ประเทศไทย : (ต้อง) ไม่นิรโทษกรรมแก่ผู้ละเมิดสิทธิ
ร่างกฏหมายที่เสนอจะสร้างรั้วล้อมปกป้องให้แก่ทางปฏิบัติของการอยู่เหนือความผิด
“ร่างกฏหมายนิรโทษกรรมของพรรครัฐบาลยอมให้ทั้งทหาร
และกองกำลังติดอาวุธที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตระหว่างเหตุการณ์รุนแรงปี ๒๕๕๓ หลุดจากบ่วงความผิด
ดังนั้นเพื่อที่จะให้เกิดความยุติธรรมต่อผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง
และเพื่อจะยุติแนวทางปฏิบัติอันยาวนานของไทยที่ยอมให้บางคนอยู่เหนือความผิด
ร่างกฏหมายนิรโทษกรรมควรที่จะละเว้นไม่รวมถึงคนที่ลุกล้ำกระทำความผิด ละเมิดกฏหมายทางอาญา
และนำคนเหล่านั้นมารับผิดต่ออาชญากรรมของตน”
โดย แบร๊ด แอดัมส์ ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเซีย ฮิวแมนไร้ท์ว้อทช์
(นิวยอร์ค) –ฮิวแมนไร้ท์ว้อทช์*แถลงวานนี้ว่า
ข้อเสนอกฏหมายนิรโทษกรรมต่อสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทยควรที่จะละเว้นคนที่สั่งการ
หรือปฏิบัติการละเมิดสิทธิมนุษยชน รัฐบาลไทยควรจะแสดงจุดยืนในการที่จะดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิ
โดยไม่คำนึงว่าเขามีตำแหน่ง หรือสังกัดใด
นี่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมสิทธิมนุษยชน นิติธรรม
และการปรองดองอันยั่งยืน
ในประเทศไทย ในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ รัฐสภาจะทำการพิจารณาเป็นวาระแรกต่อร่างกฏหมายนิรโทษกรรมที่เสนอโดยนายวรชัย เหมะ ส.ส.พรรครัฐบาลเพื่อไทยของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ในประเทศไทย ในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ รัฐสภาจะทำการพิจารณาเป็นวาระแรกต่อร่างกฏหมายนิรโทษกรรมที่เสนอโดยนายวรชัย เหมะ ส.ส.พรรครัฐบาลเพื่อไทยของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
“ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของพรรครัฐบาลยอมให้ทั้งทหาร
และกองกำลังติดอาวุธที่เป็นผู้กระทำให้เกิดการเสียชีวิตในระหว่างความวุ่นวายปี
๒๕๕๓ หลุดพ้นบ่วงความรับผิดชอบไปได้” นายแบร๊ด แอดัมส์ ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเซียขององค์การฮิวแมนไร้ท์ว้อทช์กล่าว
“เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความยุติธรรมแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง
และเพื่อยุติแนวทางปฏิบัติอันเป็นมาช้านานในการยอมให้มีคนอยู่เหนือความผิด ร่างฯ
นิรโทษกรรมควรที่จะไม่รวมถึงคนที่ลุกล้ำกระทำความผิดทางกฏหมายอาญา
และนำคนเหล่านั้นมาดำเนินคดีตามความผิดแทน”
ร่างฯ วรชัยเสนอนิรโทษกรรมอย่างกว้างขวางแก่ผู้ร่วมชุมนุมทั้งหมดที่ถูกกล่าวหา
ดำเนินคดี
และพิจารณาตัดสินการกระทำอันเป็นความผิดต่อรัฐตั้งแต่หลังการรัฐประหารที่โค่นพี่ชาย
น.ส.ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
จนถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
การนิรโทษกรรมจะรวมถึงบุคคลที่กระทำการอันก่อความเสียหายแก่ชีวิต
ทรัพย์สินของผู้อื่น แต่ไม่รวมถึงแกนนำผู้ชุมนุม
นายวรชัยบอกกับฮิวแมนไร้ท์ว้อทช์เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ ว่าร่างกฏหมายที่เขาเสนอไม่ได้รวมถึงการนิรโทษกรรมแก่บรรดาทหาร เนื่องจากไม่มีทหารแม้แต่คนเดียวที่โดนกล่าวหา และดำเนินคดีสำหรับความรุนแรงทางการเมืองจากปี ๒๕๔๙ ถึง ๒๕๕๔
นายวรชัยบอกกับฮิวแมนไร้ท์ว้อทช์เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ ว่าร่างกฏหมายที่เขาเสนอไม่ได้รวมถึงการนิรโทษกรรมแก่บรรดาทหาร เนื่องจากไม่มีทหารแม้แต่คนเดียวที่โดนกล่าวหา และดำเนินคดีสำหรับความรุนแรงทางการเมืองจากปี ๒๕๔๙ ถึง ๒๕๕๔
ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ๒๕๕๓ เกิดการเผชิญหน้าทางการเมืองกันอย่างร้ายแรงระหว่างแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
(นปช.) ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า ‘เสื้อแดง’ กับรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ หลายแห่ง ตามข้อมูลของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
(ดีเอสไอ) มีผู้เสียชีวิต ๙๘ คน และบาดเจ็บกว่า ๒ พัน
ข้อเสนอของวรชัยผิดพลาดที่จะเอ่ยถึงความจำเป็นต้องเอาผิดกับเจ้าหน้าที่กองทัพ
และเครือข่ายของ นปช. โดยเฉพาะกองกำลัง ‘คนเสื้อดำ’ ต่อความรุนแรง
และการละเมิดอย่างหนักหน่วงในปี ๒๕๕๓
ในรายงานชิ้นหนึ่งของฮิวแมนไร้ท์ว้อทช์ชื่อ "เคลื่อนใกล้เข้าสู่ความระส่ำระสาย
:การประท้วงของเสื้อแดงในปี ๒๕๕๓ กับการเข้าสลายชุมนุมโดยรัฐบาล" สรุปว่ามีการใช้กำลังอย่างไม่จำเป็นเกินกว่าเหตุโดยกองทัพบก
เป็นผลให้คนตาย และบาดเจ็บจำนวนมากระหว่างการปะทะทางการเมืองในปี ๒๕๕๓
กองกำลังรักษาความมั่นคงเป็นฝ่ายมีความผิดในการตาย และบาดเจ็บเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่
จำนวนผู้เสียชีวิตมากมาย –รวมถึงผู้เข้าชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ
อาสาสมัครทางการแพทย์ และผู้ที่ปฏิบัติตามประกาศช่วงแรกๆ ผู้สื่อข่าว ช่างภาพ
และคนที่ไปดูเหตุการณ์อย่างไทยมุง อันเป็นผลทางอ้อมจากปฏิบัติการ ‘ใช้กระสุนจริง’
ในบริเวณที่มีการชุมนุมของ นปช. ทั่วกรุงเทพฯ
ซึ่งกองทัพบกวางกำลังพลยิงเร็ว และสไน้เปอร์เอาไว้
กรม
สอบสวนคดีพิเศษแถลงในเดือนกันยายน ๒๕๕๕
ว่ากองทัพเป็นฝ่ายทำให้เกิดการเสียชีวิต ๓๖ ราย จนกระทั่งบัดนี้มีเพียง ๙
สำนวนเท่านั้นที่ส่งฟ้องศาล หรือขอให้ทำการพิสูจน์หลักฐาน
ผู้เสียหายห้ารายที่เสียชีวิตเกิดจากการยิงให้ถึงตายของทหารที่ได้รับคำสั่ง
ฆ่าจากศูนย์อำนวยการรักษาสถานการณ์ฉุกเฉิน
(ศอฉ.)
รัฐบาลชุดต่อมาก็ยังละเลยที่จะเอาผิดกับฝ่ายทหาร
โดยที่ไม่มีแม้แต่ทหารคนเดียวที่ได้รับการดำเนินคดีจากการกระทำรุนแรงในปี ๒๕๕๓
หลังจากเข้ารับตำแหน่งเพียงเล็กน้อย นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ประกาศต่อสาธารณะว่ารัฐบาลของเธอจะทำการสอบสวน และดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาความมั่นคงที่กระทำการละเมิดเหล่านั้น
แต่
ว่าตั้งแต่นั้นมารัฐบาลของเธอได้ประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าเจ้าหน้าที่กองทัพจะ
ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งกำลังเข้าสลายการ
ชุมนุมโดยรัฐบาล
แม้ว่าหลักฐานปรากฏชัดเจนล้นหลามว่าทหารยิงประชาชนตายทั้งที่ไม่ได้ปรากฏภัย
คุกคามใดเลย
ทั้งๆ
ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษพบว่ากองทัพเป็นผู้รู้เห็นกับการเสียชีวิต ๓๖ ราย จากการสืบสวนของหน่วยงานดีเอสไอ
กับตำรวจ และผลการสอบสวนแสดงว่าไม่ได้มีความพยายามมากพอที่จะดำเนินการชี้ตัวทหาร
และผู้บังคับบัญชาซึ่งรับผิดชอบต่อการยิงประชาชน เมื่อได้รับผลการสอบสวนแล้วดีเอสไอตัดสินใจดำเนินคดีฐานทำให้มีการเสียชีวิตแต่เฉพาะกับนายอภิสิทธิ์
และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้น แต่ละคนโดนฟ้องในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนาเนื่องจากเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
ตามบทบัญญัติที่เปิดช่องให้ดำเนินคดีแก่ผู้บังคับบัญชาในความผิดที่ผู้ใต้บังคับบัญชากระทำ
ร่างนิรโทษกรรมของนายวรชัยจะอำนวยความคุ้มกันให้ปลอดจากการถูกดำเนินคดีแก่เครือข่ายภายใน
นปช. รวมทั้ง ‘กองกำลังเสื้อดำ’ ที่รับผิดต่อการโจมตีด้วยอาวุธถึงตายต่อทหาร
ตำรวจ และพลเรือน กองกำลังเหล่านี้ควรที่จะมีการสอบสวน ชี้ตัว และดำเนินคดีด้วยความเหมาะสม
แกนนำ นปช.
ที่โหมกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงด้วยคำปราศรัยเร่งเร้ายุยงต่อผู้ชุมนุม กระตุ้นให้พวกเขากระทำการวางเพลิง
และปล้นสะดม ก็ควรที่จะต้องถูกเอาผิดด้วย
ฮิวแมนไร้ท์ว้อทช์บอกว่าสภาวะของการสอบสวนข้อหาทางอาญาของกองกำลังเสื้อดำขณะนี้ยังไม่กระจ่างนัก
กรมสอบสวนคดีพิเศษตอนนี้ก็ไม่เอ่ยอีกต่อไปถึงผังรายชื่อซึ่งระบุตัวผู้ต้องหากองกำลังเสื้อดำ
และโยงความรับผิดชอบไปสู่เหตุความรุนแรงในปี ๒๕๕๓ ที่เคยแสดงต่อสื่อบ่อยๆ เมื่อนายอภิสิทธิ์ยังอยู่ในอำนาจ
ครอบครัวทหารที่เสียชีวิต และบาดเจ็บในการเข้าสลายการชุมนุมอ้างว่าพวกเขาประหวั่นกันว่าผู้ที่ควรต้องรับผิดชอบจะไม่ถูกดำเนินคดีกัน
ตรงข้ามกับภูมิหลังดังกล่าวญาติผู้เสียหายบางรายได้เสนอร่างกฏหมายอีกฉบับที่ระบุไว้ชัดแจ้งว่าการกระทำแบบใดจึงจะได้รับนิรโทษกรรม
ในข้อเสนอกฏหมายของญาติผู้สูญเสียจะไม่ครอบคลุมถึงผู้ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง
หรือละเมิดสิทธิ ร่างกฏหมายดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้มีการฟ้องร้องคดีแก่บุคคล
หรือกลุ่มซึ่งสังหารประชาชน หรือทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวเสียหายด้วย
พรรคเพื่อไทยของนายกรัฐมนตรี และ นปช.ได้ปฏิเสธไม่ต้องการให้การสนับสนุนแก่ร่างกฏหมายของฝ่ายญาติผู้สูญเสีย
ถึงขณะนี้กลุ่มญาติผู้สูญเสียยังไม่สามารถหารายชื่อสมาชิกสภาที่มาร่วมลงนามสนับสนุนร่างได้ถึง
๒๐ คนให้พอกับจำนวนที่ต้องการตามระเบียบการยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรให้รับพิจารณา
“ร่างนิรโทษกรรมฉบับวรชัยนี้เป็นการหยามหมิ่นต่อผู้ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในปี
๒๕๕๓ และครอบครัวของพวกเขา” นายแอดัมส์กล่าว “มันเป็นเรื่องรับไม่ได้อย่างยิ่งที่ผู้กระทำการละเมิดอย่างร้ายแรง
รวมถึงทหารที่เหนี่ยวไกยิง กับผู้บังคับบัญชาที่สั่งยิง
จะยังคงไม่ถูกแตะต้องเนื่องจากการนิรโทษกรรม”
*หมายเหตุ ฮิวแมนไร้ท์ว้อทช์ (Human Rights Watch) คือองค์การยามเฝ้าสิทธิมนุษยชน
ซึ่งในที่นี้เขียนทับศัพท์อังกฤษเนื่องจากเป็นที่รู้จักกันดี
(ถอดความจาก http://www.hrw.org/news/2013/08/04/thailand-no-amnesty-rights-abusers โดยระยิบ เผ่ามโน)
**********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:
**********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:
ตามไปดู iLAW "เปิด 5 ร่างปรองดอง 4 ร่างนิรโทษกรรม ฉบับไหน ใครรอด?"
21 กรกฎาคม 2556
ที่มา iLAW
ที่มา iLAW
เปิด 5 ร่างปรองดอง 4 ร่างนิรโทษกรรม ฉบับไหน ใครรอด?
เมื่อ 20 ก.ค. 2556
ปัจจุบัน
มีข้อเสนอ
ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความ
รุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา 4 ร่าง โดยเป็นข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2
ร่างซึ่งเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภาไปแล้ว และข้อเสนอโดยภาคประชาชน 2
ร่าง ซึ่งยังไม่ได้ถูกบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมอย่างเป็นทางการ
อยู่ระหว่างรอดูว่าจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหยิบยกขึ้นมาเสนอเข้าวาระการ
ประชุมหรือไม่
ขณะ
ที่ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ 5 ฉบับ
ที่ถูกเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของสภาไปก่อนหน้านี้แล้ว
ก็มีเนื้อหาใจความหลักๆ
เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการ
เมืองเช่นเดียวกัน
รวมข้อเสนอทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรม มีดังนี้
1.
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอโดย พลเอก สนธิ
บุญยรัตกลิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคมาตุภูมิ
และส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ หลายพรรค รวม 35 คน
2.
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอโดย นายณัฐวุฒิ
ใสยเกื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม
74 คน
3.
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอโดย นายนิยม
วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 21
คน
4.
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอโดย นายสามารถ
แก้วมีชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม
50 คน
5.
ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอโดย นายเฉลิม
อยู่บำรุง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
(ยังไม่ได้บรรจุเข้าในวาระการประชุมของสภา)
6.
ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทาง
การเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ... เสนอโดย นายวรชัย เหมะ
สมาชิสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 40 คน
7.
ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทาง
การเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ... เสนอโดย นายนิยม วรปัญญ
สมาชิสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย และส.ส.จากพรรคเพื่อไทย รวม 23 คน
8. ร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยนิรโทษกรรมและขจัดความขัดแย้ง เสนอโดย คณะนิติราษฎร์ (ไม่ได้เสนอเข้ารัฐสภา)
9.
ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำาความผิดอันเนื่องมาจาก
เหตุกการณ์ความขัดแย้งทางการภายหลังการยึดอำนาจโดยคณะปฏิรูปการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน
๒๕๔๙ เสนอโดย กลุ่มญาติวีรชน (ยังไม่ได้บรรจุเข้าในวาระการประชุมของสภา)
[ดูรายละเอียดร่างทุกฉบับได้ ตามไฟล์แนบ]
เดือน
สิงหาคม 2556 รัฐสภาจะเปิดสมัยประชุมขึ้นอีกครั้ง
คาดหมายได้ว่าประเด็นของกฎหมายที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมจะต้องถูกหยิบยก
ขึ้นมากล่าวถึงอีก ท่ามกลางฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจำนวนมาก
และท่ามกลางนักโทษการเมืองจำนวนมากที่ยังถูกคุมขังและดำเนินคดี
ตารางด้านล่าง แสดงให้เห็นว่าตามข้อเสนอต่างๆ ในปัจจุบัน ใคร และฝ่ายไหน จะได้รับการนิรโทษกรรมบ้าง
ตารางด้านล่าง แสดงให้เห็นว่าตามข้อเสนอต่างๆ ในปัจจุบัน ใคร และฝ่ายไหน จะได้รับการนิรโทษกรรมบ้าง
1 ขึ้นอยู่กับศาลจะตีความว่า ความผิดตามมาตรา 112 เป็นการแสดงออกทางการเมืองอันเกี่ยวเนื่องการชุมนุมและความขัดแย้งทางการเมืองหรือไม่
2 ขึ้น
อยู่กับศาลจะตีความว่าการเผาตึกเอกชนเป็น "การแสดงออก" อัน "อาจ"
กระทบต่อชีวิต ร่างการ อนามัย ทรัพย์สิน อันสืบเนื่องจากการชุมนุมหรือไม่
3 นิรโทษ
กรรมให้ความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และกรณีโทษจำคุกไม่เกิน
2 ปี
ความผิดอื่นจะได้รับนิรโทษกรรมต่อเมื่อมีความเกี่ยวเนื่องจากความขัดแจ้งทาง
การเมือง เท่าที่ไม่ขัดพันธกรณีระหว่างประเทศ
*หมายเหตุ* ข้อมูลตามตารางมาจากการตีความร่างตามลายลักษณ์อักษร โดยไอลอว์ ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับความตั้งใจของผู้เสนอร่างก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น