ดีเอสไอ ยื่นศาลขออนุมัติหมายจับ 19 แกนนำ กปปส. ฝ่าฝืน
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นัดไต่สวน 9 โมง 31 ม.ค.นี้
ด้านศาลแพ่งนัดฟังคำสั่งจะคุ้มครองชั่วคราวห้ามรัฐใช้กำลังสลายการชุมนุม
หรือไม่ บ่าย 3 ส่วน กปปส.ฟ้อง ‘ธาริต’ ปฏิบัติหน้าทีมิชอบ
ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้อง 21 เม.ย.
ดีเอสไอ ยื่นศาลขออนุมัติหมายจับ 19 แกนนำ กปปส. ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นัดไต่สวน 9 โมง 31 ม.ค.
30 ม.ค. 2557 มติชนออนไลน์รายงาน
ว่า เมื่อเวลา 15.00 น.ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ พร้อมคณะ
ได้ยื่นคำร้อง เพื่อขอศาลอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. จำนวน 19 ราย
ประกอบด้วย 1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 2.นายสาธิต วงศ์หนองเตย 3.นายชุมพล
จุลใส 4.นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ 5.นายอิสระ สมชัย 6.นายวิทยา แก้วภราดัย
7.นายถาวร เสนเนียม 8.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ 9.นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์
10.น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก 11.นายนิติธร ล้ำเหลือ 12.นายอุทัย ยอดมณี
13.เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ 14.พล.อ.ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ 15.นายรัชต์ยุตม์
ศิรโยธินภักดี หรือนายอมร อมรรัตนานนท์ 16.นายกิตติชัย ใสสะอาด 17.นายสำราญ
รอดเพชร 18.นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม และ 19.นายพานสุวรรณ ณ แก้ว
ในข้อหากระทำผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา11 (1) และมาตรา 12
พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ เปิดเผยว่า
วันนี้ได้ขอหมายจับแกนนำผู้ชุมนุมคัดค้านต่อศาลเพิ่มอีก 3 คน
และทางพนักงานสอบสวนได้นำพยานหลักฐานเอกสารเพิ่มเติมอีก 2 ลัง
เกี่ยวกับพฤติการณ์การขัดขวางการเลือกตั้งของนายสุเทพ กับพวก
ทั้งที่อยู่บนเวทีปราศรัยจุดต่างๆ และการเคลื่อนกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.
ไปตามท้องถนน
นอกจากนี้ทางพนักงานสอบสวนได้เตรียมพยานบุคคลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำจุด
เวทีปราศรัย และตามหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้าจำนวน 22 คน ไว้เบิกความ
โดยศาลรับคำร้องและเอกสารไว้พิจารณา และนัดไต่สวนในวันที่ 31 ม.ค.นี้ เวลา
09.00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ที่ผ่านมา
ศาลอาญาได้มีคำสั่งให้ยกคำร้องขออนุมัติหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
กับพวกรวม 16 คน ที่กระทำผิด พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.2548 ของ พนักงานสอบสวนดีเอสไอ เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ
และวันนี้ได้ขอหมายจับแกนนำเพิ่มอีก 3 คนดังกล่าว
กปปส.ฟ้อง 'ธาริต' ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้อง 21 เม.ย.
ส่วนเดลินิวส์
รายงานว่า 30 ม.ค.2557 ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นายสุวัตร อภัยภักดิ์
ทนายความผู้รับมอบอำนาจ นายพิภพ ธงไชย
อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ( พธม.) และที่ปรึกษากลุ่ม กปปส.
ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
(ดีเอสไอ) เป็นจำเลย
ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อระหว่าง วันที่ 17 ธ.ค.56 - 9 ม.ค.57
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรี
ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ครั้งที่ 6 /2556
และมีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ จำเลย รวมทั้งนายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม
ได้เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งที่ประชุม กคพ.มีมติให้ กรณี นายสุเทพ
เทือกสุบรรณ กับพวกแกนนำ กปปส. กระทำผิดกฎหมายอาญา
สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่กทม.และบางจังหวัดตั้งแต่วันที่ 3
ส.ค.2556 เป็นต้นมา เป็นคดีพิเศษ ตามมาตรา 21 วรรค 1 ( 2 )
แห่งพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547
ต่อมาในวันที่ 18 ธ.ค.57
นายธาริตจำเลยได้แถลงหลังการประชุมพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
โดยมีมติดำเนินการดังนี้ 1. ออกหมายเรียกแกนนำ กปปส. จำนวน 17 คน
ให้มารับทราบข้อกล่าวหา 2.ออกคำสั่งให้อายัดบัญชี ของแกนนำ กปปส.จำนวน 18
คน ตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษพ.ศ.2547
และออกคำสั่งแจ้งไปยังธนาคารพาณิชย์ของไทยและต่างประเทศรวม 28 แห่ง อาทิ
ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น ให้อายัดบัญชีของนายสุเทพ
เทือกสุบรรณ และแกนนำดังกล่าว
พร้อมส่งหนังสือแจ้งคำสั่งไปยังธนาคารทุกแห่งเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.56
นอกจากนี้เมื่อเดือน ธ.ค.56 จำเลยเรียกประชุมคณะพนักงานสอบสวน
เพื่อมีมติให้ดำเนินการคดีเพิ่มเติมกับแกนนำอีก20-30
คนโดยเฉพาะแกนนำที่อภิปรายในลักษณะผิดกฎหมายหรือนำมวลชนไปบุกยึดสถานที่
ราชการ
อีกทั้งจำเลยได้เคยแถลงว่าที่ประชุมมีมติให้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพิ่มเติม
แล้วแจ้งให้ธนาคารตรวจสอบและอายัดบัญชีเพิ่มเติมอาทิ นายแก้วสรร อติโพธิ
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายเสรี วงศ์มณฑา พล.อ.ปฐมพงษ์ เกสรสุข นายสุริยะใส
กตะศิลา เป็นต้น
ทั้งจำเลยยังแถลงว่าได้ดำเนินการออกหมายเรียกผู้ต้องหาอีก 37
คนเพื่อรับทราบข้อหาเกี่ยวกับการกระทำความผิดระหว่างวันที่ 26 -27 ธ.ค.56
ถึง 2 และ 3 ม.ค.57 แล้วจำเลยได้ออกหมายเรียกผู้ต้องหาอีกด้วยจากนั้นวันที่
24
ธ.ค.56ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศของดีเอสไอเรื่องมติคณะกรรมการคดี
พิเศษ ให้กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณกับพวก ชุมนุมทางการเมืองใน
กทม.และต่างจังหวัด ตั้งแต่ 3 ส.ค.56
เป็นต้นมารวมถึงบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วม เป็นคดีพิเศษ
การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงขอให้ศาลลงโทษตามกฎหมายต่อ
ไป
ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณา เป็นคดีหมายเลขดำ อ.214/2557และนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์วันที่ 21 เม.ย. นี้ เวลา13.30 น.
ภายหลังนายสุวัตร เปิดเผยว่า ได้ยื่นฟ้องนายธาริตเพ็งดิษฐ์
อธิบดีดีเอสไอ ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เนื่องจากได้ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษและ ทำการอายัดบัญชีธนาคารของแกนนำ
กปปส.จำนวนหลายคน โดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายจึงมายื่นฟ้องไว้ก่อน
ส่วนกรรมการคดีพิเศษคนอื่นๆที่เข้าร่วมประชุม จะทยอยมายื่นฟ้องต่อไป
ศาลแพ่งนัดฟังคำสั่งจะคุ้มครองชั่วคราวห้ามรัฐใช้กำลังสลายการชุมนุม หรือไม่ บ่ายสาม 31 ม.ค.
ในวันเดียวกัน (30 ม.ค.2557) มติชนออนไลน์รายงาน
ด้วยว่า ที่ห้องพิจารณาคดี 712 ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 11.00 น.
ศาลนัดฟังคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ 275/2557 ที่นายถาวร เสนเนียม แกนนำ
กปปส. เวทีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ,ร.ต.อ.เฉลิม
อยู่บำรุง รมว.แรงงาน ในฐานะ ผอ.ศรส. และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว
ผบ.ตร.ในฐานะรองผอ.ศรส. จำเลยที่ 1-3 ในข้อหาละเมิด
เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
และห้ามใช้กำลังสลายการชุมนุม
พร้อมขอศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว
โดยมีเพียงนายถาวรพร้อมทนายความ เดินทางมาศาลเท่านั้น
ส่วนฝ่ายจำเลยไม่ได้มาศาลแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า
ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์
ให้บริหารประเทศในสถานการณ์ที่กระทบความมั่นคงจนอาจกระทบต่อเอกภาพและบูรณา
ภาพทางอาณาเขต
โดยรัฐมีความจำเป็นใช้อำนาจในทางบริหารเพื่อแก้ไขเหตุการณ์กลับเป็นปกติสุข
โดยมาตรา 16 ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน บัญญัติว่า
ข้อกำหนดไม่อยู่ในข้อบังคับว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองและไม่สามารถยื่น
ฟ้องต่อศาลปกครองได้
เพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์บ้านเมืองจนกว่าจะมีการยกเลิกกฎหมาย
แต่ไม่ได้หมายถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะไม่ได้รับการคุ้มครองของศาล
ยุติธรรม จึงสามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมได้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 218
และมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้
เมื่อโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ได้ประกาศ
พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
โดยใช้อำนาจตามอำเภอใจเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปิดกั้นโจทก์
จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการลิดรอนสิทธิการชุมนุมอันเป็นการกล่าวอ้างว่า
จำเลยทั้ง 3 กระทำการไม่สุจริตเกินความจำเป็น
คำฟ้องโจทก์มีมูลเพียงพอรับไว้พิจารณา จึงมีคำสั่งรับฟ้อง
และด้วยสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้มีเหตุสมควรพิจารณาเร่งด่วน
โดยทนายโจทก์แถลงต่อศาลขอนำพยานเข้าสืบจำนวน 2 ปาก
ศาลจึงนัดไต่สวนฉุกเฉินในวันนี้ เวลา 13.30 น.
และนัดชี้สองสถานหรือนัดตรวจพยานหลักฐาน ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา
09.00 น. โดยให้ออกหมายเรียกจำเลยทั้ง 3 เพื่อมาศาล
และให้โจทก์ส่งสำเนาหมายเรียกให้จำเลยทั้ง 3 รับทราบ ภายใน 3 วัน
หากจำเลยขาดนัดให้งดชี้สองสถานและถือว่าในวันดังกล่าวให้เป็นวันสืบพยาน
โจทก์แทน
ด้านนายถาวร เปิดเผยภายหลังว่า
สำหรับการไต่สวนฉุกเฉินในช่วงบ่ายวันนี้ ตนจะขึ้นเบิกความด้วยตนเอง
และได้นำนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาฯ สมช. มาขึ้นเบิกความด้วย
ซึ่งภายหลังไต่สวนเสร็จสิ้น
ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล
ส่วนจะมีคำสั่งในวันนี้เลยหรือไม่นั้นคงไม่สามารถระบุได้
ส่วนกรณีที่ขอให้เพิกถอน พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น
แม้รัฐบาลจะใช้อำนาจทางบริหารได้ แต่จะใช้กฎหมายพิเศษตามอำเภอใจไม่ได้
เพราะจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน และ
พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็บัญญัติไว้ว่าไม่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้
ศาลยุติธรรมจึงมีอำนาจพิจารณา โดยให้ตนส่งหมายให้จำเลยทั้ง3 รับทราบ
เพื่อมานัดชี้สองสถานในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้
ต่อมาเมื่อเวลา 13.30 น. ทนายโจทก์ได้นำนายถาวร เสนเนียม แกนนำ
กปปส.ขึ้นเบิกความว่า นายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 ได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
เพื่อปกป้องตนเอง ซึ่งเป็นการกระทบสิทธิการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ
และการใช้ชีวิตประจำวันถูกจำกัดทั้งการห้ามเข้าสถานที่ราชการ
การห้ามสัญจรบนถนน 20 สาย ห้ามมีการชุมนุมเกินกว่า 5 คนขึ้นไป
และที่สำคัญมีการยื่นขอออกหมายจับแกนนำ กปปส.ถึง 3 ครั้ง
โดยหลังจากมีการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ก็เกิดความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม
แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการจับกุม นอกจากนี้
พวกจำเลยยังได้วางแผนสลายการชุมนุมโดยอยู่ในขั้นตอนเตรียมการ เช่น
มีการเจรจาขอคืนพื้นที่ทั้งที่สถานที่ชุมนุมก็มีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่
ตำรวจประจำอยู่ และมีการนำกองร้อยปราบจลาจลกว่า 16,000 นาย
เตรียมการใช้อาวุธเข้าสลายการชุมนุม
ซึ่งข้อเท็จจริงนี้เป็นการให้สัมภาษณ์ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จำเลยที่ 2
เอง ดังนั้น
หากปล่อยให้มีการสลายการชุมนุมจะทำให้เกิดความเสียหายและทำให้กลุ่มผู้
ชุมนุมบาดเจ็บล้มตายได้
ขณะที่นายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการ สมช. เบิกความว่า
จากการติดตามข่าวสารตลอดเวลา เห็นว่าการชุมนุมของกลุ่ม
กปปส.เป็นการชุมนุมโดยสงบ สันติ ปราศจากความรุนแรง และไม่มีการใช้อาวุธ
ซึ่งเป็นการชุมนุมโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ แม้กลุ่ม
กปปส.จะเคลื่อนขบวนปิดล้อมสถานที่ราชการ แต่ก็เป็นไปโดยความสงบเรียบร้อย
ไม่เกิดความรุนแรง ไม่เป็นการรบกวนความเป็นอยู่ของคนกรุงเทพฯ
ซึ่งแตกต่างจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช.เมื่อปี 2553-2553 อย่างสิ้นเชิง
จึงเห็นว่าสถานการณ์ขณะนี้ยังไม่เหตุรุนแรงพอที่จะประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
เพราะสถานการณ์ความรุนแรงที่จะสามารถนำไปสู่การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ต้องเป็นสถานการณ์ความรุนแรงในระดับความอยู่รอดของชาติบ้านเมือง
อาจเทียบเท่ากับสถานการณ์สู้รบหรือสงคราม นอกจากนี้มาตรการต่างๆ
ที่ออกมาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ชุมนุมเป็นหลักไม่ได้มุ่งระงับเหตุภายนอก
ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสาม
จึงเป็นการมุ่งจำกัดหรือควบคุมไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมแสดงออกเพื่อกดดันรัฐบาล
และจำเลยทั้งสาม ยังใช้กลไกของรัฐรวมถึงกฎหมาย
เพื่อประโยชน์ของรัฐบาลมากกว่ามุ่งรักษาความสงบเรียบร้อย
ภายหลังเบิกความเสร็จศาลนัดฟังคำสั่งจะคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ ในวันที่ 31 มกราคม. เวลา 15.00 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น