แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

′สมชัย′เผยคุยแกนนำระดับสูง รบ.แล้ว เตรียมเจรจากปปส.-ปชป.

ท่ี่มา ประชาไท

สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.เผยเตรียมหารือกับทุกฝ่ายเพื่อหาข้อเสนอแนะ แจงไม่อาจย้ายสถานที่รับเลือกตั้งได้เพราะขอสถานที่ลำบาก ด้านเพื่อไทยจี้กกต.เร่งแก้ปัญหาการรับสมัครในภาคใต้
เว็บไซต์มติชนออนไลน์ รายงาน ว่า เวลา 10.00 น. ที่บริเวณอาคารจอดรถประจำลานโกลเด้นเพลส ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ถึงการหารือกับ 3 แกนนำระดับสูงรัฐบาล เมื่อวันที่ 29 ธันวาคมว่า มีการนัดหมายพูดคุยกันในตอนค่ำวันที่ 29 ธันวาคม สิ่งที่คุยกันเป็นการประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นว่า หากเดินหน้าสู่การเลือกตั้งจะมีอะไรเกิดขึ้นทั้งก่อนการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง และหากไม่มีการเลือกตั้งจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง พยายามมองสถานการณ์ครอบคลุมรอบด้าน
 
เบื้องต้นการพูดคุยแนวโน้มเป็นไปแนวทางที่ดี เพราะหากเดินหน้าต่อไปสถานการณ์จะรุนแรง จึงค่อนข้างเห็นตรงกันว่าสถานการณ์ที่เป็นปัญหาอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราอยาก เห็น จากนั้นพูดคุยกันว่าแล้วจะมีแนวทางข้อเสนออะไรบางอย่างเพื่อให้สถานการณ์ดี ขึ้น
 
โดยข้อสรุป ข้อเสนอแนะน่าจะเป็นคำตอบที่ดีระดับหนึ่งและสามารถทำได้หลายรูปแบบ  คือ 1.กกต.ฝ่ายเดียว 2.กกต.ร่วมกับรัฐบาล และ 3.ร่วมกัน 3 ฝ่ายระหว่าง กกต. รัฐบาล และคู่กรณีขัดแย้ง 
 
นายสมชัยกล่าวว่า ขอไม่เปิดเผยผลสรุปการหารือ ข้อสรุปที่ได้นำไปสู่การคลี่คลายปัญหาสังคมระดับหนึ่ง รัฐบาลยอมลดราวาศอก รัฐบาลมีท่าทีทางที่ดี แต่อย่าให้ตนพูด  เพราะยังไม่ถึงเวลา นัดคุยกับพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) วันที่ 31 ธันวาคม ส่วนเวลาใด สถานที่ใด ไม่ขอบอก คนที่จะมาคุยด้วยเป็นระดับสูงมากใน ปชป.2-3 คน
 
ส่วนการพูดคุยกับ กปปส. ได้ขอนัดหมายไปแล้ว  แต่ กปปส.ยังไม่ตอบรับการพูดคุย ยังไม่เปิดโอกาส และไม่พร้อม คาดว่าน่าจะไม่สามารถคุยได้ทันก่อนปีใหม่ 
 
ถามถึงการรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขต 8 จังหวัดภาคใต้ยังคงมีปัญหาอยู่ นายสมชัยกล่าวว่า เท่าที่ตรวจสอบยังมีปัญหาอยู่ เจ้าหน้าที่ กกต. ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ แต่ก็ได้ใช้พยายามรับสมัครให้ได้ มีปัญหาเรื่องสถานที่ บุคลากร หลายคนบอกว่าทำไมไม่ย้ายสถานที่
 
นายสมชายกล่าวว่า การย้ายสถานที่ยากลำบากมาก แม้จะขอใช้สถานที่ราชการ แต่ก็ไม่ได้รับความร่วมมือ ขอไปแล้วไม่มีหน่วยราชการใดจะให้เราไปใช้สถานที่ สถานที่ที่เรายังไม่ได้ขอคือ สถานีตำรวจและค่ายทหาร อาจจะเป็นทางเลือกท้ายๆ ที่จะดำเนินการคิดว่าค่ายทหารไม่เหมาะสมเพราะเราอยากให้การเลือกตั้งจัดการ โดยพลเรือน
 
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า มีเสียงเรียกร้องจากฝ่ายรัฐบาลให้ กกต.ลาออก  นายสมชัยกล่าวทีเล่นทีจริงว่า ถ้าด่ามากๆ อาจจะลาออกได้  แต่ถ้า กกต.ออกไปจะเกิดอะไรขึ้น อยากให้ฝ่ายการเมืองคิดให้ดีก่อน โดยเฉพาะสิ่งรัฐบาลรักษาการไม่สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญมาตา 181 เช่น การขออนุมัติงบกลาง งบสำรองจ่าย การทำสัญญาที่จะมีผลผูกพันต่อรัฐบาลชุดต่อไป การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การใช้ทรัพยากรของรัฐที่ถูกมองว่าเป็นหาเสียง และการตรึงราคาน้ำมันดีเซลโดยขยายเวลาอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล หากไม่มี กกต. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 น้ำมันดีเซลขึ้นแน่นอน  จะคิดอะไรขอให้รอบคอบสักนิด ไม่อยากให้ไปถึงจุดนั้น
    
ต่อคำถามว่า ที่การเลือกตั้งอาจได้ ส.ส.ไม่ครบ 95% จนไม่สามารถเปิกประชุมสภานัดแรกได้ นายสมชัยกล่าวว่า   กกต.คงพูดคุยกันว่าจะมีทางออกอย่างไร การยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กกต.คงไม่สามารถดำเนินการโดยตรงได้ เพราะเป็นอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน
 
พรรคเพื่อไทย จี้ กกต. เร่งแก้ปัญหาไม่สามารถเปิดรับสมัครเลือกตั้ง 7 เขตในภาคใต้ได้ 
 
วันเดียวกัน เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่มีผู้ชุมนุมไปปิดล้อมสถานที่รับสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ระบบ เขตเลือกตั้งใน 7 จังหวัดภาคใต้เป็นวันที่ 3 ว่า วันนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กลาง โดยเฉพาะยายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ผู้มีหน้าที่โดยตรง ไม่ยอมลงพื้นที่ไปแก้ปัญหา เหมือนกับที่ประธาน กกต.จ.ภูเก็ตบอกว่าเหมือนถูกลอยแพ เพราะไม่มีแม้ผู้ใหญ่ในกกต.คนใดลงไปดูในพื้นที่ ปล่อยให้การแก้ปัญหาเป็นไปตามยถากรรม ทำให้กกต.เขต กกต.จังหวัดลาออกหลายพื้นที่ โดยอ้างว่าถูกกดดัน เหมือนน่าจะเล็งเห็นผลให้การสมัครในภาคใต้เกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับความต้องการของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)
 
สำหรับกกต.ที่ลาออกเพราะคิดว่าจะหนีปัญหาได้นั้น ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยและฝ่ายกฎหมายของพรรคจะไปแจ้งความเอาผิด เพราะถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนี้ น่าจะส่อไปในทางละเมิดสิทธิไม่คุ้มครองสิทธิของผู้สมัครรับเลือกตั้งอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ขอเรียกร้องให้กกต.กลางรีบลงพื้นที่ที่มีปัญหา ย้ายสถานที่รับสมัคร และตั้งกกต.ใหม่แทนคนเดิมที่ลาออกไปโดยเร็ว เพราะขณะนี้เหลือเวลารับสมัครอีกเพียงแค่ 2 วันแล้ว
 
"ที่ผ่านมาการแจ้งความดำเนินคดีกับแกนนำผู้ชุมนุม การย้ายสถานที่รับสมัคร กกต.กลางไม่ยอมดำเนินการ ทั้งๆ ที่หลายภาคส่วนพร้อมให้ความร่วมมือ และขณะนี้เหลือเวลารับสมัครอีกแค่ 2 วันกกต.กลางก็ยังไม่ยอมลงพื้นที่ ขณะที่กกต.จังหวัดและกกต.เขตก็ต้องสำนึกในหน้าที่ สำนึกในจริยธรรมและบทบาทของตัวเอง ใครรักใครชอบใครก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่การทำหน้าที่เป็นสิ่งสำคัญ การลาออกมีแต่จะยิ่งซ้ำเติมปัญหา ขอให้เห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมือง ไม่ใช่ตัดช่องน้อยแต่พอตัว"
 
อย่างไรก็ตาม ได้ลงพื้นที่ใน 7 จังหวัดภาคใต้ที่มีปัญหาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการคัดค้านและปิดล้อมสถานที่ รับสมัครพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ชุมนุมเป็นผู้สนับสนุน หัวคะแนน เครือญาติ และคนใกล้ชิดอดีตส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ดังนั้น ขอท้านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่อ้างว่าจะไม่ขัดขวางการเลือกตั้ง ส่งสัญญาณผ่านอดีตส.ส.ในพื้นที่ไปบอกกับผู้ชุมนุมว่าพรรคประชาธิปัตย์มีความ จริงใจที่จะไม่ขัดขวางการเลือกตั้งโดยการแถลงข่าว และประณามผู้ที่คัดค้านและปิดล้อมสถานที่รับสมัครด้วย หากนายอภิสิทธิ์กล้าทำตนจะเอาดอกไม้ไปกราบถึงพรรคเพื่อขอบคุณ
 
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เชื่อ กกต.ภาคใต้ ลาออก เหตุรัฐเดินหน้าเลือกตั้ง 
 
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่หลายจังหวัดภาคใต้ ยังไม่สามารถเปิดรับสมัครเลือกตั้งได้ และมีผู้อำนวยการเขต ลาออกนั้น เกิดจากความดื้อรั้นของรัฐบาลที่จะให้มีการเลือกตั้ง จนนำพาบ้านเมืองไปสู่ทางตัน โดยวันนี้ การเจรจาพูดคุยเป็นทางออกอย่างหนึ่ง ที่ กกต. พยายามประสานเจรจากับทางฝั่งรัฐบาล และผู้ชุมนุม แต่รัฐบาลก็ควรแสดงความจริงใจในการเจรจา ด้วยการปลดเงื่อนไขวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ออกไปก่อน ไม่เช่นนั้น การเจรจาก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
 
ส่วนการตั้งสภาปฏิรูปประเทศไทย ที่เสนอโดยรัฐบาล เห็นว่า ยังไม่มีความคืบหน้าถึงการตั้งคณะกรรมการสรรหา สะท้อนให้เห็นถึงความไม่จริงใจของรัฐบาล เป็นเพียงการสร้างเงื่อนไขเพื่อยื้อเวลาไปสู่วันเลือกตั้ง ต่อเวลาให้กับรัฐบาลเท่านั้น ทั้งนี้ ในวันที่ 2 และ 3 มกราคม หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะเดินสายพบปะองค์กรธุรกิจและนักวิชาการ เพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย ตามแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนเปิดโรดแมป ภายใต้แนวคิด "ขจัดคอร์รัปชั่น มุ่งมั่นปฏิรูป" ในวันที่ 7 มกราคมนี้
 
 
 
ที่มา: เว็บไซต์มติชนออนไลน์, เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

ไทยสามารถร้องขอกองกำลังสหประชาชาติช่วยเลือกตั้ง

ที่มา Thai E-News

"เจ้าหน้าที่ทหารขององค์การสหประชาชาติ (UN Military Personnel)  สามารถลาดตระเวนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ว่าสามารถทำการออกเสียงเลือกตั้งตามสิทธิของตนในระบอบประชาธิปไตย โดยปราศจากความกลัวต่อความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้" 


การให้ความช่วยเหลือด้านการเลือกตั้งขององค์การสหประชาชาติ (UN Peacekeeping Electoral Assistance)
รศ.พ.ต.อ.หญิง ณหทัย ตัญญะ   December 29, 2013 at 5:40pm
กองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ (UN Peacekeeping) ให้ความช่วยเหลือกระบวนการเลือกตั้งในหลายวิธีการ รวมไปถึงการเตรียมการด้านการรักษาความปลอดภัย (Provision of Security), การให้คำปรึกษาทางเทคนิค (Technical Advice) และการสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุง (Logistical Support)
เมื่อพรรคการเมืองต่างๆ ที่อยู่ภายใต้เหตุการณ์ความขัดแย้ง ต่างให้ข้อตกลงว่าจะยุติการต่อสู้แล้ว การกำหนดให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นนั้นบ่อยครั้งจะถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์ อักษรในข้อตกลงเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าในการบริหารประเทศอย่างถูกต้องตาม กฎหมาย บ่อยครั้งที่การปฎิบัติการรักษารักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาตินั้น ได้รับอำนาจให้แสดงบทบาทโดยตรงเกี่ยวกับกระบวนการเหล่านี้
หลายปี ที่ผ่านมากองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติได้ให้ความช่วยเหลือทาง ด้านเทคนิคและการส่งกำลังบำรุงในการเลือกตั้งที่เป็นขั้นตอนสำคัญในหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, ประเทศโกตติวัวร์ (Côte d’Ivoire), ประเทศอัฟกานิสถาน, ประเทศไลบีเรีย และประเทศซูดาน เป็นต้น
บทบาทของกองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ: (The Role of UN Peacekeeping)
องค์การสหประชาชาติได้ให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ หลากหลายประเภทที่กำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่มีการเลือกตั้งเป็นต้นว่า:
  • การช่วยเหลือทางด้านเทคนิค (Technical Assistance)
  • การสังเกตการณ์ในการเลือกตั้ง (Election Monitoring)
  • การจัดระเบียบองค์กรและการควบคุมดูแลการเลือกตั้ง (Organization and Supervision of Elections) 
จากกฎปฎิ บัติทั่วไปในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีบทบาทในการสนับสนุนด้านความช่วย เหลือในการบริหารการเลือกตั้งภายในประเทศของประเทศนั้นๆ หน้าที่ส่วนใหญ่ที่กองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติจะต้องมุ่ง เน้นเป็นพิเศษคือ การช่วยเหลือทางเทคนิคให้กับองค์กรฝ่ายบริหารของประเทศที่มีหน้าที่เกี่ยว ข้องกับการเลือกตั้ง
การช่วยเหลือทางด้านเทคนิค:  (Technical Assistance)
ประเทศต่างๆสามารถร้องขอความช่วยเหลือกับองค์กรที่มีอำนาจภายในประเทศของตน ซึ่งเป็นผู้ดูแลในการเลือกตั้ง งานและหน้าที่ของกองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติในด้านนี้มีความเกี่ยวข้องกับ:
  • การให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับการปฎิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมไปถึงกระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าคะแนนเสียงที่ลงไปนั้นได้รับการอารักขาเป็นอย่างดี
  • การให้การสนับสนุนทางด้านการส่งกำลังบำรุง เป็นต้นว่า การแจกจ่ายสัมภาระต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบัตรเลือกตั้ง หรือหีบเลือกตั้ง
  • การ ให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ข้อมูลกับประชาชน และให้ความรู้กับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติที่มีอยู่ตามพันธกิจภายในพื้นที่ รวมไปถึง การใช้วิทยุออกอากาศ

ตัวอย่างเช่นการทำประชามติเรื่องเอกราชของประเทศซูดานใต้ (
South Sudan) ได้เกิดขึ้นอย่างสงบสุขตามตารางเวลาที่กำหนดไว้เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2554 โดยเสียงส่วนใหญ่อย่างล้นหลามเป็นจำนวน 98.83 % ของผู้ที่มาออกเสียงเลือกตั้งได้ลงคะแนนให้ประเทศของตนเองเป็นอิสรภาพได้ 
ทางการของประเทศซูดานเป็นผู้รับผิดชอบต่อกระบวนการการทำประชามตินี้ด้วยการให้ การปฎิบัติภารกิจขององค์การสหประชาชาติในประเทศซูดาน - United Nations Mission in Sudan (UNMIS) ทำงานร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ - UN Development Programme (UNDP) และ กรมกิจการทางการเมือง - Department of Political Affairs  (DPA) เพื่อให้การสนับสนุน ซึ่งรวมไปถึงการพิมพ์และแจกจ่ายบัตรเลือกตั้งเป็นจำนวนมากกว่า 10 ล้านใบ รวมไปถึงการอบรมเตรียมการเจ้าหน้าที่ซึ่งประจำอยู่ที่คูหาเลือกตั้งประมาณ 5,000 คูหา ผู้นำฝ่ายภารกิจและคณะกรรมการระดับสูงนั้น ได้รับการแต่งตั้งโดย เลขาธิการใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ - UN Secretary-General) ด้วยการสนับสนุนการเจรจาระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ๆ หลายพรรคของประเทศซูดาน เพื่อป้องกันไม่ให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้น และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับกระบวนการเลือกตั้งอีกด้วย
การสังเกตการณ์ในการเลือกตั้ง : (Election Monitoring)
ในขณะที่การสังเกตการณ์การเลือกตั้งโดยตัวแทนขององค์การสหประชาชาติเป็นสิ่งที่ในปัจจุบันไม่ค่อยเกิดขึ้น องค์การสหประชาชาติจะตอบสนองอย่างเป็นกรณีพิเศษเมื่อได้รับการร้องขอให้ทำการประเมิน รวมไปถึงการรับรองความชอบธรรมของกระบวนการการเลือกตั้ง
ตัวอย่างคือในปี พ.ศ. 2553 หัวหน้าของ ฝ่ายปฎิบัติการรักษาสันติภาพในประเทศโกตติวัวร์ - United Nations Operation in Côte D’Ivoire (UNOCI) ได้ถูกร้องขอให้ทำการรับรองความถูกต้องในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศ (Certify the Presidential Elections)
การจัดระเบียบองค์กรและการดูแลการเลือกตั้ง : (Organization and Supervision of Elections)
มีเหตุการณ์ในอดีตหลายครั้งที่องค์การสหประชาชาติมีอำนาจอย่างเต็มที่ต่อการจัดระเบียบองค์กรของการเลือกตั้งในประเทศหรือรัฐภาคี ตัวอย่างเช่น ภารกิจการรักษาสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ ได้แสดงบทบาทอันสำคัญในประเทศต่างๆ ดังนี้:
  • ประเทศกัมพูชา (Cambodia): (ปี พ.ศ. 2535-2536) องค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในประเทศกัมพูชา - The United Nations Transitional Authority in Cambodia (UNTAC)ได้กำกับดูแลการรณรงค์เลือกตั้งและการลงทะเบียนของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง รวมไปถึงการเลือกตั้งซึ่งเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536  ประชากรจำนวน 4.2 ล้านคน หรือเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของบุคคลที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด ได้กาบัตรลงคะแนนเพื่อทำการเลือกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (Constituent Assembly)
  •  
  • หัวหน้าขององค์กรบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในประเทศกัมพูชาประกาศว่า การเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์และยุติธรรม  ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 รัฐธรรมนูญของประเทศได้ถูกประกาศใช้และรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีสองคนได้เริ่มปฎิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ
  • ประเทศติมอร์-เลสเต (Timor-Leste): (ปี พ.ศ. 2544) องค์การ บริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก - The United Nations Transitional Administration in East Timor (UNTAET) ได้จัดระเบียบการเลือกตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาสองปีหลังจากที่ประชาชนในติมอร์ตะวันออกโหวตให้ดินแดนของตนเองเป็นประเทศเอกราช การเลือกตั้งเป็นการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 88 คนซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่เขียนและนำเอารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้ามาใช้ รวมไปถึงการก่อตั้งโครงสร้างเกี่ยวกับการเลือกตั้งของครั้งต่อๆ ไปในอนาคต และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศเอกราชอย่างสมบูรณ์
การเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านมาไม่นานนี้ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ: (Recent Elections Supported by UN Peacekeeping)
แผนที่ฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า องค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสุนต่อการเลือกตั้งต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก
ท่านสามารถคลิ๊กที่  ลิ้งค์นี้ เพื่อจะเห็นภาพขยายของแผนที่เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือในการเลือกตั้ง โดยกองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ 
การทำงานอย่างเป็นพันธมิตร (Partnerships) เพื่อสร้างความมั่นใจให้การเลือกตั้งมีความสงบและน่าเชื่อถือได้(Partnerships to Ensure Peaceful and Credible Elections)
กองกำลังรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติทำงานร่วมกันอย่างเป็นพันธมิตรกับองค์กรอื่นๆ รวมไปถึงบางส่วนภายในขององค์การสหประชาชาติเอง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการเลือกตั้งจะได้รับความน่าเชื่อถือและมีความโปร่งใส
องค์ประกอบของการเลือกตั้งในส่วนของภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อยนั้น จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ หน่วยให้ความช่วยเหลือการเลือกตั้งขององค์การสหประชาชาติ - UN Electoral Assistance Division (EAD) ของ กรมกิจการทางการเมือง - Department of Political Affairs (DPA)
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เสนอความช่วยเหลือทางด้านยุทธศาสตร์ตลอดระยะเวลาของการเลือกตั้งทั้งหมด ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเพื่อแก้ไขปัญหาข้อ พิพาทต่างๆ หลังจากที่การนับคะแนนได้สิ้นสุดลงไปแล้ว
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นองค์การสหประชาชาติได้ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งมาแล้วมากกว่า 100 ประเทศในระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา
ความเห็นของผู้แปล
ในเวลานี้การสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดความวุ่นวาย ความรุนแรง ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำลายกระบวนการเลือกตั้งที่เป็นหลักสากลของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่ทางฝ่ายรัฐบาลไทย สามารถร้องขอเพื่อให้องค์การสหประชาชาติส่งความช่วยเหลือเข้ามาได้ ตามหน้าที่ในสนธิสัญญาของความเป็นสมาชิกในรัฐภาคี
เรื่องนี้รวมไปถึงการใช้กองกำลังทางการทหารเพื่อปกป้องทุจริตและสร้างความบริสุทธิ์ยุติธรรมให้กับการเลือกตั้ง เพราะหากมีการก่อความไม่สงบเกิดขึ้นเจ้าหน้าที่ทหารขององค์การสหประชาชาติก็จะปฎิบัติตามกฎหมายสากลที่ใช้กันทั่วโลกทันที
กองกำลัง รักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติมีประสบการณ์ในการดำเนินการกับการก่อกวน หรือสร้างความวุ่นวายต่อการเลือกตั้งมาเป็นเวลานานพอสมควร และเมื่อมีกองกำลังเหล่านี้เข้ามาช่วยเหลือในการปฎิบัติงานร่วมกับรัฐบาลใน รัฐภาคีย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า กระบวนการเลือกตั้งแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไรในสายตาของทั่วทุกมุมโลก และโดยส่วนตัวดิฉันเชื่อมั่นว่า ถ้ามีการสร้างความวุ่นวายเกิดขึ้นเจ้าหน้าที่ทหารขององค์การสหประชาชาติ ก็จะปฎิบัติตามหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาเพราะใช้มาตรฐานเดียวกันทั่วทุกมุมโลก 
ประชาชน ผู้รักความสงบส่วนใหญ่ในประเทศได้แต่เฝ้ารอว่าเมื่อไรทางฝ่ายรัฐบาลไทยจะส่ง หนังสือร้องขอให้ทางองค์การสหประชาชาติเข้ามาสนับสนุน และเป็นสักขีพยานในการเลือกตั้งเสียที...
เชิญแชร์บทความได้ตามสบายค่ะ
 
หมายเหตุ บทความนี้ปรากฏอยู่ที่ https://www.facebook.com/notes/tanya-nahathai/เรื่องแปล-การให้ความช่วยเหลือด้านการเลือกตั้งขององค์การสหประชาชาติ/563139797101538 และขอขอบคุณ Doungchampa Spencer ที่กรุณาให้คำแนะนำ

บุคคลอัปรีย์2556:เทือกชั่วไร้ที่ติผงาดโค่นแชมป์เก่า

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
30 ธันวาคม 2556

ท่านผู้อ่านไทยอีนิวส์โหวตให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ คว้าตำแหน่ง"บุคคลอัปรีย์"ประจำปี 2556 เป็นเอกฉันท์ โค่นแชมป์เก่าแบบไม่เห็นฝุ่น
เป็นธรรมเนียมของสำนักข่าวต่างประเทศและในประเทศที่จะจัดให้มี"บุคคลแห่ง ปี"ที่ทรงอิทธิพลในด้านต่างๆ ส่วนไทยอีนิวส์ได้มีธรรมเนียมประกาศผล"บุคคลอัปรีย์"ต่อเนื่องมาจากปีพ. ศ.2552 เป็นต้นมา และปีนี้เราได้ให้ท่านผู้่อ่านเป็นผู้ตัดสิน ด้วยการเปิดให้โหวต ปรากฎว่ามีท่านผู้อ่านร่วมโหวตจำนวนทั้งสิ้น 7,367 โหวต ระหว่างช่วงวันที่ 9 ถึง 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ผลปรากฎเป็นดังนี้

บุคคลอัีปรีย์แห่งปี พ.ศ.2556 ได้แก่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้รับการยกย่องจากท่านผู้อ่านไทยอีนิวส์จำนวนมากถึง 3,271 โหวต คิดเป็น 44.4% ของผู้ลงคะแนนโหวต

ทิ้งห่างอันดับที่ 2 ที่เป็นแชมป์เก่าคือ"ไอ้เหี้ยสั่งฆ่าอีห่าสั่งยิง" ที่ได้เพียง 21.7 % ตามมาด้วยอันดับ 3 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 16.1% อันดับ4 ทักษิณ ชินวัตร 10.4% ส่วนนายกรัฐมนตรีรักษาการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รั้งท้าย ได้คะแนนโหวตเพียง 6.5%เท่านั้น

ผลงานอัปรีย์ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในปีนี้น่าจะโดดเด่นเป็นพิเศษทำให้อันดับของเขาพุ่งทะยานแบบก้าวกระโดดขึ้น มาจากที่เคยได้คะแนนโหวตบุคคลอัปรีย์ของปีที่แล้วเพียง 3 % ก้าวขึ้นมาโค่นแชมป์เก่า"ไอ้เหี้ยสั่งฆ่าอีห่าสั่งยิง"ที่เคยได้คะแนนสูง ลิ่วในปีกลายถึง 67% (หล่นมาอยู่อันดับสองได้เพียง21.7%ในปีนี้)

สุเทพ จบรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นรุ่นพี่ของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เขาเริ่มผลงานอัปรีย์ นับตั้งแต่วัยนักศึกษา ด้วยการเก็บเงินนักศึกษามช.ทำหนังสืือรุ่น แล้วก็อม จนได้ฉายาว่า"สุเทพ แดกตะบัน"

สืบทอดตำแหน่งกำนันตำบลท่าสะท้อน อ.พุนพิน สุราษฎร์ธานีต่อจากพ่อ ก่อนลงสมัครส.ส.ในนามพรรคประชาธิปัตย์หนแรกในปี2522 จากนั้นก็มีผลงานอัปรีย์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างพอสังเขป

*ผลงานอัปรีย์สปก.4-01
*ผลงานโรงพักร้างหมื่นล้าน
*ผลงานน้ำมันปาล์มขาดตลาดต้องเข้าคิวซื้อ
*ผลงานจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ในค่ายทหาร
*ผลงานสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยปี2553เกือบ100ศพ แล้วโยนบาปให้ชายชุดดำ ทั้งที่ใครก็รู้ว่าชายตัวดำใจดำเป็นผู้รับผิดชอบต่อการสังหาร
*ผลงานก่อม็อบ"มวลมหาชน"ซึ่งสำนักข่าวต่างประเทศบอกว่ามามากที่สุดก็ราว 160,000คน แต่นายสุเทพอ้างว่ามีผู้เข้าชุมนุมมากถึง6ล้านคนแบบหน้าไม่อาย
*ก่อผลงานต่อต้านขัดขวางการเลือกตั้ง2กพ.57 แต่ทำท่าไม่มีผล เพราะมีแค่8จังหวัดปักษ์ใต้ภายใต้ิอิทธิพลของสุเทพเท่านั้นที่ขัดขวางเลือก ตั้งสำเร็จ แต่อีก70จังหวัดที่เหลือทั่วประเทศยังเดิืนหน้าเลือกตั้งตามวิถีทาง ประชาธิปไตย
*ประกาศอย่างอหังการว่าหลังปีใหม่2557จะปิดเมืองยึดกรุงเทพฯ ไม่ให้รถออกจากบ้านได้ ใครไม่เห็นด้วยให้อพยพไปต่างจังหวัด เอาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นตัวประกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการเมืองให้รุ่น น้องมช.ลาออกจากตำแหน่งนายกฯรักษาการ
*กาลข้างหน้า ชายผู้นี้ยังจะมีเรื่องอัปรีย์อีกนับไม่ถ้วน ตราบที่แผ่นดินยังไม่กลบหน้า

เทพเทือกจึงเหมาะสมทุกประการกับตำแหน่งบุคคลอัปรีย์แห่งปี2556 ด้วยประการฉะนี้


กำนันสุเทพผงาดโค่นแชมป์เก่า


ส่วนผลโหวตหาบุคคลอัปรีย์ประจำปีกลาย (2555)ที่จัดทำโดยไทยอีนิวส์ มีผู้ลงคะแนนโหวตทั้งสิ้น 2,897 ท่าน ผลโหวตเป็นดังนี้ 


-ไอ้เหี้ยสั่งฆ่า อีห่าสั่งยิง 1946 คน (67%)
-ธาริต เพ็งดิษฐ์ 195 คน(6%)
-จรัญ,ชัช,ศาลรัฐธรรมนูญ 122 คน (4%)
-เนวิน ชิดชอบ+ภูมิใจไทย 120 คน(4%)
-คญ.จารุวรรณ เมณฑะกา 103 คน(3%)
-สุเทพ เทือกสุบรรณ 100 (3%)
-ทักษิณ ชินวัตร 83 (2%)
-ประยุทธ์ จันทร์โอชา 62 (2%)
-สนธิ ลิ้ม+พันธมิตร 60 (2%)
-สรรเสริญ แก้วกำเนิด 35 (1%)
-3เกลอ+แกนนำนปช. 30 (1%)
-ตุลย์ สิทธิสมวงศ์+สลิ่ม 13 (0%)
-อานันท์+ประเวศ กก.ปฏิรูปฯ 9 (0%)
-อื่นๆ 19 (0%)

"ไอ้ เหี้ยสั่งฆ่า อีห่าสั่งยิง"เป็นคำขวัญที่คนเสื้อแดง เคยใช้ตะโกนในที่ชุมนุมรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สังหารหมู่เดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553 
แต่ทว่าใครคือ"ไอ้เหี้ยกับอีห่า"?..ดูยังเป็นปริศนาจนบัดนี้

ข่าวในจินตนาการ : Fight rages in Bangkok, here ASEAN chief says war crimes being committed.

ที่มา Thai E-News


หมายเหตุ: คุณว่าน สี่ทิศ ได้ส่งบทความข่าวเชิงจินตนาการ กรณีหากประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสงครามกลางเมือง หากมีการยึดอำนาจรัฐประหาร หรือการประท้วงปิดกรุงเทพฯอย่างยาวนาน หรือมีการกระทำการปฏิวัติด้วยตุลาการภิวัฒน์ หรือผ่านองค์กรอิสระ หรือมีการยึดอำนาจประชาชนด้วยการเลื่อนเลือกตั้ง หรือเหตุการณ์ในช่วงต่อของราชกาลซึ่งมีความไม่มั่นคงสูง

Fight rages in Bangkok, here ASEAN chief says war crimes being committed.

From Vahn Citis, VNN
July 29, 2014 -- Updated 2349 GMT (0749 HKT)


Are you in Thailand? Share your stories, videos and photos with the world on VNN iReport.

Bangkok (VNN) – Thailand’s Military regime troops at a besieged military base just north of Bangkok fired out in three directions on Sunday in the face of a rebel onslaught, part of a high-stakes battle for a city where a top regional leader claimed war crimes are being committed.

For days, anti-junta rebel forces have been trying to take over the northern district Bangkok near Don Muang Airport, where many residents appear to support their cause, only to be answered by fierce fighting by the royalist military.

The fight for the military base is one of many hotspots of violence raging around the Rangsit campus of Thammasat University, which is now the home base of the former elected government, deposed by the military coup. The coup last year was staged at the call from Bangkok’s elite protestors under their cult leader and the presently coup-installed Prime Minister, Mr. Sudev Thugsuban.




VNN's Vahn Citis inside Thailand

Yet it is indicative, in many ways, of what's going on, with the rebels attacking from seemingly many different directions and scores of royalist troops inside firing back furiously with machine guns -- oftentimes straight into neighboring communities. Rockets and shells routinely land in residential communities, many of which are largely deserted as civilians flee the area.

On Sunday, Bangkokians continued to use motorcycles, cars and whatever other means to escape the city. They are among the roughly 6 million people in Bangkok and surrounding areas to flee shelling and heavy weapon fire over the past two days, according to Mary Izel, the U.N.'s under-secretary-general for humanitarian affairs.

Rebels move onto Bangkok battlefield
Meanwhile, Dr. Seree Wongkatha, the foreign minister of the military regime decried what he called a "vicious" international plot against the military regime.

"I can tell you that we are facing a global war against Thailand, and as a proud Thai I can tell you that it is a great honor to be part of a great country that is facing a ferocious attack by the rest of the world," he told reporters in Pyongyang after a meeting with his North Korean counterpart. Wongkata also described "a conspiracy against Thailand" by the United States and the rest of ASEAN countries.
North Korea Foreign Minister said. "We call upon the people of the region to be fully aware and not to move in the wrong direction, because there will be severe consequences that will go beyond the borders of the region to the outside world."

The Thai crisis started in January 2014, after the military staged a coup against the democratically elected government, following the call from Sudev’s led elite protests in Bangkok. The coup encountered a wide spread resistance from democratic-minded people, many are grass-roots in all corners of Thailand, including its capital - Bangkok. More than 20,000 people, mostly civilians, have since died in the crackdown by the military junta.

(This document is an imaginary mock-up VNN report if civil war ever erupts in Thailand as a result of today’s political divide. It is meant to serve as a precaution to all conflicting parties and their supporters - 28 December 2013)

ภาพพระราชกรณียกิจพระองค์เจ้าจุฬาภรณ์ฯ ทางพระอินสตราแกรม

ที่มา Thai E-News








ทรงเสด็จผ่าตัดฟันสุนัขที่ทรงเลี้ยงไว้ ที่ ม. เกษตร เมื่อวาน
ความเห็นจาก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
วันก่อนที่ผมโพสต์ภาพจาก Instagram ของพระองค์ ที่ทรงประดับพระเกศาด้วยสีธงชาติ โดยผมบอกว่าสำคัญ (แม้จะคอมเม้นท์อะไรไม่ได้) บางคนก็มาบอกว่า ไม่มีอะไร

ภาพนี้เป็นภาพจากการที่ทรงเสด็จช่วยผ่าตัดสุนัขที่ม.เกษตรเมื่อวาน (ตามข่าว 2 ทุ่มที่ผมดูประจำ ตัวหนึ่งเป็นสุนัขทรงเลี้ยง มาผ่าตัดฟัน)

ความจริงผมเห็นภาพหนึ่งจากการเสด็จช่วยผ่าตัดนี้ตั้งแต่เมื่อวานตอนกลางวัน มีเพื่อนบางคนแชร์ และตั้งข้อสังเกตเรื่องสายรัดข้อพระกร แต่ภาพที่เห็นถ่ายไกลกว่านี้ ไม่ชัด เพิ่งได้ภาพถ่ายระยะใกล้เห็นชัดๆนี้ เลยเอามาให้ดูกัน

สรุปคือ ไม่ใช่ "เรื่องบังเอิญ" อะไรหรอกครับ ช่วงนี้ ท่าน "ทรงโปรดปราน" เครื่องประดับ "ลายธงชาติ" จริงๆน่ะ

ปล. สำหรับคนที่ไม่ได้ติดตามเรื่องเจ้าใกล้ชิด (ไม่เหมือนผมนะ เคยบอกแล้ว ผม "ไม่เป็นกลาง อยู่ข้างในหลวง") ก็ขอบอกไว้เป็นเกร็ดความรู้เล่นๆว่า ตามข้อมูลโทรเลขวิกิลีกส์ คนใกล้ชิดราชสำนักผู้หนึ่งบอกทูตว่า การที่พระราชินีเสด็จงานศพ "น้องโบว์" เมิ่อ 13 ตุลา 51 นั้น ตอนแรกไม่ได้จะเสด็จ แต่ฟ้าหญิง (กับนายแพทย์ชัยชล ในขณะนั้น) เสนอให้เสด็จ

ย้อนรอย 26 ธ.ค. คลิปผู้ชุมนุม ยิงระเบิด ยิงตำรวจและอื่นๆ

ที่่มา Thai E-News

 โดย YoulikeHD





โดย สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย








วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เลือกตั้งแน่ แต่ใครล้มด้วย?

ที่มา Voice TV



ใบตองแห้งออนแอร์ ประจำวันที่ 29 ธันวาคม 2556 
 
คอลัมม์ใบตองแห้งออนแอร์วันนี้ ติดตามบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งคอลัมม์นิสต์ชื่อดังคนนี้ ฟันธงแล้วว่า เลือกตั้งคราวนี้ล้มแน่ แต่อาจมีใครล้มตามไปด้วย
29 ธันวาคม 2556 เวลา 17:19 น.

เข้าแก๊งค์ไหนหัวหน้าตายหมด

ที่มา สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย



เหตุการณ์ที่สนามกีฬาไทยญี่ปุ่นดินแดง
ฉบับเต็มดูได้ที่นี่นะครับ ลงให้แล้ว
http://www.youtube.com/watch?v=0pBUJ3...

 

อาเร็นดท์ของนิธิและมวลชนแบบไทยๆในการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ

ที่มา ประชาไท


ความต่างอย่างสำคัญระหว่างผู้ศึกษาปรัชญา(และทฤษฎี)การเมืองกับผู้ศึกษา ปรัชญาโดยทั่วไปก็คือ ในขณะที่ฝ่ายหลังอาจทุ่มเทสรรพกำลังเพื่อทำความเข้าใจปมปัญหาทางนามธรรมที่ จับต้องได้ยาก ฝ่ายแรกกลับให้ความสำคัญกับแนวคิดที่มิเพียงซับซ้อน ลึกซึ้ง หากยังต้องมีปฏิสัมพันธ์สามารถช่วยให้ผู้คนเข้าใจบริบท สภาพสังคมที่แวดล้อมแนวคิดเหล่านั้นได้ด้วย ปรัชญาและทฤษฎีการเมืองจึงเป็นศาสตร์ที่แม้อาจวางอยู่บนแนวคิดนามธรรมจับ ต้องได้ยาก แต่ก็ยังมุ่งให้ผู้ศึกษาสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆในสังคมได้อย่างแหลมคม ทรงพลัง ด้วยเหตุนี้ บทความของ ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์เรื่อง “มวลมหาประชาชน” ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์มติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา[1] จึงเป็นบทความที่น่าสนใจสำหรับผู้ศึกษาปรัชญาและทฤษฎีการเมืองเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นบทความที่นำเอาแนวคิดทฤษฎีมาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการ เมืองร่วมสมัยได้อย่างหลักแหลม แยบคายแล้ว ยังตอกย้ำถึงพันธกิจของการศึกษาปรัชญาและทฤษฎีการเมือง พันธกิจซึ่งคงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากการไขปริศนาและสร้างความกระจ่าง ต่อปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมทั้งที่เกิดขึ้นไปแล้วในอดีตและที่กำลังเกิดขึ้น ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าหลักใหญ่ใจความสำคัญของบทความเรื่อง “มวลมหาประชาชน” นี้ก็คือการทำความเข้าใจแบบแผนการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ามวล มหาประชาชน โดย อ.นิธิได้ชี้ให้เห็นว่าที่สุดแล้ว มวลมหาประชาชนอันเป็นผลรวม(แบบหยาบๆ) ของมวลชนผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์และชนชั้นกระฎุมพีเมืองกรุงผู้หงุดหงิด กับปัญหาคอรัปชั่นและเกลียดชังอดีตนายกทักษิณ ชิณวัตรนั้น หาใช่อะไรเลยนอกจากการรวมตัวตามแบบซึ่งในทางทฤษฎีเรียกกันว่ามวลชน หรือ Mass ที่มีลักษณะสำคัญคือการเป็นอณูหรือก็คือ:
“ประชาชนทั่วไปที่หลุดพ้นไปจากพันธะทั้งหลายที่เคยมีมา เช่นเครือญาติ, ชุมชน, ท้องถิ่น, ศาสนา, พรรคการเมือง, และแม้แต่ชนชั้น... กลายเป็น...อณูที่ไม่ได้คิดอะไรนอกจากแข่งขันกันในตลาด เพื่อเอาชีวิตรอด มีตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และด้วยเหตุดังนั้นจึงเงียบเหงาเปล่าเปลี่ยวในส่วนลึกของจิตใจ เพราะหาความหมายของชีวิตไม่เจอ”[2]
โดย อ.นิธิยังชี้ให้เห็นว่าในกรณีของไทยนั้น การเกิดขึ้นของอณูดังกล่าวจะสอดคล้องต้องกันกับกระแสของการแสดงออกถึงความจง รักภักดีอย่างล้นเกินต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์คือพันธะเดียวที่ยังเหลืออยู่-และดังนั้นจึงอาจ สร้างความมั่นคงทางจิตใจให้กับ-ชีวิตของอณูเหล่านี้[3]  ในแง่นี้ มวลมหาประชาชน-จากสายตาของ อ.นิธิ-จึงไม่ต่างอะไรกับมวลชนซึ่งเป็นฐานให้กับการเคลื่อนไหวแบบเผด็จการ เบ็ดเสร็จเฉกเช่นเดียวกับลัทธินาซีในเยอรมันหรือเผด็จการฟาสซิสต์ในอิตาลี ที่ขับเคลื่อนด้วยความเชื่อมั่นทางอารมณ์ ความรู้สึกซึ่งไม่พอใจ-จนพร้อมจะล้มล้าง-กลไก สถาบันที่คอยค้ำจุนระเบียบการเมืองปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา กฎหมายหรือกระทั่งรัฐธรรมนูญซึ่งเอื้อให้ความฉ้อฉล(ตามสายตาของพวกเขา)ดำรง อยู่ได้[4]
ชัดเจนว่าข้อวิเคราะห์ของอ.นิธิข้างต้นเป็นข้อวิเคราะห์ภายใต้อิทธิพล จากกรอบทฤษฎีของฮานน่า อาเร็นดท์ (Hannah Arendt) หนึ่งในนักทฤษฎีการเมืองคนสำคัญเมื่อศตวรรษที่แล้ว โดยเฉพาะการแสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างมวลชนกับการเคลื่อนไหวแบบเผด็จ การเบ็ดเสร็จ ทั้งนี้ ในส่วนที่สามของหนังสือเรื่อง กำเนิดเผด็จการเบ็ดเสร็จ หรือ The Origins of Totalitarianism ซึ่ง ตีพิมพ์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดไม่กี่ปี อาเร็นดท์ได้ชี้ให้เห็นว่าการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนั้นไม่มีทางเกิด ขึ้นมาได้หากขาดปัจจัยรองรับสำคัญอย่างการสนับสนุนจากมวลชนซึ่งเป็นกลุ่มคน ที่อาเร็นดท์มองว่าปราศจากสำนึกถึงผลประโยชน์ร่วมทางชนชั้น ขาดความสนใจทางการเมืองอย่างจริงจัง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองกระทั่งอาจไม่เคยไปเลือกตั้งด้วยซ้ำ[5] มวลชนสำหรับอาเร็นดท์จึงเป็นการรวมกลุ่มที่ไม่ได้วางอยู่บนการใช้เหตุผล ครุ่นคิดหรือวางแผนเพื่อต่อรองผลประโยชน์ต่างๆ แต่จะเป็นการรวมกลุ่มที่หล่อเลี้ยงตัวเองด้วยความเชื่อมั่นทางอารมณ์ตลอดจน ความเกลียดชังทางการเมืองเท่านั้น[6]
แต่มวลชนมิได้ดำรงอยู่ในสุญญากาศ แม้มวลชนอาจเป็นหัวใจสำคัญของการเคลื่อนไหวแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ แต่การก่อเกิดขึ้นของมวลชนย่อมต้องถูกกำกับจากเงื่อนไขทางสังคมโดยไม่อาจ หลีกเลี่ยงไปได้ ในแง่นี้ อาเร็นดท์จึงชี้ให้เห็นต่อมาว่าการก่อตัวดังกล่าวของมวลชนนั้น เอาเข้าจริงแล้วคือผลลัพธ์จากความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา พรรคการเมืองและสายสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นที่ไม่สามารถเชื่อมต่อ ประสาน ถ่ายทอดและสร้างผลประโยชน์ร่วมกับผู้คนจำนวนมากจนผลักไสให้พวกเขาเหล่านั้น กลายเป็นอณูอันล่องลอย ไม่สามารถยึดโยงตัวเองเข้ากับกลุ่มก้อนทางการเมืองในระบบปกติ ทำให้กลายเป็นมวลชนผู้อัดแน่นไปด้วยความเกลียดชังต่อระเบียบการเมืองชุดเดิม และไม่ได้มีเป้าหมายอื่นใดนอกจากการทำลายล้างระเบียบดังกล่าวให้สิ้นซากลงไป ในท้ายที่สุด[7] นั่นจึงไม่แปลก ที่อาเร็นดท์จะย้ำให้เห็นว่าการรวมกลุ่มแบบมวลชนนั้นหลักๆแล้วจะเป็นการรวม กลุ่มของเหล่าชนชั้นกระฎุมพีในเมืองใหญ่ผู้ถูกผลักให้หลุดออกจากสายสัมพันธ์ ทางชนชั้นที่คอยเชื่อมโยงและเป็นตัวแทนพวกเขา(รวมทั้งผลประโยชน์ของพวก เขา)ในระบบการเมืองตามปกติ เพราะกระฎุมพีเหล่านี้คือกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสังคมเมืองที่เต็ม ไปด้วยการชิงดีชิงเด่น พึ่งพาได้แต่ตนเอง ไว้ใจใครไม่ได้และมักพบว่าตนเองคือผู้แพ้จากโลกของการแข่งขันอันโหดร้ายจน หมดสิ้นความหวัง ไร้ซึ่งความภาคภูมิใจต่อตนเองและกลายเป็นพาหะแห่งความคั่งแค้นต่อระบบ ระเบียบทุกอย่างไม่เว้นแม้แต่สามัญสำนึกและการใช้เหตุผลขั้นพื้นฐานของตน[8]
โดยไม่จำเป็นต้องประเมินถึงการใช้ทฤษฎีของอาเร็นดท์เพื่ออธิบาย ปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยของอ.นิธิ(ซึ่งทำได้ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว) ลำพังแค่ข้อเสนอข้างต้นของอาเร็นดท์เองก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดโดย เฉพาะการชี้ให้เห็นถึงพลังทางการเมืองอันมหาศาลของมวลชน จริงอยู่ แม้คำอธิบายถึงการดำรงอยู่ของมวลชนอาจไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น เพราะนักปรัชญา/ทฤษฎีจำนวนไม่น้อยต่างก็เคยอธิบายถึงการดำรงอยู่ของมวลชนมา ก่อนแล้ว หากแต่คำอธิบายทางทฤษฎีเหล่านั้นมักเพิกเฉยต่อพลังทางการเมืองของมวลชนราว กับว่ามวลชนเป็นเพียงแค่ฝูงชนอันโง่เขลาที่ปราศจากการครุ่นคิดด้วยปัญญา ไร้รากทางวัฒนธรรมและเสพย์ติดสินค้าบันเทิงอันปราศจากแก่นสารจนเป็นได้แค่ เพียงเหยื่ออันโอชะที่รอคอยการกดขี่ขูดรีดจากชนชั้นปกครองและระบอบทุนนิยม ซ้ำแล้วซ้ำเล่า[9] ด้วยเหตุนี้ คำอธิบายของอาเร็นดท์ที่ชี้ให้เห็น
ถึงผลลัพธ์จากความกระตือรือร้นทางการเมืองอันทรงพลังของมวลชนอย่างการ เคลื่อนไหวแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จจึงเป็นคำอธิบายที่นักทฤษฎีการเมือง นักรัฐศาสตร์ตลอดจนผู้สนใจวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองไม่อาจเพิกเฉย มองข้ามไปได้ โดยเฉพาะบทบาทของความเกลียดชัง(Terror) ที่สำหรับอาเร็นดท์แล้ว คือแรงผลักสำคัญต่อการรวมกลุ่มและแสดงออกอันคลุ้มคลั่งของมวลชน ในแง่นี้ นอกจากการรวมกลุ่มของมวลชน อีกเงื่อนไขหนึ่งที่คอยรองรับการก่อตัวของเผด็จการเบ็ดเสร็จจึงเป็นอย่าง อื่นไปไม่ได้นอกจากความเกลียดชังซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น ปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกของมวลชนอย่างสม่ำเสมอ[10]
นั่นจึงไม่แปลกที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จจะตั้ง อยู่บนการสร้างศัตรูร่วมในจินตนาการทุกครั้ง สำหรับอาเร็นดท์แล้วประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าศัตรูร่วมดังกล่าวมีตัวตน ดำรงอยู่จริงหรือไม่ เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าก็คือการกระตุ้น ปลุกเร้าความรู้สึกเกลียดชังของมวลชนให้พร้อมออกมาต่อสู้ ทำลายล้าง “เป้าหมาย” เหล่านั้นให้สิ้นซากต่างหาก[11]  (แม้ในหลายๆครั้งศัตรูที่กล่าวมานี้อาจเป็นเพียงแค่จินตนาการหาได้ต้องตรง กับความเป็นจริงแต่อย่างใด) ทั้งกำเนิดของลัทธินาซีซึ่งด้านหนึ่งอาศัยพลพวงจากความเกลียดชังชาวยิวของคน เยอรมันในขณะนั้น หรือการครองอำนาจของโจเซฟ สตาลินที่ใช้ความกลัวจากการปั้นแต่งให้ผู้คนที่มีทัศนะแตกต่างจากตนกลายเป็น ศัตรูของพรรคและต้องถูก “จัดการ” ให้หมดสิ้น ในแง่นี้ การทำความเข้าใจถึงการดำรงอยู่ของมวลมหาประชาชนจึงมิเพียงแต่ต้องทำความเข้า ใจลักษณะเชิงสังคมวิทยาของผู้เข้าร่วม หากแต่ยังต้องชี้ให้เห็นถึงความเกลียดชังในฐานะแรงผลักที่คอยปลุกเร้าและ หล่อเลี้ยงการดำรงอยู่ของพวกเขาเหล่านี้ ซึ่งอาจารย์นิธิก็ไม่พลาดที่จะชี้ให้เห็นประเด็นดังกล่าว(แม้อาจไม่ได้กล่าว อย่างตรงไปตรงมานัก)ดังเนื้อหาในบทความที่ว่า:
“จำนวนมากของผู้ที่ร่วมใน "มวลมหาประชาชน" ของคุณสุเทพ...ไม่ได้เข้าร่วมเพราะวาทศิลป์ของคุณสุเทพ... หากร่วมเพราะเป็นความเชื่อมั่น (conviction) ทางอารมณ์และความรู้สึก นั่นคือเป็นการตอบสนองต่อสภาวะอันไม่น่าพอใจที่ตนได้ประสบมาในชีวิตของสังคม อณูที่ไร้ความผูกพันใดๆ ซ้ำเป็นสภาวะที่ตนมองไม่เห็นทางออกอีกด้วย คุณยิ่งลักษณ์, พรรคเพื่อไทย หรือคุณทักษิณ เป็นเหยื่อรูปธรรมของความเชื่อมั่นทางอารมณ์และความรู้สึกนั้น สักวันหนึ่งข้างหน้า เหยื่อรูปธรรมจะเปลี่ยนเป็นคนอื่นได้หรือไม่ ผมมั่นใจว่าเปลี่ยนได้ อาจเป็นกองทัพ, สถาบันต่างๆ เช่นตุลาการ, หรือศาสนา หรืออะไรอื่นได้อีกหลายอย่าง...เพราะการเมืองมวลชนเชิงเผด็จการเบ็ดเสร็จย่อมต้องสร้างศัตรูขึ้นเป็นเป้าแห่งความเกลียดชังเสมอ”[12]
อย่างไรก็ตาม แม้การนำทฤษฎีของอาเร็นดท์มาใช้อธิบายการดำรงอยู่ของมวลมหาชนข้างต้น อาจเต็มไปด้วยความแม่นยำ น่าชื่นชม แต่การใช้ทฤษฎีดังกล่าวก็กลับสร้างความลักลั่นในระดับทฤษฎีอย่างไม่อาจหลีก เลี่ยงไปได้ เพราะมวลมหาประชาชนตามคำอธิบายของ อ.นิธินั้น หากกล่าวอย่างถึงที่สุดก็คือการรวมกลุ่มซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ชนชั้นกระฎุม พีเมืองกรุงเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วกลับคือ “เสียงข้างน้อย” เมื่อเทียบกับจำนวนของพลเมืองไทยทั้งสังคม มวลมหาประชาชนตามคำอธิบายของ อ.นิธิจึงเป็นขบวนการเคลื่อนไหวของเสียงข้างน้อย หากเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จก็ย่อมจะต้องเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยเสียงข้าง น้อยดังที่ อ.นิธิได้เขียนว่า
“การกล่าวว่าม็อบคุณสุเทพคือ เผด็จการของเสียงข้างน้อย ถูกเป๊ะตรงเป้าเลย และน่าจะถูกใจม็อบด้วย ก็เคลื่อนไหวทั้งหมดมาก็เพราะต้องการเป็นเผด็จการของเสียงข้างน้อย เหมือนเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ เผด็จการของอารยันบริสุทธิ์ เผด็จการของคนดี...เผด็จการเบ็ดเสร็จที่ไหนๆ ก็ทำลายหลักการเสียงข้างมากของประชาธิปไตยทั้งนั้น เสียงข้างมากที่ถือว่าทุกคนเท่าเทียมกันทางการเมืองนั่นแหละคือ ตัวปัญหา เพราะทุกคนไม่ควรเท่าเทียมกันทางการเมือง ในเมื่อมีการศึกษาต่างกัน ถือหุ้นในประเทศไม่เท่ากัน และเห็นแก่ส่วนรวมไม่เท่ากัน คนที่ยอมกลืนตัวให้หายไปใน "มวลมหาประชาชน" จะเท่าเทียมกับคนอื่นซึ่งมัวแต่ห่วงใยกับประโยชน์ของตนเองและลูกเมียได้ อย่างไร”
แน่นอน หากพิจารณาจากประสบการณ์ทางการเมืองที่แต่ละคนคุ้นชิน คงไม่มีใครปฏิเสธว่า มวลมหาประชาชนดังกล่าว-หากคือการรวมกลุ่มที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นชนชั้นกระฎุมพี ดังที่ อ.นิธิวิเคราะห์-คือการเคลื่อนไหวของเสียงข้างน้อย กระนั้น เมื่อพิจารณาการรวมกลุ่มตรงนี้ผ่านแว่นตาทางทฤษฎีที่มีชื่อว่า “มวลชน” คำอธิบายของ อ.นิธิก็กลับเกิดปัญหาในระดับทฤษฎีขึ้นมาโดยทันที เพราะถ้ามวลชนคือกรอบทฤษฎีที่ อ.นิธิใช้วิเคราะห์การรวมกลุ่มของมวลมหาประชาชน และถ้ามวลมหาประชาชนคือเสียงข้างน้อยของสังคม นั่นก็เท่ากับ อ.นิธิกำลังกล่าวว่ามวลชนคือเสียงข้างน้อยของสังคมตามไปด้วย ซึ่งผู้ศึกษาทางด้านปรัชญาหรือทฤษฎีการเมืองคงต้องรู้สึกแปลกแปร่งเป็นแน่ ยิ่งเมื่อพิจารณาถึงพัฒนาการทางความคิดของโลกตะวันตก(ซึ่งให้กำเนิดแนวคิด เรื่องมวลชน) ด้วยแล้ว ก็จะพบว่า “มวลชน” นั้นมิเพียงแต่ไม่สอดคล้องกับ “เสียงข้างน้อย” หากแต่ยังมีสถานะเคียงคู่กระทั่งเป็นคำที่ใช้แทน “เสียงข้างมาก” มากกว่า อันที่จริงการกล่าวถึงมวลชนในโลกตะวันตกยังมีนัยยะส่อถึงภัยคุมคามต่อการ ดำรงอยู่ของเสียงข้างน้อยด้วยซ้ำ[13] แม้แต่ อาเร็นดท์ในทฤษฎีที่ อ.นิธิใช้เองก็ยังไม่กล้าที่จะสรุปแบบ อ.นิธิว่ามวลชนคือเสียงข้างน้อย ใกล้เคียงที่สุดก็แค่กล่าวว่ามวลชนซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวเชิง เผด็จการเบ็ดเสร็จนั้นหาได้นำมาสู่การจัดตั้งรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จที่สามารถ กำกับครอบงำผู้คนได้ทั้งสังคม[14] (หรือพูดง่ายๆคือมวลชนไม่เท่ากับคนทั้งสังคม แต่การไม่เท่ากับคนทั้งสังคมย่อมมิได้ทำให้มวลชนเท่ากับเสียงข้างน้อยเป็น แน่) ดังนั้นหากพิจารณาจากสายตาทางทฤษฎี แม้การวิเคราะห์ทำความเข้าใจมวลมหาประชาชนของ อ.นิธิ อาจเป็นการวิเคราะห์ที่แหลมคม ทรงพลัง แต่พร้อมๆกันนั้น การวิเคราะห์ดังกล่าวก็กลับเต็มไปด้วยความพิลึกพิลั่นโลดโผนพิสดารไม่น้อยที เดียว
กระนั้น การกล่าวข้างต้นนี้ย่อมมิได้มีเป้าประสงค์ที่จะโจมตี อ.นิธิ ว่าใช้ทฤษฎีผิดหรือมองไม่เห็นความลักลั่นจากการใช้ทฤษฎีของตน เพราะข้อจำกัดประการหนึ่งที่ผู้ศึกษาปรัชญาและทฤษฎีการเมืองสมควรตระหนักก็ คือ ทุกๆทฤษฎี-ไม่ว่าจะยอมรับหรือไม่-ต่างก็วางอยู่บนประสบการณ์ทางสังคมและการ เมืองภายใต้บริบท พื้นที่และห้วงเวลาที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ทฤษฎีของอาเร็นดท์ซึ่งตั้งอยู่บนประสบการณ์ทางการเมืองภายใต้ บริบทของยุโรปช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่แล้วที่อาจสัมพันธ์กับพัฒนาการทาง ภูมิปัญญาของโลกตะวันตกเท่านั้น[15] การนำทฤษฎีมาอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมจึงย่อมต้องได้รับการปรับแต่งไม่ มากก็น้อย หาไม่แล้ว ทฤษฎีก็คงเป็นได้แค่บทเรียนทางสังคมที่สรุปจากบริบทและห้วงเวลาหนึ่งๆโดยไม่ อาจก้าวข้ามไปสร้างความกระจ่างให้กับปรากฏการณ์ทางสังคมในบริบทอื่นๆได้เลย ในแง่นี้ ความน่าสนใจในการวิเคราะห์ทำความเข้าใจมวลมหาประชาชนของ อ.นิธิ จึงมีได้เพียงแค่วางอยู่บนการนำทฤษฎีตะวันตกมาปรับใช้วิเคราะห์ปรากฏการณ์ ทางการเมืองไทยอย่างมีประสิทธิภาพ หากแต่ยังอาจสร้างบทสนทนาทางทฤษฎีเพื่อสร้างความเป็นไปได้ให้ทฤษฎีดังกล่าว สามารถปรับระดับ ก้าวข้ามเพดานที่เคยจำกัดขอบเขตของตัวมันเองตามไปด้วย โดยเฉพาะแนวคิดเรื่อง “มวลชน” ที่แม้ในโลกตะวันตกอาจมีนัยหมายถึง “เสียงข้างมาก” แต่เมื่อได้รับการปรับแต่งเพื่ออธิบายสังคมการเมืองไทยแล้ว มวลชน(แบบไทยๆ)ก็อาจไม่ใช่อะไรเลยนอกจากการรวมกลุ่มของชนชั้นกระฎุมพี เมืองกรุงเอง
ว่าไปแล้ว ความพยายามในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นกระฎุมพีเมืองกรุงกับการ เคลื่อนไหวแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จในไทยนั้น ก็หาใช่การค้นพบที่แปลกใหม่แต่อย่างใด เพราะอย่างน้อยที่สุด เบเนดิก แอนเดอร์สัน(Benedict Anderson) นักรัฐศาสตร์ชื่อดังก็เคยชี้ให้เห็นเงื่อนปมความสัมพันธ์ดังกล่าวในบท ความ-ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงปัจจัยที่นำมาสู่เหตุการณ์ “ฆาตกรรมแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 6 ตุลา 2519-เรื่อง “บ้านเมืองของเราลงแดง: แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม” โดย อ.แอนเดอร์สันได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างชนชั้นใหม่ อย่างกระฎุมพีกับการก่อความรุนแรงในเหตุการณ์ 6 ตุลาทั้งในรูปของผู้กระทำการ(ผ่านสายสัมพันธ์กับกลุ่มกระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้านตลอดไปจนถึงข้าราชการท้องถิ่น) และในรูปของเสียงโห่ร้อง สนับสนุนให้เกิดการปราบปรามขบวนการนักศึกษาในครั้งนั้น[16] ทั้งนี้ อ.แอนเดอร์สันได้วิเคราะห์ว่าการที่ชนชั้นกระฎุมพีสนับสนุนกระทั่งลุกขึ้นมา ก่อความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าวคือผลโดยตรงของความความเกลียดชังในหมู่พวก เขาซึ่งก่อตัวอยู่บนอาการวิตกจริต ไม่มั่นใจกับอนาคตที่จะมาถึงโดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความโกลาหลทาง เศรษฐกิจและการเมืองไม่ว่าจะเป็นภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในพ.ศ. 2517 เสรีภาพอันล้นเกินของกลุ่มนักศึกษาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาหรือการรุกคืบของลัทธิคอมมิวนิสต์ จนทำให้ชนชั้นใหม่นี้-ซึ่งโดยตัวมันเองเป็นอณูอันล่องลอย ไม่อาจเชื่อมต่อเข้ากับความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นในอดีต-ต้องหันกลับไปยึด โยงตนเองเข้ากับสถาบันกษัตริย์ในฐานะพันธะเดียวที่ช่วยปลอบประโลมและสร้าง ความมั่นคงทางใจให้กับพวกเขาพร้อมๆกับเร่งเร้าความเคียดแค้นชิงชังที่มีต่อ ขบวนการนักศึกษาซึ่ง-ในสายตาของกระฎุมพีเหล่านี้แล้ว- คือผู้ทรยศ ไม่จงรักภักดีกระทั่งเป็นข้าศึกที่ควรต้องถูกชะล้างให้หมดสิ้นไป ดังย่อหน้าที่ว่า:
“ถึงตรงนี้ก็คงเป็นที่เข้าใจได้ชัดขึ้นว่า เพียงไม่นานหลังจากมีการตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยเสรีนิยม มีการยกเลิกระบบเซ็นเซอร์ การตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็เริ่มขึ้น ไม่ใช่เพราะว่ากลุ่มผู้ปกครองโกรธแค้นนักศึกษา นักพูดหัวรุนแรงเท่านั้น แต่เป็นเพราะกระบวนการอันต่อเนื่องของวิกฤติสังคมไทยทั้งหมด เริ่มตกผลึกรอบๆสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ การสิ้นสุดของเศรษฐกิจบูมที่มีมายาว ความหงุดหงิดอย่างคาดไม่ถึงที่เกิดจากการขยายการศึกษาอย่างรวดเร็ว ความขัดแย้งระหว่างวัย และความวิตกที่เกิดการการถอนตัวทางยุทธศาสตร์ของอเมริกา รวมทั้งผู้นำทหารที่หมดความน่าเชื่อถือ วิกฤติต่างๆที่ผูกโยงกันอยู่นี้เป็นประสบการณ์ที่หนักหน่วง สำหรับพวกกระฎุมพีใหม่ พวกชนชั้นใหม่นี้นั้นถือว่าสถาบันกษัตริย์เป็นทั้งหลักชัยและเกราะคุ้มกัน ทางจิตใจ รากลึกทางประวัติศาสตร์และความมั่นคงของสถาบันดูจะเป็นของขลังกั้นยันความ ไร้ระเบียบและความพินาศให้ และไม่ว่าจะมีความเลวร้ายของชีวิต หรือการที่ต้องพึ่งพิงทั้งทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจต่อชาวต่างชาติจะเป็นเช่น ไรก็ตาม สมาชิกของชนชั้นนี้ก็รู้สึกว่าความเป็นชาตินิยมของตัวตนนั้น ประกันได้ด้วยความจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ ซึ่งถือว่าเป็นองค์รวมของมรดกชาติ ดังนั้น การโจมตีใดๆต่อสิทธิอันชอบธรรมของราชบัลลังก์ ไม่ว่าจะเป็นโดยอ้อมก็ตาม จะเป็นที่รู้สึกได้เลยว่าคุกคามต่อเกราะคุ้มกันนั้น”[17]
น่าสนใจว่าขณะที่มวลชนโดยทั่วไป(หรืออย่างน้อยในโลกตะวันตก) อาจสัมพันธ์กับกลุ่มคนผู้ผูกขาดเสียงข้างมาก มวลชนแบบไทยๆกลับคือชนชั้นกระฎุมพีเมืองกรุงผู้เต็มไปด้วยความเกลียดชังซึ่ง แม้อาจไม่ได้เป็นเสียงข้างมากของสังคม แต่ก็ครอบครองพื้นที่สื่อสารมวลชนที่คอยขยายระดับความดังให้กับเสียงของพวก เขาจนจำนวนอันน้อยนิด(เมื่อเทียบกับผู้คนทั้งประเทศ)หาได้เป็นอุปสรรคต่อ พลังและการเคลื่อนไหวแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จของพวกตนแต่อย่างใด ไม่ว่าจะในเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม-หากเราเชื่อตามข้อสรุปของ อ.แอนเดอร์สัน-หรือในรูปของมวลมหาประชาชนในครั้งนี้ จริงอยู่ แม้ยุคสมัยที่แตกต่างอาจทำให้รายละเอียดของทั้งสองเหตุการณ์ไม่เหมือนกัน แต่ความเกลียดชังที่รายล้อมควบคู่ไปกับความภักดีอย่างล้นเกินต่อสถาบันพระ มหากษัตริย์ ก็อาจไม่ได้ทำให้บทบาทของชนชั้นกระฎุมพีมีความแตกต่างจากเมื่อปี พ.ศ.2519 มากนัก คำถามสำคัญก็คือ ตลอดระยะเวลาเกือบสี่ทศวรรษหลังเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 ชนชั้นกระฎุมพีรวมทั้งสังคมไทยโดยรวมไม่เคยเรียนรู้ถึงความโหดร้ายของตนเลย หรือ? เหตุใดชนชั้นกระฎุมพีไทยถึงยังไม่สามารถก้าวข้ามความเกลียดชังซึ่งเคยหลอก หลอนตนเมื่อเกือบสี่ทศวรรษที่แล้วไปได้? บางที คำตอบอาจมาจากข้อเท็จจริงอันโหดร้ายที่ว่าพลังจากความเกลียดชังดังกล่าวไม่ เคยเลยที่จะประสบพบเจอกับความพ่ายแพ้ ตรงกันข้ามกับลัทธินาซี ฟาสซิสต์ที่ต่างก็พ่ายแพ้ในสงครามโลกจนถูกทำลายล้างอย่างราบคาบ พลังของเผด็จการเบ็ดเสร็จซึ่งขับเคลื่อนด้วยความเกลียดชังกลับยังคงดำรงอยู่ แฝงฝังและเป็นเนื้อเดียวกับวัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นกระฎุมพีไทยมาโดย ตลอด[18] ไม่ ว่าจะเป็นความเกลียดชังต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ พ่อค้ายาเสพย์ติดหรือระบอบทักษิณในปัจจุบัน และคงไม่ใช่เรื่องแปลกหากความเกลียดชังดังกล่าวอาจดำรงอยู่ต่อไปถ้าการ เคลื่อนไหวของมวลมหาประชาชนในครั้งนี้ประสบกับ “ชัยชนะ”
หรือนี่คือราคาที่สังคมไทยต้องจ่ายสำหรับการทำให้เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 กลายเป็นเพียงบาดแผลทางประวัติศาสตร์เท่านั้น...  




[1]ดู นิธิ เอียวศรีวงศ์, “มวลมหาประชาชน” เข้าใช้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม, 2556.
[2]เพิ่งอ้าง
[3]เพิ่งอ้าง
[4]เพิ่งอ้าง
[5]Hannah Arendt, The Origins of Totalitarianism(New York: A Harvest Book, 1968), pp 311-2
[6]Ibid., p 311  
[7]Ibid., pp 312-5  
[8]Ibid., pp 315-8
[9]ดู Jose Ortega y Gasset, The Revolt of the masses (New York: w.w. Norton & Company, Inc, 1964) และ Dialectic of Enlightenment: Philosophical Fragment. Edmund Jephcott (Translated), Gunzelin Schmid Noerr (Edited)(Stanford: Stanford University Press, 2002), Ch.3 อนึ่ง ทัศนะที่มองมวลชนว่าเป็นเพียงกลุ่มคนที่ปราศจากพลังในการเปลี่ยนแปลงสังคม และมักตกเป็นเหยื่อของชนชั้นปกครองตลอดจนระบอบทุนนิยมนั้นยังเป็นทัศนะที่ ทรงพลังมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่เว้นแม้แต่ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ที่แม้อาจพยายามชี้ให้เห็นพลังของมวลชน แต่ก็ยังมิวายพิจารณาว่าพลังดังกล่าวคือความเงียบ ความเฉยชาที่สื่อและสัญลักษณ์ต่างๆไม่สามารถทำหน้าที่ดูดกลืน ถ่ายทอดและแสดงตนเป็นตัวแทนของมวลชนได้ โปรดดู Jean Baudrillard, In The Shadow of The Silent Majorities, Paul Foss, John Johnston, Paul Patton and  Andrew Berardini(Translated)(Los Angelis: Semiotext(e), 2007) 
[10]Arendt, “On the Nature of Totalitarianism: an Essay in Understanding”, in Essays in Understanding 1930-1954: Formation, Exile, and Totalitarianism, pp 341-4.
[11]Ibid., p 342
[12]นิธิ เอียวศรีวงศ์, “มวลมหาประชาชน”. และแทบจะเป็นเรื่องตลกร้ายที่เดียวที่บุคคลซึ่งอาจยืนยันความถูกต้องจากการ ใช้ทฤษฎีของอาเร็นดท์ดังกล่าวก็คือ อ.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ผู้ออกตัวอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการวิเคราะห์ของ อ.นิธิ ดังเนื้อหาในบทความที่ต้องการจะโต้ อ.นิธิในเรื่องนี้ ซึ่ง อ.อรรถจักรเองยังยอมรับถึงปฏิสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกระหว่างมวลมหาประชาชน กับความเกลียดชังทั้งที่ถูกสร้างโดยระบอบทักษิณและที่มีต่อตัวระบอบทักษิณ เอง ปัญหาเดียวที่ดูเหมือน อ.อรรถจักร มีต่อข้อวิเคราะห์ของ อ.นิธิก็คือการไม่เห็นด้วยที่ อ.นิธิมองว่ามวลมหาประชาชนเป็นการรวมตัวของอณูที่ปราศจากความคิด ตรงกันข้าม อ.อรรถจักรกลับมองว่า ความรู้สึกหวาดกลัวต่อระบอบทักษิณต่างหากที่ทำให้มวลมหาประชาชนต้องคิดและ ลุกขึ้นมาแสดงตัวตนบนท้องถนน ( ดู อรรถจักร สัตยานุรักษ์, “มวลมหาประชาชนไม่ได้เป็นอณูในสุญญากาศ” เข้า ใช้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2556) แน่นอน ข้อวิจารณ์ของ อ.อรรถจักรตรงนี้ย่อมเป็นข้อวิจารณ์ที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะการชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างอารมณ์ความรู้สึกกับ การคิด ซึ่งคงน่าสนใจเป็นอย่างมากหากว่า อ.อรรถจักรจะไม่กล่าวอ้างไปถึงฐานทฤษฎีของอาเร็นดท์ เพราะสำหรับอาเร็นดท์แล้ว อารมณ์ความรู้สึกกับการคิดเป็นคุณลักษณะทางจิตที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือในขณะที่อารมณ์ความรู้สึกอาจตอกย้ำถึงชีวิตและการเป็นส่วนหนึ่งที่ สัมพันธ์กับครรลองของสังคมและโลก การคิดกลับเป็นกิจกรรมที่ผู้คิดต้องแยกตัวออกจากโลกและกิจกรรมต่างๆในชีวิต ประจำวัน เพื่ออยู่(และสนทนา)กับตนเองเพียงลำพังโดยทิ้งโลกซึ่งคุ้นเคยอยู่ตรงหน้าเอา ไว้เบื้องหลัง ดู Arendt, The Life of the Mind(New York: Harcourt, 1978), 1:197-9.
[13]ทัศนะ ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในกลุ่มผู้ชื่นชม “วัฒนธรรมชั้นสูง” (High Culture) อย่างแวดวงวรรณคดีศึกษาและวรรณกรรมวิจารณ์ในช่วงต้นศตวรรษก่อน ที่มองว่าการเติบโตของมวลชนนั้นหาใช่อะไรเลยนอกจากสัญญาณทางวัฒนธรรมที่ บ่งบอกว่ารสนิยมอันสูงส่งแบบชนชั้นนำ(ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยของสังคม) กำลังถูกคุกคามจากรสนิยมอันต่ำช้า สามานย์ของคนทั่วไป(หรือก็คือกลุ่มคนส่วนมากของสังคม) ดู F.R. Leavis, Mass Civilization and Minority Culture, In Popular Culture : A Reader, Raiford Guins, Omayara Zaragaza Cruz (Edited)(London: Sage Publications, 2005),pp 33-8
[14]Arendt, The Origins of Totalitarianism, p 310
[15]ดูรายละเอียดได้ใน Dana Villa, “Totalitarianism, Modernity and the Tradition”, in Politics, Philosophy, Terror: Essays on the Thought of Hannah Arendt(Princeton: Princeton University Press, 1999) , ch.8
[16]เบเนดิก แอนเดอร์สัน, “บ้านเมืองของเราลงแดง: แง่มุมทางสังคมและวัฒนธรรมของรัฐประหาร 6 ตุลาคม”, ใน จาก 14 ถึง 6 ตุลา, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์(บรรณาธิการ)(กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2551), หน้า 99-164.
[17]เพิ่งอ้าง, หน้า 135 การเน้นข้อความเป็นของผู้เขียน
[18]ตัวอย่าง อันน่าเศร้าที่ช่วยสะท้อนประเด็นดังกล่าวได้อย่างชัดเจนที่สุดคงหนีไม่พ้น สถานะทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เอง ดังข้อมูลจากงานวิจัยของ อ.ธงชัย วินิจจะกุล ที่ชี้ให้เห็นว่านอกจากไม่ค่อยได้รับการตระหนัก จดจำจากสังคมเท่าที่ควรแล้ว การกระทำอันโหดร้าย ป่าเถื่อนในเหตุการณ์ดังกล่าวยังไม่เคยถูกประเมินว่าเป็นการกระทำที่ผิดพลาด ไม่สมควรเกิดขึ้นแม้แต่น้อย โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้กระทำความรุนแรงในเหตุการณ์วันนั้นเองที่แม้อาจเก็บตัว เงียบ ไม่ออกมาแก้ต่างการกระทำของตนแต่ก็เป็นความเงียบที่ยังคงเป็นชัยชนะอยู่วัน ยังค่ำ ดู ธงชัย วินิจจะกุล, “6 ตุลาในความทรงจำของฝ่ายขวา 2519-2549: จากชัยชนะสู่ความเงียบ(แต่ยังชนะอยู่ดี)”, ใน ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย, ชัยวัฒน์ สถาอานันท์(บรรณาธิการ)(กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2553), หน้า 407-512.

ชูชัย ศุภวงศ์: โอกาสอันมหัศจรรย์ที่หาได้ยากยิ่ง

สมการของความขัดแย้งในสังคมไทยที่เรื้อรังมานานนับทศวรรษเพราะในสมการมี คนที่จิตวิปริตภาษาจิตแพทย์เขาเรียกว่า Megalomania เป็นพวกที่คลั่งความยิ่งใหญ่ของตนเองคิดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลต้อง บงการสั่งการทุกอย่างให้ได้ตามที่ตนปรารถนาความบ้าคลั่งเช่นนี้ผนวกกับทุน โลกาภิวัตน์ที่กอบโกยโกงกินทรัพยากรที่มีอยู่บนโลกใบนี้โดยไม่สนใจความทุกข์ ยากของคนเล็กคนน้อยเนรคุณได้แม้กระทั่งแผ่นดินถิ่นเกิดอย่างมิรู้สึกรู้สา
เพราะทุนสามานย์โลกาภิวัตน์ไม่มีสัญชาติเมื่อกอบโกยทรัพยากรที่หนึ่งจน หนำใจก็สามารถโยกย้ายไปในพื้นที่อื่นๆทั่วโลกหากพลเมืองในพื้นที่ต่างๆรวม ตัวกันต่อต้านก็จะใช้เครื่องของอำนาจรัฐและทุนสามานย์บดขยี้อย่างใจดำอำมหิต ผิดมนุษย์ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบเพื่อกอบโกยและปกป้องผลประโยชน์ของตระกูล และเครือข่าย
สังคมไทยควรตระหนักรู้ว่า. มีผู้คนจำนวนหนึ่งเปอร์เซนต์ของประชากรทั้งประเทศที่อยู่บนยอดปิรามิดทั้ง ที่เปนเครือข่ายของระบอบทุนสามานย์ที่มีคนจิตวิปริตอยู่เบื้องหลังและกลุ่ม ที่ต่อต้านระบอบทุนสามานย์นี้ล้วนแล้วไม่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่ต้อง การการปฏิรูปประเทศไม่ต้องการคืนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นฯลฯเหมือนกัน
ดังนั้นเมื่อเกิดปรากฎการณ์.."มวลมหาประชาชน."จึงเป็นความ.."ผุด บังเกิด"..หรือที่ภาษาโบราณเขาเรียกว่า.."ความมหัศจรรย์"..ได้บังเกิดขึ้นบน แผ่นดินสยามแล้วเป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่งอีกทั้งเป็นครั้งแรกในประวัติ ศาสตร์ของสยามที่เกิดพลเมืองผู้ตื่นรู้หลายล้านคนต้องการปฏิรูปประเทศไทยให้ เป็นสังคมที่น่าอยู่น่าอาศัยที่สุดแห่งหนึ่งบนโลกใบนี้จึงต้องช่วยกันอย่า ให้มีขบวนการใดขัดขวางหรือลดทอนหรือทำลาย"โอกาสอันมหัศจรรย์ที่หาได้ยากยิ่ง นี้" ไม่ว่าจะมาในนามความปรารถนาดีอย่างบริสุทธิ์ใจเพียงใดก็ตาม
"โอกาสอันมหัศจรรย์ที่หาได้ยากยิ่งนี้" มวลมหาประชาชนจะเป็นผู้กำหนดทิศทางของแผ่นดินเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สยาม ทั้งนี้เพราะอำนาจอธิปไตยเปนของปวงชนชาวไทย
ที่ปรากฎอยู่ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสยามิ นทราธิราชบรมนาถบพิตรตราไว้ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2550 เป็นปีที่ 62 ในรัชกาลปัจจุบัน

'สุรพงษ์'แถลง 53 ปท.-2องค์กร หนุนไทยเลือกตั้ง

ที่มา Voice TV

'สุรพงษ์'แถลง 53 ปท.-2องค์กร หนุนไทยเลือกตั้ง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลง ประชาคมโลกมี 53 ประเทศ และ 2 องค์กร สนับสนุนไทยให้มีการเลือกตั้งเป็นทางออก
 
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะดูแลกำกับ ศอ.รส.แถลงว่า มี 53 ประเทศ และ 2 องค์กร จากประชาคมโลก ได้แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยโดยมี 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศโคลัมเบีย และแม็กซิโก ออกแถลงการณ์ ซึ่งรัฐบาลทั้งสองประเทศ แจ้งผ่านกระทรวงการต่างประเทศมายังประเทศไทยว่า ขอสนับสนุนให้ประเทศไทยมีการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย และกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งประชาคมโลก มีความเชื่อว่า จะเป็นทางออกให้กับประเทศไทย
 
 
ที่มา : สำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น
29 ธันวาคม 2556 เวลา 11:52 น.

บทความ: 5 Steps to Tyranny: ปลุกด้านมืดในตัวคุณ

ที่มา Thai E-News

 โดย เซียวเล้ง
15 ธันวาคม 2013

ประมาณ 2 ปีก่อน ผมเขียนกระทู้ในห้องหว้ากอของ Pantip กระทู้หนึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับสารคดีที่ชื่อว่า “5 Steps to Tyranny” ซึ่งเป็นสารคดีที่ผมมีโอกาสได้รู้จักตั้งแต่สมัยเรียน และเห็นว่าเนื้อหาสารคดีนั้นสามารถอธิบายอะไรหลายๆ อย่างให้เราเข้าใจอย่างแจ่งแจ้ง น่าเสียดายที่กระทู้นั้นคงอยู่ไม่นานนักเพราะเกิดดราม่าในกระทู้เสียก่อน แต่ผมก็ยังเก็บเนื้อหานั้นไว้ใน Blog เก่าของผมอยู่ มาวันนี้สถานการณ์รอบตัวเราก็เหมือนจะไม่ได้เปลี่ยนไปนัก และ “5 Steps to Tyranny” ก็ยังอธิบายเรื่องเหล่านั้นได้ดีอยู่ จึงขอหยิบเนื้อหาจาก Blog อันเก่า มาเล่าใหม่อีกครั้งใน Blog ปัจจุบันของผม

 “ถ้ามีคนบอกให้คุณไปทำร้ายหรือฆ่าคนอื่น คุณจะทำหรือป่าว?”
 หากเจอคำถามนี้เราคงตอบทันทีว่า “ไม่ ฉันจะไม่มีทางทำอย่างนั้นเด็ดขาด” เพราะ จิตสำนึกของเราคอยเตือนเราว่าการทำร้ายหรือฆ่าคนอื่นเป็นสิ่งที่ผิด และเรามั่นใจว่าจะไม่มีวันทำสิ่งนั้นเป็นอันขาด ไม่ว่ากับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไหร่

แต่พวกเราทุกคนอาจคิดผิด!!!

มี ตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นว่า คนเราสามารถกระทำเรื่องเลวร้ายต่างๆ ได้มากมาย แม้ว่าเขาจะไม่เคยมีวี่แววว่าเป็นคนเลวร้ายมาก่อนเลย เราเองก็เช่นกันหลายครั้งก็อาจทำเรื่องที่ขัดกับจิตสำนึกของเราได้โดยไม่รู้ ตัว ถ้าบริบทแวดล้อมเหมาะสม แม้แต่คนที่ได้ชื่อว่าเลวที่หนึ่งก็สามารถกลายเป็นคนเลวสามานย์ได้ หรือว่าจริงๆ แล้วความดี-ความชั่วอาจไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด แต่เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์รอบตัวเรา “5 Steps to Tyranny” ซึ่งเป็นสารคดีที่ผลิตโดย BBC และเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2001 ได้พยายามหาคำตอบนี้ แต่สิ่งที่ค้นพบกลับสร้างความตกตะลึง เมื่อพบว่า เพียงแค่ 5 ขั้นตอนสั้นๆ ง่ายๆ จากคนธรรมดาก็สามารถกลายเป็นทรราชย์ได้อย่างสมบูรณ์

ความน่าสนใจของสารคดีชิ้นนี้ อยู่ที่การนำการทดลองทางจิตวิทยาต่างๆ มาเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเราสามารถกลายเป็นทรราชได้อย่างไร ทำให้แม้ว่าตัวสารคดีจะผ่านมาเป็น 10 กว่า ปีแล้ว แต่ก็ยังทันสมัยและมีประโยชน์อยู่เสมอ ทำให้เรานึกหวั่นใจตัวเองอยู่ตลอดว่าสักวันเราอาจกลายเป็นทรราชย์อย่างใน สารคดีจริงๆ ก็ได้

สำหรับผมรู้จักสารคดีชิ้นนี้ครั้งแรกก็เมื่อปีที่แล้ว ตอนเรียนวิชาความรุนแรงและสันติวิธีทางการเมืองในมหาวิทยาลัย อาจารย์ได้นำสารคดีชิ้นนี้มาฉายเพื่อแสดงให้เห็นว่า หากไม่ระวังคนเราก็พร้อมกระทำรุนแรงต่อกันได้เสมอ ส่วนตัวประทับใจสารคดีชิ้นนี้มาก และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน โดยเฉพาะในแง่มุมจิตวิทยา ซึ่งสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับวิทยาศาสตร์ค่อนข้างมาก และน่าจะตั้งในหว้ากอได้ ตัวสารคดีมีความยาวประมาณ 1 ชั่วโมง ผมจะเสนอตามลำดับ Step โดยในแต่ละ Step ก็จะแทรกข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองจิตวิทยาที่นำมาอ้างอิงในแต่ละ Step ด้วย

Step 1 – “Us” and “Them” – “พวกเรา” และ “พวกเขา”



ขั้นแรกสู่การเป็นทรราชย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นง่ายๆ ในทุกๆ วันก็คือ การสร้างความแตกต่างระหว่าง “พวกเรา” และ “พวกเขา” ให้เกิดขึ้น โดยที่ทำให้กลุ่มหนึ่งรู้สึกว่าพวกเราเหนือกว่า มีวิถีชีวิตที่ดีกว่า เก่งกว่า ฉลาดกว่า ฯลฯ อีกกลุ่ม ความแตกต่างนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากเรื่องอุดมการณ์ที่สลับซับซ้อนแต่อย่าง ไร เพียงแค่ความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ที่เลือกไม่ได้อย่างสีผิวหรือสีนัยย์ตาก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดการแบ่งแยก แล้ว และเมื่ออคติระหว่างกลุ่มเกิดขึ้น โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงตามมาก็สูง แม้แต่ในคนที่รู้จักกัน เมื่อแบ่งแยกกันเป็นคนละพวก ก็พร้อมจะกระทำความรุนแรงต่ออีกฝ่ายได้เสมอ และก็จะมีคนฉวยโอกาสจากความขัดแย้งนี้มาเป็นประโยชน์แก่ตัวเองเสมอ

ในสารคดีได้อ้างอิงการทดลองของครู Jane Elliott ครูประถมในรัฐไอโอวา ในทศวรรษ 1960 โดยเกิดจากเด็กนักเรียนคนหนึ่งชื่อ Steven Armstrong เข้ามาถามว่าทำไม “Martin Luther King” ถึงโดนฆ่าตาย ครู Jane ไม่รู้จะอธิบายปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างสีผิวให้เด็กเข้าใจได้ยังไง เพราะเมืองนี้ไม่มีคนผิวสี เด็กไม่รู้จักการเหยียดผิว ดั้งนั้นครู Jane จึงได้จัดแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มนัยย์ตาสีน้ำตาล และนัยย์ตาสีฟ้า โดยกลุ่มตาสีฟ้ามีสิทธิพิเศษมากกว่าพวกตาสีน้ำตาล เพียงไม่นานพวกตาสีฟ้าเริ่มทำตัวเป็นอันธพาลและหยิ่งยโส ขณะที่พวกตาสีน้ำตาลเริ่มแยกตัวออกห่าง ช็อก และเศร้าสร้อย นักเรียนคนหนึ่งบอกว่า “มันเป็นความรู้สึกเดียวกับตอนคนผิวสีถูกเรียกว่านิโกร” ซึ่งนั่นทำให้ครู Jane ตกใจมาก เพียงความแตกต่างเล็กน้อยก็นำมาสู่ความขัดแย้งได้แม้แต่ในเด็ก

ปัจจุบัน ครู Jane เป็นนักต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ และได้นำผลการทดลองในวันนั้นไปบรรยายและอ้างอิงอยู่เสมอๆ

Jane Elliott

Step 2 – Obey Orders (เชื่อฟังคำสั่ง)




เรามักคิดว่าเราไม่ได้เชื่อฟังคำสั่งในทุกเรื่อง แต่จะเชื่อฟังเฉพาะสิ่งที่คิดว่าดีเท่านั้น ถ้าโดนสั่งให้ไปฆ่าใคร เราก็จะไม่ทำ อย่างไรก็ตามสารคดีชิ้นนี้ก็แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้วเราพร้อมที่จะทำตามคำสั่ง (ที่อาจมาในรูปคำขอร้อง) ของผู้อื่นโดยไม่คิดไม่ถามให้ถี่ถ้วนก่อนเสมอ ซึ่งอาจเป็นผลจากการตัดรำคาญ หรือไม่คิดว่ามันจะส่งผลอะไรนัก ปัญหาคือเมื่อเรายอมทำตามโดยไม่ตั้งคำถามว่า “ทำไมฉันจึงต้องทำแบบนั้น” ก็มีโอกาสที่จะมีผู้ชักนำให้เรากระทำในสิ่งที่ผิด ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีอาชญากรรมที่เกิดจากการเชื่อฟัง มากกว่าการไม่เชื่อฟัง

การทดลองที่นำมาอ้างอิงในขั้นนี้ ทีมงานได้ซ่อนกล้องในรถไฟและให้ชายคนหนึ่งไปขอที่นั่งของผู้โดยสารแม้ว่าจะ มีที่อื่นว่าง ซึ่งผลปรากฏว่ากว่า 50% ยอมสละที่นั่งให้โดยไม่ถามคำถามอะไร และยิ่งเมื่อให้ชายคนนั้นมาพร้อมกับชายอีกคนซึ่งแต่งชุดเป็นตำรวจ อัตราการเชื่อฟังก็เพิ่มเป็น 100% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราพร้อมที่ยอมทำตามที่ผู้อื่นบอกมากเพียงไร

Step 3 – Do ‘Them’ Harm (ทำร้าย “พวกเขา”)




เมื่อมีกลุ่มที่เหนือกว่าและพร้อมที่จะทำตามคำสั่ง ก็เป็นเรื่องง่ายที่เราจะทำร้ายคนอื่น หากผู้นำสั่ง แม้ว่าจะเป็นเรื่องขัดสามัญสำนึกของตัวเองก็ตาม การทำร้ายนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อผู้สั่งให้คำมั่นว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นเอง (แต่จะรับจริงหรือป่าวไม่รู้) เราจะรู้สึกว่าคงไม่เป็นอะไร เพราะหากเกิดอะไรผิดพลาด เราก็ไม่ต้องรับผิดชอบ ยิ่งถ้ามีการสร้างให้คู่ตรงข้ามเรามีคุณค่าต่ำกว่ามนุษย์ เราก็พร้อมที่จะกระทำรุนแรงได้ง่ายขึ้น การสร้างภาพศัตรูเป็นสัตว์ในช่วงสงคราม จึงมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อบ่อยๆ

การทดลองในขั้นนี้ เป็นการทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังของ Stanley Milgram นักจิตวิทยาการทดลองชาวอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยเยลในปี 1961 โดย Milgram ได้คัดเลือกผู้เข้าร่วมการทดลองผ่านโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ให้เข้าร่วม “การศึกษาเกี่ยวกับความจำ” เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยพวกเขาจะได้รับมอบหมายให้แสดงบทบาทเป็น “ครู”และได้รับคำสั่งให้อ่านชุดของคำศัพท์ที่จับคู่กันให้แก่ผู้เข้าร่วมการ ทดลองอีกกลุ่มหนึ่งหรือ “นักเรียน” ฟัง จากนั้น “ครู” จะทดสอบความจำของ “นักเรียน” โดยอ่านเฉพาะคำศัพท์คำแรก และให้ “นักเรียน” ตอบคำศัพท์อีกคำซึ่งจับคู่กับคำแรก หากตอบผิด “ครู” จะกดปุ่มช็อตไฟฟ้า “นักเรียน” โดยที่ “ครู” และ “นักเรียน” จะไม่เห็นหน้ากัน ได้ยินเพียงเสียง

ทั้งนี้กระแสไฟฟ้าที่ช็อตจะแบ่ง ออกเป็นระดับๆ แต่ละระดับต่างกัน 15 โวลต์ เพื่อไม่ให้ “ครู” รู้สึกถึงความแตกต่างของแต่ละระดับมากนัก หาก “นักเรียน” ตอบผิดอีก “ครู” ก็จะกดปุ่มช็อตไฟฟ้าในระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ผลก็คือจากอาสาสมัครกว่า 900 คน ประมาณ 2 ใน 3 ใช้กระแสไฟฟ้าสูงถึง 450 โวลต์ สูงกว่าที่ใช้ตามบ้านเรือนกว่า 2 เท่า แม้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะประกาศก่อนทดลองว่าไม่มีทางใช้ไฟฟ้าช็อตคนที่ไม่ รู้จัก

ในตอนท้าย Milgram เฉลยว่าทั้งหมดเป็นการจัดฉาก “นักเรียน” เป็นทีมงานของเขา และไม่ได้ถูกช็อตไฟฟ้าจริงๆ เพียงแต่แกล้งแสดงความเจ็บปวดออกมาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้ก็ถูกตั้งคำถามด้านจริยธรรมพอสมควร

Stanley Milgram

Step 4 – “Stand Up” or “Stand By” (“ยืนหยัด” หรือ “ยืนดู”)




เราอาจคิดว่า เมื่อเจอสิ่งไม่ชอบธรรม เราจะลุกขึ้นต่อต้านทันที หรือเมื่อเจอคนประสบเหตุร้าย เราจะเข้าช่วยเหลือทันที อย่างไรก็ตาม การทดลองในสารคดีแสดงให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่มีความกังวลเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะเข้าแทรกแซงเรื่องใดหรือไม่ หลายคนเลือกที่จะเพิกเฉย แต่การยืนดูอยู่รอบนอกในบางครั้งไม่ได้หมายความถึงการไม่ทำอะไรเลยเพียง อย่างเดียว แต่ยังคือการตัดสินใจไม่เข้าไปมีส่วนร่วม เมื่อคนเราไม่ยอมมีส่วนร่วมเมื่อพบเห็นสิ่งอยุติธรรม นั่นคือการอนุญาตให้ความอยุติธรรมนั้นดำเนินต่อไป ในทางจิตวิทยาสังคมเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า “กลุ่มคนดู” ซึ่งมักมีจำนวนมากกว่า “กลุ่มคัดค้าน” จึงทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้อ้างความชอบธรรมของผู้นำเผด็จการ

การทดลองในขั้นนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 การทดลอง อย่างแรกทีมงานได้ให้ชายคนหนึ่งออกไปพูดไฮด์ปาร์คต่อหน้าฝูงชนโดยที่ซ่อน ไมค์ไว้ ในประเด็นเรื่อง “หากพบว่าเด็กในท้องพิการ ก็ควรกำจัดเสีย ไม่ควรให้เกิดมา” ขณะที่ทีมงานก็แอบถ่ายปฏิกิริยาของฝูงชน ผลปรากฏว่ามีเพียง 2-3 คนเท่านั้นที่พูดคัดค้าน ขณะที่เหลือเกือบร้อยคนยืนฟังเฉยๆ ไม่โต้ตอบและปล่อยให้ชายคนนั้นพูดจนจบ แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของชายคนนั้นก็ตาม

ขณะที่การทดลองที่ 2 เป็นของ Dr.Mark Levine แห่งมหาวิทยาลัย Lancaster อังกฤษ โดยได้ให้ชายคนหนึ่งแกล้งวิ่งล้มต่อหน้าแฟนบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เพื่อดูว่าเขาจะช่วยชายคนนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ได้ให้ชายคนนั้นใส่เสื้อทีมฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และลิเวอร์พูลสลับกัน ผลก็คือหากตอนนั้นชายคนนี้ใส่เสื้อแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็จะได้รับการช่วยเหลือทุกครั้ง แต่จะไม่ได้รับความช่วยเหลือเลยเมื่อใส่เสื้อลิเวอร์พูล นั่นแสดงให้เห็นว่า เราพร้อมจะช่วยหากเป็นคนที่มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน แต่จะเป็นเพียงผู้ยืนดูกับคนนอกกลุ่ม ซึ่งรวมไปถึงเหตุการณ์ที่เราคิดว่าไม่เกี่ยวกับเราด้วย

Dr.Mark Levine

Step 5 – Exterminate (กำจัดให้สิ้นซาก)




การกำจัดให้สิ้นซาก หรืออีกนัยหนึ่งคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในหน้าประวัติศาสตร์ เราอาจประหลาดใจว่าในหลายกรณีการฆ่านั้นเกิดขึ้นจากกลุ่มคนที่เคยเป็นเพื่อน บ้านกัน เคยดูแลใส่ใจกัน กลายเป็นที่หมางเมิน เกลียดกัน และลุกขึ้นมาฆ่าคุณได้โดยไม่มีเหตุผล โดยที่เขาอาจไม่รู้สึกผิดแต่อย่างไร ทั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อคุณให้ “อำนาจ” แก่คนใดคนหนึ่งมากเกินไป

การทดลองที่นำมาอ้างในขั้นนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นการทดลองที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ การทดลองคุกแสตนฟอร์ด (Stanford Prison Experiment) ของศาสตราจารย์ Philip Zimbardo แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ซึ่งได้คัดเลือกเด็กปริญญาตรีที่มีสุขภาพจิตดีจำนวน 24 คน มาแสดงบทบาทสมมติโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มหนึ่งแสดงเป็น “นักโทษ” และอีกกลุ่มแสดงเป็น “ผู้คุม” (คล้ายกับการทดลองในขั้นที่ 1 แต่จริงจังกว่า) โดยใช้ห้องใต้ดินในมหาวิทยาลัยเป็นคุกจำลอง ทำทุกอย่างให้สมจริงที่สุด และมีกล้องวงจรปิดคอยจับตาพฤติกรรมตลอดเวลา ผลก็คือจากความรู้สึกขำๆ ในวันแรกๆ วันต่อๆ มา “ผู้คุม” เริ่มอินกับบทบาทและ “อำนาจ” ที่ได้รับ จนเริ่มทำทารุณนักโทษรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะสั่งให้แก้ผ้า สั่งให้วิดพื้น จับอดอาหาร ฯลฯ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่ “ผู้คุม” คิดว่ากล้องวงจรปิดไม่ทำงาน การทดลองนี้ต้องยุติลงภายในเวลา 6 วันจากที่กำหนดไว้ 14 วัน เนื่องจากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเกิดขึ้น การทดลองนี้ยังถูกโจมตีด้านจริยธรรมอย่างหนัก แต่ก็ทำให้ Zimbardo ได้ข้อสรุปที่ว่า “คนปกติธรรมดาทั่วไป ไม่ว่าใครก็สามารถกลายเป็นคนเลวได้ หากตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยุยงส่งเสริม”

Zimbardo ได้นำการทดลองนี้มาสร้างทฤษฎี The Lucifer Effect อธิบายว่า คนเราไม่มีดีไม่มีชั่วแต่กำเนิด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม หากอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะเจาะคนดีสุดขีดก็สามารถกลายเป็นคนเลวสุดขั้วเช่น กัน อยากให้คนทำดี จึงต้องไปทำให้สภาพแวดล้อมดี ระบบดี ให้เอื้อต่อการทำดี ไม่ใช่ไปหวังกับคนดี ทั้งนี้ Zimbardo ยังได้เขียนหนังสือชื่อ The Lucifer Effect บันทึกการทดลองในแต่ละวันอย่างละเอียดอีกด้วย อนึ่งชื่อ Lucifer นั้นเป็นชื่อของเทวทูตในศาสนาคริสต์ ที่พระเจ้าสร้างขึ้น แต่ต่อมาคิดกบฏต่อพระเจ้า จึงถูกขับไล่จากสวรรค์ และกลายเป็นซาตานในนรก

Philip Zimbardo

ท้ายที่สุดนี้ขอทิ้งท้ายด้วยคำกล่าวตอนท้ายในสารคดีที่ว่า
“นี่เป็นการเดินทางอันน่าสะพรึงกลัว แต่พฤติกรรมมนุษย์ที่นำไปสู่การกระทำที่เลวร้ายนี้ ก็เป็นพฤติกรรมเดียวกันกับที่สามารถนำไปสู่การเสียสละอันยิ่งใหญ่”

สุดท้ายนี้คงอยู่ที่คุณว่าจะยอมปล่อยให้ “ด้านมืด” ของตนเองออกมาหรือไม่