อันเนื่องมาแต่เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ นายกรัฐมนตรีรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงข้อความบนหน้าเฟชบุ๊คว่า
"ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าถึงเวลาที่เราต้องช่วยกันพัฒนากลไกที่จะขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศให้เกิดขึ้น ในโอกาสนี้ดิฉันจึงใคร่ขอเสนอรูปแบบองค์กรที่จะจัดตั้งขึ้นรูปแบบหนึ่ง โดยอาจจะเรียกว่าเป็น 'สภาปฏิรูปประเทศ' และขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงภาระ กิจการปฏิรูปประเทศที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย และเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะต้องช่วยกันทำให้การปฏิรูปประเทศครั้งนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชน เพื่อสังคมที่สงบสันติ มีความปรองดอง รักและสามัคคี และเพื่ออนาคตของลูกหลานของเราต่อไป"
จากนั้นได้มีนักวิชาการ และนักกฏหมายหลายท่านแสดงความไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งสภาปฏิรูปดังกล่าว
เพื่อ ที่จะให้ประชาชนทั่วไปได้พิจารณาถึงความเหมาะสมในหลักการว่ามีเพียงใด อย่างกว้างขวางสมกับเจตนาในทางยึดมั่นวิธีการประชาธิปไตย และการปกครองโดยรัฐธรรมนูญ เราจึงนำความเห็นแย้งมาเสนอในที่นี้ ๓ รายด้วยกัน ดังนี้
๑. สุธา ยิ้ม
ผมได้ตอบคำถามกับผู้สื่อข่าวไปแล้วว่า ไม่อาจจะเห็นด้วยกับสภาปฏิรูปประเทศ ที่นายกรัฐมนตรีเสนอ เพราะไม่รู้ว่ายืนอยู่บนหลักการอะไร เป็นประชาธิปไตยแบบไทย
เหตุผลแรกก็คือ คณะกรรมการปฏิรูป ๑๑ คน ที่มี ผบ.เหล่าทัพ, หน.ส่วนราชการ, เลขาสภาพัฒน์, อธิการม.รัฐ, ปธ.สภาหอการค้า, ปธ.สภาอุตฯ, ปธ.สภาธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิ ๒ คน ผมไม่ทราบว่าเป็นตัวแทนใคร ได้อาณัติมาจากประชาชน หรือยึดโยงกับประชาชนอย่างไร
เหตุผลที่สองก็คือ เราพูดกันเรื่องการปฏิรูป แต่ไม่ได้พูดเรื่องเนื้อหาการปฏิรูป ซึ่งสำหรับผมแล้ว หมายถึงการทำให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ให้ประชาชนมีอธิปไตยอันแท้จริง ซึ่งอาจหมายรวมถึงการปฏิรูปศาล กองทัพ และแก้รัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ แต่การปฏิรูปแบบคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ คงมีเนื้อหาตรงข้าม คุณบรรหาร ศิลปอาชา หรือคุณชูวิทย์ ก็อาจมีแนวคิดปฏิรูปแบบของตน ปัญหาคือ เราจะปฏิรูปตามเนื้อหาแบบไหน
ก็นี่ไงครับ เราต้องเสนอสู่พรรคการเมือง แล้วให้ประชาชนเป็นคนเลือกตามกระบวนการเลือกตั้ง หรือให้สภาผู้แทนที่เลือกมาจากราษฎรเป็นผู้พิจารณา จะมาตั้งเป็น ๘ อรหันต์ ๑๑ อรหันต์เพื่อปฏิรูปประเทศคงไม่ถูก
เหตุผลที่สาม ประเทศไทยอยู่ในกระแสการเมืองโลกที่ก้าวไปสู่ประชาธิปไตย แต่มีพวกปฏิปักษ์ประชาธิปไตยพยายามเหนี่ยวรั้ง แล้วทำให้เกิดสภาอะไรหน้าตาแปลกอยู่เสมอ เพื่อจะเบี่ยงเบนประชาธิปไตย ถ้าเรายอมตาม อนาคตข้างหน้าเราจะอธิบายกันอย่างไร
ผมคิดว่าจุดยืนและข้อเสนอในทางประชาธิปไตยของกลุ่มนักวิชาการ สปป. เป็นเรื่องที่ชัดเจน ถูกต้องตามหลักการสากล ควรที่รัฐบาลจะรับพิจารณา และต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ตามกติกา โดยยืนหยัดไม่ยอมตามข้อเสนอที่ไร้หลักการ มิฉะนั้น ก็ไม่ต่างจากอีกฝ่ายหนึ่งที่เราโจมตีว่าเสนออะไรไม่มีหลักการ
ก็คงจะท้วงกันฉันมิตรแบบนี้แหละครับ
๒. ชูชาติ ศรีแสง
นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา โพสต์เฟซบุ๊ก ยันสภาปฏิรูปประเทศตามที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสนอ ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เพราะฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
เมื่อเวลาประมาณ 15.55
น. วันนี้ (25 ธันวาคม 2556) นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นกรณี
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี
ได้แถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เสนอตั้งสภาปฏิรูปประเทศ
เพื่อให้สถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะสงบโดยเร็ว โดยชี้ว่า สภาปฏิรูปดังกล่าว
ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง เพราะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ดังนี้
".....วันนี้ที่
25 ธันวาคม 2556 เวลา 11.30 นาฬิกา
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และ
รมว.กลาโหม ออกแถลงการณ์หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี
โดยเสนอให้มีการตั้งสภาปฏิรูปประเทศ
โดยคณะกรรมการจะไม่มีคนของรัฐบาลเกี่ยวข้อง
แต่จะเป็นเพียงคนคอยประสานเท่านั้น
โดยเริ่มจากการสรรหาตัวแทนจากภาคประชาชนจากสาขาอาชีพต่างๆ
จำนวน 2,000 คน แล้วคัดเลือกมา 499 คน
และสรรหาคณะกรรมการคัดเลือกจำนวน 11 คนจากหน่วยงานทหาร,
หัวหน้าส่วนราชการ, ผบ.เหล่าทัพ, ปลัดกระทรวง, เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,
อธิการบดีมหาวิทยาลัย, ประธานหอการค้า,
ประธานอุตฯ, ประธานสมาคมธนาคาร ซึ่งจะทำควบคู่ไปกับการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อแก้การเมืองขัดแย้ง
.....ผู้ที่เขียนคำแถลงการณ์ให้นางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร อ่าน น่าจะไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญ หรืออ่านแล้วแต่ไม่ได้สนใจที่จะยึดถือปฏิบัติ
.....รัฐธรรมนูญ
มาตรา 181 บัญญัติว่า
คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตําแหน่งต้องอยู่ในตําแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจน
กว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
แต่ในกรณีพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา 180 (2) คืออายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จําเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด
ดังต่อไปนี้
.......(1) ฯลฯ
.......(2) ไม่กระทําการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสํารองจ่ายเพื่อกรณี
ฉุกเฉินหรือ จําเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
.......(3) ไม่กระทําการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ
หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
.......(4) ฯลฯ
.....การจะตั้งสภาปฏิรูปประเทศตามที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลง เมื่อตั้งขึ้นแล้วจะต้องใช้เวลาปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า
1 ปี
ย่อมมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
ทั้งต้องมีผลให้ต้องอนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงาน
ของสภาปฏิรูปประเทศด้วย
.....ดังนั้นจึงเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา
181(3) และ (2)
.....เมื่อเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
จึงไม่สามารถกระทำได้
(เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng )
๓. พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อโต้แย้งการตราพระราชกำหนดว่าด้วยคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง
25 ธันวาคม, 2013 - 00:25 | โดย Phuttipong
ขณะนี้มีข้อเสนอของ TDRI[๑] และนักกฎหมายบางคน[๒] เสนอให้รัฐบาลตราพระราชกำหนดจัดตั้งองค์กรปฏิรูปการเมืองก่อนจัดให้มีการเลือกตั้ง ผมจะรอดูว่า "รัฐบาลซึ่งถอยทะลุซอยมาแล้วนั้น จะถอยอีกหรือไม่" และถ้ามีการ "ถ อ ย" อีกในคราวนี้ ต่อไปพวกคุณจะทำบ้าทำบออะไรอีกก็เชิญเลย!
การเสนอให้ตราพระราชกำหนดนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ[๓] ลักษณะ
ของการตราพระราชกำหนดนั้นจะต้องเป็นกรณีที่เกิดภยันตรายขึ้นแล้วและไม่ปรากฏ
ว่ามีกฎหมายในระบบกฎหมายขณะนั้นที่จะใช้ระงับภยันตรายเช่นว่านั้นได้
กล่าวคือ เป็นภยันตรายในลักษณะที่ออกกฎหมายบังคับใช้ก่อนมิได้
หรือไม่ทันการนั่นเอง
และพระราชกำหนดที่ตราขึ้นนั้นต้องตราขึ้นเพื่อให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐใน
อันที่จะมีเครื่องไม้เครื่องมือในการระงับภยันตรายที่เกิดขึ้นนั่นเอง
มิใช่ว่าเกิดภยันตรายอะไรขึ้นก็จะตราพระราชกำหนดอะไรขึ้นก็ได้
ขณะนี้เกิดกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณขึ้น ระบบกฎหมายนั้น "มีมาตรการ" กำจัดภยันตรายของกบฏอยู่เพียงพอแล้ว "ภยันตราย" กับ "มาตรการที่ใช้" ต้อง adequate กัน จะเห็นได้ว่าการตราพระราชกำหนดจัดตั้งองค์กรปฏิรูปการเมือง (หรือทำนองเดียวกัน) ไม่ใช่เป็นไปเพื่อให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการระงับการก่อกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ และไม่ใช่มาตรการที่เป็นประโยชน์ให้บรรลุเจตนารมณ์ในการระงับภัยเช่นว่านั้น กล่าวคือ นอกจากรัฐจะมีมาตรการทางกฎหมายอย่างเพียงพอในการกำจัดกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณแล้ว การตั้งสภาปฏิรูปฯ ก็ไม่ใช่มาตรการที่ทำให้การชุมนุมของกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ ระงับสิ้นลงด้วย
หลักการดังกล่าวยังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขและแบบพิธีในการตราพระราชกำหนดไว้ ๓ ประการ ดังนี้
ประการที่ ๑. การตราพระราชกำหนดจะกระทำได้ก็แต่เฉพาะเพื่อรักษาความปลอดภัยประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ
คำว่า "เพื่อรักษาความปลอดภัยประเทศ" หมายถึง ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะทำการขับไล่ศัตรูหรือระงับปราบปรามในสงคราม
คำว่า "เพื่อรักษาความปลอดภัยสาธารณะ" หมายถึง ได้มีภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยขึ้น เช่น เกิดการกบฏ หรือจลาจล และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะปราบปรามคณะผู้ก่อการกบฏหรือการจลาจล
คำว่า "เพื่อรักษาความมั่นคงในเศรษฐกิจของประเทศ" หมายถึง ภยันตรายคุกคามประเทศในทางเศรษฐกิจ เช่น ฐานะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์ในอันที่พยุงฐานะในทางเศรษฐกิจของประเทศ
คำว่า "เพื่อปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ" หมายถึง ได้มีภัยพิบัติสาธารณะเกิดขึ้นแล้ว และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะขจัดภัยพิบัตินั้นให้หมดสิ้นไป
ประการที่ ๒. พระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นใช้บังคับนั้นจะต้องกำหนดมาตรการที่เป็นประโยชน์แก่การให้บรรลุเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายในประการที่ ๑. ถ้ามาตรการที่พระราชกำหนดนั้นได้กำหนดไว้ไม่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินการให้บรรลุเจตนารมณ์เช่นว่านี้เลย พระราชกำหนดฉบับนั้นก็ "ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่ง" (ขัดรัฐธรรมนูญฯ นั่นเอง)
"ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะ..." แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า มาตรการในพระราชกำหนดต้องเป็นมาตรการที่ประจักษ์แก่วิญญูชนว่าสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น ภยันตรายที่เกิดขึ้นคือ กบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ มาตรการที่พระราชกำหนดนั้นใช้คือ การตั้งสภาปฏิรูปการเมือง (เพื่อตรวจสอบรัฐบาล และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ) ย่อมไม่ใช่มาตรการที่จะทำให้การกบฏนั้นหมดสิ้นลงในสายตาวิญญูชน
"การตราพระราชกำหนด...ให้กระทำได้เฉพาะ...เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า การตราพระราชกำหนดนั้นเพ่งไปยัง "ภยันตราย" ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หาใช่เพ่งไปยังมาตรการหรือความมุ่งหมายที่จะ "ก่อตั้งมาตรการ" ขึ้นตามอำเภอใจ โดยอาศัยเหตุ "ภยันตราย" เป็นเพียงข้ออ้างไม่
การปฏิรูปการเมืองนั้น ไม่ใช่มาตรการที่จะใช้สำหรับภยันตรายที่เป็น "กรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" แต่อย่างใด
ประการที่ ๓. การตราพระราชกำหนดนั้นเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีก็จริงอยู่ แต่รัฐธรรมนูญฯ กำหนดโดยชัดแจ้งว่าต้องมี "สภาผู้แทนราษฎร" และ "วุฒิสภา" ให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติพระราชกำหนด "โดยไม่ชักช้า" หากอยู่นอกสมัยประชุมสภา คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญโดยไม่ชักช้า
ขณะนี้อยู่ในระหว่าง "ยุบสภาผู้แทนราษฎร" เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ขณะนี้ไม่มี "สภาผู้แทนราษฎร"
จากประการที่ ๑-๓ ที่อธิบาย จะเห็นได้ว่า การตราพระราชกำหนดปฏิการเมืองนั้น (หรือทำนองเดียวกัน) ไม่เข้าเงื่อนไขการตราพระราชกำหนด และเป็นโมฆะ จะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างความเป็นโมฆะขึ้นเมื่อใดก็ได้
นอกจากการตราพระราชกำหนดนั้นขัดรัฐธรรมนูญฯแล้ว จุดมุ่งหมายของการปฏิรูปนั้น ไม่มี consensus ว่าจะปฏิรูปอะไร และนำไปสู่เป้าหมายคืออะไร และ consensus ของใคร? ต่างฝ่ายต่างมี "มโนทัศน์" เป็นของตนเอง เช่น กปปส. ต้องการปฏิรูปการเลือกตั้งให้ ๑ คนมีสิทธิเลือกตั้งไม่เท่ากัน หรือก่อตั้งสภาของสุเทพเพื่อชี้นำอำนาจทั้งปวงในรัฐ เป็นต้น แต่ไม่ยอมให้ "ประชาชนแสดงเจตจำนง" เลือกว่าจะปฏิรูปในกรอบเพียงใด ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดคือการเลือกตั้งและประชาชนจะเลือกตามนโยบายพรรคการเมือง
ทั้งสภาวิชาชีพก็ปรากฏให้เห็นในสภาพัฒน์ฯ ซึ่งมีผลงานที่ประสบความล้มเหลวเพียงใดเป็นที่ประจักษ์กันอยู่แล้ว
ขณะนี้เกิดกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณขึ้น ระบบกฎหมายนั้น "มีมาตรการ" กำจัดภยันตรายของกบฏอยู่เพียงพอแล้ว "ภยันตราย" กับ "มาตรการที่ใช้" ต้อง adequate กัน จะเห็นได้ว่าการตราพระราชกำหนดจัดตั้งองค์กรปฏิรูปการเมือง (หรือทำนองเดียวกัน) ไม่ใช่เป็นไปเพื่อให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการระงับการก่อกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ และไม่ใช่มาตรการที่เป็นประโยชน์ให้บรรลุเจตนารมณ์ในการระงับภัยเช่นว่านั้น กล่าวคือ นอกจากรัฐจะมีมาตรการทางกฎหมายอย่างเพียงพอในการกำจัดกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณแล้ว การตั้งสภาปฏิรูปฯ ก็ไม่ใช่มาตรการที่ทำให้การชุมนุมของกบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ ระงับสิ้นลงด้วย
หลักการดังกล่าวยังปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขและแบบพิธีในการตราพระราชกำหนดไว้ ๓ ประการ ดังนี้
ประการที่ ๑. การตราพระราชกำหนดจะกระทำได้ก็แต่เฉพาะเพื่อรักษาความปลอดภัยประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ
คำว่า "เพื่อรักษาความปลอดภัยประเทศ" หมายถึง ประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะทำการขับไล่ศัตรูหรือระงับปราบปรามในสงคราม
คำว่า "เพื่อรักษาความปลอดภัยสาธารณะ" หมายถึง ได้มีภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยขึ้น เช่น เกิดการกบฏ หรือจลาจล และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะปราบปรามคณะผู้ก่อการกบฏหรือการจลาจล
คำว่า "เพื่อรักษาความมั่นคงในเศรษฐกิจของประเทศ" หมายถึง ภยันตรายคุกคามประเทศในทางเศรษฐกิจ เช่น ฐานะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์ในอันที่พยุงฐานะในทางเศรษฐกิจของประเทศ
คำว่า "เพื่อปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ" หมายถึง ได้มีภัยพิบัติสาธารณะเกิดขึ้นแล้ว และพระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นบังคับใช้นั้นมีเจตนารมณ์เพื่อให้อำนาจ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในอันที่จะขจัดภัยพิบัตินั้นให้หมดสิ้นไป
ประการที่ ๒. พระราชกำหนดที่ฝ่ายบริหารตราขึ้นใช้บังคับนั้นจะต้องกำหนดมาตรการที่เป็นประโยชน์แก่การให้บรรลุเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายในประการที่ ๑. ถ้ามาตรการที่พระราชกำหนดนั้นได้กำหนดไว้ไม่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินการให้บรรลุเจตนารมณ์เช่นว่านี้เลย พระราชกำหนดฉบับนั้นก็ "ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๘๔ วรรคหนึ่ง" (ขัดรัฐธรรมนูญฯ นั่นเอง)
"ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะ..." แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า มาตรการในพระราชกำหนดต้องเป็นมาตรการที่ประจักษ์แก่วิญญูชนว่าสามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น ภยันตรายที่เกิดขึ้นคือ กบฏสุเทพ เทือกสุบรรณ มาตรการที่พระราชกำหนดนั้นใช้คือ การตั้งสภาปฏิรูปการเมือง (เพื่อตรวจสอบรัฐบาล และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ) ย่อมไม่ใช่มาตรการที่จะทำให้การกบฏนั้นหมดสิ้นลงในสายตาวิญญูชน
"การตราพระราชกำหนด...ให้กระทำได้เฉพาะ...เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า การตราพระราชกำหนดนั้นเพ่งไปยัง "ภยันตราย" ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หาใช่เพ่งไปยังมาตรการหรือความมุ่งหมายที่จะ "ก่อตั้งมาตรการ" ขึ้นตามอำเภอใจ โดยอาศัยเหตุ "ภยันตราย" เป็นเพียงข้ออ้างไม่
การปฏิรูปการเมืองนั้น ไม่ใช่มาตรการที่จะใช้สำหรับภยันตรายที่เป็น "กรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" แต่อย่างใด
ประการที่ ๓. การตราพระราชกำหนดนั้นเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีก็จริงอยู่ แต่รัฐธรรมนูญฯ กำหนดโดยชัดแจ้งว่าต้องมี "สภาผู้แทนราษฎร" และ "วุฒิสภา" ให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติพระราชกำหนด "โดยไม่ชักช้า" หากอยู่นอกสมัยประชุมสภา คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญโดยไม่ชักช้า
ขณะนี้อยู่ในระหว่าง "ยุบสภาผู้แทนราษฎร" เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ขณะนี้ไม่มี "สภาผู้แทนราษฎร"
จากประการที่ ๑-๓ ที่อธิบาย จะเห็นได้ว่า การตราพระราชกำหนดปฏิการเมืองนั้น (หรือทำนองเดียวกัน) ไม่เข้าเงื่อนไขการตราพระราชกำหนด และเป็นโมฆะ จะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างความเป็นโมฆะขึ้นเมื่อใดก็ได้
นอกจากการตราพระราชกำหนดนั้นขัดรัฐธรรมนูญฯแล้ว จุดมุ่งหมายของการปฏิรูปนั้น ไม่มี consensus ว่าจะปฏิรูปอะไร และนำไปสู่เป้าหมายคืออะไร และ consensus ของใคร? ต่างฝ่ายต่างมี "มโนทัศน์" เป็นของตนเอง เช่น กปปส. ต้องการปฏิรูปการเลือกตั้งให้ ๑ คนมีสิทธิเลือกตั้งไม่เท่ากัน หรือก่อตั้งสภาของสุเทพเพื่อชี้นำอำนาจทั้งปวงในรัฐ เป็นต้น แต่ไม่ยอมให้ "ประชาชนแสดงเจตจำนง" เลือกว่าจะปฏิรูปในกรอบเพียงใด ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดคือการเลือกตั้งและประชาชนจะเลือกตามนโยบายพรรคการเมือง
ทั้งสภาวิชาชีพก็ปรากฏให้เห็นในสภาพัฒน์ฯ ซึ่งมีผลงานที่ประสบความล้มเหลวเพียงใดเป็นที่ประจักษ์กันอยู่แล้ว
ข้อพิจารณา การ
ปฏิรูปการเมืองนั้นย่อมมีวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ
ซึ่งกฎเกณฑ์ในทางกฎหมายที่จะ "เปลี่ยนโครงสร้างอำนาจรัฐ"
ต้องกระทำในระดับรัฐธรรมนูญ โดยตราเป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หากมี
"ใคร" เสนอให้ตรากฎหมายศักดิ์ต่ำกว่า "รัฐธรรมนูญ" เช่น
ตราเป็นพระราชกำหนดก็ดี นั่นคือการใช้ให้รัฐบาลกระทำรัฐประหารตนเอง
แล้วผสมโรงกับศาลรัฐธรรมนูญที่จะชี้ว่าพระราชกำหนดที่จะเปลี่ยนแปลงโครง
สร้างอำนาจรัฐไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
เช่นนี้เข้าสูตรรัฐประหารสำเร็จ และเป็นการทำให้ "มีผลบังคับ"
ของประกาศคณะรัฐประหารในรูป "พระราชกำหนด"
ด้วยการยืนยันความสมบูรณ์โดยศาลรัฐธรรมนูญ
ข้อเสนอของ TDRI อาจกระทำได้ในรูปของ
"คณะกรรมการธรรมดา" ซึ่งมีรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ โดยไม่ตรากฎหมายรองรับ
ที่สุดคือเท่านี้ครับ
บทส่งท้าย
รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ทำความผิดพลาดครั้งมหันต์มาหลายครั้งแล้วในการ
"ละเมิดหลักการ" และ "ขัดรัฐธรรมนูญ" นับแต่คราว พรบ.เหมาเข่ง, การถอนร่างรัฐธรรมนูญฯ
คืนมาจากกษัตริย์ ซี่งจะทำลายบูรณภาพของอำนาจตามรัฐธรรมนูญในภายหน้าซึ่งจะได้เห็นอีกไม่ช้านานนี้
---
ในคราวนี้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะทำ
"ละเมิดหลักการ" และ "ขัด
รัฐธรรมนูญ" โดยเลื่อนวันเลือกตั้ง หรือตั้งสภาหรือคณะกรรมการปฏิรูป/คนกลาง
ก่อนการเลือกตั้งซ้ำรอยเดิมอีกหรือไม่
และการยินยอมเกี้ยเซี้ยคราวนี้อีกก็จะเป็นอนันตริยกรรมของรัฐบาลพรรคเพื่อ
ไทยที่ไม่รักษาการเลือกตั้งไว้
และการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปฯ โดยมีคนกลางต่างๆ ประกอบด้วยวิชาชีพใดๆ นั้น
ในท้ายที่สุดจะแปลงร่างไปเป็นอะไรอีกก็สุดจะหยั่งถึง
นับวันรัฐบาลก็ถอยออกจากหลักการไปเรื่อยๆ
หากปล่อยให้ "กบฏ" หรือ "ความคิดของฝ่ายกบฏ" มาชี้นำหรือโค่นการเลือกตั้ง
ย่อมเป็นการขุดหลุมฝังรัฐบาลเอง และให้อำนาจนอกรัฐธรรมนูญเข้ามาจราจรในระบบรัฐธรรมนูญเยี่ยงการรัฐประหารอีก
ครั้ง และหากไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น คนที่ "ก่อความผิดร้ายแรงที่สุด"
ก็คือรัฐบาลพรรคเพื่อไทย.
_________________
_________________
เชิงอรรถ
[๑] สมเกียรติ
ตั้งกิจวานิชย์: ข้อเสนอต่อกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50633[๒] Siripan Nogsuan Sawasdee
http://www.facebook.com/siripan.nogsuansawasdee/posts/764618386889483
[๓] รัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๘๔ บัญญัติว่า "ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้
การตราพระราชกําหนดตามวรรคหนึ่ง ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็น รีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น