ผลสำรวจเรื่อง
"ประชาชนคิดอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของ ส.ว. "
ของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ที่
สำรวจความคิดเห็นประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 429
คน โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ที่ผ่านมา
ความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา
ของ ส.ว. ในประเด็น "ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน
โดยไม่จำเป็น ต้องมีส.ว. สรรหาอีกต่อไป" มีประชาชนเห็นด้วย ถึงร้อยละ 59.2
ขณะที่ไม่เห็นด้วย มีร้อยละ 21.0 ส่วนที่เหลือร้อยละ 19.8
ระบุว่าไม่แน่ใจ
ส่วนประเด็น "ยกเลิกข้อความว่า
คุณสมบัติของผู้สมัครเป็น ส.ว. ห้ามเป็น บุพการี คู่สมรส หรือบุตร
ของผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" มีประชาชนเห็นด้วย
ร้อยละ 46.2 ขณะที่ไม่เห็นด้วย มีร้อยละ 38.0 และอีกร้อยละ 15.8 ที่บอกว่า
ไม่แน่ใจ
สำหรับประเด็น
"ยกเลิกเงื่อนไขที่ผู้ลงสมัคร ส.ว.ต้อง พ้นจาก การเป็นสมาชิกพรรค การเมือง
หรือ ส.ส. 5 ปีเสียก่อน" มีประชาชนเห็นด้วยร้อยละ 55.2 ส่วนที่ไม่เห็นด้วย
อยู่ที่ร้อยละ 30.1 และไม่แน่ใจมีร้อยละ 14.7
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 35.5
ไม่แน่ใจว่าการแก้รัฐธรรมนูญดังกล่าวจะนำไปสู่การรวบอำนาจรัฐสภาหรือไม่
ซึ่งเป็นสัดส่วนพอๆ กับประชาชนร้อยละ 34.7
ที่เห็นว่าน่าจะเป็นการนำไปสู่การรวบอำนาจรัฐสภาจริงตามที่ฝ่ายค้านตั้งข้อ
สังเกต ขณะที่ร้อยละ 29.8 ระบุว่าไม่จริงฝ่ายค้านคิดมากไป
สุดท้ายเมื่อถามว่า
การแก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว.
ดังกล่าวมีผลดีหรือผลเสียกับประเทศไทยมากกว่ากัน
ประชาชนระบุว่ามีผลดีและผลเสียพอๆ กันคือร้อยละ 36.8 ส่วน ที่เห็นว่า
มีผลดีมากกว่าผลเสีย ร้อยละ 25.4 และร้อยละ 19.1
เห็นว่ามีผลเสียมากกว่าผลดี
by
Wannee
22 สิงหาคม 2556 เวลา 13:05 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น