แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

โสภณ พรโชคชัย: รถไฟความเร็วสูงในประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา ประชาไท





ตอนนี้เรื่องรถไฟความเร็วสูงที่สะดุดไปเพราะคำสั่งศาลรัฐ ธรรมนูญกำลังเป็นที่โจษจันกันในประเทศไทย  เรามาดูว่าประเทศเพื่อนบ้านของเรามีการวางแผนรถไฟความเร็วสูงกันอย่างไรบ้าง

จีน

จีนวางการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเป็น ยุทธศาสตร์ทางการเมืองและการกระตุ้นเศรษฐกิจของชาติ  ในปี 2556 มีแผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในระยะทางอีก 12,000 กิโลเมตร และภายในปี 2558 จะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในจีนเปิดดำเนินการแล้วถึง 19,000 กิโลเมตร  ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาสามารถพัฒนารถไฟความเร็วสูงได้ปีละ 3,000 กิโลเมตร แต่จะเร่งให้สูงกว่านี้อีก  จีนวางเป้าหมายที่จะขยายรถไฟความเร็วสูงไปเชื่อมกับภูมิภาคอาเซียน และยุโรปอีกด้วย  ล่าสุดรัฐบาลจีนมีแผนการช่วยเหลือทั้งเกาหลีเหนือและปากีสถานในการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูงตามยุทธศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยในส่วนของเกาหลีเหนือคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2558 ส่วนของปากีสถานยังไม่มีความแน่นอน


ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น ในฐานะประเทศที่พัฒนาแล้ว มีรถไฟใต้ดิน รถไฟบนดิน รถไฟฟ้ามวลเบาแบบ Monorial และรถไฟความเร็วสูง (Shinkansen) มานานก่อนไทยราว 40 ปีแล้ว  และกำลังพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่สูงที่สุดในโลกด้วยความเร็ว 581 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (น้องๆ เครื่องบิน ณ 920 กิโลเมตรต่อชั่วโมงสำหรับเครื่องบิน Boeing 747) โดยจะวิ่งระหว่างกรุงโตเกียวและนครโอซากา และคาดว่าจะสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2568  จะเห็นได้ว่าประเทศอย่างญี่ปุ่นที่เจริญกว่าไทย 4 ทศวรรษ ก็ยังพัฒนาระบบรถไฟซึ่งเป็นขนส่งสาธารณะอย่างไม่หยุดหย่อน แต่ไทยก็ถดถอยลง (อย่างน้อยในด้านความเร็วของรถไฟ) ตั้งแต่มีการก่อตั้งรถไฟมาเมื่อ 123 ปีมาแล้ว

ฟิลิปปินส์

ฟิลลิปปินส์มีแผนที่จะสร้างรถไฟความ เร็วสูงในเกาะลูซอน เชื่อมระหว่างนครโลวาก (Laoag) ทางเหนือสุดของเกาะผ่านมะนิลาไปยังเมือง บีโกล (Bicol) ทางใต้สุดของเกาะ ระยะทาง 903 กิโลเมตร ซึ่งปกติใช้เวลาขับรถประมาณ 14 ชั่วโมง แต่การนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา  นอกจากนี้ในปี 2555 สภาพัฒน์ฯ ของฟิลิปปินส์ ยังประกาศจะสร้างรถไฟความเร็วสูงจากสนามบินนานาชาติกรุงมะนิลาเข้ากรุง มะนิลา โดยก่อสร้างในระบบสัมปทาน คือให้เอกชนก่อสร้าง ดำเนินการแล้วโอนให้ทางราชการหลังหมดเวลาสัมปทาน (Build-Operate-Transfer scheme) นั่นเอง

มาเลเซียและสิงคโปร์

กรณีนี้คือการพัฒนารถไฟ ความเร็วสูงจากมาเลเซียไปสิงคโปร์ ระยะทาง 300 กิโลเมตร  อย่างไรก็ตามโครงการนี้อาจยังมีความจำเป็นน้อย เพราะทางหลวงในมาเลเซียมีสภาพดีและมีประสิทธิภาพสูงและการขนส่งทางอากาศซึ่ง มีต้นทุนต่ำลงตามลำดับ  แต่รัฐบาลทั้งสองก็เห็นพ้องที่จะสร้างให้เสร็จภายในปี พ.ศ.2563  ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลมาเลเซียยังจะสร้างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปยังปีนังอีก ด้วย  อย่างไรก็ตามรถไฟความเร็วสูงที่แท้จริงควรที่จะเชื่อมต่อกับไทยไปจนถึงนครคุ นหมิงของจีน  อย่างไรก็ตามด้วยความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยในขณะนี้ เส้นทางรถไฟสายสำคัญนี้จึงมีแต่ความเลือนรางที่ไม่แน่นอน

เมียนมาร์

โครงการหลักคือแผนที่จะสร้างรถไฟความ เร็วสูงจากคุนหมิงไปย่างกุ้งระยะทาง 1,920 กิโลเมตร แต่ยังอยู่ระหว่างการเจรจากัน  นอกจากนี้จีนยังมีแผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิงไปสู่เมืองท่า จ็อกผิ่ว (Kyaukphyu) ซึ่งตั้งอยู่ติดมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากนครย่างกุ้งประมาณ 644 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  โครงการนี้มีระยะทาง 800 กิโลเมตร มีมูลค่าโครงการประมาณ 640,000 ล้านบาท (20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยรัฐบาลจีนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด  รถไฟเส้นทางนี้มุ่งเน้นการขน "ผัก" (ขนส่งสินค้า) 4,000 ตันโดยจะวิ่งด้วยความเร็ว 170 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ลาว

รถไฟความเร็วสูงจากนครคุนหมิง สู่สิบสองปันนา หลวงพระบางและเวียงจันทน์ เป็นเส้นทางสำคัญที่รัฐบาลจีนนำเสนอต่อลาว  แต่ลาวก็พยายามจะให้เพิ่มสถานีจอดมากขึ้น  อย่างไรก็ตามก็ขณะนี้ก็ยังอยู่ในขั้นการเจรจา เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงไม่พึงมีสถานีจอดมากนัก  และเส้นทางนี้ก็จะเขื่อมต่อกับหนองคาย ผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยสู่กรุงเทพมหานครไปสิ้นสุดที่สิงคโปร์อีก ด้วย  แต่รถไฟความเร็วสูงในลาวก็ยังอาจต้องเลื่อนออกไปเพราะไทยกับจีนอาจพัฒนาอีก เส้นทางหนึ่งผ่านภาคเหนือของไทย

เวียดนาม

เวียดนามมีแผนที่จะสร้างรถไฟสาย เหนือ-ใต้ของประเทศ ระยะทาง 1,630 กิโลเมตร ระหว่างกรุงฮานอย กับ นครโฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่งปกติจะใช้เวลาขับรถถึง 26 ชั่วโมง  โดยรถไฟนี้จะวิ่ง ณ ความเร็ว 250-300  กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ร่นเวลาเดินทางและขนส่งเหลือเพียง 5 ชั่วโมง และใช้เงินลงทุนถึง 1.8 ล้านล้านบาท (56,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งนี้คาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะเวียดนามกับจีนยังมีความหมางเมินทางการเมือง  อย่างไรก็ตามในระยะยาวก็คงต้องเชื่อมต่อกับจีนเพื่อประโยชน์ของทั้งสอง ประเทศ

อินเดีย

อินเดียใช้รถไฟมากที่สุดในโลก ค่าโดยสารรถไฟก็มีราคาถูกพอ ๆ กับรถประจำทาง  แต่อินเดียก็มีแผนที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 4,500 กิโลเมตร โดยจะวิ่ง ณ ความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเชื่อมต่อกับเมืองท่าสำคัญ ๆ ต่างๆ  นอกจากนี้รัฐเกรละทางใต้สุดของอินเดียยังจะมีรถไฟความเร็วสูงภายในรัฐนี้โดย คาดว่าจะเริ่มในปี พ.ศ.2567  ส่วนรัฐโอริสสาทางฝั่งตะวันออกก็จะสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมืองสำคัญคือ ระยะทาง 211 กิโลเมตร ซึ่งต้องเดินทางเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 25 นาที ให้เหลือเวลาเพียง 40 นาทีเท่านั้น  สำหรับการสนับสนุนทางการเงินญี่ปุ่นและฝรั่งเศสต่างสนใจลงทุนในรถไฟความเร็ว ในอินเดีย

อินโดนีเซีย

อินโดนีเซียวางแผนสร้างรถไฟความ เร็วสูงในเกาะชวาระหว่างกรุงจาการ์ตาทางทิศตะวันตกกับนครสุราบายาทางทิศ ตะวันออกระยะทางประมาณ 800 กิโลเมตร แต่ใช้เวลาขับรถราว 13 ชั่วโมง  รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาโดยสำรวจเบื้องต้นเสร็จใน ปี พ.ศ.2555 และคาดว่าจะก่อสร้างในไม่ช้านี้ ซึ่งจะร่นระยะเวลาเดินทางลงเหลือเหลือเพียง 3 ชั่วโมง ณ ความเร็วประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  โครงการนี้คาดว่าจะใช้เงินประมาณ 645,000 ล้านบาท (20 ล้านเหรียญสหรัฐ)  นอกจากนี้ยังจะมีรถไฟความเร็วสูงวิ่งจากสนามบินนานาชาติซูการ์โน-ฮาตตา ชานกรุงจาการ์ตาเข้ากรุงจาการ์ตาในไม่ช้านี้อีกด้วย

อ่าวเปอร์เซีย

ประเทศแถบนี้ร่ำรวยอยู่แล้ว น้ำมันราคาถูกสำหรับพวกเขา แต่ก็ยังสนใจสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยประเทศในกลุ่มนี้อันประกอบด้วยกาตาร์ คูเวต ซาอูดิอาระเบีย บาห์เรน ยูเออี และโอมาน วางแผนที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะทางรวม 2,200 กิโลเมตร โดยเส้นทางหลักคือจากดูไบไปอะบูดาบี  สำหรับกาตาร์เอง ก็ยังมีแผนที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกับซาอุดิอาราเบียเพื่อการจัด ฟุตบอลโลกในปี พ.ศ.2565 อีกด้วย  นับว่ารถไฟความเร็วสูงเป็นทิศทางการพัฒนาสำคัญของแทบทุกประเทศ

จะ เห็นได้ว่าประเทศเพื่อนบ้านเราต่างพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อขนส่งคน ผัก (ผลิตผลทางการเกษตร) หรือผลผลิตอุตสาหกรรมอื่นๆ ประเทศไทยจึงพึงมีรถไฟความเร็วสูงอย่างยิ่งยวดไม่ว่าจะโดยรัฐบาลใดก็ตาม  และในฐานะที่ไทยตั้งอยู่บริเวณที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ความเป็นไปได้ของรถไฟความเร็วสูงในลาว มาเลเซียและสิงคโปร์ก็ขึ้นกับไทยด้วยเช่นกัน

สมัยที่ ร.5 สร้างรถไฟเมื่อ 123 ปีก่อน ประเทศไทยยังไม่มีถนนลาดยางด้วยซ้ำไป!



แผนภูมิที่ 1: ระบบรถไฟความเร็วสูงในภูมิภาคสุวรรณภูมิ

แผนภูมิที่ 2: เส้นทางรถไฟความเร็วสูงของจีนและเพื่อนบ้าน
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น