โดย โจ กอร์ดอน
เพลงเพื่อชีวิตเกิดขึ้นมาหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.
2516 ขณะที่ประเทศไทยยังอยู่ในอำนาจของเผด็จการ ถนอม และ ประภาส
และในขณะเดียวกันสงครามเวียดนามยังเร้าร้อนเป็นไฟ
โดยที่ประเทศไทยได้ให้สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพอากาศ
ในการใช้เครื่องบินติดอาวุธเข้าถล่มประเทศเพื่อนบ้านกันอย่างเต็มรูปแบบ
วัฒนธรรมอเมริกันได้เข้ามาตามเมืองต่างๆที่เป็นที่ตั้งของ
ฐานทัพเหล่านั้น มีบาร์เล่นเพลงเอาใจทหารอเมริกันมากมายหลายแห่ง
พร้อมด้วยการเล่นดนตรีตามแบบฝรั่งกันอย่างสดๆด้วยฝีมือนักดนตรีไทย
ที่แต่งตัวเหมือนฮิปปี้ในสมัยนั้น ซึ่งบางคนก็พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย
แต่สามารถร้องเพลงฝรั่งได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน
อาจจะกล่าวได้ว่า สุรชัย จันทิมาธร หรือ "หงา คาราวาน"
เป็นผู้บุกเบิกดนตรีในแนวนี้
ด้วยการมีพื้นฐานที่เป็นนักเขียนเรื่องสั้นและบทกลอน
เขาใช้กีตารโปร่งแต่งเนื้อร้องและทำนองเพลง
โดยได้รับอิทธิพลจากเพลงที่เขาชื่นชอบตามรสนิยมร่วมสมัย
หรือได้รับอิทธิพลในการฟังเพลงตะวันตกที่ต่อต้านสงครามในยุคสมัยนั้น เช่น
Bob Dylan, Crosy, Still, Nash and Young, Steve Winwood, Jethro Tull
และวงอื่นๆด้วย
ผลงานที่เด่นสุดของเขาคือเพลง"จิตร ภูมิศักดิ์"
ซึ่งได้นำเอาทำนองเพลง John Barleycorn Must Die ของ Steve Winwood
มาดัดแปลงใส่เนื้อหาภาษาไทย
แล้วนำไปขึ้นเวทีแสดงพร้อมกับเพลงอื่นๆในนามของวงคาราวาน
ตามสถานที่ชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาประชาชนต่างๆ
จนได้กลายเป็นตำนานของเพลงเพื่อชีวิตขึ้นมา
ปัจจุบันมีศิลปินในสาขานี้มากมายที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ
ของคนจำนวนมากเช่น แอ๊ด คาราวาน, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, สีเผือก
คนด่านเกวียน และพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เป็นต้น
ตลาดของเพลงเพื่อชีวิตได้ขยายตัวเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปมากกว่ายุคสมัย
เริ่มต้นมาก ศิลปินเพื่อชีวิตได้กลายเป็นธุรกิจที่สร้างความมั่งคั่งได้
ศิลปินในสาขานี้หากประสบความสำเร็จ ก็จะมีชีวิตที่สุขสาบายอย่างเช่น แอ๊ด
คาราบาว เป็นต้น
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุควิกฤตทางการเมือง
ทัศนคติของศิลปินเพื่อชีวิตก็เปลี่ยนเอนเอียงไปตามกระแส
ตามฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในสังคมของตัวศิลปินเอง
จนทำให้พวกเขาเปลี่ยนมุมมองชีวิตและจุดยืน
บางคนถึงขนาดว่าลืมพื้นฐานที่มาของตนเองไปเสียสนิท
และก้าวขึ้นเวทีประกาศตัวเป็นปรปักษ์กับประชาชนคนรากหญ้าที่เคยเป็นแฟนเพลง
ส่วนใหญ่ของเขา
คงไม่มีศิลปินคนไหนอยากจะพบกับหนทางตัน
ด้วยการทำตัวเป็นศัตรูกับบรรดาแฟนเพลง
มันเป็นการฆ่าตัวตายหรือการตัดท่อน้ำเลี้ยงของตัวเอง
มันเป็นสิ่งที่น่าอับอายเมื่อถูกต่อต้านจากประชาชนในท้องถิ่นจนเปิดเวทีการ
แสดงไม่ได้ พวกเขาทำลายตัวเองอย่างโง่ๆ
ด้วยการละทิ้งอุดมการณ์และจิตวิญญาณของเพลงเพื่อชีวิต
เพียงเพื่อเอาใจอำมาตย์ศักดินาและชนชั้นสูง
ปัจจุบัน หงา คาราวาน ยังรับงานแสดงไปตามสถานที่ต่างๆเหมือนเดิม เขาได้รับรางวัลเป็นศิลปินแห่งชาติในปี พ.ศ. 2553 สาขาวรรณศิลป์
https://www.youtube.com/watch?v=t8878chOvfI
ooo
"โอ..เพื่อนเอย โอ..เพื่อนเอย
เคยไม่เคย อย่าย่ำยี ตายเพื่อสร้างเสรี
คือสะพานคนดีที่เหยียบเดิน
ร้องเพลงเพื่อชีวิต คิดกันทุกคน
จริงไม่จริง ทนไม่ทน วิญญาณตัวตนรู้ดี"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น