ทีวีช่องหนึ่ง ตั้งปัญหาในรายการข่าวว่า
การไปทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา แล้วถ่ายรูปส่งข่าวให้เพื่อนๆ
ออนไลน์รู้ว่าตัวไปทำบุญ เพื่อนๆ ก็กดไลค์กลับมาเพื่ออนุโมทนา
ถามว่าการอนุโมทนาเช่นนี้ได้บุญหรือไม่
อย่างน้อยในบุญกิริยาวัตถุก็มีเรื่อง "ปัตติทานมัย"
ซึ่งท่านแปลว่าเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น และ "ปัตตานุโมทนามัย"
ซึ่งท่านแปลว่ายินดีในความดีของผู้อื่น
ผมคิดว่าเป็นคำถามที่สะท้อนให้เห็นความสับสนในเรื่อง "บุญ" ของชาวพุทธในปัจจุบันได้ดี เพราะหากเข้าใจแล้ว คำถามนี้ก็ไม่ต้องถามแต่แรก
หนึ่ง ในคำแปลของคำว่า "บุญ" ก็คือ การกระทำที่ชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ถามว่าสะอาดบริสุทธิ์จากอะไร ตอบอย่างสรุปก็คือสะอาดบริสุทธิ์จากความเห็นแก่ตัว หรือยึดมั่นถือมั่นในตัว (เพราะนี่คือความไม่สะอาดที่จรมาจับใจที่เป็นประภัสสรของเรา) ฉะนั้น หากกดไลค์ด้วยใจที่ยินดีกับการทำดีของผู้อื่น หรือด้วยใจที่ยินดีว่าสิ่งดีๆ ในโลก (คือพระศาสนา) จะดำรงอยู่ต่อไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น คือไม่ได้คิดถึงตนเอง แต่คิดถึง "ผู้อื่น" อย่างแคบๆ เฉพาะบุคคล หรืออย่างกว้างคือมวลสรรพสัตว์ทั้งหมดก็ตาม ย่อมเป็นบุญอย่างไม่ต้องสงสัย
ตรง กันข้าม หากกดไลค์เพื่อเอาใจเพื่อน เพราะกลัวเขาจะโกรธเรา หรือกดเพื่อทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตัวเป็นคนดีมีธรรมะ จะได้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น ก็ไม่ได้บุญ แต่อาจได้เพื่อน
สรุปก็คือ ทำอะไรแล้วจะได้บุญหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่การกระทำ แต่อยู่ที่ใจของผู้ทำว่าทำด้วยทัศนคติอย่างไร ตรงกับความเห็นของผู้ทำบุญท่านหนึ่งซึ่งทีวีไปสัมภาษณ์ แล้วตอบว่า กดไลค์ด้วยจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเล่า หากเป็นกุศลย่อมได้บุญเป็นธรรมดา (ผู้รู้ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง เคยบอกผมว่า ทั้งหมดของพุทธศาสนาคือเรื่องทัศนคติหรือท่าทีต่อชีวิต)
แล้วทีวีก็ ไปถามพระภิกษุรูปหนึ่ง ท่านก็ตอบว่าได้บุญเพราะตรงกับคำบาลีว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ได้บุญไม่เท่ากับการไปทำบุญเอง (ที่วัดกระมัง เพราะคำถามเริ่มต้นจากการไปทำบุญที่วัด) แต่ท่านไม่ได้พูดเรื่องใจเลย
อัน ที่จริงเราสามารถทำบุญตามคติพระพุทธศาสนาได้ทุกวัน และทุกเวลานาทีด้วยซ้ำ โดยไม่ต้องไปวัดเลยก็ได้ ขับรถด้วยความสำนึกถึงประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้พร้อม จะจอดรถให้คนอื่นออกจากซอยได้ ก็ต้องดูหลังว่าคันหลังเขาจะจอดทันไหม ดูหน้าว่าเป็นจังหวะให้รถวิ่ง หรือถึงแล่นไปก็ติดข้างหน้าเห็นๆ อยู่ เพราะสิทธิบนถนนไม่ใช่ของเราคนเดียว ที่จะเที่ยวยกให้ใครได้ตามใจชอบ ก็เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง เพราะลดความเห็นแก่ตัวลงได้ ซ้ำยังต้องทำบุญโดยใช้สติและปัญญาด้วย ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า
อะไร เกิดขึ้นกับตัวไม่ว่าดีหรือร้าย ย่อมตั้งสติรำลึกพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไว้ให้มั่น จนมองเห็นว่าโลกก็เป็นเช่นนี้เอง นับเป็นการทำบุญยิ่งใหญ่ เพราะความยึดมั่นถือมั่นย่อมลดลงเป็นธรรมดา และฝึกให้รู้เท่าทันความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตไปพร้อมกัน (นี่ก็เป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่มาก โดยไม่ต้องไปวัดเลย)
คำตอบของพระภิกษุเกี่ยวกับเรื่องบุญในทีวีที่กล่าวข้างต้น จึงสะท้อนอะไรสองอย่างที่น่าวิตกในพุทธศาสนาไทยปัจจุบัน
ประการแรก เรื่อง ของจิตใจหรือทัศนคติดูเหมือนจะหายไปจากองค์กรที่เป็นทางการของพุทธศาสนาเสีย แล้ว และนี่คือส่วนหนึ่งของคำอธิบายการทำบุญทางวัตถุกันอย่าง "บ้าคลั่ง" ที่เป็นปรากฏการณ์ทางศาสนาในปัจจุบัน งานวิจัยของอาจารย์ที่นิด้าชิ้นหนึ่งบอกว่า ในบรรดาวัดกว่าสามหมื่นของไทยนั้น มีรายได้จากการทำบุญถึงปีละประมาณ 120 ล้านบาท (รวมกันกว่า 360,000 ล้านบาท) วัดจึงมักใหญ่และแพงกว่าโรงเรียน, โรงพยาบาล, ระบบชลประทาน, ระบบขจัดขยะ ฯลฯ ท้องถิ่น
จะแปลกใจทำไมว่า มีภิกษุบางรูปฉ้อฉลคดโกงเงินบริจาคเหล่านี้ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว และจะแปลกใจทำไมที่วัดต่างๆ พากันสร้างสิ่งก่อสร้างนานาชนิดเพื่อ "บอกบุญ" ชาวบ้านอยู่เป็นประจำ
มีคำอธิบายที่มองการ "ทำบุญ" กันอย่างมโหฬารเช่นนี้ในฝ่ายทายกทายิกาว่า ความสัมพันธ์หลักในระบบทุนนิยมคือการซื้อขายแลกเปลี่ยนซึ่งต้องผ่านเงิน ความสัมพันธ์กับศาสนาก็หนีไม่พ้นรูปแบบดังกล่าว ผู้คนเลือกรูปแบบความสัมพันธ์ในระบบทุนนิยมซึ่งเขาเคยชินไปใช้กับศาสนา
ข้อ นี้จะจริงเท็จอย่างไรก็ตาม แต่ผมคิดว่าปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หรือเกิดในอาณาบริเวณกว้างขวางเท่านี้ไม่ได้ หากทางฝ่ายสงฆ์เองไม่ละเลยมิติด้านจิตใจของพระพุทธศาสนา จะออกเงินสร้างพระแก้วมรกตจำลองไปทำไม ถ้าไม่ทำให้ความเห็นแก่ตัวของผู้บริจาคลดลง (จนถึงที่สุดจะสร้างพระแก้วมรกตจำลองไปทำไม)
ประการที่สอง คำ สอนของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยขาดมิติทางสังคม (ยกเว้นเรื่องเดียวคือเพื่อยกย่องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์) มิติทางสังคมของการทำบุญจึงไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "คนอื่น" ในความหมายถึงสังคมในวงกว้าง หรือมวลมนุษยชาติ อันที่จริงมิติทางสังคมนั้นเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งในคำสอนของพระพุทธเจ้า ("ชนเหล่าใดปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงามทั้งคืนทั้งวัน...") ส่วนนี้ในศาสนาแบบไทยแต่ก่อน ฝากไว้กับความเชื่อเรื่องผีเป็นส่วนใหญ่ ครั้นรัฐกล่อมให้เราเลิกนับถือผี พระพุทธศาสนาก็ไม่ได้เข้ามาแทนที่ หรือแทนที่อย่างฉลาด คือต้องปรับให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย (ควรกล่าวไว้ด้วยว่า ก่อนการปฏิรูปคณะสงฆ์ใน ร.5 วัดไม่เคยผูกขาดความเป็นศูนย์กลางของชีวิตทางศาสนาของคนไทยมาก่อน)
ผม คิดว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ใหญ่กว่าพระนั่งเจ็ตส่วนตัว หรือสวมแว่นกันแดดราคาแพง หรือนอนกับผู้หญิง และฉ้อโกง แต่มันใหญ่เสียจนไม่มีใครรับผิดชอบ สำนักงานพระพุทธศาสนาเห็นว่าอยู่พ้นอำนาจหน้าที่ของตน เพราะตัวมีหน้าที่เพียงเป็นไวยาวัจกรของคณะสงฆ์เท่านั้น มหาเถรสมาคมก็ไม่คิดว่าตนมีอำนาจหน้าที่เหมือนกัน ก็ไม่มีอะไรผิดวินัยนี่ครับ ผิดเมื่อไรค่อยว่ากันเป็นเรื่องๆ ไป
แต่ เรื่องมันใหญ่กว่าพระรูปนั้นรูปนี้ประพฤติล่วงพระวินัย หากเป็นเรื่องของคุณค่าและความหมายของพระพุทธศาสนาในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งนั่งท่องแต่คุณสมบัติของพุทธธรรมว่า "อกาลิโก" อย่างเดียว ไม่แก้ปัญหาอะไร
พระปรมัตถธรรมอาจเป็นอกาลิโก แม้กระนั้นก็ยังต้องมีการตีความให้เข้ากับยุคสมัยอยู่นั่นเอง เล่นหุ้นอย่างไรจึงจะไม่ลืมพระไตรลักษณ์ ทำบุญอย่างไรจึงจะได้ชำระล้างจิตใจให้สะอาด (จากตัวตน) เจตนาเลี่ยงภาษีให้ไม่ผิดกฎหมายเป็นอทินนาทานหรือไม่ ถือหุ้นในบริษัทชำแหละเนื้อสัตว์เป็นปาณาติบาตหรือไม่ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนต้องการการตีความจากผู้รู้ซึ่งส่วนหนึ่งคงเป็นนักบวชในพระศาสนา
คิด ดูก็แปลกดี มหาเถรสมาคมนั้นเพิ่งมีขึ้นครั้งแรกในสยามตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2445 ตั้งขึ้นเพื่อเป็นหัวหอกในการ "ปฏิรูป" ศาสนา และเป้าหมายของการ "ปฏิรูป" ก็คือ ผนวกเอาพระสงฆ์สยามทั้งหมดไว้ภายใต้การกำกับของสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม แม้กระนั้นก็มีผลกระทบต่อการตีความหลักธรรมคำสอนอย่างมาก เมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปถึงบัดนี้ ศักยภาพในการนำเพื่อตีความของมหาเถรสมาคมได้เสื่อมสลายไปหมดแล้ว
เมื่อ องค์กรทางศาสนาไม่ทำงานที่สำคัญอย่างนี้ จึงเป็นธรรมดาที่ผู้คนพากันไปแสวงหาธรรมะจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะสำนักปฏิบัติธรรมของพระภิกษุและฆราวาส ความทุกข์ของโลกทุนนิยมมันเปลี่ยนไป ต่างคนต่างต้องการคำตอบให้แก่ความทุกข์เฉพาะหน้าของตน จึงเป็นธรรมดาที่สำนักทั้งหลายย่อมเน้นการแก้ทุกข์ระดับปัจเจกเป็นสำคัญ และละเลยมิติด้านสังคมเหมือนเดิม
คนชั้นกลางระดับบนอาจไปสำนักที่สอน วิปัสสนากรรมฐาน คนชั้นกลางระดับกลางอาจเดินทางไปแสวงบุญในอินเดีย (ซึ่งถูกเรียกอย่างน่าอัศจรรย์ว่า "พุทธภูมิ") คนชั้นกลางระดับล่างอาจทำบุญเก้าวัด หรือนมัสการอัฐิหลวงพ่อหลวงปู่ต่างๆ ซึ่งได้รับการตัดสินจากฆราวาสว่าเป็นพระ "อรหันต์" ทั้งหมดนี้คือการ "ปฏิบัติธรรม" ทั้งนั้น แตกต่างตามนิสัยปัจจัยของผู้ทำบุญ
การจัด องค์กรทางศาสนาเวลานี้ จัดการได้แต่ปัญหาเล็ก แต่จัดการกับปัญหาใหญ่ไม่ได้ ซ้ำยังจัดการปัญหาเล็กได้อย่างสายเกินไปทุกที จึงถึงเวลาแล้วที่ควรหันกลับมาทบทวนการจัดองค์กรพุทธศาสนากันใหม่ ไม่แต่เพียงการปกครองคณะสงฆ์เท่านั้น แต่คิดทบทวนตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับรัฐ และศาสนากับสังคม ให้เหมาะกับสภาพที่เป็นจริง
มีปัญหาสำคัญๆ ที่ควรถกเถียงอภิปรายกันหลายประเด็น นับตั้งแต่เราควรแยกศาสนาออกจากรัฐให้เด็ดขาดไปหรือไม่ แต่รัฐจะต้องปฏิบัติต่อศาสนาและองค์กรศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน จะคืนวัดให้กลับมาเป็นของประชาชนและอยู่ภายใต้การกำกับของประชาชนได้อย่างไร การจัดองค์กรในพระพุทธศาสนาอาจมีได้หลายรูปแบบ และดังนั้นจึงปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมได้เสมอ (อันที่จริงเวลานี้ก็เป็นอยู่แล้ว หากคิดถึงสันติอโศกและธรรมกาย แต่เป็นเสรีภาพที่ไม่ได้ประกันไว้แก่ "สำนัก" อื่นๆ ทั้งหมด ที่ไม่มีพลังทางการเมือง และ/หรือทรัพย์เท่าสองสำนักนี้) ทำอย่างไรสังคมจึงมีพลังพอจะควบคุมองค์กรศาสนาได้จริง ความเป็นเถรวาทนั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ และนักบวชในพระพุทธศาสนาไทยมีเสรีภาพที่จะไม่เป็นเถรวาทได้หรือไม่
ผมคิดว่าเป็นคำถามที่สะท้อนให้เห็นความสับสนในเรื่อง "บุญ" ของชาวพุทธในปัจจุบันได้ดี เพราะหากเข้าใจแล้ว คำถามนี้ก็ไม่ต้องถามแต่แรก
หนึ่ง ในคำแปลของคำว่า "บุญ" ก็คือ การกระทำที่ชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ถามว่าสะอาดบริสุทธิ์จากอะไร ตอบอย่างสรุปก็คือสะอาดบริสุทธิ์จากความเห็นแก่ตัว หรือยึดมั่นถือมั่นในตัว (เพราะนี่คือความไม่สะอาดที่จรมาจับใจที่เป็นประภัสสรของเรา) ฉะนั้น หากกดไลค์ด้วยใจที่ยินดีกับการทำดีของผู้อื่น หรือด้วยใจที่ยินดีว่าสิ่งดีๆ ในโลก (คือพระศาสนา) จะดำรงอยู่ต่อไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น คือไม่ได้คิดถึงตนเอง แต่คิดถึง "ผู้อื่น" อย่างแคบๆ เฉพาะบุคคล หรืออย่างกว้างคือมวลสรรพสัตว์ทั้งหมดก็ตาม ย่อมเป็นบุญอย่างไม่ต้องสงสัย
ตรง กันข้าม หากกดไลค์เพื่อเอาใจเพื่อน เพราะกลัวเขาจะโกรธเรา หรือกดเพื่อทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตัวเป็นคนดีมีธรรมะ จะได้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น ก็ไม่ได้บุญ แต่อาจได้เพื่อน
สรุปก็คือ ทำอะไรแล้วจะได้บุญหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่การกระทำ แต่อยู่ที่ใจของผู้ทำว่าทำด้วยทัศนคติอย่างไร ตรงกับความเห็นของผู้ทำบุญท่านหนึ่งซึ่งทีวีไปสัมภาษณ์ แล้วตอบว่า กดไลค์ด้วยจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลเล่า หากเป็นกุศลย่อมได้บุญเป็นธรรมดา (ผู้รู้ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง เคยบอกผมว่า ทั้งหมดของพุทธศาสนาคือเรื่องทัศนคติหรือท่าทีต่อชีวิต)
แล้วทีวีก็ ไปถามพระภิกษุรูปหนึ่ง ท่านก็ตอบว่าได้บุญเพราะตรงกับคำบาลีว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ได้บุญไม่เท่ากับการไปทำบุญเอง (ที่วัดกระมัง เพราะคำถามเริ่มต้นจากการไปทำบุญที่วัด) แต่ท่านไม่ได้พูดเรื่องใจเลย
อัน ที่จริงเราสามารถทำบุญตามคติพระพุทธศาสนาได้ทุกวัน และทุกเวลานาทีด้วยซ้ำ โดยไม่ต้องไปวัดเลยก็ได้ ขับรถด้วยความสำนึกถึงประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้พร้อม จะจอดรถให้คนอื่นออกจากซอยได้ ก็ต้องดูหลังว่าคันหลังเขาจะจอดทันไหม ดูหน้าว่าเป็นจังหวะให้รถวิ่ง หรือถึงแล่นไปก็ติดข้างหน้าเห็นๆ อยู่ เพราะสิทธิบนถนนไม่ใช่ของเราคนเดียว ที่จะเที่ยวยกให้ใครได้ตามใจชอบ ก็เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง เพราะลดความเห็นแก่ตัวลงได้ ซ้ำยังต้องทำบุญโดยใช้สติและปัญญาด้วย ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า
อะไร เกิดขึ้นกับตัวไม่ว่าดีหรือร้าย ย่อมตั้งสติรำลึกพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไว้ให้มั่น จนมองเห็นว่าโลกก็เป็นเช่นนี้เอง นับเป็นการทำบุญยิ่งใหญ่ เพราะความยึดมั่นถือมั่นย่อมลดลงเป็นธรรมดา และฝึกให้รู้เท่าทันความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตไปพร้อมกัน (นี่ก็เป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่มาก โดยไม่ต้องไปวัดเลย)
คำตอบของพระภิกษุเกี่ยวกับเรื่องบุญในทีวีที่กล่าวข้างต้น จึงสะท้อนอะไรสองอย่างที่น่าวิตกในพุทธศาสนาไทยปัจจุบัน
ประการแรก เรื่อง ของจิตใจหรือทัศนคติดูเหมือนจะหายไปจากองค์กรที่เป็นทางการของพุทธศาสนาเสีย แล้ว และนี่คือส่วนหนึ่งของคำอธิบายการทำบุญทางวัตถุกันอย่าง "บ้าคลั่ง" ที่เป็นปรากฏการณ์ทางศาสนาในปัจจุบัน งานวิจัยของอาจารย์ที่นิด้าชิ้นหนึ่งบอกว่า ในบรรดาวัดกว่าสามหมื่นของไทยนั้น มีรายได้จากการทำบุญถึงปีละประมาณ 120 ล้านบาท (รวมกันกว่า 360,000 ล้านบาท) วัดจึงมักใหญ่และแพงกว่าโรงเรียน, โรงพยาบาล, ระบบชลประทาน, ระบบขจัดขยะ ฯลฯ ท้องถิ่น
จะแปลกใจทำไมว่า มีภิกษุบางรูปฉ้อฉลคดโกงเงินบริจาคเหล่านี้ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว และจะแปลกใจทำไมที่วัดต่างๆ พากันสร้างสิ่งก่อสร้างนานาชนิดเพื่อ "บอกบุญ" ชาวบ้านอยู่เป็นประจำ
มีคำอธิบายที่มองการ "ทำบุญ" กันอย่างมโหฬารเช่นนี้ในฝ่ายทายกทายิกาว่า ความสัมพันธ์หลักในระบบทุนนิยมคือการซื้อขายแลกเปลี่ยนซึ่งต้องผ่านเงิน ความสัมพันธ์กับศาสนาก็หนีไม่พ้นรูปแบบดังกล่าว ผู้คนเลือกรูปแบบความสัมพันธ์ในระบบทุนนิยมซึ่งเขาเคยชินไปใช้กับศาสนา
ข้อ นี้จะจริงเท็จอย่างไรก็ตาม แต่ผมคิดว่าปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หรือเกิดในอาณาบริเวณกว้างขวางเท่านี้ไม่ได้ หากทางฝ่ายสงฆ์เองไม่ละเลยมิติด้านจิตใจของพระพุทธศาสนา จะออกเงินสร้างพระแก้วมรกตจำลองไปทำไม ถ้าไม่ทำให้ความเห็นแก่ตัวของผู้บริจาคลดลง (จนถึงที่สุดจะสร้างพระแก้วมรกตจำลองไปทำไม)
ประการที่สอง คำ สอนของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยขาดมิติทางสังคม (ยกเว้นเรื่องเดียวคือเพื่อยกย่องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์) มิติทางสังคมของการทำบุญจึงไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "คนอื่น" ในความหมายถึงสังคมในวงกว้าง หรือมวลมนุษยชาติ อันที่จริงมิติทางสังคมนั้นเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งในคำสอนของพระพุทธเจ้า ("ชนเหล่าใดปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงามทั้งคืนทั้งวัน...") ส่วนนี้ในศาสนาแบบไทยแต่ก่อน ฝากไว้กับความเชื่อเรื่องผีเป็นส่วนใหญ่ ครั้นรัฐกล่อมให้เราเลิกนับถือผี พระพุทธศาสนาก็ไม่ได้เข้ามาแทนที่ หรือแทนที่อย่างฉลาด คือต้องปรับให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย (ควรกล่าวไว้ด้วยว่า ก่อนการปฏิรูปคณะสงฆ์ใน ร.5 วัดไม่เคยผูกขาดความเป็นศูนย์กลางของชีวิตทางศาสนาของคนไทยมาก่อน)
ผม คิดว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ใหญ่กว่าพระนั่งเจ็ตส่วนตัว หรือสวมแว่นกันแดดราคาแพง หรือนอนกับผู้หญิง และฉ้อโกง แต่มันใหญ่เสียจนไม่มีใครรับผิดชอบ สำนักงานพระพุทธศาสนาเห็นว่าอยู่พ้นอำนาจหน้าที่ของตน เพราะตัวมีหน้าที่เพียงเป็นไวยาวัจกรของคณะสงฆ์เท่านั้น มหาเถรสมาคมก็ไม่คิดว่าตนมีอำนาจหน้าที่เหมือนกัน ก็ไม่มีอะไรผิดวินัยนี่ครับ ผิดเมื่อไรค่อยว่ากันเป็นเรื่องๆ ไป
แต่ เรื่องมันใหญ่กว่าพระรูปนั้นรูปนี้ประพฤติล่วงพระวินัย หากเป็นเรื่องของคุณค่าและความหมายของพระพุทธศาสนาในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งนั่งท่องแต่คุณสมบัติของพุทธธรรมว่า "อกาลิโก" อย่างเดียว ไม่แก้ปัญหาอะไร
พระปรมัตถธรรมอาจเป็นอกาลิโก แม้กระนั้นก็ยังต้องมีการตีความให้เข้ากับยุคสมัยอยู่นั่นเอง เล่นหุ้นอย่างไรจึงจะไม่ลืมพระไตรลักษณ์ ทำบุญอย่างไรจึงจะได้ชำระล้างจิตใจให้สะอาด (จากตัวตน) เจตนาเลี่ยงภาษีให้ไม่ผิดกฎหมายเป็นอทินนาทานหรือไม่ ถือหุ้นในบริษัทชำแหละเนื้อสัตว์เป็นปาณาติบาตหรือไม่ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนต้องการการตีความจากผู้รู้ซึ่งส่วนหนึ่งคงเป็นนักบวชในพระศาสนา
คิด ดูก็แปลกดี มหาเถรสมาคมนั้นเพิ่งมีขึ้นครั้งแรกในสยามตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2445 ตั้งขึ้นเพื่อเป็นหัวหอกในการ "ปฏิรูป" ศาสนา และเป้าหมายของการ "ปฏิรูป" ก็คือ ผนวกเอาพระสงฆ์สยามทั้งหมดไว้ภายใต้การกำกับของสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม แม้กระนั้นก็มีผลกระทบต่อการตีความหลักธรรมคำสอนอย่างมาก เมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปถึงบัดนี้ ศักยภาพในการนำเพื่อตีความของมหาเถรสมาคมได้เสื่อมสลายไปหมดแล้ว
เมื่อ องค์กรทางศาสนาไม่ทำงานที่สำคัญอย่างนี้ จึงเป็นธรรมดาที่ผู้คนพากันไปแสวงหาธรรมะจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะสำนักปฏิบัติธรรมของพระภิกษุและฆราวาส ความทุกข์ของโลกทุนนิยมมันเปลี่ยนไป ต่างคนต่างต้องการคำตอบให้แก่ความทุกข์เฉพาะหน้าของตน จึงเป็นธรรมดาที่สำนักทั้งหลายย่อมเน้นการแก้ทุกข์ระดับปัจเจกเป็นสำคัญ และละเลยมิติด้านสังคมเหมือนเดิม
คนชั้นกลางระดับบนอาจไปสำนักที่สอน วิปัสสนากรรมฐาน คนชั้นกลางระดับกลางอาจเดินทางไปแสวงบุญในอินเดีย (ซึ่งถูกเรียกอย่างน่าอัศจรรย์ว่า "พุทธภูมิ") คนชั้นกลางระดับล่างอาจทำบุญเก้าวัด หรือนมัสการอัฐิหลวงพ่อหลวงปู่ต่างๆ ซึ่งได้รับการตัดสินจากฆราวาสว่าเป็นพระ "อรหันต์" ทั้งหมดนี้คือการ "ปฏิบัติธรรม" ทั้งนั้น แตกต่างตามนิสัยปัจจัยของผู้ทำบุญ
การจัด องค์กรทางศาสนาเวลานี้ จัดการได้แต่ปัญหาเล็ก แต่จัดการกับปัญหาใหญ่ไม่ได้ ซ้ำยังจัดการปัญหาเล็กได้อย่างสายเกินไปทุกที จึงถึงเวลาแล้วที่ควรหันกลับมาทบทวนการจัดองค์กรพุทธศาสนากันใหม่ ไม่แต่เพียงการปกครองคณะสงฆ์เท่านั้น แต่คิดทบทวนตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับรัฐ และศาสนากับสังคม ให้เหมาะกับสภาพที่เป็นจริง
มีปัญหาสำคัญๆ ที่ควรถกเถียงอภิปรายกันหลายประเด็น นับตั้งแต่เราควรแยกศาสนาออกจากรัฐให้เด็ดขาดไปหรือไม่ แต่รัฐจะต้องปฏิบัติต่อศาสนาและองค์กรศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน จะคืนวัดให้กลับมาเป็นของประชาชนและอยู่ภายใต้การกำกับของประชาชนได้อย่างไร การจัดองค์กรในพระพุทธศาสนาอาจมีได้หลายรูปแบบ และดังนั้นจึงปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมได้เสมอ (อันที่จริงเวลานี้ก็เป็นอยู่แล้ว หากคิดถึงสันติอโศกและธรรมกาย แต่เป็นเสรีภาพที่ไม่ได้ประกันไว้แก่ "สำนัก" อื่นๆ ทั้งหมด ที่ไม่มีพลังทางการเมือง และ/หรือทรัพย์เท่าสองสำนักนี้) ทำอย่างไรสังคมจึงมีพลังพอจะควบคุมองค์กรศาสนาได้จริง ความเป็นเถรวาทนั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ และนักบวชในพระพุทธศาสนาไทยมีเสรีภาพที่จะไม่เป็นเถรวาทได้หรือไม่
จะเชื่อมโยงการศึกษาทางโลกและทางธรรมให้ได้ผลอย่างไร จะมีนักบวชหลายระดับที่ทำหน้าที่ต่อสังคมแตกต่างกันได้หรือไม่ และอย่างไร ฯลฯ
เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชนรายวัน 29 ก.ค.2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น