการณ์การเมืองกลางปี ๒๕๕๖ คือ กลุ่มบุคคลและองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ (รวมหัวหน้าพรรคและอดีตเลขาธิการพรรคที่อยู่ระหว่างการถูกดำเนินคดีเป็นผู้ รับผิดชอบในการใช้อำนาจสลายการชุมนุมที่มีเจตนาเล็งเห็นผลให้ประชาชนเสื้อ แดงเสียชีวิต) ต่างก็เข้ามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวกดดันเพื่อล้มรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  หรือเพื่อให้รัฐบาลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง

                   แต่วิธีการที่จะทำให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์พ้นจากตำแหน่งด้วยวิถีทางตามรัฐ ธรรมนูญและตามบทบัญญัติของกฎหมายกลายเป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่งในสถานการณ์ ปัจจุบัน  อีกทั้งยังเป็นการสร้างปัญหาคดีความทางกฎหมายย้อนกลับไปยังบุคคลในตำแหน่ง ที่มีอำนาจในลูกโซ่กระบวนการตุลาการภิวัตน์ซึ่งแม้ว่าจะเคยสามารถกระทำการ ดังกล่าวต่อรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชและรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ต่อเนื่องกันในปี ๒๕๕๑ แต่ผลของการดำเนินกระบวนการตุลาการภิวัตน์เหล่านั้นกำลังย้อนกลับมาเป็นโทษ ต่อผู้ใช้อำนาจตุลาการภิวัตน์ในทำนองเดียวกับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชชีวะและนายสุเทพ เทือกสุบรรณกำลังเผชิญกับข้อกล่าวหาเป็นคดีการกระทำผิดร้ายแรงของแต่ละคน

                   วิธีการเคลื่อนไหวของบุคคลหรือองค์กรภายนอกคณะรัฐมนตรีที่ต้องการล้มรัฐบาลและสามารถกระทำได้โดยชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายเท่าที่มีอยู่เป็น  แนวทางหลัก ได้แก่ (๑) การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่สามารโน้มน้าวมติเสียงส่วนใหญ๋ในสภาผู้แทนราษฎรให้ลงมติไม่ไว้วางใจ  (๒)  การใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญของวุฒิสภาและด้วยข้อเท็จจริงประกอบหลักกฎหมายที่เป็นธรรมในการลงมติถอดถอนนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง  (๓) การใช้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตาม บทบัญญัติรัฐธรรมนูญและด้วยข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายที่เป็นธรรมในการ วินิจฉัยว่านายกรัฐมนตรีขาดคุณสมบัติทางการเมืองตามบทบัญญัติของกฎหมาย  (๔)  การใช้สิทธิเรียกร้องของประชาชนจำนวนมากเพียงพอที่จะทำให้ รัฐบาลเห็นว่าไม่สามารถบริหารประเทศต่อไปซึ่งจะดำเนินการประกาศลาออกหรือยุบ สภาผู้แทนราษฎรตามที่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเห็นสมควรหรือไม่สมควรได้ตามกฎหมาย

                   วิธีที่ ๑ ไม่สามารกระทำได้ในช่วงเวลานี้เนื่องจากการประชุมรัฐสภาสมัยสามัญครั้งนี้ เป็นการประชุมสมัยนิติบัญญัติหรือเพื่อการพิจารณาบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ เป็นสำคัญ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ไม่ให้มีการยื่นเรื่องขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล  (และแม้ว่าจะมีการเปิดอภิปรายรัฐบาลโดยไม่ลงมติก็ไม่น่าจะมีข้อมูลเพียงพอที่จะล้มรัฐบาลได้) พรรคประชาธิปัตย์จึงต้องรอจนกว่าสภาจะปิดประชุมสมัยสามัญครั้งนี้และเปิดประชุมสมัยสามัญครั้งต่อไป (ซึ่งย่อมเป็นความอึดอัดกระวนกระวายใจของกลุ่มผู้สั่งการระดมมวลชนมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลครั้งนี้ว่าหากจะต้องรอจนถึงวันนั้น อำนาจครอบงำระบบการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ของเครือข่ายคณาธิปไตยจากการรัฐประหาร ๒๕๔๙ อาจสูญเสียไปโดยผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อยู่ในวาระการพิจารณาของรัฐสภาในสมัยการประชุมครั้งนี้แล้ว)

                   วิธีที่ ๒  อยู่ในข่ายที่กลุ่มที่ต้องการล้มรัฐบาลจะดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากมีการวางรากฐานการยื่นเรื่องให้องค์กรต่างๆ ตรวจสอบคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีไว้ก่อนแล้วและสมาชิกวุฒิสภา กลุ่ม ๔๐ สว. เคยเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อวางรากฐานข้อมูลเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้ เตรียมพร้อมสามารถดำเนินการให้วุฒิสภาพิจารณาเพื่อลงมติถอดถอนนายกรัฐมนตรี ต่อไปได้  (ในทางปฏิบัติ วิธีการนี้ก็ยังไม่สามารถทำได้โดยง่ายหรือทำสำเร็จได้ยากหากไม่มีสถานการณ์ สับสนวุ่นวายทางการเมืองเพิ่มเติม    ทั้งนี้เนื่องจากความอ่อนแอน้ำหนักฐานข้อมูลของกลุ่ม สว. ดังกล่าวและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่เข้าข่ายที่สมาชิกวุฒิสภาจำนวนมาก จะเห็นด้วยได้)

                   วิธีที่ ๓ ในสถานการณ์ปัจจุบันตกอยู่ในสภาพใกล้เคียงกับวิธีที่ ๒ และมีความเสี่ยงเพิ่มเติมที่เป็นโทษต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน มากขึ้น  แต่ในทางปฏิบัติก็มีการเตรียมความพร้อมโดยการวางรากฐานการยื่นคำร้องเอาผิด ต่อสมาชิกรัฐสภา ๓๐๐ กว่าคนไว้แล้ว  และมีการวางรากฐานการยื่นเรื่องร้องเรียนศาลปกครองและองค์กรอื่นที่อาจใช้ อำนาจเป็นขั้นบันไดต่อยอดให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจวินิจฉัยในทางที่เป็นคุณ หรือโทษต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

                   วิธีที่ ๔ คือวิธีที่ถูกเลือกใช้เป็นบันไดเริ่มต้นในยุทธศาสตร์การกดดันเพื่อล้มรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  โดยจะเป็นขั้นบันไดต่อยอดนำไปสู่เหตุการณ์อื่น ๆ ที่มุ่งหวังผลให้มีการใช้อำนาจล้มรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต่อไป

                   การใช้อำนาจเพื่อล้มรัฐบาลดังกล่าวเป็นบันไดต่อยอดตามวิธีการที่ ๔ ข้างต้นยังมีวิธีการต่อเนื่องอีก ๒ แนวทางหลัก คือ (๑) แนวทางตามวิถีรัฐธรรมนูญตามที่กล่าวข้างต้นซึ่งไม่สามารถหวังผลสมบูรณ์ได้ ว่าจะทันท่วงทีต่อการยับยั้งกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ  และ (๒) แนวทางนอกรัฐธรรมนูญซึ่งผิดกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นหลายฉบับ

แนว ทางที่ผิดกฎหมายดังกล่าวยังจะต้องหรือมักจะต้องเริ่มต้นด้วยการสร้าง สถานการณ์รุนแรงเพื่อนำไปสู่การจลาจลบ่อนทำลายความมั่นคงภายใน  ซึ่งจะเป็นสถานการณ์พื้นฐานสำหรับการประท้วงรัฐบาลอย่างยกระดับเข้มข้น    และการอ้างความชอบธรรมในการชุมนุมต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องฝ่ายต่าง ๆ ในการไม่ร่วมมือกับรัฐบาลหรือกดดันให้รัฐบาลลาออกหรือยุบสภา ซึ่งหากยังดำเนินการไม่บรรลุผลดังกล่าวก็ยังสามารถประเมินสถานการณ์และนำข้อ อ้างเหตุการณ์จลาจลไปใช้ประกอบเหตุผลข้ออ้างในการทำรัฐประหารต่อไป (แต่ก็เป็นที่แน่ชัดในวุฒิภาวะการเมืองโดยส่วนรวมของประชาชนชาวไทยใน ปัจจุบันแล้วว่าการรัฐประหารซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อยหลายชั่วโมงในการ ดำเนินการนั้นเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาที่ประชาชนมีทั้งสิทธิและอำนาจตาม รัฐธรรมนูญในการต่อต้านยับยั้ง  ซึ่งประชาชนจำนวนมากทั่วประเทศจะต่อต้านอย่างแน่นอน  นอกจากนั้น กำลังพลทางทหารตั้งแต่ชั้นประทวนถึงสัญญาบัตรจำนวนมากในปัจจุบันก็ทราบเท่า กับที่ประชาชนทราบข้อกฎหมายว่าการเคลื่อนกำลังติดอาวุธออกกระทำรัฐประหาร เป็นความผิดฐานก่อกบฎตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ ซึ่งกำลังพลระดับปฏิบัติการสามารถวางอาวุธและพร้อมกันถอนตัวออกจากการรัฐ ประหารได้ทุกขณะโดยไม่เป็นการผิดวินัยทหารหรือขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ซึ่งคาดว่าจะถูกคำสั่งปลดหรืออย่างน้อยโยกย้ายแต่งตั้งออกจากตำแหน่งที่มี อำนาจคุมกำลังในขณะนั้นทันทีที่ปรากฎตัวเป็นผู้บังคับบัญชาทหารปฏิบัติการ สายต่าง ๆ ที่พยายามล้มรัฐบาลด้วยการรัฐประหาร)

                   ฐานข้อมูลที่ชัดเจนเพิ่มเติม (นอกเหนือไปจากฐานข้อมูลประการแรกที่กล่าวแล้วว่ามีกลุ่มบุคคลและองค์กรรวม ทั้งแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ประกาศเคลื่อนไหวเพื่อให้รัฐบาลปัจจุบันพ้นจาก ตำแหน่ง) ได้แก่ บุคคลและองค์กรต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวเพื่อให้รัฐบาลพ้นจากตำแหน่งต่างก็มีแผนยุทธศาสตร์หรือขั้นตอน วิธีการบริหารจัดการแบบมุ่งหวังผลเป็นลำดับคืบหน้าแบบขั้นบันไดไปสู่เป้า หมายหลักที่ตรงกัน คือ การทำให้รัฐบาลพ้นจากตำแหน่ง  แกนนำแต่ละกลุ่มย่อยที่แสดงตนว่าต้องการให้รัฐบาลพ้นจากตำแหน่งไม่จำเป็นด้องประชุมวางแผนร่วมกันทั้งหมด และบางส่วนอาจไม่เคยทราบว่าตนเองเป็นเสมือน เบี้ย  หมาก  โคน อยู่ในกระดานการเมืองที่ถูกประสานแผนยุทธศาสตร์ร่วมกันโดย กลุ่มมือที่มองไม่เห็น

                        ในทางปฏิบัติและภายใต้สถานการณ์รวมทั้งวุฒิภาวะทางการเมืองที่เป็นจริงของ ประชาชนส่วนใหญ่ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ   ความสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์ที่มุ่งทำให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยพ้นจากตำแหน่งที่มีอำนาจของฝ่าย บริหารและนิติบัญญัติในปัจจุบันเป็นไปได้ยากเย็นเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเหตุใด ?

                   การชุมนุมประชาชนภายในกรอบของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นเป็นสิ่งที่สามารถ กระทำได้โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ขัดขวาง   การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างต่อเนื่องเข้มข้นโดยจัดชุมนุมมวลชนยืดเยื้อแรม เดือนต่อไปก็สามารถทำได้โดยหลักการ  แต่ผลทางปฏิบัติจะไม่สามารถล้มรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ได้เนื่องจากปัญหา คุณภาพข้อมูลของผู้ปราศรัยและผู้วิพากษ์โจมตีรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์เท่าที่ ปรากฎจากเวทีปราศรัย ผ่าความจริง และรายการในสถานีโทรทัศน์บลูสกายทีวี  รวมทั้งจากนักปราศรัยรายอื่น ๆ ในกลุ่มแกนนำมวลชนที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมครั้งนี้จำนวนมากเป็นข้อมูลตัด ตอนความจริง  ข้อมูลกล่าวอ้างเอง  และข้อมูลแต่งเติมคลาดเคลื่อนจากความจริง  ซึ่งสามารถถูกตรวจสอบ ถ่วงดุล และโต้แย้งได้ด้วยข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น  แม้แต่ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์มีอำนาจเป็นรัฐบาลที่บริหารโดยการกำกับดูแล การทำงานของระบบสื่อมวลชนของรัฐอย่างเข้มข้นโดยอาศัยฝีมือของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตยเป็นรัฐมนตรี   ข่าวสารข้อมูลของพรรคประชาธิปัตย์และเครือข่ายต่อต้านพรรคเพื่อไทย (ซึ่งใช้ข้ออ้างเรื่อง ระบอบทักษิณ มาตั้งแต่ก่อนหน้านั้น) ก็ไม่สามารถเอาชนะความจริงทางการเมืองได้  ดังนั้นความพยายามในทางโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองรวมทั้งการใช้วาทกรรมที่มี ประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่มีอยู่ของพรรคประชาธิปัตย์ยุคปัจจุบัน  และพันธมิตรล้มรัฐบาลเพื่อไทยในขณะนี้ไม่น่าจะมีศักยภาพใหม่เพิ่มเติมและไม่ น่าจะสามารถต่อสู้กับความจริงทางการเมืองได้เช่นเดิม

                   การชุมนุมอาจถูกประกาศยุติอย่างไม่ยืดเยื้อตั้งแต่ขั้นตอนนี้  หากผู้วางแผนเบื้องหลังการชุมนุมประเมินแล้ว เห็นว่าไม่สามารถใช้เป็นขั้นบันไดไปสู่การสร้างสถานการณ์น้ำผึ้งหยดเดียว เพื่อขยายผลเป็นความปั่นป่วนวุ่นวายเพียงพอต่อการจัดชุมนุมยืดเยื้อรื้อรัง  ดังนั้น วิธีป้องกันแก้ไขปัญหาการล้มรัฐบาลด้วยวิธีการนอกกฎหมายที่ สามารถดำเนินการได้ในขั้นตอนนี้คือการป้องกันไม่ให้มีผู้สามารถสร้าง สถานการณ์ปะทะระหว่างมวลชนกับเจ้าหน้าที่ควบคุมความสงบของการชุมนุม  และป้องกันมิให้ประชาชนที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมตกเป็นเหยื่อที่ถูกสถานการณ์ ชุลมุนจากการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมกระทบกระทั่งทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อ ร่างกายและทรัพย์สิน รวมทั้งความสามารถในการรวบรวมหลักฐานเพื่อยืนยันต่อสื่อมวลชนและเพื่อการ ดำเนินคดีกับผู้ก่อสถานการณ์ผิดกฎหมายในการชุมนุม (มาตรการของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันอยู่แล้ว  แต่การกำหนดเวลาและสถานที่ก่อเหตุเป็นเรื่องของผู้สร้างสถานการณ์ที่อาจเล็ดรอดกระทำการได้ระดับหนึ่ง)

                   หากการชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยและทุกฝ่ายดำเนินการภายในกรอบของกฎหมาย  ผลในการล้มรัฐบาลจะไม่เกิดขึ้นไม่ว่าจะชุมนุมยืดเยื้อถึง ๑ หรือ ๒ เดือนและไม่ว่าจะมีผู้ชุมนุมเข้าผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ๑ หมื่นหรือ ๑ แสนคน (ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของกลุ่มผู้วางแผนล้มรัฐบาล)   ดังนั้น ยุทธการการสร้างสถานการณ์เผชิญหน้าเพื่อก่อให้เกิดการปะทะทางกายภาพ  และการทำลายทรัพย์สินสาธารณะหรือทรัพย์สินเอกชนเสมือนเป็นอุบัติเหตุที่หลีก เลี่ยงได้ยากจะมีโอกาสเกิดขึ้นและหากเกิดขึ้นแล้วก็จะถูกใช้ประโยชน์เป็น ขั้นบันไดนำไปสู่เป้าหมายการล้มรัฐบาลอีกคืบหนึ่ง  (ในขั้นตอนนี้ประชาชน และการ์ดการชุมนุมจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ในพื้นที่สถานการณ์ผิดกฎหมาย จะกลายเป็นเหยื่อที่ผู้จัดการชุมนุมปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปดำเนิน คดี และเป็นไปได้มากว่าผู้จัดการชุมนุมจะนำเหตุการณ์และการจับกุมตัวนั้นไปใช้ เป็นประเด็นปราศรัยโจมตีรัฐบาลอย่างดึงดันยืนกรานกระต่ายขาเดียวในความ บริสุทธิ์ของตนและมวลชนของตนต่อไป)

                   ตราบเท่าที่มวลชนเสื้อแดงปักหลักสะสมพลังการเมืองอยู่ในที่ตั้งของตนอย่างเคร่งครัด  มวลชน ล้ม รัฐบาลจะไม่สามารถมีมวลชน รัก รัฐบาลออกมาช่วยสร้างเหตุการณ์ปะทะให้เกิดสถานการณ์ที่มีความฉุกเฉินร้ายแรงมากขึ้นกว่าเดิม

                   แกนนำมวลชนล้มรัฐบาลจะต้องออกแบบสร้างสถานการณ์รุนแรงขึ้นเองหากต้องการให้ เกิดภาวะจลาจลที่รุนแรงเพียงพอต่อการสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลและความมั่น คงของประเทศ  กลไกการป้องกันปัญหานี้มีอยู่ภายในตัวเองคือความเสี่ยง มากขึ้นของแกนนำและผู้ปฏิบัติการชุมนุมที่จะต้องถูกควบคุมตัวไว้ดำเนินคดี อาญาและถูกคำสั่งของรัฐที่มีผลในการยับยั้งการชุมนุม (เช่น คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยศาลแพ่ง  ตามคำร้องของประชาชนที่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรงที่ เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม เป็นต้น) นอกเหนือไปจากนี้ ฐานความผิดในคดีอาญาที่เป็นข้อกล่าวหาร้ายแรงมากขึ้น ซึ่งมีร่องรอยข้อเท็จจริงเชื่อมโยงให้สังเกตเป็นหลักฐานมัดตัวกลุ่มแกนนำผู้ จัดการชุมนุมมวลชนครั้งนี้ได้แล้วระดับหนึ่งก็เริ่มปรากฏและอาจมีผู้เตรียม ใช้เป็นคดีความฟ้องร้องแกนนำผู้ชุมนุมอยู่บ้างแล้วก็มีอยู่เช่นกัน

หาก การชุมนุมมวลชนที่ต่อต้านและมุ่งล้มรัฐบาลครั้งนี้ยุติลงภายในขอบเขตปฏิบัติ การเพียงเท่าที่กล่าวถึงนี้  พายุการเมืองจากการชุมนุมมวลชนครั้งนี้จะระงับไป  หลังจากนั้นบทบาทขององค์กรที่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ทั้งศาลรัฐธรรมนูญและวุฒิสภาจึงจะเปิดเผยตนเองชัดเจนขึ้นว่ายังคงมีความ ประสงค์จะเดินหน้าต่อสู้ในเวทีล้มรัฐบาลชุดนี้ต่อไปหรือไม่   และเพียงใด   สถานการณ์หลังจากนั้นรวมทั้งการป้องกันแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหลังจาก นั้นจะคลี่คลายเปิดเผยตัวตนให้เห็นได้ชัดเจนขึ้นอีกระดับหนึ่งหลังวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖  โดยสามารถเริ่มต้นจากผลของการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เฉพาะประชาชน ฉบับ สส.วรชัย  เหมะ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกกว่า ๔๐ คนที่ร่วมกันยื่นเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการทางรัฐสภา
...................................................................................................................



[i]  การ นำเสนอข้อเขียนนี้โดยผู้เขียนตรวจสอบข้อมูล เนื้อหา  และการวิเคราะห์ประกอบข้อกฎหมายแล้วว่าไม่ขัดต่อกฎหมายความมั่นคงฯ ที่อยู่ระหว่างการประกาศใช้  เนื้อหาที่แสดงขั้นตอนยุทธการและการคาดการณ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่หน่วยงานของรัฐและนักวิเคราะห์ทางสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งทราบหรือ ประเมินอยู่แล้ว  เหตุผลที่ผู้เขียนนำเสนอในที่นี้คือการช่วยให้ประชาชนทั้งฝ่ายที่สนับสนุน และไม่สนับสนุนการชุมนุมมวลชนครั้งนี้มีโอกาสทบทวนข่าวสารข้อมูลและพิจารณา สถานการณ์อย่างรอบคอบก่อนดำเนินการต่าง ๆตามที่ตนเองเลือกหรือจะเลิอกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น