26 ธ.ค.2556 พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการ กสทช.
ในฐานะประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า
หลังจากจบการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลประเภท
บริการทางธุรกิจระดับชาติ หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง (ทั่วไป HD)
ซึ่งมีราคาเริ่มต้นที่ 1,510 ล้านบาท จำนวน 7 ใบอนุญาต ในรอบเช้า
8.00-14.00 น. ณ อาคาร CAT Tower บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
ได้ผู้มีสิทธิเป็นผู้ชนะการประมูล 7 ราย คือ
ลำดับที่ 1 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) เสนอราคาสูงสุด 3,530 ล้านบาท
ลำดับที่ 2 บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด เสนอราคา 3,460 ล้านบาท
ลำดับที่ 3 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7) เสนอราคา 3,370 ล้านบาท
ลำดับที่ 4 บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (ไทยรัฐ) เสนอราคา 3,360 ล้านบาท
ลำดับที่ 5 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง 9) เสนอราคา 3,340 ล้านบาท
ลำดับที่ 6 บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด และบริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด เสนอราคาเท่ากัน 3,320 ล้านบาท
ทั้งนี้ จะประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลภายใน 15 วัน นับแต่สิ้นสุดเวลาการประมูล โดยหลังได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูล ผู้ชนะการประมูลจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขก่อนรับใบอนุญาต ให้ครบถ้วนภายใน 45 วันจึงจะได้รับใบอนุญาต ซึ่งเงื่อนไขก่อนรับใบอนุญาตประกอบด้วย การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่ 1 จำนวนร้อยละ 50 ของราคาขั้นต่ำ พร้อมวางหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินสำหรับค่าธรรมเนียมงวดที่ 2 (ภายใน 30 วันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล) ดำเนินการขอใช้โครงข่ายโทรทัศน์กับผู้ให้บริการโครงข่ายฯภายใน 30 วัน และดำเนินการตามประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีกรอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ภายใน 45 วันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล จากนั้น เมื่อผู้ชนะการประมูลปฏิบัติตามเงื่อนไขการประมูลครบถ้วนแล้ว คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) จะออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติให้ โดยใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีอายุ 15 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุญาต
ลำดับที่ 1 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) เสนอราคาสูงสุด 3,530 ล้านบาท
ลำดับที่ 2 บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด เสนอราคา 3,460 ล้านบาท
ลำดับที่ 3 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7) เสนอราคา 3,370 ล้านบาท
ลำดับที่ 4 บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (ไทยรัฐ) เสนอราคา 3,360 ล้านบาท
ลำดับที่ 5 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (ช่อง 9) เสนอราคา 3,340 ล้านบาท
ลำดับที่ 6 บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด และบริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด เสนอราคาเท่ากัน 3,320 ล้านบาท
ทั้งนี้ จะประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลภายใน 15 วัน นับแต่สิ้นสุดเวลาการประมูล โดยหลังได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูล ผู้ชนะการประมูลจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขก่อนรับใบอนุญาต ให้ครบถ้วนภายใน 45 วันจึงจะได้รับใบอนุญาต ซึ่งเงื่อนไขก่อนรับใบอนุญาตประกอบด้วย การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดที่ 1 จำนวนร้อยละ 50 ของราคาขั้นต่ำ พร้อมวางหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินสำหรับค่าธรรมเนียมงวดที่ 2 (ภายใน 30 วันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล) ดำเนินการขอใช้โครงข่ายโทรทัศน์กับผู้ให้บริการโครงข่ายฯภายใน 30 วัน และดำเนินการตามประกาศ กสทช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีกรอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ภายใน 45 วันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล จากนั้น เมื่อผู้ชนะการประมูลปฏิบัติตามเงื่อนไขการประมูลครบถ้วนแล้ว คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) จะออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติให้ โดยใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีอายุ 15 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุญาต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น