แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

พวกต้าน2.2ล้านล้านอ่านตรงนี้..เผื่อจะอาย

ที่มา Thai E-News



รถไฟไทยอยู่ตรงไหน? (1/3): รางรถไฟในไทย



railway-length

ที่มา Where is Thailand
เป็นที่ทราบกันดีว่ารถไฟเป็นทางเลือกในการคมนาคมขนส่งที่มีศักยภาพสูง สามารถเดินทางได้เร็วไม่ต้องคอยหลบหรือแย่งทางกับใคร มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ค่อนข้างสูง มีความปลอดภัยสูง สามารถสร้างสถานีในใจกลางเมืองได้ง่ายกว่าสนามบิน มีพื้นที่โดยสารที่กว้างขวาง การออกเดินทาง/เทียบท่าไม่ยุ่งยากเหมือนการเดินทางทางอากาศ เราจึงพบว่าในหลายๆประเทศทั่วโลกมีการพึ่งพารถไฟไม่น้อย ในระดับที่แตกต่างกันไป
สำหรับประเทศไทย รถไฟอยู่คู่คนไทยมานับร่วมร้อยกว่าปี สถานีรถไฟหัวลำโพงสร้างเสร็จและเริ่มใช้งานในสมัยรัชกาลที่ 5 ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศที่สองในทวีปเอเชียที่มีรถไฟใช้ ถัดจากประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลเกี่ยวกับรถไฟนั้นมีได้ในหลากหลายแง่มุม หนึ่งในนั้นคือข้อมูลของระบบรางรถไฟ (Railways) ที่สะท้อนถึงศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โดยรวม ซึ่งแน่นอนว่าประเทศที่มีรางรถไฟน้อย การจะพัฒนาการรถไฟต่อไปย่อมทำได้ยาก ดังนั้นตัวเลขหนึ่งที่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ง่ายคือความยาวรางรถไฟทั้ง ประเทศ แต่ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละประเทศมีขนาดพื้นที่ไม่เท่ากัน เช่นประเทศรัสเซียที่มีพื้นที่กว้างอาจจะมีรางรถไฟที่ยาวกว่าเป็นธรรมดา การเทียบรางรถไฟต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่จึงบอกถึงศักยภาพของโครงสร้างรถไฟที่ เข้าถึงต่อพื้นที่ในประเทศได้ดีกว่า ในขณะที่ตัวเลขความยาวรางรถไฟต่อหน่วยประชากรอาจจะบอกถึงความเพียงพอของราง รถไฟต่อหน่วยประชากร
ข้อมูลจาก Wikipedia แสดงความยาวรางรถไฟดังนี้ [1]

Railway Length Statistics

Railway length (km)m track per Area (km^2)km track per million population
USA226,42723725
Russia128,0007895
Chiina91,0001068
India64,2152053
Germany41,8965512
Japan23,47462183
Thailand4,429966
South Korea3,3814069
Malaysia1,665559
ตัวเลขเหล่านี้บอกอะไรเราได้บ้าง? จะเห็นได้ว่าประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวาง เช่น รัสเซียและจีน อาจจะมีรางรถไฟน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ (แม้ว่ารัสเซียจะมีระบบขนส่งรถไฟสาย Trans Siberian Railway ที่โด่งดัง และประเทศจีนมีโครงการรถไฟความเร็วสูงมากมายเป็นอันดับแรกๆของโลก) ส่วนประเทศญี่ปุ่นนั้นมีขนาดพื้นที่เล็กและความนิยมทางการใช้รถไฟสูงมากจึง มีอัตราส่วนรางรถไฟต่อพื้นที่สูงมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ทั้งนี้ เราอาจจะสามารถเทียบความยาวรางรถไฟประกอบปริมาณประชากรด้วยว่าโครงสร้างราง รถไฟมีเพียงพอแค่ไหนเทียบกับประชากร เช่นแม้ประเทศรัสเซียมีรางรถไฟต่อหน่วยพื้นที่ที่น้อย แต่กลับมีรางรถไฟต่อประชากรที่สูง
สำหรับส่วนของประเทศไทยนั้น ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้มีความยาวรางรถไฟต่อหน่วยพื้นที่สูงเหมือนญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย หรือสหรัฐฯ แต่เราก็มีความยาวรางรถไฟสูงเป็นอันดับที่ 37 ของโลกและยังมีความยาวรางรถไฟต่อหน่วยพื้นที่มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย หรือประเทศอย่าง รัสเซีย เยอรมนี (ทั้งนี้ ควรพิจารณาปริมาณพื้นที่ของประเทศประกอบด้วย) ในทางกลับกันหากเทียบความยาวรางรถไฟต่อหน่วยประชากรแล้วจะพบว่าประเทศ เยอรมนีกลับมีรางรถไฟมากเมื่อเทียบกับประชากร ส่วนประเทศไทยนั้นจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรางรถไฟต่อประชากรค่อนข้างน้อย เช่นเดียวกับจีน อินเดีย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย
หากเราพิจารณาข้อมูลรายละเอียดเฉพาะในส่วนของประเทศไทยแล้ว จากรายงานประจำปีของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ประจำปี 2552 (ข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่ในเว็บไซต์) ระบุว่า[2]
  • ที่ดินของการรถไฟมีทั้งหมด 234,976.95 ไร่ แบ่งออกเป็น ที่ดินเพื่อการเดินรถ 198,674.76 ไร่ ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ 36,302.19 ไร่
  • รายได้เชิงพาณิชย์จากการเดินรถ 59.24 ล้านบาท/ปี รายได้เชิงพาณิชย์จากพี่ดินเพื่อการพาณิชย์ 1,495 ล้านบาท/ปี
  • ราง รถไฟในประเทศไทยที่อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงเพื่อให้ได้มาตรฐาน (Grade B) และเพื่อความปลอดภัย (Grade C) มีความยาวทั้งสิ้น 2,272 กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 51 ของรางรถไฟทั้งหมด
  • สะพานที่ต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยมีทั้งสิ้น 1,648 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 61
  • หมอนรองราง ที่ต้องปรับปรุงเพื่อความปลอดภัยมีทั้งสิ้น 1,382 กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 31

อ้างอิงข้อมูล:

[1] http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_rail_transport_network_size

[2] รายงานประจำปีของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม http://mistran.otp.go.th/publish /DataCatSubDetail.aspx?Auto=2&MasterAuto=2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น