https://www.youtube.com/watch?v=B4nTOGl2sBI&app=desktop
เรื่องเกี่ยวข้อง...
"คณิน บุญสุวรรณ" ตั้งคำถาม 6 ข้อ ให้ ศาลรัฐธรรมนูญตอบประชาชน ?
วันที่ 29 มีนาคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายคณิน
บุญสุวรรณ ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย
กล่าวถึงกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่า การเลือกตั้งวันที่ 2
กุมภาพันธ์ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 ว่า เปรียบเทียบการเลือกตั้งวันที่
3 กรกฎาคม 54 กับการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 57
ว่ามีความแตกต่างกันหลายประการ การเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 54 นั้น
เกิดจากการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ยุบสภา
แล้วประชาธิปัตย์ (ปชป.) ลงแข่งกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ซึ่งครั้งนั้นมีกกต.และศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งร่วมกันเป็นกรรมการตัดสิน
ขณะที่การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 57 นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยุบสภา
แต่นายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคปชป.ปฏิเสธการแข่งขัน กกต. โดยเฉพาะนายสมชัย
ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านบริหารการจัดการเลือกตั้ง
ทำตัวเป็นคู่ต่อสู้กับน.ส.ยิ่งลักษณ์ และพท.
ครั้งนี้มีศาลรัฐธรรมนูญเป็นกรรมการตัดสิน โดยปชป.ไปร่วมกับกปปส.
โดยอยู่คนละมุมเวที ร่วมกันตีขา น.ส.ยิ่งลักษณ์
และศาลรัฐธรรมนูญก็ตัดสินให้น.ส.ยิ่งลักษณ์และพท.แพ้กกต.
โดยสั่งให้การเลือกตั้งของคน 20 ล้านคน เป็นโมฆะ
ดังนั้นจึงมีคำถามที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องตอบให้ประชาชนได้ทราบ ดังนี้
1.เพราะเหตุใดศาลรัฐธรรมนูญจึงมาเป็นผู้ตัดสินการเลือก
ตั้งครั้งนี้ ในเมื่อรัฐธรรมนูญมาตรา 219 วรรค 3 ระบุชัดว่า
ให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีอำนาจพิจารณา
และวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.
อำนาจตรงนี้เป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง
ซึ่งตรงกับการเลือกตั้งครั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 54
2.เหตุใด เรื่องคอขาดบาดตาย
ซึ่งกระทบต่อความเป็นไปของบ้านเมือง
และกระทบต่อผลประโยชน์ของคนไทยทั้งชาติเช่นนี้ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ขึ้นนั่ง
บัลลังก์อ่านคำวินิจฉัย
กลับให้โฆษกศาลออกมาแถลงเป็นเชิงแถลงข่าวของศาลรัฐธรรมนูญ
3.เหตุใด
คำวินิจฉัยกลางอย่างไม่เป็นทางการที่ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่ในภายหลังจึงมีข้อ
ความไม่เหมือนกันกับการแถลงของโฆษกศาล
และคำวินิจฉัยกลางอย่างเป็นทางการที่จะต้องนำไปประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
นั้นจะออกเมื่อไหร่
และจะมีข้อความเหมือนคำวินิจฉัยกลางอย่างไม่เป็นทางการหรือไม่
4.เหตุใด
ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่เปิดเผยคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9
คน ในวันที่โฆษกศาลแถลง ในเมื่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 วรรค 2 ระบุชัดว่า
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนที่เป็นองค์คณะ
จะต้องทำความเห็นในการวินิจฉัยในส่วนของตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุม
ก่อนการลงมติ
การไม่เปิดเผยคำวินิจฉัยส่วนตนจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่ามีคำวินิจฉัยส่วนตน
หรือไม่
5.เหตุใดศาลรัฐธรรมนูญจึงชี้ว่า
พ.ร.ฎ.เฉพาะในส่วนที่ให้การจัดการเลือกตั้งวันที่ 2
กุมภาพันธ์เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 108
ในเมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่า
กกต.ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพ.ร.ฎ.
จึงเป็นเรื่องที่การจัดการเลือกตั้งขัดต่อพ.ร.ฎ.ต่างหาก
ไม่ใช่พ.ร.ฎ.ขัดต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
ศาลรัฐธรรมนูญเอาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตราใดมาวินิจฉัย
6.จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น
จนถึงวินาทีนี้ยังไม่ปรากฎชัดเลยว่ากระบวนการการเลือกตั้งนั้นจะดำเนินต่อไป
หรือไม่ อย่างไร และเมื่อใด
เพราะหากเป็นไปตามพ.ร.ฎ.ที่ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่ายังมีผลใช้บังคับนั้น
การเลือกตั้งก็ต้องเป็นไปตาม มาตรา 108 คือ ไม่น้อยกว่า 45 วัน และไม่เกิน
60 วัน แต่ขณะนี้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ดำเนินการเสร็จแล้ว
แล้วศาลก็มาสั่งให้หยุดชะงักลงไป เพราะฉะนั้นจึงเป็นปัญหาต่อไปว่า
การเลือกตั้งที่จะมีครั้งต่อไปจะเป็นการเลือกตั้งเฉพาะในส่วน 28
เขตที่เหลือ หรือจะต้องเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด
แล้วการตราพ.ร.ฎ.ครั้งต่อไปจะทำอย่างไร
ooo
"ชัยนรินทร์" เเจ้งความ กองปราบฯ เอาผิด 6 ตุลาการศาล รธน.และ 5 กกต.
วันที่ 29 มีนาคม ที่กองบังคับการกองปราบปราม (บก.ป.)
ได้มี กลุ่ม ศูนย์ประสานงานเพื่อประชาธิปไตย นำโดย นายชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ
อายุ 38 ปี แกนนำกลุ่มศูนย์ประสานงานเพื่อประชาธิปไตย พร้อมกลุ่ม
ผู้ชุมนุม50 คน เดินทางมาที่บริเวณด้านหน้า กองปราบปราม
พร้อมกับอ่านข้อความ โดยเนื้อข้อความระบุว่า
พวกตนเองต้องการร้องทุกข์กล่าวโทษ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ในฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือ ละเว้น การปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดย
กลุ่มประชาชนได้ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีกับ กกต. ใน 4 ประเด็น
1.การกำหนดการเลือกตั้งที่มีวันที่2 กุมภาพันธ์
มีเขตการเลือกตั้งที่มีปัญหา 28 เขต ผู้ร้องเห็นว่า
การเลือกตั้งขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ม.108
2.ในการรับสมัครการเลือกตั้งผู้สมัคร ไม่สามารถที่จะเข้าไปในสถานที่
รับสมัครได้ และกกต. แจ้งเปลี่ยนแปลงสถานที่รับสมัคร โดย
ไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้า โดยเปิดเผย ทำให้ผู้สมัคร
ไม่ทราบและไม่สามารถเดินทางไปรับสมัคร ได้ 3. ในการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ขัดต่อการลงคะแนนลับ บัตรเลือกตั้งที่ได้ เป็นบัตรเสีย
และเห็นว่าการดำเนินการเลือก ตั้งของ กกต. ในเรื่องการลงคะแนนลับ
เป็นเรื่องร้ายแรง กระทบสิทธิของประชาชนเป็นจำนวนมาก และ 4. กกต.
ปล่อยให้มีการละเมิด ยอมให้มีการใช้อำนาจรัฐที่ก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรม
เช่น นายกรัฐมนตรี เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย
แต่กลับสามารถออก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ผู้ร้องเห็นว่า กกต.
ละเลยต่อหน้าที่ให้มีการใช้อำนาจรัฐ ออกประกาศ และคำสั่งต่างๆ
ทำการการจัดการการเลือกตั้ง ไม่สามารถที่จะดำเนิน ไปได้โดยสุจริต
และเที่ยงธรรม
นอกจากนี้ พวกตนขอแจ้งความดำเนินคดีกับศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีคำวินิจฉัย โดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่าการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ
นายชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ อายุ38ปี กรรมการศูนย์ประสานงานเพื่อประชาธิปไตย เปิดเผยว่า วันนี้เป็นตัวแทนนำประชาชน ที่ได้รับความเสียหายจากการเลือกตั้ง เข้ามาแจ้งความดำเนินคดี กับ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน6 ท่าน และกกต. จำนวน 5 ท่าน ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดและประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือ บก.ปปป.ไว้ใน4 ประเด็น ในวันนี้ จึงนำประชาชนมาแจ้งความเพิ่มเติมและยื่นเอกสารไว้ที่กองปราบปราม
ด้านพ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รอง ผบก.ป กล่าวว่า เบื้องต้น เท่าที่ทำการตรวจสอบก็จะเข้าหลักเกณฑ์ในเรื่อง กฎหมาย ปปช. หลังจากรับเรื่องร้องทุกข์ไว้แล้วก็จะดำเนินการส่งเรื่องให้กับ ปปช. ภายใน30 วัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
กลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการแสดงสัญลักษณ์ โดย ได้การนำเอาไฟฉาย มีส่องขึ้นฟ้า
เพื่อการแสดงสัญลักษณ์ว่า ต้องการแสงสว่างให้กับประเทศไทยที่กำลังมืดมิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น