รถไฟไทยอยู่ตรงไหน? (2/3): รถไฟไทยพัฒนาแค่ไหน?
สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าความเร็วหัวรถจักรเรามีความเร็วที่ช้ามาก (ติดอันดับโลก)
ที่มา WherIsThailand
หลังจากได้พูดถึงโครงสร้างพื้นฐานและความเข้าถึงของรถไฟไป
แล้วในตอนแรก
ข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจก็คือความล้าหลัง(หรือระดับการพัฒนา)ของการ
รถไฟ ซึ่งอาจจะวัดได้จากความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ใช้
ดัชนีชี้วัดอย่างหนึ่งที่อาจจะนำมาใช้ได้คือความกว้างของราง ราง
ที่กว้างกว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนและบำรุงรักษาที่สูงกว่า
แต่จะทำให้การเดินทางสเถียรกว่าและรถไฟสามารถวิ่งได้เร็วกว่ามาก
อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่สามารถบ่งชี้ถึงระดับการพัฒนาของการรถไฟคือการเปลี่ยน
มาใช้หัวจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้า หัว
จักรพลังงานไฟฟ้ามักจะให้ความเร็วที่สูงกว่าและ “สะอาด” กว่า
(ในแง่ที่ไม่สร้างมลภาวะทางอากาศและเสียงในชุมชนแต่ไปสร้างที่โรงไฟฟ้าแทน)
นอกจากนี้หัวจักรไฟฟ้ายังค่อนข้างเงียบและเดินทางได้นิ่งกว่า
เหมาะแก่การโดยสาร
ตัวเลขที่สามารถวัดการพัฒนาของรถไฟโดยสารได้คือสัดส่วนของรางที่ใช้รางขนาด
กว้าง (standard gauge) เทียบกับรางขนาดแคบ (narrow gauge)
และรางชนิดที่ใช้ไฟฟ้า (electrified rail)[1] ประกอบกับความเร็วหัวรถจักรสูงสุด[2]
Railway length: narrow guage (electrified) (km) | Railway length: standard guage (electrified) (km) | Max speed (km/h) | |
---|---|---|---|
USA | 0 | 224,792 | 240 |
Russia | 957 | 86,200 (40,300) | 250 |
Japan | 22,445 (15,366) | 4,737 (4,737) | 240-300 |
China | 0 | 86,000 (36,000) | 300 (431 for Shanghai Maglev Train) |
Germany | 259 (99) | 41,722 (20,053) | 330 |
South Korea | 0 | 3,381 (1,843) | 305 |
India | 9,717 | 54,257 (18,927) | 150 |
Malaysia | 1,792 (150) | 57 (57) | 160 |
Thailand | 4,042 | 29 (29) | 90-100 |
จะเห็นได้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกาแม้จะมีรางรถไฟมากแต่ไม่ค่อยมีการใช้ไฟฟ้า
อาจจะเป็นเนื่องมาจากรถไฟส่วนใหญ่นั้นใช้ขนส่งสินค้าและการโดยสารโดยรถไฟยัง
ไม่เป็นที่นิยมเท่าใดนัก
ส่วนประเทศญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนไปใช้หัวรถจักรไฟฟ้าเป็นจำนวนมากสอดคล้องกับ
ความนิยมในการโดยสารที่สูง
สำหรับประเทศไทยนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าความเร็วหัวรถจักรเรามีความเร็วที่ช้ามาก (ติดอันดับโลก) นอก
จากนี้รางรถไฟของเราทั้งหมดเป็นแบบรางแคบและไม่มีกระแสไฟฟ้า
(ยกเว้นแต่รถไฟสาย airport link ซึ่งคือจำนวน 29 กม.ที่เป็น standard guage
ทั้งหมด) ไม่ว่าจะมองทางใด
รถไฟของประเทศไทยนั้นนับจัดอยู่ในระดับที่เรียกว่า “ล้าหลังเป็นอย่างมาก”
จากข้อมูลของรายการ “จอโลกเศรษฐกิจ” ในตอนที่ทำเรื่องของการรถไฟไทย[3] มีประเด็นที่เป็นใจความสำคัญดังนี้
- ราง รถไฟในไทยกว่า 94% เป็นแบบรางเดี่ยว นั่นหมายถึงรถไฟไม่สามารถวิ่งสวนทางกันได้กว่า 94% ของประเทศ จึงมีลักษณะเป็นคอขวดทำให้เกิดการล่าช้า
- มีตู้ขบวนโดยสาร 1352 คัน ใช่ไม่ได้กว่า 500 คัน
- หัวรถจักรมี 256 คัน รุ่นเก่าสุดอายุ 45 ปี รุ่นใหม่สุดอายุ 13 ปี
- ความต้องการใช้งานหัวรถจักร 155 คันต่อวัน ใช้ได้จริง 137 คัน
อย่างไรก็ตามข้อมูลที่บ่งบอกถึงความ “ล้าหลัง”
ที่สุดของรถไฟไทยได้ดีที่สุดที่ปฏิเสธไม่ได้คงจะมาจากประสบการณ์โดยตรงของ
ทุกๆท่านกับรถไฟไทยของเราที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลยในเวลากว่า 100
ปีที่ผ่านมา หากผู้อ่านได้ลองนั่งรถไฟมาไม่นานนี้
(หรือเมื่อนานมาแล้วก็ตามที)
จะพบว่าเรายังคงอนุรักษ์เอาไว้ซึ่งหัวรถจักรดีเซลที่เหม็น ส่งเสียงดัง
สั่นสะเทือน ตารางเวลาที่ไม่เคยเป็นไปได้จริง ตู้รถไฟชั้นสามที่ร้อน
เหม็นฉี่ และสกปรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น