แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

TIME:พระมหากษัตริย์ไทยเสด็จออกจากโรงพยาบาล ขณะที่กรุงเทพฯกำลังเผชิญกับการประท้วงครั้งใหม่

ที่มา Thai E-News

 


ภาพโดย ชัยวัฒน์ ทรัพย์ประสม /รอยเตอร์

พระมหากษัตริย์ไทยเสด็จออกจากโรงพยาบาลขณะที่กรุงเทพมหานครเผชิญกับการประท้วงครั้งใหม่

พระ เจ้าอยู่หัวอันเป็นที่รักสักการะเสด็จสู่พระราชวังริมทะเล ขณะที่กลุ่มกองทัพประชาชนของพันธมิตรรักสถาบันเตรียมการประท้วงร่างกฏหมาย นิรโทษกรรมฉบับที่ถกเถียงกันมาก
โดย ชาร์ลี แคมป์เบลล์ เดอะไทม์/เวิลด์
คน หลายพันแซ่ซร้องสดุดีพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของประเทศไทย เมื่อบ่ายวันพฤหัสบดีขณะที่พระองค์เสด็จออกจากโรงพยาบาลเป็นครั้งแรกในรอบ สี่ปี 

พสกนิกร น้ำตานองโบกธงไสวพร้อมเปล่งคำ “ขอจงทรงพระเจริญ” ขณะเฝ้าชมพระบารมีเมื่อรถยนต์พระที่นั่งแล่นผ่านไปสู่พระตำหนักที่พักริม ทะเลในเมืองหัวหินซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงเทพฯ ราว ๒๘๐ กิโลเมตร 

พระ ภูมินทร์ชันษา ๘๕ ปีทรงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลกที่ได้รับการสวามิภักดิ์เทอด ทูนอย่างกว้างขวางในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ ว่าทรงเป็นภาพลักษณ์ของศูนย์รวมแห่งคุณธรรม 

ทว่า ด้วยพระพลานามัยของพระองค์ยังอ่อนล้า และการเมืองแบ่งขั้วของประเทศยังเดือดพล่านด้วยพิษร้าย ชาวไทยจำนวนมากประหวั่นว่าวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไรเมื่อพ้นรัชสมัยของพระ ผู้ทรงเป็นที่รักบูชา
ทรง พระราชสมภพที่เคมบริดจ์ แมสซาชูเส็ท พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเมื่อทรงพระเยาว์เป็นที่ร่ำลือถึงความใส่พระทัยของ พระองค์อย่างลึกล้ำต่อดนตรีร่วมสมัย ทรงเล่นแซกโซโฟนร่วมกับนักดนตรีแจ๊สเลื่องชื่ออย่างเบ็นนี่ กู๊ดแมน ไลโอเนิล แฮมป์ตัน และแจ็ค ทีการ์เด็น และทรงเสด็จประพาสทั่วโลกโดยมีพระราชินีสิริกิตติ์ผู้สง่างามเคียงข้าง 

ตามมาด้วยพระราชกรณียกิจด้านมนุษยธรรมต่อชุมชนล้าหลังทางภาคเหนือเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่หลังจากที่ทรงเสด็จเข้ารับการรักษาพระอาการที่ระบุเป็นทางการว่าปอดอักเสบที่โรงพยาบาลศิริราชในปี ๒๕๕๒ แล้วพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ทรงเกือบจะหายไปจากการปรากฏพระองค์ในสาธารณะ
มีการซุบซิบคาดเดากัน เมื่อเป็นครั้งแรกที่มิได้เสด็จประกอบพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญด้วยพระองค์เองในปีนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ก็เช่นกันเชื่อกันว่าพลานามัยของพระองค์มิได้ทรงสมบูรณ์ดีนัก 

การ สืบราชสันตติวงศ์ก็เป็นประเด็นที่กล่าวถึงกันมากในประเทศไทย เมื่อ(เซ็นเซอร์ โดยไทยอีนิวส์) เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องพระจริยวัตรอันตรงข้ามกับคุณลักษณะสันโดษ ของ(เซ็นเซอร์)
ถึงแม้ว่าตามธรรมเนียมแล้วพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง แต่ในช่วงหลายปีที่เพิ่งผ่านมาราชบัลลังก์ถูกนำไปใช้โดยฝักฝ่ายที่เป็นอริกันเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ได้มีการเผชิญหน้าระหว่างค่ายพวกชนชั้นสูงใส่เสื้อสีเหลือง (สีเหลืองถือว่าเป็นสีของพระเจ้าแผ่นดินในประเทศไทย) กับพวกเสื้อแดงซึ่งสนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจยิ่งใหญ่ ที่ถูกกองทัพทำรัฐประหารเมื่อปี ๒๕๔๙ ทั้งๆ ที่ได้รับเลือกตั้งสองสมัยด้วยนโยบายประชานิยมซึ่งคนยากจนยกย่อง 

เขาถูกพิพากษาให้หลังว่ามีผิดฐานคอรัปชั่น และปัจจุบันลี้ภัยตนเองไปอาศัยอยู่ในต่างประเทศ ทั้งที่พรรคการเมืองตัวแทนของเขาที่มีลูกน้องรับช่วงดำเนินงานได้รับเลือกตั้งในปี ๒๕๕๔ โดยมี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของเขาเป็นนายกรัฐมนตรี 

การทำให้ทักษิณเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนาในหมู่ชนชั้นนำของกรุงเทพฯ ทำให้เขากลายเป็นยอดชายของผู้ใช้แรงงาน และเป็นที่ชิงชังอย่างยิ่งในกระบวนผู้ทรงอิทธิพลรวมทั้งในแวดวงของเจ้า
การได้รับเลือกตั้งซ้อนกันสามครั้งของพรรคการเมืองที่ทักษิณหนุนหลังแสดงถึงอำนาจไม่เสื่อมคลายของการเมืองแบบประชานิยมของเขา เช่นนี้กองทัพประชาชนอันเป็นพันธมิตรกลุ่มเสื้อเหลืองที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่หมาดๆ ซึ่งจงเกลียดจงชังพรรคเพื่อไทยที่เป็นรัฐบาล จึงหันไปหาวิธีต่อสู้บนท้องถนนของกรุงเทพฯ 

เป้าหมายในความเคียดแค้นของพวกนี้คือร่างกฏหมายนิรโทษกรรมที่เสนอเข้าสู่การอภิปรายในสมัยการประชุมสภาเดือนนี้ การเมืองไทยกลายเป็นเรื่องของการแสดงพลังประชาชนกันมากในระยะหลังๆ นี่ การแสดงพลังของเสื้อเหลืองตามมาทันควันด้วยรัฐประหาร ๒๕๔๙ 

การชุมนุมของเสื้อแดงเถือกทั่วใจกลางกรุงเทพมหานครในปี ๒๕๕๓ ถูกบดขยี้อย่างรุนแรงจนมีคนตายกว่า ๘๐ และราวๆ ๒,๐๐๐ คนบาดเจ็บ 

นับแต่การเลือกตั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ใน ๒๕๕๔ ความก้าวหน้าในการนำคนที่ต้องรับผิดชอบในการสังหารประชาชนมาดำเนินคดีมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ร่างกฏหมายนิรโทษกรรมดูเหมือนจะมุ่งเพื่อการคืนดีกันระหว่างสองกลุ่มโดยไม่เอาผิดแก่ผู้ร่วมชุมนุมในระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นพวกไหน 

อย่างไรก็ดีพวกนิยมเจ้าเชื่อว่าเป็นการพยายามเปิดประตูหลังให้ทักษิณคู่แค้นของพวกเขาได้กลับบ้าน ผู้สนับสนุนฝ่ายนิยมเจ้าเตรียมออกมาชุมนุมต่อต้านร่าง ก.ม. นิรโทษกันที่หน้าสภาผู้แทนราษฎรวันอาทิตย์นี้ เป็นผลให้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงเป็นเวลาสิบวันในท้องที่ใจกลางพระมหานคร ๓ แห่ง 

ผู้ประท้วงมุ่งหมายจะสวมหน้ากากขาวให้เป็นการเลียนแบบขบวนการยึดครอง แม้ว่าจุดมุ่งหมายของพวกเขาห่างไกลกับประเด็นหลักในด้านการไม่เท่าเทียมทางสังคม และเศรษฐกิจ ถึงกระนั้นบทบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เมื่อวันศุกรกล่าวหาฝ่ายรักษาความมั่นคงของรัฐว่า “กระทำการอย่างตื่นตูมต่อการคุกคามที่ไม่มีตัวตน”
สถาบันกษัตริย์กลายมาเป็นประเด็นหัวใจของข้อถกเถียงในเรื่องการแสดงความเห็นอย่างเสรี กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสถาบันกษัตริย์ ที่อื้อฉาวของประเทศไทยเพื่อควบคุมการวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์จัดว่าดุดันที่สุดในโลก 

ใครที่มีความผิดฐานทำให้พระราชวงศ์เสื่อมเสียจะต้องถูกควบคุมในกรงขัง ๓ ถึง ๑๕ ปี นี่เป็นเพราะ “พวกชนชั้นสูงกลัวว่าการโจมตีสถาบันกษัตริย์จะทำให้ปราการอำนาจของพวกเขาหลุดไป แล้วระบบทั้งมวลจะพังทลายลง” ผู้เป็นโฆษกของกลุ่มเรียกร้องให้ปลดปล่อยนักโทษการเมืองคนหนึ่งแสดงความเห็น
ไม่เพียงแต่ผู้เป็นพลเมืองไทยเท่านั้นที่ตกเป็นเป้า เมื่อไม่นานมานี้ โจ กอร์ดอน ชาวไทยอเมริกันถูกจำคุกเป็นเวลากว่าปีจากการแปลหนังสือพระราชประวัติพระเจ้าอยู่หัวที่ไม่ได้รับอนุญาต และยังต้องห้ามฉบับหนึ่ง ถึงแม้ว่ายิ่งลักษณ์เคยให้ความเห็นว่าจะรับพิจารณาการปฏิรูปกฏหมายหมิ่นฯ นี้ -พระเจ้าอยู่หัวเองเคยทรงมีพระราชดำรัสในวันเฉลิมพระชนมพรรษาปี ๒๕๔๘ ว่าพระองค์เองมิได้ทรงอยู่เหนือคำวิจารณ์- ตามการวิเคราะห์ขององค์การฟรีดอมเฮ้าส์ “เธอก็ตกอยู่ในภาวะเปราะบางในเกมการรักษาสมดุลกับกองทัพ และศัตรูที่เป็นพวกนิยมเจ้า ซึ่งต่อต้านความเปลี่ยนแปลง” เธอจึงยังไม่ได้ขยับเขยื้อนใดๆ ในเรื่องนี้
ขณะที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมิได้ทรงแสดงจุดยืนใดๆ ของพระองค์อย่างเปิดเผยต่อกระแสผันผวนที่ตามมาหลังการรัฐประหาร ๒๕๔๙ นักวิจารณ์บางคนคิดตีความไปไกลว่า พระราชประสงค์ที่เสด็จออกจากโรงพยาบาลครั้งนี้ โดยระหว่างความวุ่นวายครั้งก่อนๆ ทรงประทับอยู่กับพระราชวัง อาจหมายถึงการโหวตลงคะแนนไม่ไว้วางใจแก่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่นักวิจารณ์การเมืองคนอื่นๆ นอกจากนั้นไม่ค่อยเป็นห่วงกันมากนัก
ศาสตราจารย์ ธิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวกับนิตยสารไทม์ว่า “ข้อสำคัญไม่ควรตีความการเสด็จออกนอกพระนครครั้งนี้ที่ไม่ใช่เป็นสิ่งไม่เคย ปรากฏมาก่อนในการประทับในโรงพยาบาลเป็นเวลานานของพระองค์” ความสำคัญอยู่ที่พสกนิกรถวายการต้อนรับต่อทั้งสองพระองค์เมื่อเสด็จถึง หัวหินล้นหลาม กองทัพเรือส่งเรือรบ ๕ ลำไปประจำการอยู่บริเวณใกล้เคียง พระราชวังที่หัวหินเรียกว่า ไกลกังวล ในภาษาไทย – “ฟาร์ ฟรอม วอรี่ส์” ขณะนี้อาจจะเป็นอย่างนั้นสำหรับพระมหากษัตริย์อันทรงเป็นที่รัก แต่ยังไม่ใช่สำหรับประเทศชาติที่ยังแตกแยก
(ระยิบ เผ่ามโน ถอดความจาก Thai King Leaves Hospital as Bangkok Braces for Fresh Protests ในนิตยสารไทม์ ฉบับวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๖)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น