อาการของ "ประชาธิปัตย์" น่าเป็นห่วง
หาก ไม่น่าเป็นห่วง นายศิริโชค โสภา คงไม่ออกมาโวยกรณีเว็บไซต์ "รัฐสภาไทย" นำภาพนายกุลเดช พัวพัฒนกุล ส.ส.อุทัยธานี พรรคประชาธิปัตย์ กำลังเอามือ "ค้ำคอ" เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภา
เพราะทำให้ "ภาพลักษณ์" พรรคประชาธิปัตย์เสียหาย
ยิ่ง นายกุลเดช พัวพัฒนกุล ออกมาอธิบายโดยอ้างว่า "เจ้าหน้าที่ตำรวจสภาเข้ามาเหยียบเท้าของผมที่ตาปลา ผมรู้สึกเจ็บเลยมีปฏิกิริยายื่นมือออกไปและไปโดนคอเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภาพอ ดี"
ยิ่งทำให้บังเกิดอาการครางฮือตามมา
ไม่จำเป็นที่ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ จะบ่นเบาๆ ว่า "โคตรเบื่อ" ไม่จำเป็นที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะออกมายอมรับว่า "เป็นภาพที่ไม่มีใครสบายใจ ไม่มีใครอยากจะเห็น" เพราะทุกอย่างล้วนปรากฏอยู่เบื้องหน้า
ได้ยินเสียงกรี๊ด ได้เห็นเต็มตา
อาการของพรรคประชาธิปัตย์เป็นอาการอันสามารถเข้าใจได้และน่าเห็นใจในทางการเมืองเป็นอย่างสูง
การแสดงออกเช่นนี้เพราะว่า-หมดหนทางอื่น
ก็เหมือนอย่างที่ นายสุเทพ เทือกสุวรรณ ปรารภในทุกเวที "ผ่าความจริง" ว่า สู้ในสภาสู้อย่างไรก็แพ้
เพราะ "มือ" ของพรรคประชาธิปัตย์น้อยกว่า "รัฐบาล"
มวลชนที่ติดตามรับฟังคำปราศรัยของขุนพลนักพูดพรรคประชาธิปัตย์จะรับรู้โดยปริยายในความร้อนแรงแห่งถ้อยคำ
เป็นความร้อนแรงจากปากของเหล่า "ผู้ดี"
อย่าว่าแต่ขุนพลนักพูดแห่งพรรคประชาธิปัตย์จะยิ่งปราศรัยยิ่งดุดัน ยิ่งใช้คำแรงๆ อย่างเหลือเชื่อ
ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นดูเป็นคนติ๋ม-ติ๋ม
ทุกอย่าง ดำเนินไปเหมือนปรากฏการณ์ของ "หนังกำลังภายใน" ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจาก "หงส์ทองคะนองศึก" เมื่อบรรลุถึง "เดชไอ้ด้วน" เพลงดาบย่อมพิสดารขึ้น เลือดที่ละเลงตั้งแต่ยอดลงมาถึงตีนเขาย่อมละเลงจนเละ
เละเหมือนที่เห็นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม
เหตุปัจจัยอันทำให้ขุนพลแห่งพรรคประชาธิปัตย์ต้องเล่นบทตีรวน เล่นเกม ป่วนการประชุมตั้งแต่วินาทีแรกจนถึงวินาทีสุดท้าย
1 เพราะอภิปรายอย่างไร เมื่อยกมือก็พ่ายแพ้
ขณะ เดียวกัน 1 ร่าง พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยที่มาของสมาชิกวุฒิสภาที่พรรคร่วม รัฐบาลเสนอมีความแจ่มชัดในจิตวิญญาณแห่งระบอบประชาธิปไตย
นั่นคือ เอา "เลือกตั้ง" มาแทน "แต่งตั้ง"
นั่นคือ เอาจำนวนเสียงของประชาชนในขอบเขตทั้งประเทศมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน มิใช่ 7 เทวดาอันอยู่ในคณะกรรมการ "สรรหา"
ประเด็นอย่างนี้อภิปรายคัดง้างยากอย่างยิ่ง
ใน ยุคแห่งเผด็จการ ในยุคแห่งประชาธิปไตยครึ่งใบที่สมาชิกสภานิติบัญญัติส่วนหนึ่งมาจากการแต่ง ตั้ง คนของพรรคประชาธิปัตย์ หรือแม้กระทั่งละอ่อนหลายคนที่เป็น ส.ว.ก็เคยกล่าวประณาม โจมตีมาแล้วทั้งสิ้น
การปกป้องมาตรา 111 ของรัฐธรรมนูญ 2550 จึงน่าพะอืดพะอมยิ่ง
หน ทางออกเฉพาะหน้าจึงมีแต่ต้องเล่นเกมป่วน ละเลงบทรวนในการประชุม เพื่อลากดึงให้การประชุมเละเทะอย่างที่เห็นและเป็นอยู่เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม
กลายเป็นเกมอัปยศเปรอะเปื้อน "สภา"
คำถามที่เสนอเข้ามาก็คือ การเล่นเกมอย่างนี้พรรคประชาธิปัตย์จะได้คะแนน หรือเสียคะแนน
หาก สรุปแล้วเห็นว่าได้คะแนนก็จงให้คนอย่าง นายวัชระ เพชรทอง คนอย่าง นายเทพไท เสนพงศ์ บรรเลงร่วมกับกลุ่ม 40 ส.ว.ต่อไปเถิด อีกไม่นาน "คำตอบ" จะปรากฏให้เห็น
เป็นคำตอบในสนาม "เลือกตั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น