แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประชาธิปัตย์ยกเหตุความไม่สงบขอรัฐบาลชะลอเลือกตั้ง

ที่มา ประชาไท


ชี้การการออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ขณะนี้ไม่จำเป็นต้องมีกำหนดเวลา 45-60 วัน เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์ยังถือว่าไม่สงบ "อลงกรณ์" เตรียมพิจารณาตนเอง หากปชป.ไม่เดินบนเส้นทาง ปชต. เชื่อมีนายกคนกลางปัญหาไม่จบ
 
29 มี.ค. 2557 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงาน ว่าที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปปัตย์ แถลงว่า ข้อสงสัยที่พรรคประชาธิปัตย์จะลงรับสมัครเลือกตั้งหรือไม่นั้น ขอยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองหนึ่งที่สนับสนุนให้ระบอบประชาธิปไตยเดิน หน้าไปได้อย่างราบรื่น แต่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ยังไม่มีที่ท่าว่าจะจบลงง่ายๆ กลุ่มกปปส.มีจุดยืนชัดเจนว่าไม่ขอยอมรับกระบวนการการเลือกตั้ง เพราะมองว่า พรรคเพื่อไทยจะเข้าไปสู่อำนาจเพื่อไปใช้อำนาจออกกฎหมายที่ขัดต่อหลักนิติรัฐ ได้อีก อาทิ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ รายมาตราที่มาส.ว.หรือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นต้น
 
"ขอเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ สำนึกผิด แสดงความจริงใจ หยุดให้เกิดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ต้องเยียวยาความรู้สึกของประชาชนและสั่งการไปยังพรรคเพื่อไทย และพรรคร่วมรัฐบาลว่าอย่าเพิ่งเร่งรัดจัดการเลือกตั้ง เพราะการออกพ.ร.ฎ.ขณะนี้ไม่จำเป็นต้องมีกำหนดเวลา 45-60 วัน เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์ยังถือว่าไม่สงบ แต่การเลือกตั้งจะต้องมีความเรียบร้อยและเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย" นายชวนนท์ กล่าว
 
“องอาจ” ชี้หารือ 53 พรรคการเมือง แค่ละครตบตาประชาชน
 
สำนักข่าวไทยรายงาน ว่านายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการหารือของ 53 พรรคการเมืองที่ได้ข้อสรุปว่าควรจะจัดให้การเลือกตั้งภายใน 60 วัน และเรียกร้องให้ กกต.หารือกับรัฐบาล เพื่อกำหนดวันเลือกตั้ง ว่า แม้จะไม่มีการประชุม ก็รู้อยู่แล้วว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่าง ถือเป็นการเล่นละครตบตาประชาชนอีกบทหนึ่งเท่านั้นเอง   
 
“ผมเห็นว่าหากยิ่งเร่งให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วตามที่ 53 พรรคการเมืองเสนอ บรรยากาศก็จะไม่แตกต่างจากการเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 การเลือกตั้งไม่ได้เป็นทางออกของประเทศไทยได้ แต่จะเป็นการเพิ่มวิกฤติของประเทศให้มากยิ่งขึ้น อาจทำให้มีคนเสียชีวิต บาดเจ็บเพิ่มขึ้น ถ้าเรายังเดินหน้าการเลือกตั้งไปในแนวทางนี้ ทุกอย่างก็ยังเหมือนเดิม” นายองอาจ กล่าว
 
นายองอาจ กล่าวว่า รัฐบาลในฐานะที่เป็นคนออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่  ควรไตร่ตรองให้มากกว่านี้ และหาทางทำให้การเลือกตั้งครั้งใหม่ไม่โมฆะ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ก่อนที่จะเดินหน้าให้มีการเลือกตั้ง เพราะถ้ารัฐบาลยังเดินหน้าแบบนี้ ทุกอย่างก็คงเหมือนเดิม
 
“ปัญหาขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่ประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้งหรือไม่ ปัญหาคือรัฐบาลและ กกต.ต้องทำให้ทุกฝ่ายนยอมรับการเลือกตั้ง และต้องมียุทธวิธีในการทำให้การเลือกตั้งเป็นการแก้ปัญหาของประเทศ และเป็นการหาทางออกให้ประเทศ” นายองอาจ กล่าว
 
เมื่อถามว่า ล่าสุดดุสิตโพลล์ระบุว่าควรให้นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี มาเป็นคนกลางในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง นายองอาจกล่าวว่า  ขณะนี้ไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่งที่จะมาแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ขณะนี้อยู่ที่กระบวนการของการแก้ไขปัญหาที่ต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย ไม่ใช่ยอมรับในลักษณะตัวบุคคล 
 
"อลงกรณ์" เตรียมพิจารณาตนเอง หากปชป.ไม่เดินบนเส้นทาง ปชต. เชื่อมีนายกคนกลางปัญหาไม่จบ
 
มติชนออนไลน์รายงาน เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมาว่า นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางเข้าร่วมประชุมใหญ่ของพรรคในช่วงเย็นวันที่ 28 มีนาคม โดยเปิดเผยถึงจุดยืนทางการเมืองในขณะนี้ว่า การเลือกตั้งที่ดี ต้องมีการรับฟังความเห็นทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันออกแบบระบบเลือกตั้งที่ทุกคนยอม รับ โดยประเทศจะเดินหน้าต่อไปได้ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันก้าวพ้นวิกฤตที่เกิดขึ้นร่วมกัน หากรัฐบาลมีความชัดเจนตรงจุดนี้ ก็จะทำให้ความเชื่อมั่นกลับคืนมา ทั้งนี้ ในระหว่างเลือกตั้งก็ควรมีการปฏิรูปควบคู่ไปด้วย พร้อมกับการเเสดงจุดยืนของพรรคการเมืองที่ชัดเจนต่อการปฏิรูปดังกล่าว 
 
นายอลงกรณ์ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ต้องกล้าตัดสินใจเป็นหลักของ ประเทศโดยต้องเป็นผู้นำทางความคิดที่ยึดหลักประชาธิปไตยเพื่อลดปัญหาความขัด แย้งที่เกิดขึ้นโดยการเลือกตั้งที่ไม่มีการพูดคุยกันขณะนี้ก็ไม่เกิด ประโยชน์ ซึ่งหากพรรคประชาธิปัตย์เข้าสู่การเลือกตั้งถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะท้ายที่สุดหากมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยึดกุมอำนาจทางการเมืองไว้แต่เพียงผู้ เดียว เช่น หากมีรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือมีนายกฯคนกลาง ก็จะเกิดปัญหาการประท้วงของคนเสื้อแดงขึ้นมาอีก ดังนั้นจึงไม่สามารถหลีกหนีการเลือกตั้งได้ ส่วนกรณีหากพรรคประชาธิปัตย์ปฏิเสธการเลือกตั้งนั้น ก็ถือว่ายังไม่มีมติพรรคออกมา แต่หากพรรคปฏิเสธเส้นทางประชาธิปไตย ตนก็พร้อมที่จะพิจารณาตนเอง
 
ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้ลุกขึ้นชี้แจงในที่ประชุมพรรคว่า จากที่มีข่าวว่าตนจะลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่นั้น ไม่เป็นความจริง ขอยืนยันว่าจะอยู่กับพรรคเพื่อช่วยกันปฏิรูปพรรคต่อไป ดังนั้นจึงไม่อยากให้นำเรื่องนี้มาพูดอีก อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นไปในแนวทางเดียวกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ที่เห็นว่าการเลือกตั้งเป็นทางออกหนึ่ง แต่ต้องไม่ใช่การเลือกตั้งที่มีปัญหา ทั้งนี้สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่เหมาะ หากเลือกตั้งวันนี้จะไปรองรับความชอบธรรมให้รัฐบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น