แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

‘สาดแสงส่องศาล’ นศ.จัดรำลึก 1 ปีขัง ‘เอกชัย’คดี 112

ที่มา ประชาไท



28 มี.ค.2557 เวลา 19.00 น.บริเวณริมทางเท้าหน้าศาลอาญา ถนนรัชดาฯ กลุ่มนักศึกษาจัดกิจกรรม ‘สาดแสงส่องศาล .. ส่องความอยุติธรรมให้โลกได้เห็น’ เพื่อรำลึก 1 ปีการคุมขังนายเอกชัย ซึ่งถูกศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี  4 เดือน ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากกรณีที่เขาขายซีดีสารคดีการเมืองของสำนักข่าวเอบีซี ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยและบทบาทสถาบัน กษัตริย์
อ่านข่าวเกี่ยวกับคดีของเอกชัย
กิจกรรมครั้งนี้ จัดโดย กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย(LLTD), กลุ่มกราฟเสรีเพื่อประชาธิปไตย(มศว), กลุ่ม ศิลปากรเสรีเพื่อประชาธิปไตย (ชมคลิป ส่วนหนึ่งของการแสดงจากกลุ่มบีฟลอร์ด้านล่าง)
กิจกรรมครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมประมาณ 30 คน โดยมีการอ่านบทกวีเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมและมาตรา 112 , การกล่าวแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับคดีมาตรา 112 โดยนายธันย์ฐวุฒิ อดีตผู้ต้องขังในคดีนี้, ลูกสาวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข บก.นิตยาสาร Voice of Taksin ผู้ถูกคุมขังด้วยมาตรานี้ และผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์พ่อนายเอกชัย วัย 84 ปีถึงความรู้สึกและความลำบากหลังจากลูกชายอยู่ในเรือนจำ ต่อด้วยการแสดงละครปีศาจตราชู และ พลาดิศัย โดย B-floor theatre และปิดท้ายด้วยการฉายแสง spotlight ไปยังอาคารศาลอาญาเพื่อเป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในการต่อต้านการใช้มาตรา 112 และรำลึกวาระครบ 1 ปีการพิพากษานายเอกชัย

ตัวแทนจากลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย อ่านแถลงการณ์สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ โดยระบุว่า
“ผู้พยายามแสดงความคิดเห็นโดยหวังให้สังคมนี้เกิดวุฒิภาวะและมีความอดทนอดกลั้นสูงขึ้นกลับถูกมองว่าเป็นคนสุดโต่ง ทั้งที่เป็นแต่เพียงการแสดงออกโดยสุจริตอันพึงกระทำตามระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ขณะเดียวกันพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิดกลับจำกัดไปตามแต่ที่รัฐต้องการ สิ่งเหล่านี้คือผลของการปิดกั้นผู้คนในสังคมด้วยมาตรา 112 ประกอบกับการสนับสนุนของชนชั้นนำและผู้มีอำนาจของรัฐ สังคมของเราจึงได้กลายเป็นสังคมที่มืดบอดทางปัญญา

กรณีของคุณเอกชัยเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของผู้ตกเป็นเหยื่อมาตรา 112 ซึ่งในสังคมเสรีประชาธิปไตยนั้น การจัดการต่อเรื่องที่มีความละเอียดละอ่อนหาใช่การนำบุคคลอย่างเอกชัยไปจำคุกไม่ แต่คือการเปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้ง เพื่อให้สังคมได้เติบโตอย่างมีวุฒิภาวะ มีสติ มีปัญญาที่จะคิดวิพากษ์สิ่งต่างๆ ได้เอง

28 มีนาคม 2557 เนื่องในครบรอบ 1 ปีวันประกาศคำพิพากษาของนายเอกชัย กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเพื่อนนักกิจกรรม จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรม สาดแสงส่องศาล โดยฉายแสงจากไฟฟอลโลว เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้สังคมได้เห็นถึงความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการยุติธรรมที่ทำลายสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเสียเอง”
ธนู รุ่งโรจน์เรืองฉาย นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในสมาชิกกลุ่ม LLTD กล่าวว่า  ปัจจุบันองค์กรตุลาการถูกตั้งคำถามจากสังคมมากขึ้นจากคำพิพากษาที่ผ่านมาๆ ในคดีที่เกี่ยวกับมาตรา 112 แต่ท่ามกลางคำถามและคำวิจารณ์มากมายดูเหมือนศาลยังคงนิ่งเฉย การจัดงานครั้งนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ศาลได้รับรู้ว่า เรามีความไม่พอใจกระบวนการที่ผ่านมาและไม่อาจนิ่งเฉยได้ การพิพากษาคดี 112 คนที่ตกเป็นจำเลยต่างโดนศาลตัดสินจำคุกโดยไม่มีใครได้รับสิทธิในการประกัน ตัวในการต่อสู้คดีเลย เพราะศาลให้เหตุผลว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีที่กระทบกระเทือนจิตใจประชาชน ซึ่งเหตุผลนี้ไม่มีระบุในกฎหมายแต่อย่างใด สิ่งเหล่านี้ทำให้เราต้องตั้งคำถามกับศาลว่าท่านตัดสินโดยใช้อคติใช่หรือไม่
ธันย์ฐวุฒิ หรือหนุ่ม เรดนนท์ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับมาตรา 112 เพราะเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ ไม่ว่าฝ่ายไหนสีไหนควรให้ความสำคัญในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เพราะเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแม้เป็นการแสดงความ เห็นโดยสุจริตใจก็ตาม ไม่ว่าจะยืนอยู่ฝั่งไหนก็อาจได้รับผลกระทบจากกฎหมายนี้ได้ ทุกๆ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคดี 112 ก็ไปร่วมโดยตลอดไม่เคยพลาด
“ผมเคยเป็นอดีตนักโทษการเมืองในคดีนี้ เคยถูกขังจำคุกและเข้าใจความรู้สึกภายในนั้นเป็นอย่างดี แม้ผมได้รับการอภัยโทษออกมาจากคุก แต่ผมก็ยังไม่รู้สึกถึงเสรีภาพอย่างแท้จริง ทุกวันนี้ผมยังคิดที่จะต่อสู้ในประเด็นนี้ต่อไปจนถึงวันที่นักโทษคดี 112 คนสุดท้ายได้เป็นอิสระ” ธันย์ฐวุฒิกล่าว
ผู้ร่วมงานคนหนึ่ง กล่าวว่า “รู้สึกดีใจที่คนรุ่นใหม่สืบทอดเจตนารมณ์และให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ ป้าคิดว่า ถ้าป้าตายไปก็คงตายตาหลับ คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันรู้เรื่องเกี่ยวกับประเด็นนี้เยอะ และในยุคเทคโนโลยีที่ทันสมัย คนรุ่นใหม่ได้ใช้ช่องทางนี้ในการเคลื่อนไหวซึ่งต่างจากยุคของป้าที่ไม่มี อะไรเลย ดีใจที่คนรักความยุติธรรมมาร่วมกันในค่ำคืนนี้”



ขอขอบคุณภาพจาก ยิ่งชีพ อัชฌานนท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น