ท่าทีของพรรคประชา ธิปัตย์ดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับท่าทีของม็อบ กปปส.(คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งย้ำว่า จะต้องมีการปฏิรูปประเทศไทยเสียก่อนจึงมีการเลือกตั้ง โดยให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออก แล้วดำเนินการปฏิรูปการเมืองตามวิธีการที่นายสุเทพเสนอ คือตั้งนายกคนกลางมาดำเนินการปฏิรูปการเมืองราว 1 ปีขึ้นไป แล้วจึงให้มีการเลือกตั้ง กรณีนี้ ถ้าจะถอดความหมายโดยตรงของการปฏิรูปการเมืองตามข้ออ้างของนายอภิสิทธิ์ ก็คือ ถ้าขืนลงเลือกตั้งก็คงแพ้พรรคเพื่อไทย ดังนั้น จะต้องดำเนินการอย่างไรก็ได้ ให้มีหลักประกันว่าฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์จะชนะเลือกตั้ง แล้วฝ่ายพรรคเพื่อไทยแพ้ แล้วจึงถือว่าเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เรื่องทุจริตคอรัปชั่นอะไรที่ยกมานั้นเป็นเพียงข้ออ้างเรียกความสนับสนุนจาก ชนชั้นกลาง เพราะรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เองก็ไม่เคยปลอดจากการทุจริตแม้แต่ครั้งเดียว
และ ในเมื่อมีการตั้งธงว่า จะล้มการเลือกตั้งให้จงได้ วิธีการดำเนินงานของม็อบ กปปส.ก็คือ การใช้ฝูงชนฝ่ายของตนไปขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง ที่เห็นได้ชัดคือ ในวันที่ 23 ธันวาคม ได้มีการเคลื่อนฝูงชนไปปิดล้อมสถานที่รับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดง เพื่อใช้กำลังบังคับทำลายการสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนอย่างมากกับเจ้าหน้าที่คณะกรรมการเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่มาลงสมัคร และสื่อมวลชนที่มาทำข่าว และฝ่ายม็อบ กปปส.อธิบายว่านี่เป็นเพียงการเริ่มต้น และเป็นที่ชัดเจนว่า ฝ่ายม็อบนายสุเทพใช้วิธีการทุกอย่างในการก่อกวนกระบวนการเลือกตั้งต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตน
คงต้องอธิบายตั้งแต่แรกว่า วิธีการที่ม็อบ กปปส.ปิดล้อมการสมัครรับเลือกตั้งที่ดินแดนนั้น เป็นวิธีการอันไม่ถูกต้อง ไม่มีทางที่จะได้รับความเห็นพ้องจากทุกฝ่าย และไม่ใช่วิธีการที่จะนำไปสู่การล้ม”ระบอบทักษิณ”สร้างการเลือกตั้งที่ บริสุทธิ์ยุติ
ธรรมตามข้ออ้าง แต่กลายเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นความถ่อยเถื่อนไร้หลักการ ที่พร้อมที่จะละเมิดสิทธิคนอื่น ที่ฝ่ายม็อบ กปปส.กระทำอยู่ตลอดเวลา โดยที่ฝ่ายของนายสุเทพไม่เคยสนใจเลยว่า จะมีประชาชนอีกส่วนหนึ่งหรือไม่ที่สนับสนุนการเลือกตั้ง หรือแม้กระทั่งประชาชนฝ่ายที่ยังสนับสนุนพรรคเพื่อไทยจะต้องปฏิบัติอย่างไร
กรณี นี้ ได้สะท้อนด้วยว่า ข้ออ้างทั้งหมดของพรรคประชาธิปัตย์และม็อบ กปปส.เป็นข้ออ้างอันไม่สมเหตุผล กระบวนการเลือกตั้งที่ดำเนินไปขณะนี้เป็นเครื่องแสดงว่า ประชาธิปไตยไทยยังเป็นไปโดยราบรื่น ไม่มีอะไรจะต้องไปปฏิรูปเร่งด่วนแบบฉับพลันจนต้องล้มการเลือกตั้ง แต่ในทางตรงข้าม ถ้าหากการเลือกตั้งไม่เกิดขึ้นตามกำหนดต่างหาก ที่จะนำประเทศไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น จนอาจเกิดมิคสัญญี เพราะต้องอธิบายว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ได้กลายเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ กระบวนการเลือกตั้งได้รับการสนับสนุนจากผู้รักความยุติธรรม นักวิชาการฝ่ายก้าวหน้า ผู้ที่เชื่อมั่นในสันติวิธีอย่างแท้จริง และยังได้รับการตอบรับในเชิงบวกจากโลกนานาชาติรวมทั้งภาคีอาเซียน ในลักษณะที่พรรคประชาธิปัตย์และม็อบสุเทพไม่มีโอกาสได้รับ
ในภาวะ เช่นนี้ คงอธิบายได้เลยว่า ม็อบนายสุเทพไม่มีทางที่จะได้รับชัยชนะ ไม่ว่าจะมีแรงสนับสนุนจากชนชั้นกลางในเมืองมากเท่าใด หรือจะมีฝูงชนเข้าร่วมขนาดไหน หรือต่อให้มีองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการสิทธิมนุษย์ชน หรือแม้แต่ คณะกรรมการเลือกตั้ง คอนสนับสนุนก็ตาม ทั้งนี้เพราะการล้มการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ ก็คือการล้มระบบประชาธิปไตย ยิ่งกว่านั้น ถ้าจะล้มการเลือกตั้งครั้งนี้ให้สำเร็จได้ จะต้องละเมิดกติกาทุกอย่าง คือ ต้องล้มเลิกไม่ใช้รัฐธรรมนูญหลายมาตรา ล้มเลิกกฤษฎีกา ไม่ใช้กฎหมายเลือกตั้ง หรือไม่ก็ต้องใช้การตะแบงตีความกฎหมายอย่างสุดขีด ซึ่งเป็นการยากที่จะทำได้
จึงสรุปได้ว่า การคุกคามจากพรรคประชาธิปัตย์ ม็อบ กปปส. และองค์กรอิสระที่เป็นอยู่ จึงเป็นภาวะอันไม่เป็นประชาธิปไตย ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยืนกรานไม่ลาออกจากนายกรัฐมนตรีรักษาการ แต่ใช้วิธีการไม่รุนแรงกับฝ่ายม็อบ ก็ยังคงเป็นวิธีการที่ถูกต้อง และที่ดีกว่านั้น ก็คือการเคลื่อนไหวของนายกรัฐมนตรีที่ลงสู่มวลชนหาเสียงสนับสนุนในต่าง จังหวัด และยังตกลงใจที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นลำดับแรกในระบบบัญชีรายชื่อของ พรรคเพื่อไทย บทบาทของนายกรัฐมนตรีที่ไม่อ่อนไหวไปตามสถานการณ์ จึงมีความสำคัญในการยืนยันประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแนวทางการเมืองหลักของประเทศในขณะนี้
บทบาทสำคัญของฝ่าย ประชาชนในขณะนี้จึงต้องสนับสนุนท่าทีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในการยืนยันกระบวนการประชาธิปไตย ต้องช่วยกันรณรงค์การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ดำเนินไปอย่างเป็นปกติที่สุด ต้องบอกพี่น้องเราให้มาเลือกตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องเลือกพรรคเพื่อไทย เลือกพรรคไหนก็ได้ที่ลงสมัคร เพราะจนถึงวันนี้ การเลือกตั้งเท่านั้น ที่จะทำให้บ้านเมืองผ่านวิกฤติได้โดยสันติ เพราะถ้าไม่มีเลือกตั้ง ฝ่ายคนเสื้อแดง และผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ซึ่งมีจำนวนมากกว่าม็อบ กปปส.คงไม่ยินยอม และความขัดแย้งจะยิ่งไม่มีทางแก้ หรืออาจจะเกิดการบาดเจ็บล้มตายจากการต่อสู้อีก
แต่เหตุผลสำคัญอีก อย่างหนึ่งที่จะต้องยืนยันการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้นี่เอง ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ เพราะการที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงเลือกตั้ง ถือเป็นการปฏิรูปการเมืองอย่างสำคัญ คณะกรรมการเลือกตั้งต้องยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นเพียง 1 ในพรรคการเมือง 70 พรรค เมื่อไม่พร้อมจะลงสมัคร 1 พรรค ก็ยังมีพรรคอื่นที่เหลือ พรรคการเมืองเดียวจะล้มการเลือกตั้งทั้งหมดไม่ได้
แต่ ใจความสำคัญของการเว้นวรรคของพรรคประชาธิปัตย์ก็คือ จะไม่มีพรรคการเมืองก่อกวนในรัฐสภา ซึ่งหมายถึงว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า รัฐสภาไทยจะสงบ การพิจารณากฎหมายทั้งหลายก็จะราบรื่นกว่าที่ผ่านมา กลุ่ม 40 สว.ที่ก่อกวนในวุฒิสภาจะไม่มีแนวร่วม เพราะพรรคประชาธิปัตย์จะทำได้เพียงการก่อกวนนอกสภา มีฐานะเท่ากับฝ่ายพันธมิตร ดังนั้น เพื่อความสงบราบรื่นทางการเมือง รัฐบาลชุดใหม่หลังเลือกตั้งจึงไม่ควรโอนเอนตามข้อเสนอยุบสภาก่อนกำหนด ต้องอยู่ให้ครบ 4 ปีตามเงื่อนไข ให้ถือว่าการเมืองในสภาที่ไม่มีประชาธิปัตย์ 4 ปีจะทำให้ประเทศไทยก้าวหน้าเป็นอย่างมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น