"โดยเนื้อแท้เป็นการแสดงอำนาจตุลาการในทางข่มขู่ผู้ที่บังอาจลุกขึ้นมาขัดขืนต่ออิทธิพลของทหาร"
จากบทความ เรื่อง อียิปต์โมเดลรุ่นใหม่
:ต้องระวังอย่าให้เป็นไปได้ในไทย โดย ระยิบ เผ่ามโน
เมื่อต้น
อาทิตย์นี้ศาลในอียิปต์พิพากษาให้ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหารต้องโทษประหาร
ชีวิตพร้อมกัน
๕๒๙ คน นับเป็นการสั่งฆ่าทางการเมืองครั้งประวัติการณ์
แม้จะยังมีการอุทธรณ์คำสั่งได้ก็เชื่อว่านี่เป็นมาตรการไล่ล่าและไล่เบี้ย
ขั้นเด็ดขาด
ต่อบรรดาผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกของประเทศ
ไม่เพียงเท่านั้นในวันต่อมา
ศาลเดียวกันได้เลื่อนการพิจารณาคดีคล้ายคลึงกันอีกคดีหนึ่ง ไปพิจารณาปลายเดือนหน้าพร้อมๆ
กับการลงอาญาในคดีแรก แต่ว่าคดีหลังนี้มีผู้ต้องหาถึง ๖๘๓ ราย
ล้วนเป็นพวกผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดเลือกตั้งเช่นกันเกือบทั้งสิ้น
ผู้ที่ต้องโทษประหารแล้วกว่าห้าร้อยคนนั้น
ส่วนใหญ่เป็นพวกภราดรภาพมุสลิมที่สนับสนุนนายโมฮาเม็ด มอร์ซี
อดีตประธานาธิบดีซึ่งถูกคณะทหารยึดอำนาจแล้วจัดตั้งรัฐบาล (พลเรือน)
ของตนเองขึ้นมาแทนเมื่อเดือนกรกฎาคมปีก่อน
หลังจากนั้นก็ได้มีการไล่ล่ากวาดล้างโดยกองกำลังรักษาความมั่นคงของทหาร
ท่ามกลางการออกมาประท้วงหลายครั้งบนท้องถนนของสมาชิก ‘บราเธอร์ฮู้ด’ เป็นผลให้มีคนตายถึง ๑,๖๐๐ ราย
คดีที่
ศาลตัดสินประหารชีวิตผู้ประท้วงทั้งยวงครั้งนี้
มาจากการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหารในท้องที่จังหวัดมิเนีย
เขตฐานเสียงหนาแน่นของภราดรภาพมุสลิม
ที่รัฐบาลปัจจุบันภายใต้การควบคุมของทหารได้ประกาศให้เป็นองค์กรนอกกฏหมาย
อีกครั้ง
แม้นว่าองค์กรมุสลิมซึ่งต่อสู้กับคณะทหารมาตลอดประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของ
อียิปต์นี้จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างเด็ดขาดภายหลังการปฏิวัติ
ประชาชน
‘อาหรับสปริง’
โค่นผู้เผด็จการฮอสนิ มูบารัค ในอียิปต์เมื่อสามปีที่แล้ว
อัลซ๊ซิกับคณะทหารของเขา |
องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติกล่าวถึงการตัดสินคดีครั้งนี้ว่า “เป็นการพิจารณาคดีอย่างรวบรัด
โดยผู้ต้องหาส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าฟังการพิจารณา ทนายจำเลยไม่สามารถเรียกพยานของตนเองมาให้การ
ไม่อาจต่อสู้คดีด้วยกรรมวิธีอื่นนอกจากสำนวนลายลักษณ์อักษร
และศาลตัดสินความผิดหลังจากได้ฟังการนำเสนอคดีเพียงสองครั้ง”
เหล่านี้นางแซร่าห์ ลีอาห์ วิทสัน
ผู้อำนวยการฮิวแมนไร้ท์ว้อทช์ประจำภาคพื้นตะวันออกกลางบอกว่าล้วนขัดต่อหลักนิติธรรม
หรือ Due
Process of Law
สื่อตะวันตกกล่าวถึงการตัดสินคดีในอียิปต์ครั้งนี้ว่า
โดยเนื้อแท้เป็นการแสดงอำนาจตุลาการในทางข่มขู่ผู้ที่บังอาจลุกขึ้นมาขัดขืนต่ออิทธิพลของทหาร
และแน่ละคนเหล่านี้เป็นพวกมุสลิมที่สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีมอร์ซีผู้มาจากการเลือกตั้งในปี
๒๕๕๕
ไม่ว่าศาลที่ตัดสินคดีจะมีความรังเกียจพวกบราเธอร์ฮู้ด
หรือว่าได้รับธงโดยตรงมาจากคณะทหารที่บงการรัฐบาลอยู่ขณะนี้ การตัดสินคดีได้ “เปลือยให้เห็นถึงระบบที่เต็มไปด้วยการลำเอียง
จงใจลงทัณฑ์ต่อผู้สนับสนุนของนายมอร์ซีอย่างลุกลี้ลุกลน
แล้วยังทำไขสือไม่ยอมรับรู้ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลที่อยู่ภายใต้อุ้งเท้าทหาร”
ผู้ที่
ติดตามการเมืองในประเทศอียิปต์ตลอดสามสี่ปีที่ผ่านมาจะรู้สึกสัมผัสได้ถึง
ความละม้ายคล้ายคลึงกับปัญหาขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยอยู่ไม่น้อย
(แม้แต่แกนนำ นปช. ท่านหนึ่งยังเคยอ้างถึงโมเดลอียิปต์ ลิเบีย ตูนิเซีย
เอาไว้ในบริบทที่ดูเหมือนจะหมดสมัยนิยมไปแล้วขณะนี้)
บทความของผู้เขียนเอง
เรื่อง "เหมือนว่าอียิปต์ก็ไม่ต่างกับไทย" ได้แตะประเด็นอันเป็นปัญหาเหล่านี้เอาไว้พอประมาณว่า ทหารไทยก็เหมือนในอียิปต์ที่ยังคงเป็นชนชั้นพิเศษในทางการเมือง
จนทำให้ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ตลอดเวลาเกือบปีที่ผ่านมากระทั่งบัดนี้
มีจุดสนใจอันจะเป็น ‘ไคลแม็ก’ อยู่ที่ท่าทีของคณะทหาร
อันเป็นคำถามเรื่อยมาไม่ขาดสายว่า “ปฏิวัติหรือยัง ปฏิวัติหรือยัง”
เป็นความจริงที่สถานการณ์ตามเนื้อนาทางการเมืองในประเทศไทยมิได้เหมือนกับอียิปต์
จึงไม่อาจนำมาเทียบเคียงกันให้เป็น ‘โมเดล’ เอาอย่างได้เสมอไป
แต่ว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทางการเมืองในอียิปต์ขณะนี้อาจทำให้ใครบางคนในประเทศไทยเห็นดีเห็นงาม
ไปกับการที่ทหารอียิปต์สามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
โดยมีคนชั้นกลาง คนชั้นสูง
รวมไปถึงกลุ่มคนที่ภาคภูมิกับสมัญญานามแทนพวกพ้องของตนว่า ‘ปัญญาชน’ ให้การสนับสนุน
และอาจหลงเคลิ้มไปว่าทหารจะพาประเทศชาติหลุดพ้นจากความชั่วร้ายของมุสลิมบราเธอร์ฮู้ด
นำไปสู่การปกครองใหม่ที่อะไรๆ ก็เปี่ยมไปด้วยความ ‘ดี’ ทั้งสิ้นได้
การณ์กลับกลายเป็นว่า
ทหารไม่เพียงฉวยโอกาสกวาดล้างอิทธิพลของมุสลิมอย่างหักโหมจนเป็นที่ตำหนิของบรรดาองค์กร
และผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนนานาชาติ
สร้างความผิดหวังให้แก่สหรัฐอเมริกาประเทศพี่เอื้อยที่เคยขุนทหารอียิปต์มาหลายทศวรรษ
แต่ก็ไม่สามารถชักนำให้ทหารอียิปต์เดินตามครรลองประชาธิปไตยสากลอย่างเต็มรูปแบบได้
กลายเป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์การเมืองอย่างมหันต์ ดังที่นายรอเจอร์ โคเฮ็น
นักวิจารณ์ของสื่อเมริกันคนหนึ่งเขียนถึงไว้ในเรื่อง 'The
Egyptian Disaster'
ที่สำคัญในเวลานี้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าทหารทำทุกอย่างเพื่อตนเองเสียมากกว่า
‘เพื่อชาติ’
ทั้งสร้างพร้อปฉากละคร
พร้อมด้วยวาทกรรม “จะนำประชาธิปไตยมาให้” รวมไปถึงการกำหนดกฏหมายต่างๆ
ที่เป็นประโยชน์แก่ตน และเป็นขวากหนามขวางกั้นกลุ่มการเมืองอื่นมาประชันขันแข่ง แม้แต่กลุ่มสื่อมวลชนและพวกเสรีนิยมที่เคยตั้งแง่กับบราเธอร์ฮู้ด
บัดนี้ได้เจอเข้ากับอิทธิฤทธิ์ของอำนาจทหารกันบ้างแล้ว
ท่านจอมพล |
ล่าสุดจอมพลอับดุล
ฟัตตาห์ อัลซิซี เพิ่งประกาศลาออกจากตำแหน่งทางทหารเพื่อจะลงรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอียิปต์
ก่อนหน้านี้ไม่นานนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเรือนที่คณะทหารตั้งขึ้นมารักษาการหลังยึดอำนาจ
ได้ลาออกโดยไม่มีปี่มีขลุ่ยเพื่อเปิดทางแก่จอมพลอัลซิซีเปลี่ยนหมวกมาเป็นผู้นำรัฐบาลโดยตรงด้วยตนเอง
การนี้เช่นกันท่านจอมพลเคยพูดแบไต๋ไว้แล้วว่าถ้า “เป็นทางเลือกของมวลมหาประชาชน” และ “ภารกิจร่ำร้อง”
ก็จะยินยอมรับตำแหน่งสูงสุดของประเทศ
อียิปต์โมเดลในเวลานี้จึงน่าจะเป็นที่จับจ้องของฝักฝ่ายการเมืองในประเทศไทย
ที่เห็นว่าฐานมวลชนอันกว้างขวางของรากหญ้าอย่างเช่นภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์นั้นปล่อยให้ได้สิทธิตามคะแนนเสียงไม่ได้
เพราะพวกนี้จะโตวันโตคืนมาเบียดบังสิทธิพิเศษของตน ต้องหักดิบตัดกำลังด้วยการรัฐประหาร
โดยมีฝูงชนชั้นสูงเกื้อหนุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น