แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเมืองไทย ๒๕๕๖: หินลองทองประชาธิปไตย

ที่มา Thai E-News



โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล  พรหมิกบุตร
นักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี

(๑) ภูมิหลังการต่อสู้ของประชาชน

             ในระหว่างการเคลื่อนกำลังทหารออกกระทำการอันเป็นความผิดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ (การยึดอำนาจรัฐด้วยกำลัง)  กลุ่มประชาชนและแกนนำกลุ่มพลังมวลชนจำนวนหนึ่งเข้ามอบดอกไม้ให้กำลังใจทหารรวมทั้งแสดงจุดยืนสนับสนุนการรัฐประหารดังกล่าวเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
                   แต่หลังจากนั้นเพียงไม่นานนัก  กลุ่มประชาชนและแกนนำกลุ่มพลังมวลชนรวมทั้งนักการเมืองจำนวนหนึ่งก็แสดงตน ประกาศความคิดและจุดยืนต่อต้านการรัฐประหารดังกล่าว  แม้ว่ารัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่มี พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตรเป็นผู้นำจะตกอยู่ในภาวะเบี้ยล่างของผู้ใช้อาวุธและกฎหมายเผด็จการ คุกคามอย่างปิดบังอำพรางไว้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

                        ความเห็นและจุดยืนที่แตกต่างกันของประชาชนที่สนับสนุนและคัดค้านการรัฐ ประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ คือ รูปธรรมของภาวะทางการเมืองที่นอกจากจะไม่มีอำนาจใดสามารถห้ามปรามได้แล้วยัง เป็นฐานข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่รองรับอุบัติการณ์ต่อเนื่องอันเป็นพลวัตรการ ต่อสู้ทางการเมืองของไทยที่มี พลังของประชาชน ทั้งสองฝ่ายเป็นตัวแปรสำคัญตลอด ๖ ปีหลังการรัฐประหารดังกล่าว

                   พลังทางการเมืองของประชาชนฝ่ายแรกที่ปรากฎตัวสนับสนุนการรัฐประหาร ๒๕๔๙ เป็นพลังของประชาชนกลุ่มเดิมที่เคยเข้าร่วมกับนายสนธิ  ลิ้มทองกุล นักสื่อสารมวลชนเจ้าของสำนักพิมพ์ผู้จัดการและแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยในการเคลื่อนไหวที่มุ่งโค่นล้มตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตรและรัฐบาลพรรคไทยรักไทยมาตั้งแต่ก่อนวันรัฐประหาร   ขณะที่พลังของประชาชนฝ่ายหลังที่ปรากฎตัวคัดค้านต่อต้านการรัฐปรหารดังกล่าว เริ่มต้นปรากฎตัวเป็นกลุ่มอิสระย่อย ๆ ก่อนที่จะค่อย ๆ มีการประสานการทำงานรวมตัวกันเป็น แนวร่วม ที่มีลำดับขั้นตอนตามสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองจนเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑

                   พลังทางการเมืองของประชาชนสองฝ่ายข้างต้นปรากฎเป็นตัวแปรสำคัญอยู่ในกระแส การต่อสู้ทางการเมืองของไทยระหว่างปี ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบันเสมอมา   การปรากฎตัวของกลุ่มพลังประชาชนที่มีจุดยืนทางการเมืองแตกต่างกันข้างต้น เป็นรูปธรรมที่สะท้อนความแตกต่างหลากหลายทางความคิดที่เป็นธรรมชาติทางสังคม วิทยาการเมือง และเป็นสภาพที่หลักการตามระบอบประชาธิปไตยมิได้ปฏิเสธหรือมุ่งทำลาย  ซึ่งแตกต่างไปจากหลักการของการเมืองตามระบอบเผด็จการที่มุ่งปิดปากหรือทำลาย ล้างจุดยืนความเห็นที่แตกต่างไปจากผู้มีอำนาจด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งทางกฎหมาย  ทางการเมือง  และด้วยกำลังบังคับ

                        การต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มพลังประชาชนสองฝ่ายข้างต้นดำเนินต่อเนื่องมา เป็นเวลาราว ๖ ปีโดยเห็นได้ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับจนถึงปีปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๖) ว่า  ประชาชนจำนวนมากขึ้นเห็นด้วยกับจุดยืนของกลุ่มพลังมวลชนฝ่ายที่คัดค้านการ รัฐประหาร  ในขณะที่ประชาชนที่ยังคงสนับสนุนการรัฐประหารดังกล่าวลดจำนวนลงเหลือน้อยลง

                   ความสำเร็จของพลังประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่ผนึกกำลังกันเป็นแนวร่วมนปช.ในการต่อสู้กับเครือข่ายกลุ่มอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร ๒๕๔๙ รวมทั้งการสืบทอดอำนาจแบบ เผด็จการซ่อนรูป ของคณะรัฐประหารดังกล่าวเป็นความสำเร็จบนพื้นฐานของความสามารถในการดำรงรักษาภาวะ เอกภาพบนพื้นฐานความแตกต่างหลากหลายตลอดช่วงเวลาราว ๖ ปีที่ผ่านมา
                   พลังประชาธิปไตยของประชาชน (ผ่านการทำงานของกลุ่มพลังมวลชนต่าง ๆ ที่เป็นแนวร่วมข้างต้น) ประสบความสำเร็จในการแสดงให้ทุกฝ่ายเห็นถึงความสามารถในการยืนหยัดต่อสู้ ครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยสันติวิธีตอบโต้กับความรุนแรงของอำนาจรัฐไม่เป็นธรรม ที่ใช้กำลังทหารและอาวุธสงครามเข้าทำร้ายร่างกายและทำลายชีวิตของประชาชนที่ ใช้สิทธิทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญในการชุมนุมคัดค้านอำนาจรัฐ  นอกจากนั้นกลุ่มพลังประชาธิปไตยประชาชนที่เป็นแนวร่วมนปช.ยังประสบความ สำเร็จในการแถลงจุดยืน เตือน แกนนำกลุ่มอำนาจเผด็จการและผู้นำกองทัพว่าประชาชนในปัจจุบันมีความพร้อมและมีศักยภาพในการรวมตัวต่อต้านการรัฐประหารทุกเวลา

                   ความสำเร็จของพลังประชาธิปไตยภาคประชาชนดังกล่าวเป็นความสำเร็จในการจำกัด เขตอำนาจการทำงานของอาวุธสงครามและกองทัพให้อยู่ภายในขอบเขตของอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมาย  รวมทั้งการปรามบรรดาผู้นำกองทัพรุ่นปัจจุบันและในอนาคตว่าประชาชนมือเปล่าใน การเมืองไทยปัจจุบันมีความสามารถและพร้อมจะต่อสู้กับกองทัพที่อาจคิดกระทำ การรัฐประหารยึดอำนาจด้วยกำลังจากรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชน  ความสำเร็จดังกล่าวนี้เป็นความสำเร็จของแนวร่วมประชาธิปไตยของประชาชนในการ ต่อสู้กับ อำนาจปืน ที่ไม่เป็นธรรม
 
 (๒) การต่อสู้และความท้าทาย ๒๕๕๖

                   ขบวนการประชาชนในการเมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (การก่อหวอดจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่มีเป้าหมายต่อ ต้านรัฐบาลพรรคไทยรักไทยต่อเนื่องถึงการต่อต้านพรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อ ไทยในเวลาถัดมาตามลำดับ) และขบวนการประชาชนในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (การก่อหวอดจัดตั้งกลุ่มพลังมวลชนต่อต้านการรัฐประหาร ๒๕๔๙ ต่อเนื่องเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ) เป็นขบวนการที่ดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยมีทั้งจุดมุ่งหมายและผลสัมฤทธิ์ทางปฏิบัติเป็นการสร้างและขยายเครือข่าย แนวร่วมกลุ่มพลังทางการเมืองที่เชื่อมโยงประชาชนวงกว้างในขอบเขตทั่วประเทศ เข้ากับการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มอำนาจหลักสองกลุ่ม 

คือ กลุ่มอำนาจคณาธิปไตยดั้งเดิมที่นิยมการต่อสู้แบบขัดแย้งทำลายล้างกลุ่มอำนาจทุนใหม่ซึ่ง สามารถผสมผสานการร่วมงานระหว่างนักการเมืองส่วนภูมิภาคกับนักคิดกระแสปฏิรูป ทางการเมืองได้มากกว่ากลุ่มอำนาจคณาธิปไตยดั้งเดิมที่อาศัยอาวุธในกองทัพและ การแต่งตั้งบุคคลากรระดับสูงในระบบราชการประจำเป็นเครื่องมือสำคัญ

                   การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มอำนาจหลักทั้งสองในการรณรงค์เลือกตั้งทั่ว ไป พ.ศ. ๒๕๕๔ และผลของการเคลื่อนไหวขบวนการประชาชนของกลุ่มพลังทั้งสองฝ่ายในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕  แสดงให้เห็นสภาวะพัฒนาการทางการเมืองที่ประชาชนเสียงส่วนใหญ่โดยรวมของ ประเทศปฏิเสธภาวะความชอบธรรมของกลุ่มอำนาจคณาธิปไตยดั้งเดิมในขอบเขตภาพรวม ทั่วประเทศอย่างชัดเจน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคะแนนเสียงของประชาชนที่ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรทั่วประเทศเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔  เปรียบเทียบกับผลของการเคลื่อนไหวชุมนุมประชาชนโดยองค์กรเครือข่าย คณาธิปไตยดั้งเดิมที่ใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นศูนย์บัญชาการในปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๕

                   ผลการเลือกตั้งผู้ว่าการกรุงเทพมหานครฯ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๖ จะถูกนำไปใช้ในการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มอำนาจทั้งสองฝ่ายต่อไป แต่ชัยชนะจากผลการนับคะแนนของอดีตผู้ว่าการกรุงเทพมหานครฯ (พรรคประชาธิปัตย์) ในวันดังกล่าวไม่สามารถกลบทับขัดขวางการร้องเรียนให้ผลคะแนนดังกล่าวตกไปจาก สาเหตุเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครและแกนนำพรรคการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าการกรุงเทพมหานครครั้งดัง กล่าว  นอกจากนั้นยังไม่มีผลในทางการปิดคดีและไม่ควรจะมีผลต่อไปในการบิดเบือนความ จริงทางคดี  ไม่ว่าในทางเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อผู้ถูกกล่าวหาตามกระบวนการยุติธรรมหลาย เรื่องที่มีผู้แจ้งความหรือกล่าวหานักการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ พรรคการเมืองและผู้บริหารกรุงเทพมหานครฯในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมา

                   ความพ่ายแพ้ในผลคะแนนเสียงเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยในสนามเลือกตั้งผู้ว่า การกรุงเทพมหานครฯที่ยังน้อยกว่าคะแนนเสียงของผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์อยู่ ราว ๑ แสน ๕ หมื่นคะแนนเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๖  แต่มากกว่าคะแนนเสียงเลือกตั้งของตนครั้งก่อนในสนามผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ราว ๕-๖ แสนคะแนนก็จะถูกใช้ประโยชน์ทางข่าวสารข้อมูลเพื่อชี้ให้เห็นความเข้มแข็ง เพิ่มขึ้นของพรรคเพื่อไทยในสนามเลือกตั้งกรุงเทพฯ จากจำนวนรวมผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งราว ๒ ล้าน ๕ แสนคน  ขณะที่การเลือกตั้งในสนามผู้ว่าการกรุงเทพมหานครฯครั้งก่อนมีจำนวนประชาชนมา ใช้สิทธิน้อยกว่านี้เป็นอันมาก แต่ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์สามารถเอาชนะการเลือกตั้งได้ด้วยคะแนนเสียง มากกว่าพรรคเพื่อไทยที่เป็นคู่แข่งสำคัญถึงราว ๓ แสนคะแนน เป็นต้น

                   ผลของการต่อสู้ทางการเมืองด้วยการใช้ข้อมูลรูปธรรมจากผลการเลือกตั้งผู้ว่า การกรุงเทพมหานครฯ จะผนึกเข้ากับการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กลุ่มอำนาจคณาธิปไตยดั้งเดิมมุ่ง มั่นในการลดทอนหรือแม้แต่บั่นทอนบ่อนทำลายเอกภาพความเข้มแข็งทางการเมืองของ เครือข่ายขบวนการประชาชนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยให้ได้ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งจะมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่หากยังไม่สามารถล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ได้ด้วยวิธีการใด รูปธรรมของความเห็นที่แตกต่างปลีกย่อยรวมทั้งจุดบกพร่องของบุคคลากรตาม ธรรมชาติของขบวนการจัดตั้งภาคประชาชน (ซึ่งขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนทุกฝ่ายมีอยู่ภายในตนเอง) ยังจะถูกใช้ประโยชน์จากกลุ่มที่ขัดขวางต่อต้านการพัฒนาประชาธิปไตยในการขยาย ความ ต่อเติม ตอกย้ำ รวมทั้งการสนับสนุนทางอ้อมให้เกิดภาวะปริแยกขัดแย้งกันมากขึ้นต่อไปดภายใน เครือข่ายขบวนการภาคประชาชนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย  ขณะเดียวกับที่เครือข่ายขบวนการประชาชนอีกฝ่ายหนึ่งยังคงสภาพอยู่ระหว่างการ ทบทวนปรับปรุงยุทธศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของตนเพื่อฟื้นฟูความเข้มแข็ง และการสนับสนุนเพิ่มเติมจากกลุ่มทุนในเครือข่ายอำนาจคณาธิปไตยดั้งเดิม  อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนที่ล่อแหลมต่อการกระทำผิดกฎหมายจะถูกจับตามองยิ่งขึ้นจากสาธารณชนและพรรคร่วมรัฐบาล

                   ตัวอย่างของปรากฎการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติทางการเมืองของขบวนการประชาชนที่สามารถพัฒนาความเข้มแข็งของตนได้ ได้แก่ ความต้องการสถานะความสำคัญส่วนบุคคลในเครือข่ายขบวนการ ประชาชน  ซึ่งบรรดาแกนนำและบุคคลต่าง ๆ ที่แวดล้อมเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งเคลื่อนไหวขบวนการประชาชนที่รับรู้ความ สำเร็จของขบวนการนั้นแล้วในแต่ละระดับอาจพยายามเรียกร้องหรือแข่งขันกัน เพื่อให้ได้รับการยอมรับความสำคัญในองค์กร (หากเป็นการแข่งขันที่เกินเลยเข้าสู่ความขัดแย้งแก่งแย่งภายในจะไม่เป็นคุณ ทั้งต่อบุคคลและองค์กร) ปรากฎการณ์ที่เป็นภาวะปัญหาตามธรรมชาติเชิงองค์กรของขบวนการประชาชนดังกล่าว นี้เมื่อปรากฎรูปธรรมขึ้นแล้วผู้เกี่ยวข้องมีทางเลือกดำเนินการที่เป็นไปได้ ทั้งสองทาง คือ 

(๑) ความพยายามอย่างระมัดระวังเพื่อการเยียวยาแก้ไขให้ขบวนการทางการเมืองนั้นสามารถรักษาความเข้มแข็งของขบวนการประชาชนโดยส่วนรวมของตน ในขณะที่อีกทางหนึ่งซึ่งจะเกิดขึ้นคู่ขนานกัน คือ 

(๒) รูปธรรมของปรากฎการณ์เดียวกันอาจถูกนำไปใช้เชิงลบในการตอกย้ำขยายยผลให้กลายเป็นเงื่อนไขสาเหตุการทำลายความเข้มแข็งหรือเอกภาพของขบวนการดังกล่าวในลำดับต่อไป

ใน การเมืองไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ ขบวนการประชาชนในเครือข่ายที่ต่อต้านอำนาจคณาธิปไตยดั้งเดิมเริ่มเผชิญหน้า กับปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้น เช่น จากกรณีการให้สัมภาษณ์ตอบโต้กันผ่านสื่อมวลชนที่เป็น วิวาทะ ระหว่างแกนนำมวลชนเสื้อแดงจังหวัดอุดรธานีกับประธาน นปช. ส่วนกลาง สภาพการณ์ที่เป็นรากฐานของวิวาทะนั้นความจริงได้ปรากฎและกล่าวถึงกันมาก่อน แล้วในภูมิหลังและฉากหลังของเวทีการชุมนุมทางการเมืองต่าง ๆ ของภาคประชาชนในช่วงปี ๒๕๕๕  แต่ไม่ได้รับการสนใจแก้ไขอย่างจริงจังเพราะผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเห็นว่า เป็นเรื่องเล็กและใช้วาทกรรมกลบทับว่า เดี๋ยวถึงเวลาก็ร่วมกันสู้ต่อไป การแก้ไขปัญหาดังกล่าวในทางบวกและรักษาความเข้มแข็งของขบวนการประชาธิปไตย ของประชาชนโดยส่วนรวมไว้ให้ได้เป็นความท้าทายสำหรับขบวนการ นปช. และเครือข่ายอำนาจทุนใหม่รวมทั้งพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องในการเมืองไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ ทั้งยังเป็นความจำเป็นที่ต้องดำเนินการให้สำเร็จทันท่วงทีมากกว่าทางเลือกใน ทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแบบเดิมด้วยแนวทางหรือวิธีการแบบ ซุกขยะไว้ใต้พรม

                   การเมืองไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ สามารถคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับบทบาทนอกกฎหมายของกองทัพในการรัฐประหารได้ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลา ๒-๓ ปีที่ผ่านมา  แต่การต่อสู้ของแนวร่วมประชาธิปไตยของประชาชนในอีกแนวปะทะหนึ่ง (หรือ แนวรบ) จะยังดำเนินต่อไปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือไม่มีอำนาจใดสามารถห้ามปรามได้  นั่นคือ  การต่อสู้กับองค์อำนาจรัฐประหารที่คณะรัฐประหารได้บรรจุไว้ภายในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ เกือบทุกองค์กรที่ไม่ใช่สภาผู้แทนราษฎร  การต่อสู้ในแนวปะทะนี้เป็นทั้งการต่อสู้ระหว่างพรรคการเมืองในรัฐสภา และการต่อสู้ของแนวร่วมประชาธิปไตยของประชาชนกับการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมที่อ้างอิงกฎหมาย (กล่าวคือ เป็นการต่อสู้กับ อำนาจกฎหมาย ที่ไม่เป็นธรรม)  ซึ่งมีจุดศูนย์กลางย่อยอยู่ในองค์กรตามรัฐธรรมนูญต่าง ๆ ที่ใช้วิธีสรรหาแต่งตั้งอย่างเป็นขบวนการอำนาจนิยมภายหลังการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
                   แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือนปช. ยังคงมีความสำคัญและจำเป็นในฐานะที่เป็นองค์กรประสานการทำงาน ของกลุ่มพลังประชาธิปไตยของประชาชนวงกว้างทั่วประเทศที่มีความแตกต่างหลาก หลายให้มีเอกภาพร่วมกันในการต่อสู้ทางการเมืองด้วยสันติวิธีตามกฎหมายในการ ต่อต้านการใช้ กฎหมาย ที่ไม่เป็นธรรมหลัง การรัฐประหาร ๒๕๔๙ แม้ว่ารูปธรรมทางการเมืองของประชาชนในช่วงปลายปีพ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงต้นปี ๒๕๕๖ จะปรากฎความเห็นแตกต่างโต้แย้งกันระหว่างแกนนำมวลชนบางกลุ่ม  แต่ความแตกต่างขัดแย้งดังกล่าวสามารถแก้ไขคลี่คลายได้ไม่ยากนัก  และเป็นเพียงความแตกต่างในระดับแกนนำที่ไม่กระทบถึงฐานอุดมการและความต้อง การร่วมของประชาชนที่เป็นเจ้าของแนวร่วมทั้งหมดในการเรียกร้องประชาธิปไตย และต่อสู้ทางการเมืองด้วยสันติวิธีเพื่อบรรลุถึงหลักการ ประชาธิปไตยที่อำนาจแท้จริงเป็นของประชาชน ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นหลักการตามคำประกาศของแนวร่วม นปช.

                   พลังมวลชนของประชาชนในแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ยังตระหนักในการต่อสู้ทางการเมืองที่เป็นภาระทางประวัติศาสตร์อย่างต่อ เนื่องในการสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็งเพิ่มขื้นนอกเหนือไปจาก ความเข้มแข็งในการต่อสู้แบบมือเปล่ากับอาวุธเผด็จการที่ประชาชนตั้งแต่ราก หญ้าถึงชนชั้นกลางในแนวร่วม นปช. ได้พิสูจน์ให้ทุกฝ่ายเห็นเป็นประจักษ์มาแล้วในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓  การต่อสู้ในลำดับถัดไปของแนวร่วมประชาธิปไตยของประชาชนจะเป็นการต่อสู้กับ การใช้อำนาจที่มองไม่เห็นมากขึ้นกว่าการต่อสู้กับอาวุธและกระสุนจริงของกอง ทัพที่มองเห็นได้โดยง่ายด้วยตาเปล่า  อำนาจที่มองไม่เห็นเหล่านั้นแฝงอยู่ภายในบรรดาบุคคลและกลไกขององค์กรที่ สามารถใช้อำนาจขององค์กรการเมืองต่าง ๆ โดยอ้างอิงกฎหมายอย่างผิดพลาดบกพร่อง (ตัวอย่างเช่น กรณีความผิดพลาดบกพร่องในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งผู้เป็นประธาน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันเองถึงกับกล่าวบรรยายในที่ประชุมแห่งหนึ่ง ซึ่งสื่อมวลชนนำไปเผยแพร่เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมายอมรับว่าศาลรัฐ ธรรมนูญชุดที่ตนเป็นประธานได้ทำคำวินิจฉัยบกพร่องมาแล้วหลายเรื่อง ตั้งแต่การวินิจฉัยคดี ชิมไปบ่นไป จนถึงการวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชนและพรรคการเมืองอื่นในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นต้น)

                        การเมืองไทยปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นอกจากจะมีข้อบ่งชี้ถึงความสำเร็จของอุดมการประชาธิปไตยของประชาชนที่หยั่ง รากลึกลงไปในระบอบการเมืองของไทยมากขึ้นโดยรวมทั่วประเทศแล้วในขณะเดียวกัน ยังมีข้อบ่งชี้ถึงอุปสรรคและความท้าทายที่พลังประชาธิปไตยของประชาชนจำเป็น ต้องพิจารณาควบคู่กันไป  นั่นคือ การเตรียมความพร้อมสำหรับการรักษาภาวะเอกภาพของแนวร่วมบนความแตกต่างหลาก หลายของสมาชิกระดับแกนนำ

                   เอกภาพดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นในการขับเคลื่อนกระบวนการต่อสู้ทางการเมือง ด้วยสันติวิธีต่อไปในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๕๗ ซึ่งภาระงานส่วนใหญ่ของแนวร่วมประชาชนจะเป็นการต่อสู้  ท้วงติง และถ่วงดุลกับกลุ่มผู้ใช้อำนาจในองค์กรการเมืองต่าง ๆ ที่มิได้ใช้อำนาจอย่างถูกต้องตรงไปตรงมาตามกฎหมาย  การต่อสู้ทางการเมืองนั้นจะมีทั้งในแนวปะทะที่เป็นกรณีพิพาทอันมาจากเรื่อง ร้องเรียนหรือคดีความที่มีผู้ยื่นให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญต่าง ๆ พิจารณาเอาผืดทางการเมืองเป็นสนามต่อสู้  และการต่อสู้ในแนวปะทะระดับมหภาคภาพรวมที่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ หลายประเด็นเป็นจุดศูนย์กลางของการต่อสู้ระหว่างฝ่ายที่ต้องการแก้ไขกับฝ่าย ที่ต้องการดำรงรักษา

ความเห็นและข้อเสนอแนะ

                   การพัฒนาทางการเมืองของไทยในปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยแนวร่วมและความร่วมมือ เคลื่อนไหวจากกลุ่มพลังประชาธิปไตยขององค์กรประชาชนสอดคล้องกับการทำงานของ พรรคการเมืองที่มีฐานอุดมการปฏิรูปในแนวนโยบายของตน  สังคมไทยปัจจุบันมีองค์ประกอบของแนวร่วมดังกล่าวก่อตัวเข้มแข็งขึ้นแล้วจาก การต่อสู้ทางการเมืองติดต่อกันกว่า ๖ ปีภายหลังการรัฐประหาร ๒๕๔๙   รากฐานความเข้มแข็ง ของแนวร่วมประชาชนกับระบบพรรคการเมืองดังกล่าวควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ เพื่อดำรงรักษาและพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนต่อไปแม้จะตกอยู่ท่ามกลางการขัดขวาง บ่อนทำลายจากกลุ่มอื่น หรือแม้แต่จากการโต้แย้งแข่งขันภายใน

                   การต่อสู้ระหว่างอุดมการประชาธิปไตยกับคณาธิปไตยในการเมืองไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ เคลื่อนเข้าสู่สนามการต่อสู้ทางกฎหมายระหว่างประชาชนกับบรรดาตัวแทนกลุ่มอำนาจรัฐประหาร ๒๕๔๙ ในองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ เป็นสนามสำคัญมากกว่าสนามการต่อสู้ระหว่างประชาชนกับการใช้ความรุนแรงของแกนนำพรรคและผู้นำกองทัพสายอำนาจนิยมในสังคมการเมืองของไทย

                   ข้อเสนอแนะต่อบรรดาตัวแทนกลุ่มอำนาจคณาธิปไตยในที่นี้ ได้แก่ การใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ของบุคคลในองค์กรตรวจสอบทางการเมืองต่าง ๆ จะต้องมีความเคร่งครัดตรงตามหลักนิติธรรมที่แท้จริง  เนื่องจากประชาชนหรือองค์กรภาคประชาชนจะใช้สิทธิในการตรวจสอบทางการเมืองและกฎหมายต่อการใช้อำนาจขององค์กรเหล่านั้นเช่นกัน

                   ข้อเสนอแนะต่อแนวร่วมประชาธิปไตยในที่นี้มีหลายส่วนเกี่ยวโยงถึงกัน ได้แก่ 

(๑) ประชาชนและแกนนำกลุ่มประชาชนที่เป็นฐานรากของพลังประชาธิปไตยซึ่งโดย ธรรมชาติมีความแตกต่างหลากหลายกระจายตัวทั่วประเทศควรดำเนินงานอย่างมีเอกภาพเดียวกันภายใต้หลักการที่ได้ประกาศเป็นหลักการร่วมของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ซึ่งเป็นองค์กรแนวร่วมของทุกกลุ่มสำหรับใช้ประโยชน์และรับผลของการใช้ประโยชน์ร่วมกัน  

(๒) องค์กรศูนย์กลางการประสานการทำงานของแนวร่วมประชาชนดังกล่าวควรผ่อนคลายภาวะ การรวมศูนย์บทบาทและกระจายทั้งภาระงานและสถานะความสำคัญโดยฉลี่ยไปยังองค์กร แนวร่วมที่แตกต่างหลากหลายทั่วประเทศมากขึ้นภายใต้เงื่อนไขการทำงานที่ยึด หลักการร่วมของ นปช. ข้างต้นโดยไม่เบี่ยงเบน  

(๓) แกนนำองค์กรศูนย์กลางแนวร่วม นปช. ควรดำเนินงานเคลื่อนไหวมวลชนอย่างมีเอกภาพเดียวกับพรรคการเมืองที่มีจุดยืน หลักการและแนวนโยบายการเมืองของพรรคสอดคล้องกับนปช.ในทางปฏิบัติ  

(๔) พรรคการเมืองที่มีจุดยืนและแนวนโยบายการเมืองตรงกันกับแนวร่วม นปช. ควรรักษาภาวะเอกภาพการทำงานในตำแหน่งหน้าที่ทางกฎหมายและการเมืองของตนตาม รัฐธรรมนูญโดยสามารถประสานจุดมุ่งหมายการทำงานในระบบพรรคให้สอดคล้องกับความ ต้องการของประชาชนทั้งที่เป็นแนวร่วมนปช.และประชาชนส่วนอื่นได้ในขณะเดียว กัน

                   ผู้เขียนเชื่อว่าความเห็นและข้อเสนอทั้งต่อฝ่ายคณาธิปไตยและประชาธิปไตยข้าง ต้นนี้เป็นสิ่งที่แต่ละฝ่ายพยายามดำเนินการอยู่แล้ว  มากบ้างน้อยบ้าง  ต่อเนื่องบ้างขาดหายบ้าง  ผู้เขียนเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจริงจังมากขึ้นจะเป็นอีก ส่วนหนึ่งของพลังในการคลี่คลายแก้ไขปัญหาวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองของไทย ต่อไป
มีนาคม ๒๕๕๖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น