บรรณาธิการนิตยสารด้านกิจการระหว่างประเทศ Foreign Affairs ชี้
นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กอบกู้ประเทศไทยท่ามกลางสภาพสังคมแตกแยก
เดินกลยุทธ์ประนีประนอม ถือเป็นแบบอย่างสำหรับอียิปต์
ในบทความชื่อ "Can Egypt Learn From Thailand" ซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซต์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ [http://www.nytimes.com/2013/08/23/opinion/tepperman-can-egypt-learn-from-thailand.html?_r=0] เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2013 โจนาธาน เทปเปอร์แมน บรรณาธิการนิตยสาร Foreign Affairs กล่าวว่า สังคมไทยซึ่งเกิดความแตกแยกอย่างลึกซึ้งนับแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กำลังฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ เพราะการดำเนินกุศโลบายอย่างชาญฉลาดของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
Jonathan Tepperman กล่าวว่า แม้ในเดือนสิงหาคมได้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลขึ้นอีกครั้งในกรุงเทพ เช่นเดียวกับที่ได้เกิดขึ้นเป็นระลอกในระยะหลัง แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พวกผู้ประท้วงได้กลายเป็นตัวประหลาด ประเทศไทยได้เคลื่อนตัวจากภาวะพังพินาศมาสู่ความรุ่งเรืองและค่อนข้างมี เสถียรภาพ ควรค่าแก่การศึกษาว่า ประเทศไทยทำได้อย่างไร หากสังคมที่แตกแยกเช่นนี้สามารถถอยออกจากปากเหวได้ สังคมอื่นๆก็น่าจะทำได้เช่นกัน
เขาบอกว่า ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเวลาอันรวดเร็ว ใช้เวลาเกือบตลอดทศวรรษที่ผ่านมาในการต่อสู้กับตัวเอง ความยุ่งยากได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2549 เมื่อกองทัพสมคบกับพวกรอยัลลิสต์และศาล โค่นล้มนายกรัฐมนตรีประชานิยม ทักษิณ ชินวัตร การรัฐประหารได้จุดชนวนการวิวาทบนท้องถนนระหว่าง "พวกเสื้อเหลือง" ผู้ปกป้องระบอบกึ่งศักดินาอันเก่าแก่ กับ "พวกเสื้อแดง" คนจนในเมืองและในชนบทผู้สนับสนุนทักษิณ จนกระทั่งเกิดการปราบปรามผู้ประท้วงเสื้อแดงในปี 2553
นับแต่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม 2554 จนถึงเวลานี้ซึ่งมาถึงครึ่งทางในระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 4 ปีของเธอ สภาพของประเทศไทยได้พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ
เทปเปอร์แมน อ้างรายงานของรูชีร์ ชาร์มา หัวหน้าฝ่ายตลาดเกิดใหม่ของมอร์แกนสแตนลีย์ ชี้ว่า อนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยดูสดใสที่สุดในรอบ 15 ปี ค่าเงินกระเตื้อง ราคาที่ดินขยับ ตลาดหุ้นซื้อขายคึกคักเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวนับแต่ปี 2551 นักท่องเที่ยวกลับเข้าไปอีกครั้ง ท้องถนนค่อนข้างสงบจากเหตุประท้วง
เขาบอกว่า ยิ่งลักษณ์ ซึ่งในตอนแรกถูกมองว่าเป็นแค่หุ่นเชิดของทักษิณ สามารถพลิกฟื้นประเทศไทยได้เช่นนี้ ด้วยสูตรง่ายๆ 3 อย่าง คือ จัดการปกครองที่ใสสะอาด, ประนีประนอมกับศัตรู, และเน้นงานด้านเศรษฐกิจ
ผู้นำไทยเข้าใจดีว่า เธอจะไม่สามารถผลักดันนโยบายและยกระดับชีวิตของคนจนได้หากไม่สามารถทำให้ สถานการณ์นิ่งสงบลงเสียก่อน และอยู่ในตำแหน่งให้ครบ 4 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เธอจะต้องทำให้คนไทยทุกฝ่ายได้ประโยชน์
เริ่มด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจและปฏิรูป เช่น ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 40%, อุดหนุนการซื้อรถยนต์คันแรก ซึ่งเป็นประโยชน์แก่คนชั้นล่าง ขณะที่เตรียมทำโครงการสาธารณูปโภคมูลค่า 67,000 ล้านดอลลาร์ และลดภาษีรายได้กับภาษีนิติบุคคล ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่คนมั่งมี
นอกจากนี้ เธอได้พยายามสงบศึกทางการเมือง ทอดไมตรีกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล รวมทั้งพวกนายพลที่โค่นล้มพี่ชายของเธอ ตามความเห็นของฐิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยิ่งลักษณ์ได้เสนอข้อแลกเปลี่ยนโดยนัยกับชนชั้นนำ โดยไม่แตะต้องอภิสิทธิ์ของคนพวกนั้น ซึ่งพวกเขายอมปล่อยให้เธอครองอำนาจ
เธอจึงไม่ยุ่งเกี่ยวกับกองทัพ การที่เธอเข้านั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหมเมื่อเร็วๆนี้ก็เพื่อประกันว่าจะไม่ มีใครไปแตะต้องสิทธิพิเศษต่างๆของทหาร และเธอได้หลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ควบคุมการคอรัปชั่น และทำให้มั่นใจว่า พี่ชายของเธอ ซึ่งพวกอำมาตย์ทั้งเกลียดและกลัว จะอยู่นอกประเทศต่อไป
มองในแง่หนึ่ง การแลกเปลี่ยนเช่นนี้ดูน่าเกลียด เพราะยิ่งลักษณ์ต้องยอมทนกับการตรวจสอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และการกดขี่เสรีภาพในการพูด พวกคนเสื้อแดงผู้สนับสนุนเธอรู้สึกขุ่นเคืองที่เธอไม่ได้ทำเพื่อครอบครัวของ ผู้ถูกสังหารและถูกจำคุกโดยรัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลัง ให้มากกว่าที่ได้ทำไป
ขณะเดียวกัน การเดินกลยุทธ์เช่นนี้ก็เป็นข้อแลกเปลี่ยนที่เปราะบาง พวกคนเสื้อเหลืองได้โหมโจมตีข้อผิดพลาดต่างๆของนายกรัฐมนตรี เช่น โครงการรับจำนำข้าว และยังมีขวากหนามอื่นๆอีก เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป ความเหลื่อมล้ำกำลังขยายตัว
แต่ในอีกแง่หนึ่ง ถ้าประเทศไทยยังคงมีความสงบ เศรษฐกิจยังคงขยายตัว ก็มีโอกาสมากขึ้นที่การเมืองแบบประชาธิปไตยจะลงหลักปักฐาน จนถึงระดับที่ว่า เมื่อประเทศไทยจะจัดการกับความแตกแยกภายใน ไทยก็จะแก้ปัญหาด้วยบัตรเลือกตั้ง ไม่ใช่การสู้รบบนท้องถนน
ดังนั้น จุดด้อยในข้อต่อรองของยิ่งลักษณ์นับเป็นส่วนหนึ่งของความมีอัจฉริยภาพ การที่ทุกฝ่ายรู้สึกไม่พอใจกับกุศโลบายของเธอนับเป็นสัญญาณที่ดี เพราะนั่นหมายความว่า ไม่มีฝ่ายไหนจะได้ทุกอย่างที่ต้องการ นี่คือการประนีประนอมที่ได้ผล แม้จะดูมั่วๆก็จริง แต่เป็นความมั่วที่ประเทศอื่นๆอย่างอียิปต์, เวเนซุเอลา หรือซิมบับเว จะอิจฉา.
Source : New York Times
ในบทความชื่อ "Can Egypt Learn From Thailand" ซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซต์หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ [http://www.nytimes.com/2013/08/23/opinion/tepperman-can-egypt-learn-from-thailand.html?_r=0] เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2013 โจนาธาน เทปเปอร์แมน บรรณาธิการนิตยสาร Foreign Affairs กล่าวว่า สังคมไทยซึ่งเกิดความแตกแยกอย่างลึกซึ้งนับแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กำลังฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ เพราะการดำเนินกุศโลบายอย่างชาญฉลาดของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
Jonathan Tepperman กล่าวว่า แม้ในเดือนสิงหาคมได้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลขึ้นอีกครั้งในกรุงเทพ เช่นเดียวกับที่ได้เกิดขึ้นเป็นระลอกในระยะหลัง แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พวกผู้ประท้วงได้กลายเป็นตัวประหลาด ประเทศไทยได้เคลื่อนตัวจากภาวะพังพินาศมาสู่ความรุ่งเรืองและค่อนข้างมี เสถียรภาพ ควรค่าแก่การศึกษาว่า ประเทศไทยทำได้อย่างไร หากสังคมที่แตกแยกเช่นนี้สามารถถอยออกจากปากเหวได้ สังคมอื่นๆก็น่าจะทำได้เช่นกัน
เขาบอกว่า ประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเวลาอันรวดเร็ว ใช้เวลาเกือบตลอดทศวรรษที่ผ่านมาในการต่อสู้กับตัวเอง ความยุ่งยากได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2549 เมื่อกองทัพสมคบกับพวกรอยัลลิสต์และศาล โค่นล้มนายกรัฐมนตรีประชานิยม ทักษิณ ชินวัตร การรัฐประหารได้จุดชนวนการวิวาทบนท้องถนนระหว่าง "พวกเสื้อเหลือง" ผู้ปกป้องระบอบกึ่งศักดินาอันเก่าแก่ กับ "พวกเสื้อแดง" คนจนในเมืองและในชนบทผู้สนับสนุนทักษิณ จนกระทั่งเกิดการปราบปรามผู้ประท้วงเสื้อแดงในปี 2553
นับแต่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของทักษิณ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม 2554 จนถึงเวลานี้ซึ่งมาถึงครึ่งทางในระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 4 ปีของเธอ สภาพของประเทศไทยได้พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ
เทปเปอร์แมน อ้างรายงานของรูชีร์ ชาร์มา หัวหน้าฝ่ายตลาดเกิดใหม่ของมอร์แกนสแตนลีย์ ชี้ว่า อนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยดูสดใสที่สุดในรอบ 15 ปี ค่าเงินกระเตื้อง ราคาที่ดินขยับ ตลาดหุ้นซื้อขายคึกคักเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวนับแต่ปี 2551 นักท่องเที่ยวกลับเข้าไปอีกครั้ง ท้องถนนค่อนข้างสงบจากเหตุประท้วง
เขาบอกว่า ยิ่งลักษณ์ ซึ่งในตอนแรกถูกมองว่าเป็นแค่หุ่นเชิดของทักษิณ สามารถพลิกฟื้นประเทศไทยได้เช่นนี้ ด้วยสูตรง่ายๆ 3 อย่าง คือ จัดการปกครองที่ใสสะอาด, ประนีประนอมกับศัตรู, และเน้นงานด้านเศรษฐกิจ
ผู้นำไทยเข้าใจดีว่า เธอจะไม่สามารถผลักดันนโยบายและยกระดับชีวิตของคนจนได้หากไม่สามารถทำให้ สถานการณ์นิ่งสงบลงเสียก่อน และอยู่ในตำแหน่งให้ครบ 4 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เธอจะต้องทำให้คนไทยทุกฝ่ายได้ประโยชน์
เริ่มด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจและปฏิรูป เช่น ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 40%, อุดหนุนการซื้อรถยนต์คันแรก ซึ่งเป็นประโยชน์แก่คนชั้นล่าง ขณะที่เตรียมทำโครงการสาธารณูปโภคมูลค่า 67,000 ล้านดอลลาร์ และลดภาษีรายได้กับภาษีนิติบุคคล ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่คนมั่งมี
นอกจากนี้ เธอได้พยายามสงบศึกทางการเมือง ทอดไมตรีกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล รวมทั้งพวกนายพลที่โค่นล้มพี่ชายของเธอ ตามความเห็นของฐิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยิ่งลักษณ์ได้เสนอข้อแลกเปลี่ยนโดยนัยกับชนชั้นนำ โดยไม่แตะต้องอภิสิทธิ์ของคนพวกนั้น ซึ่งพวกเขายอมปล่อยให้เธอครองอำนาจ
เธอจึงไม่ยุ่งเกี่ยวกับกองทัพ การที่เธอเข้านั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหมเมื่อเร็วๆนี้ก็เพื่อประกันว่าจะไม่ มีใครไปแตะต้องสิทธิพิเศษต่างๆของทหาร และเธอได้หลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าด้วยการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ควบคุมการคอรัปชั่น และทำให้มั่นใจว่า พี่ชายของเธอ ซึ่งพวกอำมาตย์ทั้งเกลียดและกลัว จะอยู่นอกประเทศต่อไป
มองในแง่หนึ่ง การแลกเปลี่ยนเช่นนี้ดูน่าเกลียด เพราะยิ่งลักษณ์ต้องยอมทนกับการตรวจสอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และการกดขี่เสรีภาพในการพูด พวกคนเสื้อแดงผู้สนับสนุนเธอรู้สึกขุ่นเคืองที่เธอไม่ได้ทำเพื่อครอบครัวของ ผู้ถูกสังหารและถูกจำคุกโดยรัฐบาลที่มีกองทัพหนุนหลัง ให้มากกว่าที่ได้ทำไป
ขณะเดียวกัน การเดินกลยุทธ์เช่นนี้ก็เป็นข้อแลกเปลี่ยนที่เปราะบาง พวกคนเสื้อเหลืองได้โหมโจมตีข้อผิดพลาดต่างๆของนายกรัฐมนตรี เช่น โครงการรับจำนำข้าว และยังมีขวากหนามอื่นๆอีก เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกมากเกินไป ความเหลื่อมล้ำกำลังขยายตัว
แต่ในอีกแง่หนึ่ง ถ้าประเทศไทยยังคงมีความสงบ เศรษฐกิจยังคงขยายตัว ก็มีโอกาสมากขึ้นที่การเมืองแบบประชาธิปไตยจะลงหลักปักฐาน จนถึงระดับที่ว่า เมื่อประเทศไทยจะจัดการกับความแตกแยกภายใน ไทยก็จะแก้ปัญหาด้วยบัตรเลือกตั้ง ไม่ใช่การสู้รบบนท้องถนน
ดังนั้น จุดด้อยในข้อต่อรองของยิ่งลักษณ์นับเป็นส่วนหนึ่งของความมีอัจฉริยภาพ การที่ทุกฝ่ายรู้สึกไม่พอใจกับกุศโลบายของเธอนับเป็นสัญญาณที่ดี เพราะนั่นหมายความว่า ไม่มีฝ่ายไหนจะได้ทุกอย่างที่ต้องการ นี่คือการประนีประนอมที่ได้ผล แม้จะดูมั่วๆก็จริง แต่เป็นความมั่วที่ประเทศอื่นๆอย่างอียิปต์, เวเนซุเอลา หรือซิมบับเว จะอิจฉา.
Source : New York Times
by
sathitm
23 สิงหาคม 2556 เวลา 13:20 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น