ใบตองแห้ง Baitonghaeng
VoiceTV Staff
Bio
คอลัมนิสต์อิสระ
บทเรียนของทุกฝ่ายในปี 2556 คืออำนาจต้องมีที่มาอย่างชอบธรรม
และสำคัญกว่านั้น ต้องใช้อย่างชอบธรรมด้วย
ไม่เช่นนั้นมีอำนาจมากเท่าไหร่ก็พังได้
พรรคเพื่อไทยมีอำนาจจากเลือกตั้ง แต่ใช้อำนาจไม่ชอบธรรม นิรโทษสุดซอย “ลักหลับ” ทำให้เกิดม็อบต้าน แม้ถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษแล้ว ความโกรธแค้นความไม่ไว้วางใจ ก็ทำให้ “มวลมหาประชาชน” คนชั้นกลางเก่าชาวกรุงและชาวใต้ ลุกฮือไม่เลิกรา กลายเป็น “พลังอำนาจ” ที่คนนับล้าน มอบให้แกนนำไปเคลื่อนไหวอย่างมีอภิสิทธิ์ ไม่ต้องเกรงใจใคร ปิดถนน ยึดสถานที่ราชการ ตัดน้ำตัดไฟ ละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
แต่พอรัฐบาลยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน หันไปอิงความชอบธรรมจากระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน สิทธิเลือกตั้งเป็นของทุกคนทุกพรรค “มวลมหาประชาชน” ซึ่งใช้วิธีอันธพาลขัดขวางการเลือกตั้ง ปิดถนน สร้างความเดือดร้อน บุกสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง แล้วยิงตำรวจตาย ก็กำลังสูญเสียความชอบธรรมเช่นกัน แม้พวกเขายังไม่พ่ายแพ้ เพราะพลังอำนาจพิเศษหนุนหลัง เพราะยังมีฝูงชนที่เชื่อว่าตัวเองเป็นคนดีจนคลุ้มคลั่ง แต่ก็ยากจะหาจังหวะเผด็จศึก เพราะใครก็ตาม ที่เข้ามารับช่วงอำนาจ เข้ามาล้มรัฐบาล ต้องรับความไม่ชอบธรรมของม็อบไปด้วย
ทหารจึงยังไม่กล้าทำรัฐประหารจนวันนี้ ทำแล้วจะโทษรัฐบาลอย่างไร ในเมื่อม็อบต่างหากทำตัวเป็นอันธพาลระรานสิทธิเลือกตั้งของคน 47 ล้านคน
คงมีแต่องค์กรอิสระ ช่วยลากยื้อ เขย่าขย่ม กกต.รับสมอ้าง เสนอเลื่อนเลือกตั้ง ทั้งที่เป็นความผิดตน ไม่เปลี่ยนสถานที่ ไม่เปลี่ยนวิธีการ รู้ทั้งรู้ว่าม็อบจะบุก จนเกิดการปะทะ
ปปช.ชี้มูลประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา และจะชี้มูล 383 ส.ส. ส.ว. วันที่ 7 ม.ค.หลังสมัคร ส.ส.เขต ทำให้การเลือกตั้งระส่ำ ถ้าถูกพักการปฏิบัติหน้าที่แม้ยังหาเสียงได้ แต่ก็เท่ากับเลือกตั้งล่ม
ศาลรัฐธรรมนูญก็ชี้ว่า กปปส.ไม่ได้ล้มล้างการปกครอง ทั้งที่ประกาศจะตั้งนายกฯ ตั้งสภาเถื่อนเฉพาะพวกตน (แต่แก้รัฐธรรมนูญให้วุฒิสภามาจากเลือกตั้ง กลับบอกว่าล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข)
มาเป็นชุด แต่ยังหาจุดน็อคไม่ได้ และคงค้างคาไปจนจันทร์หน้าที่จะรับสมัคร ส.ส.เขต ซึ่งถ้าใครกล้าสมัคร ส.ส.ภาคใต้ต้องให้เหรียญกล้าหาญ ไม่กลัวตายทั้งตัวเองและครอบครัว
แต่ถ้านายกฯ ไม่ลาออกเสียอย่าง จะทำอย่างไร ก็วัดใจกัน ถ้าแน่จริงก็ทำรัฐประหาร ไม่ต้องเอารถถังมาหรอก ขอแค่ ผบ.ทบ.ประกาศผ่านเฟซบุค วาสนา นาน่วม นายกฯ ก็ยิ้มแป้น เก็บของกลับบ้าน ยกอำนาจให้แต่โดยดี (แต่หลังจากนี้ละมึง!!!)
ที่น่าสนใจคือถ้าไม่เกิดรัฐประหาร จะลากกันไปถึงไหน ม็อบ องค์กรต่างๆ ที่เข้ามามะรุมมะตุ้ม จะยิ่งเสียหายเสียความชอบธรรม ให้สังเกตว่าม็อบเริ่มสติแตก ข่มขู่ คุกคาม ปลุกความเกลียดชัง (ใช้กระทั่งเด็ก) คุมอารมณ์ไม่อยู่ บรรยากาศม็อบครอบครัวสุขสันต์ของคนชั้นกลางอินสตาแกรม ค่อยๆ จางหายไป
นี่เป็นอะไรที่น่าแลก น่าลุ้น แม้เสี่ยงกับภาวะอนาธิปไตย เมื่อคลั่งกันได้ถึงขีดสุด
ใครจะเปลืองตัว
นับแต่รัฐบาลตัดสินใจยุบสภา อันที่จริง ข้อเรียกร้องของ กปปส.ก็หมดความชอบธรรม เหลือแต่คำขวัญหลอกคน “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ทั้งที่ยังไม่รู้เลยจะปฏิรูปอะไร แต่ชูปฏิรูปเป็นยาวิเศษ เม็ดเดียวเปลี่ยนประเทศได้ เหมือนบัวหิมะพันปีหรือไล่ตังมังกรในหนังสือกำลังภายใน กินแล้วทลายจุดหยิมต๊กในพริบตา
ก็รู้แก่ใจกันอยู่ว่า ทั้งแกนนำและคนไปม็อบส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการปฏิรูปอะไรหรอก แค่เกลียด “อีปู” แล้วชูเป็นข้ออ้าง
พอเจอข้อเสนอของคนกลางๆ หรือคนที่เคยเหลืองแต่ไม่อยากเห็นบ้านเมืองฉิบหาย ว่าให้ปฏิรูปพร้อมเลือกตั้ง ม็อบก็เริ่มอ่อนพลัง แต่พรรคประชาธิปัตย์ดันตัดสินใจตามก้น “เจ๊แดง” เว้นวรรคไม่สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเท่ากับยัดบั้งไฟใส่บั้นท้าย “มวลมหาประชาชน” แล้วจุดให้พุ่งชนระบบเลือกตั้งด้วยความเร็วสูงสุด
รู้ทั้งรู้ว่าจะนำไปสู่หายนะ ไม่มีทางลง มีแต่แตกหัก ทุกคนรู้ว่าข้อเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก แล้ว”กำนัน” จะสถาปนาตัวเองเป็นหัวหน้าคณะ คมช.(ต้องโปรดเกล้าฯ หรือเปล่า) ตั้งนายกฯ คนกลาง ตั้งสภาประชาชน ฯลฯ เอาเข้าจริงเป็นแค่โรงน้ำแข็ง ปั้นเมฆเป็นก้อน “สภาตุ๊กตาผี” ไม่มีทางเกิดได้ “ปฏิวัติประชาชน” จะทำได้ไง ถ้าทหารไม่เอาด้วย
ของจริงต้องรัฐประหาร ต้องใช้อำนาจอะไรสักอย่างมาสั่งนายกฯ ลาออก แต่ถามว่าใครจะกล้าเปลืองตัว ไม่ใช่แค่เผชิญหน้ามวลชนเสื้อแดง แต่ยังมีนานาชาติ มีปัญหานานัปการที่ต้องแก้ไข และเผลอๆ พวกคลั่ง 1009 จำพวกที่แฝงในม็อบก็จะแว้งเข้าให้
ในแง่ของม็อบ แน่นอน การใช้กำลังขัดขวางเลือกตั้ง สร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย จะทำไปทำไม ถ้าคุณไม่เชื่อมั่นว่าท้ายที่สุด “อำนาจพิเศษ” กองทัพ องค์กรอิสระ กกต. ปปช. ตุลาการ จะเข้าข้างคุณ
ไม่มีม็อบไหนในโลก เหิมเกริมได้เพียงนี้ มีแต่ที่นี่ประเทศไทย ซึ่งฝังไว้ด้วยความเชื่อดังกล่าว
ที่อ้างว่า “ปฏิวัติประชาชน” ไม่เอารัฐประหาร ก็ไม่จริง สมมติกองทัพทนแรงกดดันไม่ไหว “มวลมหาประชาชน” ก็ไชโยโห่ร้อง ขึ้นรถไฟกลับบ้านฉลองใหญ่ ไม่มีหรอกที่จะยืนหยัดเวที 5 ล้าน 10 ล้านไม่เอารัฐประหาร จะเอาสภาประชาชน ร้อยทั้งร้อยยิ้มแป้น แต่ปากบอก “เราไม่ค่อยเห็นด้วยหรอกนะ กะรัฐประหาร แต่ทำไงได้ล่ะ อีปูมันดื้อเอง”
จากนั้นก็จะมีสภาปฏิรูปพอเป็นพิธี เลือกคนข้างเดียว มีหมอประเวศ มีอานันท์ มาจัดดอกไม้สวยๆ 2-3 ดอกแต่งหน้าศพ เป็นอันเสร็จสมอารมณ์ใคร่ของคนชั้นกลางชาวกรุงชาวใต้ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาเหลื่อมล้ำจริงจัง กลับจะยิ่งทำลายประชาธิปไตยไปกันใหญ่
ถามจริง จะใช้เวลาปฏิรูป ปฏิวัติ รัฐประหาร กันกี่ปี จึงจะกลับมาสู่เลือกตั้ง แล้วมั่นใจว่า “ระบอบทักษิณ” แพ้ ชาติหน้าตอนบ่ายๆ แน่ะครับ เพราะยิ่งทำอย่างนี้ยิ่งสร้างความชอบธรรมให้ “ระบอบทักษิณ”
จุดจบประชาธิปไตยอำมาตย์?
ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ที่อยู่ยั้งยืนยงมา 40 ปีกำลังจะถึงจุดจบ พูดอย่างนี้ไม่ได้ชวนโค่นล้มหรือชวนให้ “ปฏิวัติประชาชน” อีกข้าง และไม่ใช่ร้องไชโยเรากำลังจะ “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” เพราะน่าวิตกว่าจะเกิดการแตกหัก นองเลือด สูญเสีย ถอยหลังครั้งใหญ่เสียมากกว่า
แต่ที่บอกว่าจะถึงจุดจบ ก็คือ “ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์” ที่มีรัฐบาลจากเลือกตั้ง แล้วมีชนชั้นนำกำกับอยู่เบื้องหลัง กำลังกลายเป็นสิ่งที่ “มวลมหาประชาชน” ไม่อดทนและไม่ต้องการเช่นกัน หลังจากมวลชนเสื้อแดง ผู้รักประชาธิปไตย ปฏิเสธมาแล้ว
รัฐในอุดมคติของ “มวลมหาประชาชน” เอาเข้าจริงก็คือ ไม่ต้องการนักการเมืองจากเลือกตั้ง แต่ต้องการระบอบ “เผด็จการมีส่วนร่วม” Joint Venture Dictatorship ระหว่างชนชั้นนำ ทหาร ตุลาการ กับคนชั้นกลางอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉะนั้นเวลาบอกว่าพวกเขาไม่เอาประชาธิปไตย พวกเขาจึงเถียงคอเป็นเอ็น เอาสิ นี่คือระบอบที่คนชั้นกลางเก่ามีเสรีภาพ มีประชาธิปไตยเต็มใบ มีอำนาจ มีส่วนร่วม ผ่านสถาบันอำนาจของคนชั้นกลาง เช่น สื่อ สถาบันวิชาการ องค์กรวิชาชีพ เครือข่ายต่างๆ ที่อ้างคุณธรรม อ้างพอเพียง ต่อต้านคอร์รัปชั่น ต่อต้านอนุมูลอิสระ
พวกเขาไม่เอาเผด็จการทหารแบบเก่า ต้องการเผด็จการแบบใหม่ เป็นระบอบไทยๆ ไม่เคยมีที่ไหนในโลก คือคนชั้นกลางร่วมใช้อำนาจเผด็จการ มีประชาธิปไตยให้คนชั้นกลาง แต่ไม่ให้ 1 คน 1 เสียงสำหรับคนจน
นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ นี่ก้าวข้ามประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ จนหลุดโลกไปแล้ว เพราะประชาธิปไตยแบบอำมาตย์คือการแบ่งปันอำนาจระหว่างนักการเมืองกับชนชั้น นำ แต่ตอนนี้ กำลังจะล่มสลายเพราะทั้งคนชั้นกลางและคนชั้นล่างต่างร้องว่า “กรูต้องการอำนาจ”
ถามว่าการเรียกร้องอำนาจตรวจสอบทัดทานรัฐบาลของคนชั้นกลางถูกต้องหรือเปล่า ถูกต้องครับ แต่อำนาจของคนชั้นกลางอยู่ที่ไหน อยู่ที่การใช้ความคิดความรู้ ความจริง ความมีเหตุผล มาโน้มน้าวให้คนส่วนใหญ่คล้อยตาม ไม่ใช่ใช้อคติ ใช้กำลัง หรือชี้หน้าว่าคนส่วนใหญ่โง่ คนชั้นกลางเก่าตรวจสอบทัดทานรัฐบาลไม่ได้ เพราะทำลายตัวเองจากการออกบัตรเชิญรัฐประหาร 49 และออกใบอนุญาตฆ่าปี 53 ดันทุรังเป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตย เป็นปฏิปักษ์กับคนชนบท “มวลมหาประชาชน” ตัวจริงที่ตื่นตัวขึ้นมา จึงไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาลอย่างมีเหตุผล
พูดแล้วก็เป็นเรื่องตลก เพราะแทนที่มวลชนเสื้อแดงจะเป็นผู้โค่นล้ม “ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์” แต่ “มวลมหาประชาชน” คนชั้นกลางเก่ากลับเร่งกระบวนการเสียเอง ขณะที่พรรคเพื่อไทยและมวลชนเสื้อแดงกลับอยากให้ “ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์” ดำรงอยู่อีกสักระยะ
การดับเครื่องชนของ “ม็อบกำนัน” และพรรคแมลงสาบ สร้างความสุ่มเสี่ยงสูงสุด อย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองหลัง 14 ตุลา เปล่า ไม่ใช่เทพเทือกเสี่ยง ไม่ใช่แมลงสาบเสี่ยง แต่สถานการณ์ที่สร้างขึ้นค้างเติ่ง จบไม่ลง อารมณ์คน “เป็นล้าน” เตลิดเปิดเปิง ไปไม่ถึงจุดสปัสซั่ม กำลังรออำนาจพิเศษหรือกองทัพเข้ามาช่วยเผด็จศึก นั่นแหละผู้ที่จะรับความเสี่ยงไปเต็มๆ
“การลงทุนมีความเสี่ยง” แต่ ปชป.ไม่ต้องเสี่ยงอะไรเลย ลอยตัว สบายใจเฉิบ แค่ชิ่งออกแล้วปล่อยให้อำมาตย์กับไพร่ชนกันบ้านเมืองฉิบหาย
กระนั้น อำนาจพิเศษ กองทัพ ศาล องค์กรอิสระ ก็หาจังหวะ “เผด็จศึก” ไม่ง่ายเหมือนปี 49 ไม่ง่ายเหมือนปี 51 ใครล่ะจะเป็นหนังหน้าไป พร้อมไหมที่จะเสี่ยงขั้นสูงสุด
ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ คือการที่ชนชั้นนำมีอำนาจแฝงเหนืออำนาจ “ครึ่งใบ” แล้วปล่อยให้นักการเมืองรับผิดชอบ รับเสียงก่นด่าประณามถึงความไม่เอาไหน พวกเขาไม่ได้ต้องการอำนาจเต็มใบ เพราะเท่ากับต้องก้าวออกมารับผิดชอบเต็มๆ ใน 40 ปีที่ผ่านมา มีรัฐประหารแค่ 3 ครั้ง โดยหลัง 6 ตุลาก็ได้บทเรียนว่าต้องอยู่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น
แต่สิ่งที่ “มวลมหาประชาชน” กำลังเรียกร้อง คือเรียกร้องให้ก้าวออกมา “สุดซอย” มีอำนาจเต็มใบ ซึ่งอำมาตย์ไม่เคยทำ แล้วตอนนี้จะให้มา Joint แบ่งปันอำนาจกับ “สภาเปรสิเดียม” ซึ่งเต็มไปด้วยพวกเพี้ยนๆ ซ้ายจัด ขวาจัด อนาธิปไตย อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ 1,009 จำพวก เครือข่ายอำมาตย์จึงคิดหนัก ขณะที่ม็อบผลักหลังทุกวัน เพราะก้าวผิดพลั้งไปถึงพัง
พท.ก็ไม่รู้จัก “ชอบธรรม”
รัฐบาลพังเพราะนิรโทษสุดซอย ซึ่งมาจากความไม่เข้าใจว่า มีอำนาจแล้วอย่าสักแต่ใช้ ต้องใช้อย่างชอบธรรมด้วย
พอรัฐบาลยุบสภา หวนไปอิงความชอบธรรมจากอำนาจอธิปไตยของปวงชน ก็โดนพรรคแมลงสาบหุบปีกชน ใช้วิธีอันธพาล ทำให้คน 10 ล้านไม่มีช่องทางใช้อำนาจผ่านเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรีรีบบอกว่าถ้าเป็นรัฐบาลอีกจะอยู่แค่ 2 ปีเพื่อปฏิรูป หัวหน้าพรรคลดให้อีก 1 ปี แสดงว่าตระหนักถึงปัญหา แต่ยังไม่พอ
พรรคเพื่อไทยยังไม่เข้าใจว่า นี่คือสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงสุด ซึ่งต้องอิงความชอบธรรมอย่างสุดๆ เพื่อรักษาระบอบ ไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะช่วงชิงอำนาจ หรือรักษาอำนาจ
พรรคเพื่อไทยจึงควรให้สัตยาบันว่า เมื่อฝ่ายค้านไม่ลงเลือกตั้ง การเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้งจะเป็น “รัฐบาลชั่วคราว” เท่านั้น เพื่อเป็นเจ้าภาพปฏิรูปการเมือง โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม หลังได้ข้อตกลงที่ต้องทำรีบด่วน รัฐบาลจะยุบสภา โดยรัฐบาลไม่ต้องการมีอำนาจมาก และจะไม่ใช้อำนาจในประเด็นที่สังคมกำลังขัดแย้ง
ถ้าใช้ยุทธศาสตร์อย่างนี้ รัฐบาลก็สามารถขานรับข้อเรียกร้องให้ตั้งองค์กรปฏิรูปการเมือง ที่จะทำข้อตกลงประเด็นสำคัญๆ ให้เร็วที่สุด ภายในไม่เกิน 1 ปี เพื่อยุบสภาเลือกตั้งใหม่โดยเร็วที่สุด
ขณะเดียวกัน พรรคเพื่อไทยก็จะต้องปรับองค์กรปรับบุคลากร ให้เห็นว่าพร้อมเป็น “เจ้าภาพ” ปฏิรูปการเมือง พร้อมรับฟังทุกฝ่าย ไม่ใช่เข้ามาดันทุรัง ดูไบสั่งสุดซอยได้ เหมือนครั้งก่อน
แต่สังคมก็ยังไม่เห็นสัญญาณเหล่านี้เลย ตรงกันข้าม เห็นรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์แล้วร้องยี้ เปล่า ไม่ใช่ยี้ว่าที่ ส.ส.ใหม่ อ.พนัส ทัศนียานนท์ แต่ท่านกลายเป็น “บุปผาปักบนมูลโค”
พูดอย่างนี้ไม่ใช่ดูถูกนักการเมือง และเข้าใจดีว่าการจัดตัวคงมีขึ้นก่อนรู้ว่าแมลงสาบไม่ลงเลือกตั้ง แต่คุณมีเวลาเกือบ 2 วัน ปรับเปลี่ยนบ้างไม่ทันหรือ ทั้งจัดลำดับและเปลี่ยนตัวบุคคล
พรรคมีหลายประเด็นต้องถก ตั้งแต่อันดับ 1 นายกฯ ยิ่งลักษณ์ควรเป็นอีกหรือไม่ ถ้าคิดว่าเป็นรัฐบาลชั่วคราวเพื่อปฏิรูปการเมือง ผมไม่ปฏิเสธว่านายกฯเป็นขวัญใจมวลชน แม้แต่คนกลางๆ ก็ยอมรับ สามารถรับสถานการณ์วิกฤติได้ดี นิ่ง ได้คะแนนเห็นใจ แต่นายกฯ ก็ติดภาพพี่ชาย ที่ฝ่ายตรงข้ามเกลียดชัง มีด้านดีด้านเสียด้วยกัน
ถ้าใคร่ครวญแล้ว เห็นว่าควรยืนยัน ก็ไม่ว่าอะไร แต่ทำไม๊ ปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 2 ต้องเป็นสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แปลว่าถ้ายิ่งลักษณ์มีอันโดนสอย “นายกฯ สำรอง” ก็ยังต้องเขยชินวัตรหรือครับ นี่เป็นประเด็นที่คนทั่วไปรับไม่ได้ ฝ่ายตรงข้ามโจมตี แม้แต่มวลชนเสื้อแดง ก็ไม่ได้ผูกพันอะไรนักกับ “สามีเจ๊แดง”
เฉลิม อยู่บำรุง, เสนาะ เทียนทอง, ประชา พรหมนอก, ปลอดประสพ สุรัสวดี ฯลฯ ยกทีมพักสัก 1 ปี ไม่ได้หรือครับ
หรือลองจัดลำดับใหม่ ยิ่งลักษณ์, จารุพงศ์, พงศ์เทพ,กิตติรัตน์, ชัชชาติ, จาตุรนต์, ภูมิธรรม, วันนอร์ ฯลฯ ดูดีกว่าไหม นี่จาตุรนต์ ผู้รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยยืนสู้รัฐประหาร อยู่ลำดับ 39 ผมไม่ได้บอกว่า “พี่อ๋อย” สมควรเป็นนายกฯ แต่ในสถานการณ์ขัดแย้ง ต้องให้บทบาทสำคัญกับคนที่ยังเข้าใจวิธีเล่นการเมืองอย่างอิง “ความชอบธรรม”
แล้วถ้าดูว่ารัฐบาลพังเพราะนิรโทษสุดซอย คนที่เป็นหัวเบี้ย หน้าม้า อาสาข่มขืนใจมวลชนแม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกัน อย่าง ประยุทธ์ ศิริพานิช กลับได้เป็น ส.ส.ปาร์ติ้ลิสต์ วิภูแถลง พัฒนภูไท, สุนัย จุลพงศธร ฯลฯ คนเหล่านี้ยังไม่ขอโทษมวลชนสักคำ (หรือจะบอกว่าเจ๊แดงรับผิดชอบแต่ผู้เดียว)
ดูรายชื่อ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์แล้วอ่อนอกอ่อนใจ นึกถึงพรรคไทยรักไทย 2544 คุยว่ามีดอกเตอร์คนมีความรู้มากมาย ปาร์ตี้ลิสต์ผสมกันระหว่างนักการเมืองกับคนมีความสามารถ แต่ครั้งนี้กลายเป็นกระโถน ส.ส.ไม่มีที่ลง หรือลูกหลานวงศ์วาน
ขอประกาศเชิญชวนว่า มวลชนเสื้อแดงควรหันไปลงปาร์ตี้ลิสต์พรรคพลังประชาธิปไตย ของประแสง มงคลศิริ (ผู้คัดค้านสุดซอยจนถูกปลด) กับจิตรา คชเดช ในขณะที่ ส.ส.เขตยังลงให้เพื่อไทย เพื่อสั่งสอนพรรคเสียบ้าง คะแนนไม่หายไปไหนหรอกครับ ยังนับเป็นเสื้อแดงนั่นแหละ แต่จะแสดงความเป็นอิสระ และไม่เอา “นิรโทษสุดซอย” ในมุมที่ต่างจากม็อบหรือ ปชป.
มี ส.ส.251 คนก็พอ
ถ้าเพื่อไทยกล้าๆ เข้าใจความชอบธรรม ควรประกาศว่า ไม่ส่งผู้สมัครในพื้นที่เดิมของ ส.ส.ประชาธิปัตย์ทุกจังหวัด ไม่เฉพาะภาคใต้ ปล่อยให้พรรคอื่นเขาได้ไป
ข้อเสนอนี้มีจุดอ่อน ตรงที่อาจทำให้มวลชนในเขตนั้นๆ ไม่ไปเลือกตั้ง ทำให้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคลดถอยลงจาก 15 ล้านเสียง และจะถูกอ้างภายหลัง แต่นี่มันการเลือกตั้งผิดปกติอยู่แล้ว ยังไง 15 ล้านเสียงก็ไม่เท่า เพราะไม่มีการต่อสู้แข่งขัน ไม่น่าลุ้นไม่เร้าใจ
ข้อเสนอนี้ไม่ใช่แค่แสดงสปิริต แต่เป็นการช่วงชิงทางการเมือง เพื่อให้เห็นว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้ต้องการฉวยโอกาสฮุบ ส.ส. ไม่ได้ต้องการอำนาจมาก แค่เป็นรัฐบาลเพื่อปฏิรูป คุณจะต้องการ ส.ส.377 คนไปทำไม มีแค่ 251 ก็พอ
นักการเมืองเพื่อไทยคงไม่เข้าใจ เพราะพากันกระหายกระหือ พวกสอบตกจะได้เป็น ส.ส.ก็คราวนี้ เข้าไปแล้วมีเสียงข้างมาก ยกมือออกกฎหมายอะไรก็ได้ ฯลฯ โถ จะมีเลือกตั้งหรือเปล่ายังไม่รู้เลย ถ้ามีเลือกตั้งยังไงก็เป็นรัฐบาลอยู่แล้ว การเป็นรัฐบาลที่มี 377 เสียง ไม่ได้แปลว่าคุณมีเสถียรภาพมากกว่า 251 เสียง โดยเฉพาะในสถานการณ์อย่างนี้ 251 เสียงยังจะมีความชอบธรรมมากกว่า
เปิดช่องให้พรรคกลางๆ หายใจบ้างสิครับ ให้เกิดพรรคอื่น พรรคใหม่ ฝ่ายค้านหลากหลาย คนกลางๆ ใน กทม.จะได้เลือกพรรครักษ์สันติ พรรคชูวิทย์ พรรคใครก็ได้ ซึ่งจะเป็น “กันชน” ให้ระบอบรัฐสภา และเมื่อยุบสภาหาเสียงกันใหม่ จะได้มีคนช่วยตีฐานเสียงประชาธิปัตย์
ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อมั่นใจแล้วว่า คุณไม่มีคู่แข่ง ยังไงก็เป็นรัฐบาล อันที่จริงเป็นโอกาสที่จะ “ไพรมารีโหวต” เปลี่ยนตัวผู้สมัคร ถึงแม้เวลาน้อย อยู่ในช่วงรบกัน แต่ก็พอซาวเสียงได้ มวลชนก็เรียกร้องได้ (เดินขบวนในพื้นที่เลยครับ ฮิฮิ แสดงพลังประชาธิปไตย อยากให้มีเลือกตั้ง และอยากให้เปลี่ยนตัวผู้สมัคร)
นี่น่าเสียดาย ไม่มีใครขยับ คงเพราะมัวลุ้นว่าจะมีเลือกตั้งหรือไม่มี 383 ส.ส. ส.ว. ที่เสี่ยงอยู่ใน ปปช.ควรเปลี่ยนตัวให้มากที่สุด บางรายอย่าง “ขุนค้อน” อย่าลงสมัครเลยครับ ไม่ใช่แค่เรื่องถอดถอน แต่นาฬิการัฐสภายังตามหลอกหลอน
ปฏิรูปทั้งจริงทั้งเกม
ปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการเมือง ทั้งต้องทำจริง และ “เล่นเกมการเมือง”
อ้าว ก็ข้อเรียกร้องของ กปปส.เอาเข้าจริงคือการเมืองเรื่องล้มรัฐบาล คนต้องการปฏิรูปมีซักเท่าไหร่
กระนั้น ความเรียกร้องต้องการของสังคมก็มีอยู่จริง ทุกฝ่ายไม่เว้นแม้เสื้อแดงต้องการปฏิรูป เสื้อแดงต้องการรื้อโครงสร้างอำนาจ แต่ก็ไม่ปฏิเสธการแก้ไขทุจริตหรือซื้อเสียง (เสื้อแดงบอกคู่แข่งสิซื้อแพงกว่ายังสอบตก)
รัฐบาลควรเข้าใจทั้งสองด้าน คือต้องปฏิรูปจริง แต่การตั้งองค์กรปฏิรูปเป็นเรื่องต่อรองทางการเมือง
ที่นายกฯ แถลงตั้งสภาปฏิรูปประเทศ มีอรหันต์ 11 องค์ คัดเลือกสมาชิก 499 คนจากสาขาอาชีพที่เลือกกันมาเอง2,000 คน ไม่สอดคล้องยุทธศาสตร์ทั้งสองข้อ ได้ผลทางการเมืองบ้าง แต่ไม่มีน้ำหนักมากนัก
การ copycat“สภาประชาชน” 499 คน จะไม่ได้เนื้อหาสาระ เลอะเทอะเสียมากกว่า พูดอย่างนี้ไม่ได้ดูถูกประชาชน ทุกคนมีความคิด แต่ถ้าไม่มี Think Tank ก็จะคิดและพูดกว้างไปหมด แนวคิดปฏิรูปไม่ใช่เรื่องใหม่ มีอยู่แล้วในสังคมไทย เพียงทำอย่างไรจะยกมาสังเคราะห์ สรุป นำไปสู่ปฏิบัติ
ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ที่ให้ตั้งกรรมการแค่ 30 คน จาก ปชป.และ กปปส.10 คน รัฐบาลและ นปช.10 คน คนกลาง ภาคประชาสังคม ที่สองฝ่ายยอมรับอีก 10 คน เพราะในแง่เนื้อหา จะสรุปได้จริง ขณะที่ทางการเมือง นี่คือการต่อรองอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด “ยื่นหอก” กลับไป ว่านี่ไง รัฐบาลพร้อมปฏิรูป แต่ไม่ใช่พวกคุณปฏิรูปคนเดียว ต้องฟังเสียงข้างมากในสังคมด้วย เราเป็นเสียงข้างมาก เรายังยอมให้คุณได้ที่นั่งเท่ากับเรา
ถ้าเขาไม่เอา เขาจะยึดอำนาจเป็น คมช.ให้ได้ เขายิ่งเสียความชอบธรรม
ตรงกันข้าม สภาประชาชนแบบพรรคเพื่อไทย ที่อรหันต์ 11 องค์จากไหนไม่ทราบ จะมาจิ้มๆ คน ก็มีข้อครหาได้ว่าเลือกแต่พวกเดียวกันนี่หว่า โห กว่าจะสรุปผลได้ก็สิ้นปี รัฐบาลซื้อเวลา ฯลฯ
ในทางการเมืองรัฐบาลไม่ได้แสดงให้สังคมเห็นว่า พร้อมเปิดพื้นที่ให้ กปปส. ในทางเนื้อหา สภา 499 กว่าจะแก้เตี่ยวลงงม หาเนื้อในน้ำ ก็ไม่ได้ทำอะไรกันพอดี
อย่าไปกลัวเลยครับกับการให้ ปชป.กปปส.เสนอชื่อ 10 คน ขอข้อแม้ข้อเดียว ทั้งสองฝ่ายต้องเสนอนักคิดนักวิชาการ ไม่เอานักการเมือง ถ้ารัฐบาลขอแรงนักวิชาการ สปป.ส่งใครมาก็ช่าง เราชนะด้วยเหตุผลอยู่แล้ว ต้องทำให้เวทีปฏิรูป เป็นเวทีถกเถียงให้ความรู้อย่างกว้างขวางและขนานใหญ่ในสังคม คนชั้นกลางที่เชียร์ปฏิรูป เอาเข้าจริงก็จะจำนนด้วยเหตุผล คุณจะปราบคอร์รัปชั่น จะปฏิรูปตำรวจ อัยการ แล้วปล่อยศาลไว้ที่ไหน คุณให้ ส.ส.เปิดบัญชีทรัพย์สิน แล้วผู้พิพากษา นายพล คุณจะเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทำไมไม่ยอมให้เลือก ส.ว.
ต้องเข้าใจว่าไหนๆ พรรคเพื่อไทยก็ไม่มีทางแก้รัฐธรรมนูญได้แม้แต่มาตราเดียว การตั้งคณะกรรมการปฏิรูปนี่แหละ จะนำไปสู่การรื้อโครงสร้างอำนาจได้
คณะกรรมการไม่ต้องทำทุกเรื่อง อย่างที่ อ.สมเกียรติเสนอ เพราะมีเรื่องระยะสั้น ระยะยาว เช่น ปฏิรูปการศึกษา ยังไงก็ทำไม่ได้ใน 1-2 ปี แต่ต้องตกลงว่าวางโครงอย่างไร รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องทำตามมติคณะกรรมการทุกข้อ แต่มีข้อผูกมัด เช่น ถ้ามีมติ 3 ใน 5 แล้วรัฐบาลไม่เห็นด้วย ก็ติ๊กไว้ลงประชามติในตอนยุบสภา ซึ่งไม่ควรเกิน 1 ปี เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าได้ทำข้อเสนอเฉพาะหน้า ข้อสำคัญ ครบถ้วนแล้ว เสนอให้ยุบสภา รัฐบาลก็ต้องยุบ
รัฐบาลอย่าไปตั้งแง่ ด่วนปฏิเสธข้อเสนอของ 7 องค์กรภาคธุรกิจ TDRI ที่เสนอให้ออกพระราชกำหนด โดยบอกว่าออกไม่ได้ ไม่เคยมี เดี๋ยวศาลรัฐธรรมนูญถอดถอน ฯลฯ ข้อเสนอแบบนี้ต้องโยนกลับให้สังคมมีส่วนร่วม เช่น ปรึกษา กกต.ให้นักข่าวไปถามนักกฎหมาย องค์กรอิสระ กกต. ปปช. อย่ากลัวว่าถ้าสังคมเห็นพ้อง แล้วศาลจะฉวยโอกาสล้มรัฐบาล แบบนั้น ศาลก็ฉิบหายสิครับ
การไม่ด่วนคิดเอง ด่วนตัดสินใจเอง หารือฝ่ายต่างๆ (ทั้งที่บางเรื่องเรารู้อยู่แล้ว) คือการแสวงหา “ความชอบธรรม” และเป็นวิธีการประชาธิปไตย
อีกข้อเสนอทิ้งท้าย คือเพื่อไทยควรให้สัตยาบันว่า เมื่อกลับมาเป็นรัฐบาล จะเป็นเจ้าภาพปฏิรูปการเมือง จะไม่ตัดสินใจโครงการใหญ่ที่สร้างความขัดแย้ง ไม่ออกนโยบายใหม่ แต่จะบริหารประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
ยกตัวอย่าง โครงการ 3.5 แสนล้าน 2 ล้านล้าน ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่มีทางไปไหนหรอก ทำไม่ได้อยู่ดีในกระแสนี้ แต่รัฐบาลสามารถทำเรื่องเฉพาะหน้า เช่น ทำแก้มลิง ทำอ่างเก็บน้ำ โดยยังไม่ขยายเขื่อนไม่ทำฟลัดเวย์ หรือเดินหน้ารถไฟฟ้า (คุณพ่อคุณแม่ชาวกรุงคงไม่ค้าน) มอเตอร์เวย์ รถไฟรางคู่ แต่ยังไม่ทำรถไฟความเร็วสูง แค่เปิดศึกษาความเป็นไปได้
ผมรู้ว่าเพื่อไทยไม่กล้าให้สัตยาบัน เพราะจะมีข้อถกเถียงกันว่าเท่ากับหยุดประเทศ แต่ต้องเลือกเอา
จะมีเลือกตั้งหรือไม่มี ก็ยังไม่รู้เลย พรรคเพื่อไทยต้องสู้อย่างอิงความชอบธรรมให้ถึงที่สุด ถ้าเกิดรัฐประหาร หรือการโค่นล้มรัฐบาลด้วยวิธีใด กระแสประชาธิปไตยจะได้โต้กลับอย่างรวดเร็ว
ใบตองแห้ง
26 ธ.ค.56
..................................
พรรคเพื่อไทยมีอำนาจจากเลือกตั้ง แต่ใช้อำนาจไม่ชอบธรรม นิรโทษสุดซอย “ลักหลับ” ทำให้เกิดม็อบต้าน แม้ถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษแล้ว ความโกรธแค้นความไม่ไว้วางใจ ก็ทำให้ “มวลมหาประชาชน” คนชั้นกลางเก่าชาวกรุงและชาวใต้ ลุกฮือไม่เลิกรา กลายเป็น “พลังอำนาจ” ที่คนนับล้าน มอบให้แกนนำไปเคลื่อนไหวอย่างมีอภิสิทธิ์ ไม่ต้องเกรงใจใคร ปิดถนน ยึดสถานที่ราชการ ตัดน้ำตัดไฟ ละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
แต่พอรัฐบาลยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน หันไปอิงความชอบธรรมจากระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน สิทธิเลือกตั้งเป็นของทุกคนทุกพรรค “มวลมหาประชาชน” ซึ่งใช้วิธีอันธพาลขัดขวางการเลือกตั้ง ปิดถนน สร้างความเดือดร้อน บุกสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง แล้วยิงตำรวจตาย ก็กำลังสูญเสียความชอบธรรมเช่นกัน แม้พวกเขายังไม่พ่ายแพ้ เพราะพลังอำนาจพิเศษหนุนหลัง เพราะยังมีฝูงชนที่เชื่อว่าตัวเองเป็นคนดีจนคลุ้มคลั่ง แต่ก็ยากจะหาจังหวะเผด็จศึก เพราะใครก็ตาม ที่เข้ามารับช่วงอำนาจ เข้ามาล้มรัฐบาล ต้องรับความไม่ชอบธรรมของม็อบไปด้วย
ทหารจึงยังไม่กล้าทำรัฐประหารจนวันนี้ ทำแล้วจะโทษรัฐบาลอย่างไร ในเมื่อม็อบต่างหากทำตัวเป็นอันธพาลระรานสิทธิเลือกตั้งของคน 47 ล้านคน
คงมีแต่องค์กรอิสระ ช่วยลากยื้อ เขย่าขย่ม กกต.รับสมอ้าง เสนอเลื่อนเลือกตั้ง ทั้งที่เป็นความผิดตน ไม่เปลี่ยนสถานที่ ไม่เปลี่ยนวิธีการ รู้ทั้งรู้ว่าม็อบจะบุก จนเกิดการปะทะ
ปปช.ชี้มูลประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา และจะชี้มูล 383 ส.ส. ส.ว. วันที่ 7 ม.ค.หลังสมัคร ส.ส.เขต ทำให้การเลือกตั้งระส่ำ ถ้าถูกพักการปฏิบัติหน้าที่แม้ยังหาเสียงได้ แต่ก็เท่ากับเลือกตั้งล่ม
ศาลรัฐธรรมนูญก็ชี้ว่า กปปส.ไม่ได้ล้มล้างการปกครอง ทั้งที่ประกาศจะตั้งนายกฯ ตั้งสภาเถื่อนเฉพาะพวกตน (แต่แก้รัฐธรรมนูญให้วุฒิสภามาจากเลือกตั้ง กลับบอกว่าล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข)
มาเป็นชุด แต่ยังหาจุดน็อคไม่ได้ และคงค้างคาไปจนจันทร์หน้าที่จะรับสมัคร ส.ส.เขต ซึ่งถ้าใครกล้าสมัคร ส.ส.ภาคใต้ต้องให้เหรียญกล้าหาญ ไม่กลัวตายทั้งตัวเองและครอบครัว
แต่ถ้านายกฯ ไม่ลาออกเสียอย่าง จะทำอย่างไร ก็วัดใจกัน ถ้าแน่จริงก็ทำรัฐประหาร ไม่ต้องเอารถถังมาหรอก ขอแค่ ผบ.ทบ.ประกาศผ่านเฟซบุค วาสนา นาน่วม นายกฯ ก็ยิ้มแป้น เก็บของกลับบ้าน ยกอำนาจให้แต่โดยดี (แต่หลังจากนี้ละมึง!!!)
ที่น่าสนใจคือถ้าไม่เกิดรัฐประหาร จะลากกันไปถึงไหน ม็อบ องค์กรต่างๆ ที่เข้ามามะรุมมะตุ้ม จะยิ่งเสียหายเสียความชอบธรรม ให้สังเกตว่าม็อบเริ่มสติแตก ข่มขู่ คุกคาม ปลุกความเกลียดชัง (ใช้กระทั่งเด็ก) คุมอารมณ์ไม่อยู่ บรรยากาศม็อบครอบครัวสุขสันต์ของคนชั้นกลางอินสตาแกรม ค่อยๆ จางหายไป
นี่เป็นอะไรที่น่าแลก น่าลุ้น แม้เสี่ยงกับภาวะอนาธิปไตย เมื่อคลั่งกันได้ถึงขีดสุด
ใครจะเปลืองตัว
นับแต่รัฐบาลตัดสินใจยุบสภา อันที่จริง ข้อเรียกร้องของ กปปส.ก็หมดความชอบธรรม เหลือแต่คำขวัญหลอกคน “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ทั้งที่ยังไม่รู้เลยจะปฏิรูปอะไร แต่ชูปฏิรูปเป็นยาวิเศษ เม็ดเดียวเปลี่ยนประเทศได้ เหมือนบัวหิมะพันปีหรือไล่ตังมังกรในหนังสือกำลังภายใน กินแล้วทลายจุดหยิมต๊กในพริบตา
ก็รู้แก่ใจกันอยู่ว่า ทั้งแกนนำและคนไปม็อบส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการปฏิรูปอะไรหรอก แค่เกลียด “อีปู” แล้วชูเป็นข้ออ้าง
พอเจอข้อเสนอของคนกลางๆ หรือคนที่เคยเหลืองแต่ไม่อยากเห็นบ้านเมืองฉิบหาย ว่าให้ปฏิรูปพร้อมเลือกตั้ง ม็อบก็เริ่มอ่อนพลัง แต่พรรคประชาธิปัตย์ดันตัดสินใจตามก้น “เจ๊แดง” เว้นวรรคไม่สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเท่ากับยัดบั้งไฟใส่บั้นท้าย “มวลมหาประชาชน” แล้วจุดให้พุ่งชนระบบเลือกตั้งด้วยความเร็วสูงสุด
รู้ทั้งรู้ว่าจะนำไปสู่หายนะ ไม่มีทางลง มีแต่แตกหัก ทุกคนรู้ว่าข้อเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก แล้ว”กำนัน” จะสถาปนาตัวเองเป็นหัวหน้าคณะ คมช.(ต้องโปรดเกล้าฯ หรือเปล่า) ตั้งนายกฯ คนกลาง ตั้งสภาประชาชน ฯลฯ เอาเข้าจริงเป็นแค่โรงน้ำแข็ง ปั้นเมฆเป็นก้อน “สภาตุ๊กตาผี” ไม่มีทางเกิดได้ “ปฏิวัติประชาชน” จะทำได้ไง ถ้าทหารไม่เอาด้วย
ของจริงต้องรัฐประหาร ต้องใช้อำนาจอะไรสักอย่างมาสั่งนายกฯ ลาออก แต่ถามว่าใครจะกล้าเปลืองตัว ไม่ใช่แค่เผชิญหน้ามวลชนเสื้อแดง แต่ยังมีนานาชาติ มีปัญหานานัปการที่ต้องแก้ไข และเผลอๆ พวกคลั่ง 1009 จำพวกที่แฝงในม็อบก็จะแว้งเข้าให้
ในแง่ของม็อบ แน่นอน การใช้กำลังขัดขวางเลือกตั้ง สร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย จะทำไปทำไม ถ้าคุณไม่เชื่อมั่นว่าท้ายที่สุด “อำนาจพิเศษ” กองทัพ องค์กรอิสระ กกต. ปปช. ตุลาการ จะเข้าข้างคุณ
ไม่มีม็อบไหนในโลก เหิมเกริมได้เพียงนี้ มีแต่ที่นี่ประเทศไทย ซึ่งฝังไว้ด้วยความเชื่อดังกล่าว
ที่อ้างว่า “ปฏิวัติประชาชน” ไม่เอารัฐประหาร ก็ไม่จริง สมมติกองทัพทนแรงกดดันไม่ไหว “มวลมหาประชาชน” ก็ไชโยโห่ร้อง ขึ้นรถไฟกลับบ้านฉลองใหญ่ ไม่มีหรอกที่จะยืนหยัดเวที 5 ล้าน 10 ล้านไม่เอารัฐประหาร จะเอาสภาประชาชน ร้อยทั้งร้อยยิ้มแป้น แต่ปากบอก “เราไม่ค่อยเห็นด้วยหรอกนะ กะรัฐประหาร แต่ทำไงได้ล่ะ อีปูมันดื้อเอง”
จากนั้นก็จะมีสภาปฏิรูปพอเป็นพิธี เลือกคนข้างเดียว มีหมอประเวศ มีอานันท์ มาจัดดอกไม้สวยๆ 2-3 ดอกแต่งหน้าศพ เป็นอันเสร็จสมอารมณ์ใคร่ของคนชั้นกลางชาวกรุงชาวใต้ แต่ไม่ได้แก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาเหลื่อมล้ำจริงจัง กลับจะยิ่งทำลายประชาธิปไตยไปกันใหญ่
ถามจริง จะใช้เวลาปฏิรูป ปฏิวัติ รัฐประหาร กันกี่ปี จึงจะกลับมาสู่เลือกตั้ง แล้วมั่นใจว่า “ระบอบทักษิณ” แพ้ ชาติหน้าตอนบ่ายๆ แน่ะครับ เพราะยิ่งทำอย่างนี้ยิ่งสร้างความชอบธรรมให้ “ระบอบทักษิณ”
จุดจบประชาธิปไตยอำมาตย์?
ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ที่อยู่ยั้งยืนยงมา 40 ปีกำลังจะถึงจุดจบ พูดอย่างนี้ไม่ได้ชวนโค่นล้มหรือชวนให้ “ปฏิวัติประชาชน” อีกข้าง และไม่ใช่ร้องไชโยเรากำลังจะ “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” เพราะน่าวิตกว่าจะเกิดการแตกหัก นองเลือด สูญเสีย ถอยหลังครั้งใหญ่เสียมากกว่า
แต่ที่บอกว่าจะถึงจุดจบ ก็คือ “ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์” ที่มีรัฐบาลจากเลือกตั้ง แล้วมีชนชั้นนำกำกับอยู่เบื้องหลัง กำลังกลายเป็นสิ่งที่ “มวลมหาประชาชน” ไม่อดทนและไม่ต้องการเช่นกัน หลังจากมวลชนเสื้อแดง ผู้รักประชาธิปไตย ปฏิเสธมาแล้ว
รัฐในอุดมคติของ “มวลมหาประชาชน” เอาเข้าจริงก็คือ ไม่ต้องการนักการเมืองจากเลือกตั้ง แต่ต้องการระบอบ “เผด็จการมีส่วนร่วม” Joint Venture Dictatorship ระหว่างชนชั้นนำ ทหาร ตุลาการ กับคนชั้นกลางอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉะนั้นเวลาบอกว่าพวกเขาไม่เอาประชาธิปไตย พวกเขาจึงเถียงคอเป็นเอ็น เอาสิ นี่คือระบอบที่คนชั้นกลางเก่ามีเสรีภาพ มีประชาธิปไตยเต็มใบ มีอำนาจ มีส่วนร่วม ผ่านสถาบันอำนาจของคนชั้นกลาง เช่น สื่อ สถาบันวิชาการ องค์กรวิชาชีพ เครือข่ายต่างๆ ที่อ้างคุณธรรม อ้างพอเพียง ต่อต้านคอร์รัปชั่น ต่อต้านอนุมูลอิสระ
พวกเขาไม่เอาเผด็จการทหารแบบเก่า ต้องการเผด็จการแบบใหม่ เป็นระบอบไทยๆ ไม่เคยมีที่ไหนในโลก คือคนชั้นกลางร่วมใช้อำนาจเผด็จการ มีประชาธิปไตยให้คนชั้นกลาง แต่ไม่ให้ 1 คน 1 เสียงสำหรับคนจน
นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ นี่ก้าวข้ามประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ จนหลุดโลกไปแล้ว เพราะประชาธิปไตยแบบอำมาตย์คือการแบ่งปันอำนาจระหว่างนักการเมืองกับชนชั้น นำ แต่ตอนนี้ กำลังจะล่มสลายเพราะทั้งคนชั้นกลางและคนชั้นล่างต่างร้องว่า “กรูต้องการอำนาจ”
ถามว่าการเรียกร้องอำนาจตรวจสอบทัดทานรัฐบาลของคนชั้นกลางถูกต้องหรือเปล่า ถูกต้องครับ แต่อำนาจของคนชั้นกลางอยู่ที่ไหน อยู่ที่การใช้ความคิดความรู้ ความจริง ความมีเหตุผล มาโน้มน้าวให้คนส่วนใหญ่คล้อยตาม ไม่ใช่ใช้อคติ ใช้กำลัง หรือชี้หน้าว่าคนส่วนใหญ่โง่ คนชั้นกลางเก่าตรวจสอบทัดทานรัฐบาลไม่ได้ เพราะทำลายตัวเองจากการออกบัตรเชิญรัฐประหาร 49 และออกใบอนุญาตฆ่าปี 53 ดันทุรังเป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตย เป็นปฏิปักษ์กับคนชนบท “มวลมหาประชาชน” ตัวจริงที่ตื่นตัวขึ้นมา จึงไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาลอย่างมีเหตุผล
พูดแล้วก็เป็นเรื่องตลก เพราะแทนที่มวลชนเสื้อแดงจะเป็นผู้โค่นล้ม “ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์” แต่ “มวลมหาประชาชน” คนชั้นกลางเก่ากลับเร่งกระบวนการเสียเอง ขณะที่พรรคเพื่อไทยและมวลชนเสื้อแดงกลับอยากให้ “ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์” ดำรงอยู่อีกสักระยะ
การดับเครื่องชนของ “ม็อบกำนัน” และพรรคแมลงสาบ สร้างความสุ่มเสี่ยงสูงสุด อย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองหลัง 14 ตุลา เปล่า ไม่ใช่เทพเทือกเสี่ยง ไม่ใช่แมลงสาบเสี่ยง แต่สถานการณ์ที่สร้างขึ้นค้างเติ่ง จบไม่ลง อารมณ์คน “เป็นล้าน” เตลิดเปิดเปิง ไปไม่ถึงจุดสปัสซั่ม กำลังรออำนาจพิเศษหรือกองทัพเข้ามาช่วยเผด็จศึก นั่นแหละผู้ที่จะรับความเสี่ยงไปเต็มๆ
“การลงทุนมีความเสี่ยง” แต่ ปชป.ไม่ต้องเสี่ยงอะไรเลย ลอยตัว สบายใจเฉิบ แค่ชิ่งออกแล้วปล่อยให้อำมาตย์กับไพร่ชนกันบ้านเมืองฉิบหาย
กระนั้น อำนาจพิเศษ กองทัพ ศาล องค์กรอิสระ ก็หาจังหวะ “เผด็จศึก” ไม่ง่ายเหมือนปี 49 ไม่ง่ายเหมือนปี 51 ใครล่ะจะเป็นหนังหน้าไป พร้อมไหมที่จะเสี่ยงขั้นสูงสุด
ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ คือการที่ชนชั้นนำมีอำนาจแฝงเหนืออำนาจ “ครึ่งใบ” แล้วปล่อยให้นักการเมืองรับผิดชอบ รับเสียงก่นด่าประณามถึงความไม่เอาไหน พวกเขาไม่ได้ต้องการอำนาจเต็มใบ เพราะเท่ากับต้องก้าวออกมารับผิดชอบเต็มๆ ใน 40 ปีที่ผ่านมา มีรัฐประหารแค่ 3 ครั้ง โดยหลัง 6 ตุลาก็ได้บทเรียนว่าต้องอยู่ช่วงสั้นๆ เท่านั้น
แต่สิ่งที่ “มวลมหาประชาชน” กำลังเรียกร้อง คือเรียกร้องให้ก้าวออกมา “สุดซอย” มีอำนาจเต็มใบ ซึ่งอำมาตย์ไม่เคยทำ แล้วตอนนี้จะให้มา Joint แบ่งปันอำนาจกับ “สภาเปรสิเดียม” ซึ่งเต็มไปด้วยพวกเพี้ยนๆ ซ้ายจัด ขวาจัด อนาธิปไตย อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ 1,009 จำพวก เครือข่ายอำมาตย์จึงคิดหนัก ขณะที่ม็อบผลักหลังทุกวัน เพราะก้าวผิดพลั้งไปถึงพัง
พท.ก็ไม่รู้จัก “ชอบธรรม”
รัฐบาลพังเพราะนิรโทษสุดซอย ซึ่งมาจากความไม่เข้าใจว่า มีอำนาจแล้วอย่าสักแต่ใช้ ต้องใช้อย่างชอบธรรมด้วย
พอรัฐบาลยุบสภา หวนไปอิงความชอบธรรมจากอำนาจอธิปไตยของปวงชน ก็โดนพรรคแมลงสาบหุบปีกชน ใช้วิธีอันธพาล ทำให้คน 10 ล้านไม่มีช่องทางใช้อำนาจผ่านเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรีรีบบอกว่าถ้าเป็นรัฐบาลอีกจะอยู่แค่ 2 ปีเพื่อปฏิรูป หัวหน้าพรรคลดให้อีก 1 ปี แสดงว่าตระหนักถึงปัญหา แต่ยังไม่พอ
พรรคเพื่อไทยยังไม่เข้าใจว่า นี่คือสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงสุด ซึ่งต้องอิงความชอบธรรมอย่างสุดๆ เพื่อรักษาระบอบ ไม่ใช่ช่วงเวลาที่จะช่วงชิงอำนาจ หรือรักษาอำนาจ
พรรคเพื่อไทยจึงควรให้สัตยาบันว่า เมื่อฝ่ายค้านไม่ลงเลือกตั้ง การเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้งจะเป็น “รัฐบาลชั่วคราว” เท่านั้น เพื่อเป็นเจ้าภาพปฏิรูปการเมือง โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม หลังได้ข้อตกลงที่ต้องทำรีบด่วน รัฐบาลจะยุบสภา โดยรัฐบาลไม่ต้องการมีอำนาจมาก และจะไม่ใช้อำนาจในประเด็นที่สังคมกำลังขัดแย้ง
ถ้าใช้ยุทธศาสตร์อย่างนี้ รัฐบาลก็สามารถขานรับข้อเรียกร้องให้ตั้งองค์กรปฏิรูปการเมือง ที่จะทำข้อตกลงประเด็นสำคัญๆ ให้เร็วที่สุด ภายในไม่เกิน 1 ปี เพื่อยุบสภาเลือกตั้งใหม่โดยเร็วที่สุด
ขณะเดียวกัน พรรคเพื่อไทยก็จะต้องปรับองค์กรปรับบุคลากร ให้เห็นว่าพร้อมเป็น “เจ้าภาพ” ปฏิรูปการเมือง พร้อมรับฟังทุกฝ่าย ไม่ใช่เข้ามาดันทุรัง ดูไบสั่งสุดซอยได้ เหมือนครั้งก่อน
แต่สังคมก็ยังไม่เห็นสัญญาณเหล่านี้เลย ตรงกันข้าม เห็นรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์แล้วร้องยี้ เปล่า ไม่ใช่ยี้ว่าที่ ส.ส.ใหม่ อ.พนัส ทัศนียานนท์ แต่ท่านกลายเป็น “บุปผาปักบนมูลโค”
พูดอย่างนี้ไม่ใช่ดูถูกนักการเมือง และเข้าใจดีว่าการจัดตัวคงมีขึ้นก่อนรู้ว่าแมลงสาบไม่ลงเลือกตั้ง แต่คุณมีเวลาเกือบ 2 วัน ปรับเปลี่ยนบ้างไม่ทันหรือ ทั้งจัดลำดับและเปลี่ยนตัวบุคคล
พรรคมีหลายประเด็นต้องถก ตั้งแต่อันดับ 1 นายกฯ ยิ่งลักษณ์ควรเป็นอีกหรือไม่ ถ้าคิดว่าเป็นรัฐบาลชั่วคราวเพื่อปฏิรูปการเมือง ผมไม่ปฏิเสธว่านายกฯเป็นขวัญใจมวลชน แม้แต่คนกลางๆ ก็ยอมรับ สามารถรับสถานการณ์วิกฤติได้ดี นิ่ง ได้คะแนนเห็นใจ แต่นายกฯ ก็ติดภาพพี่ชาย ที่ฝ่ายตรงข้ามเกลียดชัง มีด้านดีด้านเสียด้วยกัน
ถ้าใคร่ครวญแล้ว เห็นว่าควรยืนยัน ก็ไม่ว่าอะไร แต่ทำไม๊ ปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 2 ต้องเป็นสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แปลว่าถ้ายิ่งลักษณ์มีอันโดนสอย “นายกฯ สำรอง” ก็ยังต้องเขยชินวัตรหรือครับ นี่เป็นประเด็นที่คนทั่วไปรับไม่ได้ ฝ่ายตรงข้ามโจมตี แม้แต่มวลชนเสื้อแดง ก็ไม่ได้ผูกพันอะไรนักกับ “สามีเจ๊แดง”
เฉลิม อยู่บำรุง, เสนาะ เทียนทอง, ประชา พรหมนอก, ปลอดประสพ สุรัสวดี ฯลฯ ยกทีมพักสัก 1 ปี ไม่ได้หรือครับ
หรือลองจัดลำดับใหม่ ยิ่งลักษณ์, จารุพงศ์, พงศ์เทพ,กิตติรัตน์, ชัชชาติ, จาตุรนต์, ภูมิธรรม, วันนอร์ ฯลฯ ดูดีกว่าไหม นี่จาตุรนต์ ผู้รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยยืนสู้รัฐประหาร อยู่ลำดับ 39 ผมไม่ได้บอกว่า “พี่อ๋อย” สมควรเป็นนายกฯ แต่ในสถานการณ์ขัดแย้ง ต้องให้บทบาทสำคัญกับคนที่ยังเข้าใจวิธีเล่นการเมืองอย่างอิง “ความชอบธรรม”
แล้วถ้าดูว่ารัฐบาลพังเพราะนิรโทษสุดซอย คนที่เป็นหัวเบี้ย หน้าม้า อาสาข่มขืนใจมวลชนแม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกัน อย่าง ประยุทธ์ ศิริพานิช กลับได้เป็น ส.ส.ปาร์ติ้ลิสต์ วิภูแถลง พัฒนภูไท, สุนัย จุลพงศธร ฯลฯ คนเหล่านี้ยังไม่ขอโทษมวลชนสักคำ (หรือจะบอกว่าเจ๊แดงรับผิดชอบแต่ผู้เดียว)
ดูรายชื่อ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์แล้วอ่อนอกอ่อนใจ นึกถึงพรรคไทยรักไทย 2544 คุยว่ามีดอกเตอร์คนมีความรู้มากมาย ปาร์ตี้ลิสต์ผสมกันระหว่างนักการเมืองกับคนมีความสามารถ แต่ครั้งนี้กลายเป็นกระโถน ส.ส.ไม่มีที่ลง หรือลูกหลานวงศ์วาน
ขอประกาศเชิญชวนว่า มวลชนเสื้อแดงควรหันไปลงปาร์ตี้ลิสต์พรรคพลังประชาธิปไตย ของประแสง มงคลศิริ (ผู้คัดค้านสุดซอยจนถูกปลด) กับจิตรา คชเดช ในขณะที่ ส.ส.เขตยังลงให้เพื่อไทย เพื่อสั่งสอนพรรคเสียบ้าง คะแนนไม่หายไปไหนหรอกครับ ยังนับเป็นเสื้อแดงนั่นแหละ แต่จะแสดงความเป็นอิสระ และไม่เอา “นิรโทษสุดซอย” ในมุมที่ต่างจากม็อบหรือ ปชป.
มี ส.ส.251 คนก็พอ
ถ้าเพื่อไทยกล้าๆ เข้าใจความชอบธรรม ควรประกาศว่า ไม่ส่งผู้สมัครในพื้นที่เดิมของ ส.ส.ประชาธิปัตย์ทุกจังหวัด ไม่เฉพาะภาคใต้ ปล่อยให้พรรคอื่นเขาได้ไป
ข้อเสนอนี้มีจุดอ่อน ตรงที่อาจทำให้มวลชนในเขตนั้นๆ ไม่ไปเลือกตั้ง ทำให้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคลดถอยลงจาก 15 ล้านเสียง และจะถูกอ้างภายหลัง แต่นี่มันการเลือกตั้งผิดปกติอยู่แล้ว ยังไง 15 ล้านเสียงก็ไม่เท่า เพราะไม่มีการต่อสู้แข่งขัน ไม่น่าลุ้นไม่เร้าใจ
ข้อเสนอนี้ไม่ใช่แค่แสดงสปิริต แต่เป็นการช่วงชิงทางการเมือง เพื่อให้เห็นว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้ต้องการฉวยโอกาสฮุบ ส.ส. ไม่ได้ต้องการอำนาจมาก แค่เป็นรัฐบาลเพื่อปฏิรูป คุณจะต้องการ ส.ส.377 คนไปทำไม มีแค่ 251 ก็พอ
นักการเมืองเพื่อไทยคงไม่เข้าใจ เพราะพากันกระหายกระหือ พวกสอบตกจะได้เป็น ส.ส.ก็คราวนี้ เข้าไปแล้วมีเสียงข้างมาก ยกมือออกกฎหมายอะไรก็ได้ ฯลฯ โถ จะมีเลือกตั้งหรือเปล่ายังไม่รู้เลย ถ้ามีเลือกตั้งยังไงก็เป็นรัฐบาลอยู่แล้ว การเป็นรัฐบาลที่มี 377 เสียง ไม่ได้แปลว่าคุณมีเสถียรภาพมากกว่า 251 เสียง โดยเฉพาะในสถานการณ์อย่างนี้ 251 เสียงยังจะมีความชอบธรรมมากกว่า
เปิดช่องให้พรรคกลางๆ หายใจบ้างสิครับ ให้เกิดพรรคอื่น พรรคใหม่ ฝ่ายค้านหลากหลาย คนกลางๆ ใน กทม.จะได้เลือกพรรครักษ์สันติ พรรคชูวิทย์ พรรคใครก็ได้ ซึ่งจะเป็น “กันชน” ให้ระบอบรัฐสภา และเมื่อยุบสภาหาเสียงกันใหม่ จะได้มีคนช่วยตีฐานเสียงประชาธิปัตย์
ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อมั่นใจแล้วว่า คุณไม่มีคู่แข่ง ยังไงก็เป็นรัฐบาล อันที่จริงเป็นโอกาสที่จะ “ไพรมารีโหวต” เปลี่ยนตัวผู้สมัคร ถึงแม้เวลาน้อย อยู่ในช่วงรบกัน แต่ก็พอซาวเสียงได้ มวลชนก็เรียกร้องได้ (เดินขบวนในพื้นที่เลยครับ ฮิฮิ แสดงพลังประชาธิปไตย อยากให้มีเลือกตั้ง และอยากให้เปลี่ยนตัวผู้สมัคร)
นี่น่าเสียดาย ไม่มีใครขยับ คงเพราะมัวลุ้นว่าจะมีเลือกตั้งหรือไม่มี 383 ส.ส. ส.ว. ที่เสี่ยงอยู่ใน ปปช.ควรเปลี่ยนตัวให้มากที่สุด บางรายอย่าง “ขุนค้อน” อย่าลงสมัครเลยครับ ไม่ใช่แค่เรื่องถอดถอน แต่นาฬิการัฐสภายังตามหลอกหลอน
ปฏิรูปทั้งจริงทั้งเกม
ปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการเมือง ทั้งต้องทำจริง และ “เล่นเกมการเมือง”
อ้าว ก็ข้อเรียกร้องของ กปปส.เอาเข้าจริงคือการเมืองเรื่องล้มรัฐบาล คนต้องการปฏิรูปมีซักเท่าไหร่
กระนั้น ความเรียกร้องต้องการของสังคมก็มีอยู่จริง ทุกฝ่ายไม่เว้นแม้เสื้อแดงต้องการปฏิรูป เสื้อแดงต้องการรื้อโครงสร้างอำนาจ แต่ก็ไม่ปฏิเสธการแก้ไขทุจริตหรือซื้อเสียง (เสื้อแดงบอกคู่แข่งสิซื้อแพงกว่ายังสอบตก)
รัฐบาลควรเข้าใจทั้งสองด้าน คือต้องปฏิรูปจริง แต่การตั้งองค์กรปฏิรูปเป็นเรื่องต่อรองทางการเมือง
ที่นายกฯ แถลงตั้งสภาปฏิรูปประเทศ มีอรหันต์ 11 องค์ คัดเลือกสมาชิก 499 คนจากสาขาอาชีพที่เลือกกันมาเอง2,000 คน ไม่สอดคล้องยุทธศาสตร์ทั้งสองข้อ ได้ผลทางการเมืองบ้าง แต่ไม่มีน้ำหนักมากนัก
การ copycat“สภาประชาชน” 499 คน จะไม่ได้เนื้อหาสาระ เลอะเทอะเสียมากกว่า พูดอย่างนี้ไม่ได้ดูถูกประชาชน ทุกคนมีความคิด แต่ถ้าไม่มี Think Tank ก็จะคิดและพูดกว้างไปหมด แนวคิดปฏิรูปไม่ใช่เรื่องใหม่ มีอยู่แล้วในสังคมไทย เพียงทำอย่างไรจะยกมาสังเคราะห์ สรุป นำไปสู่ปฏิบัติ
ผมเห็นด้วยกับข้อเสนอของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ที่ให้ตั้งกรรมการแค่ 30 คน จาก ปชป.และ กปปส.10 คน รัฐบาลและ นปช.10 คน คนกลาง ภาคประชาสังคม ที่สองฝ่ายยอมรับอีก 10 คน เพราะในแง่เนื้อหา จะสรุปได้จริง ขณะที่ทางการเมือง นี่คือการต่อรองอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด “ยื่นหอก” กลับไป ว่านี่ไง รัฐบาลพร้อมปฏิรูป แต่ไม่ใช่พวกคุณปฏิรูปคนเดียว ต้องฟังเสียงข้างมากในสังคมด้วย เราเป็นเสียงข้างมาก เรายังยอมให้คุณได้ที่นั่งเท่ากับเรา
ถ้าเขาไม่เอา เขาจะยึดอำนาจเป็น คมช.ให้ได้ เขายิ่งเสียความชอบธรรม
ตรงกันข้าม สภาประชาชนแบบพรรคเพื่อไทย ที่อรหันต์ 11 องค์จากไหนไม่ทราบ จะมาจิ้มๆ คน ก็มีข้อครหาได้ว่าเลือกแต่พวกเดียวกันนี่หว่า โห กว่าจะสรุปผลได้ก็สิ้นปี รัฐบาลซื้อเวลา ฯลฯ
ในทางการเมืองรัฐบาลไม่ได้แสดงให้สังคมเห็นว่า พร้อมเปิดพื้นที่ให้ กปปส. ในทางเนื้อหา สภา 499 กว่าจะแก้เตี่ยวลงงม หาเนื้อในน้ำ ก็ไม่ได้ทำอะไรกันพอดี
อย่าไปกลัวเลยครับกับการให้ ปชป.กปปส.เสนอชื่อ 10 คน ขอข้อแม้ข้อเดียว ทั้งสองฝ่ายต้องเสนอนักคิดนักวิชาการ ไม่เอานักการเมือง ถ้ารัฐบาลขอแรงนักวิชาการ สปป.ส่งใครมาก็ช่าง เราชนะด้วยเหตุผลอยู่แล้ว ต้องทำให้เวทีปฏิรูป เป็นเวทีถกเถียงให้ความรู้อย่างกว้างขวางและขนานใหญ่ในสังคม คนชั้นกลางที่เชียร์ปฏิรูป เอาเข้าจริงก็จะจำนนด้วยเหตุผล คุณจะปราบคอร์รัปชั่น จะปฏิรูปตำรวจ อัยการ แล้วปล่อยศาลไว้ที่ไหน คุณให้ ส.ส.เปิดบัญชีทรัพย์สิน แล้วผู้พิพากษา นายพล คุณจะเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทำไมไม่ยอมให้เลือก ส.ว.
ต้องเข้าใจว่าไหนๆ พรรคเพื่อไทยก็ไม่มีทางแก้รัฐธรรมนูญได้แม้แต่มาตราเดียว การตั้งคณะกรรมการปฏิรูปนี่แหละ จะนำไปสู่การรื้อโครงสร้างอำนาจได้
คณะกรรมการไม่ต้องทำทุกเรื่อง อย่างที่ อ.สมเกียรติเสนอ เพราะมีเรื่องระยะสั้น ระยะยาว เช่น ปฏิรูปการศึกษา ยังไงก็ทำไม่ได้ใน 1-2 ปี แต่ต้องตกลงว่าวางโครงอย่างไร รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องทำตามมติคณะกรรมการทุกข้อ แต่มีข้อผูกมัด เช่น ถ้ามีมติ 3 ใน 5 แล้วรัฐบาลไม่เห็นด้วย ก็ติ๊กไว้ลงประชามติในตอนยุบสภา ซึ่งไม่ควรเกิน 1 ปี เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าได้ทำข้อเสนอเฉพาะหน้า ข้อสำคัญ ครบถ้วนแล้ว เสนอให้ยุบสภา รัฐบาลก็ต้องยุบ
รัฐบาลอย่าไปตั้งแง่ ด่วนปฏิเสธข้อเสนอของ 7 องค์กรภาคธุรกิจ TDRI ที่เสนอให้ออกพระราชกำหนด โดยบอกว่าออกไม่ได้ ไม่เคยมี เดี๋ยวศาลรัฐธรรมนูญถอดถอน ฯลฯ ข้อเสนอแบบนี้ต้องโยนกลับให้สังคมมีส่วนร่วม เช่น ปรึกษา กกต.ให้นักข่าวไปถามนักกฎหมาย องค์กรอิสระ กกต. ปปช. อย่ากลัวว่าถ้าสังคมเห็นพ้อง แล้วศาลจะฉวยโอกาสล้มรัฐบาล แบบนั้น ศาลก็ฉิบหายสิครับ
การไม่ด่วนคิดเอง ด่วนตัดสินใจเอง หารือฝ่ายต่างๆ (ทั้งที่บางเรื่องเรารู้อยู่แล้ว) คือการแสวงหา “ความชอบธรรม” และเป็นวิธีการประชาธิปไตย
อีกข้อเสนอทิ้งท้าย คือเพื่อไทยควรให้สัตยาบันว่า เมื่อกลับมาเป็นรัฐบาล จะเป็นเจ้าภาพปฏิรูปการเมือง จะไม่ตัดสินใจโครงการใหญ่ที่สร้างความขัดแย้ง ไม่ออกนโยบายใหม่ แต่จะบริหารประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
ยกตัวอย่าง โครงการ 3.5 แสนล้าน 2 ล้านล้าน ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่มีทางไปไหนหรอก ทำไม่ได้อยู่ดีในกระแสนี้ แต่รัฐบาลสามารถทำเรื่องเฉพาะหน้า เช่น ทำแก้มลิง ทำอ่างเก็บน้ำ โดยยังไม่ขยายเขื่อนไม่ทำฟลัดเวย์ หรือเดินหน้ารถไฟฟ้า (คุณพ่อคุณแม่ชาวกรุงคงไม่ค้าน) มอเตอร์เวย์ รถไฟรางคู่ แต่ยังไม่ทำรถไฟความเร็วสูง แค่เปิดศึกษาความเป็นไปได้
ผมรู้ว่าเพื่อไทยไม่กล้าให้สัตยาบัน เพราะจะมีข้อถกเถียงกันว่าเท่ากับหยุดประเทศ แต่ต้องเลือกเอา
จะมีเลือกตั้งหรือไม่มี ก็ยังไม่รู้เลย พรรคเพื่อไทยต้องสู้อย่างอิงความชอบธรรมให้ถึงที่สุด ถ้าเกิดรัฐประหาร หรือการโค่นล้มรัฐบาลด้วยวิธีใด กระแสประชาธิปไตยจะได้โต้กลับอย่างรวดเร็ว
ใบตองแห้ง
26 ธ.ค.56
..................................
27 ธันวาคม 2556 เวลา 00:19 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น