แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

ผู้หญิงหลังฉาก/หลังบ้าน: มือที่มองไม่เห็นในความขัดแย้งทางการเมืองไทย

ที่มา ประชาไท


การเมืองไม่ได้มีตัวแสดงเฉพาะที่เห็นได้หน้าม่านหรือบนเวทีที่เป็นทางการ มีผู้เล่นจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้มีตำแหน่งที่เป็นทางการหรืออยู่ในพื้นที่ สาธารณะให้เห็นได้เปิดเผย เราอาจเรียกคนเหล่านั้นว่าเป็นผู้มีอำนาจ/บารมีนอกระบบ และไม่ชอบใจกับการ “ก้าวก่าย/แทรกแซง” ในเวลาที่เราคาดหวังให้กระบวนการกำหนดกติกาและนโยบายสาธารณะต้องโปร่งใสตรวจ สอบได้ เพราะไม่รู้จะไปสอดส่องการกระทำของคนที่อยู่ “หลังฉาก” เหล่านั้นได้อย่างไร
นายกหญิงคนแรกของไทย อย่างคุณยิ่งลักษณ์ก็ถูกมองเป็นเครื่องมือหรือหุ่นเชิดของพี่ชาย ที่กำกับความเป็นไปทุกแง่มุมอยู่เบื้องหลัง ทำให้เธอดูเหมือนไร้ความสามารถและไม่ใช่คนกุมอำนาจในการตัดสินความเป็นไปของ การเมืองไทย
หลายคนเชื่อว่าผู้ทรงอิทธิพลและมีบทบาท “หลังฉาก” จำนวนหนึ่งในการเมืองไทยเวลานี้เป็นผู้หญิง การเคลื่อนไหวของพวกเธอเล็ดลอดให้เราได้เห็นโดยเจตนาและไม่เจตนาอยู่เป็น ระยะ ผ่านสื่อกระแสหลัก/สื่อสังคม เช่น Instagram เป็นต้น
ผู้หญิงหลังฉากเหล่านี้จำนวนหนึ่งอยู่ในฐานะ “หลังบ้าน” ของผู้ชายที่มีอำนาจหรือบทบาทในทางการเมือง
การใช้คำว่า “หลังบ้าน” ในภาษาไทยดูเหมือนจะสื่อถึงภรรยา แต่คำนี้น่าจะซับซ้อนอยู่ไม่น้อย

“หลัง บ้าน” ในระบบหลายเมียเชิงปฏิบัติ (คือกฎหมายและกติกาที่เป็นทางการรับรองระบบผัวเดียว-เมียเดียว แต่วิถีปฏิบัติของผู้ชายต่างชนชั้นมีลักษณะหลายเมีย) ทำให้การทำความเข้าใจบทบาทของ “หลังบ้าน” ในการเมืองซับซ้อนในหลายกรณี
“หลังบ้าน” ผู้ทรงอำนาจหลายคนไม่ใช่ภรรยาที่กฎหมายรับรอง แต่ทรงอิทธิพลต่อชายที่ใกล้ชิดและผลักดันการตัดสินใจในพื้นที่สาธารณะได้ อย่างน่าสนใจ
สังคมไทยมี “หลังบ้าน” ที่ทรงอิทธิพลอยู่หลายคน แม้ว่าเรื่องราวของพวกเธอหลาย ๆ คนจะคลุมเครือ เป็นที่รับรู้ผ่านการนินทาทำให้ดูกึ่งจริงกึ่งมั่ว ไม่ชัดเจน
มีปัจจัยจำนวนหนึ่งที่บังตาเราจากการมองเห็นบทบาทของ “หลังบ้าน” ในการเมือง

การ ใช้อำนาจทางการเมืองจาก “หลังบ้าน” ผ่านความสัมพันธ์กับผู้ชายที่มีอำนาจ ถูกมองเป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่เหมาะควร ผู้ชายที่ “หลังบ้าน” มีบทบาทมาก ๆ ถูกมองว่าขาดความสามารถในการจัดการกิจการในบ้าน หรือ “กลัวเมีย” บทบาทของหลังบ้านในการเมืองถูกมองเป็นเรื่องไม่เหมาะสม หลายคนจึงมักตัดสินใจหรือตำหนิบทบาทของ “หลังบ้าน” มากกว่าจะทำความเข้าใจรูปแบบวิธีการใช้อำนาจ
การแบ่งพื้นที่ส่วนตัว - พื้นที่สาธารณะทำให้เรามองไม่เห็นความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์อีกมากมายใน ครอบครัวหรือในพื้นที่ส่วนตัวที่ส่งผลต่อการดำเนินการทางการเมืองในพื้นที่ สาธารณะของตัวละครสำคัญในการเมืองไทย
ตัวแสดงสำคัญที่อยู่ในอาณาบริเวณส่วนตัวของความสัมพันธ์ใกล้ชิด ไม่ได้ยืนเคียงข้างผู้แสดงหลักในการเมืองอย่างสงบนิ่ง แต่พวกเธอส่งอิทธิพลต่อความเห็น การพิจารณาทางเลือก และการตัดสินใจในพื้นที่สาธารณะได้
อิทธิพลของผู้หญิงในการผลักดันสามีเพื่อความร่ำรวยและสถานะทางสังคมของ ครอบครัว ในฐานะแม่และเมียผู้หญิงเหล่านี้คิดถึงแต่ประโยชน์สุขของครอบครัวเครือญาติ ของตัวเอง โดยไม่สามารถคิดถึงผลประโยชน์สาธารณะได้ พวกเธอหลายคนเล่นบทผู้ร้ายที่นำไปสู่การฉกฉวยทรัพยากรสาธารณะหรือใช้อำนาจ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อครอบครัวพวกพ้องของชายที่มีอำนาจหลายคน
แต่พวกเธอก็สามารถเสนอมุมมองที่อาจจะทำให้ความขัดแย้งบรรเทาเบาบางหรือนำ ไปสู่การคิดถึงทางออกที่นำพาสังคมออกจากการเผชิญหน้าและการใช้ความรุนแรงได้
“หลังบ้าน” หลายคนเล่นบทคู่คิด ผู้จัดการ/ประสานงานที่ชายที่มีอำนาจไว้ใจ เพราะความสัมพันธ์ใกล้ชิด โยงใยทางอารมณ์ และการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจสังคม บทบาทและอิทธิพลของ “หลังบ้าน” ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเฉพาะของตัวหญิงที่เป็น “หลังบ้าน” และลักษณะเฉพาะของความสัมพันธ์
พวกเธอหลายคนจัดการกิจการของครอบครัวได้อย่างเก่งกาจ บางคนเล่นบทบาทประสาน/เจรจาต่อรอง ไปจนถึงการคุมฐานสนับสนุนทางการเมืองให้ชายผู้มีอำนาจได้อย่างมีประสิทธิผล

เครือข่ายบวกความสามารถเฉพาะของพวกเธอบางคน ทำให้เล่นบทบาท lobbyists ในการเมืองไทยได้ด้วย
มีการตั้งข้อสังเกตว่า “หลังบ้าน” ผู้ยิ่งใหญ่หลายคนมีความสามารถในการรับฟังและมองเห็นความเดือดร้อนของผู้ อื่น ความอ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมจะเป็นฝ่ายเดินเข้าหา และเจรจาหาทางออกโดยไม่แข็งขืนกดดันผู้อื่นได้
ลักษณะเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ในเวลาของการเผชิญหน้าในทางการ เมือง ถ้า “หลังบ้าน” จะมองโลกไม่เป็นขาวเป็นดำหรือเอาชนะแบบผู้ชาย แต่พวกเธอก็สามารถจะผลักให้การเมืองไทยอับจนมากยิ่งขึ้นไปอีกได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น