แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

ชำนาญ จันทร์เรือง: ศาลต้องตัดสินด้วยกฎหมาย

ที่มา Thai E-News

 ชำนาญ จันทร์เรือง

จากการที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกมาให้ความเห็นในการอภิปรายเกี่ยวกับการดำเนินการ ของศาลรัฐธรรมนูญในคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ในการจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" ว่าคำวินิจฉัยที่ถูกต้อง ต้องมีคำวินิจฉัยที่มีความจริงยุติก่อน และค่อยตามด้วยข้อกฎหมาย แต่ที่ผ่านมากลับนำเอาข้อกฎหมายขึ้นมาวินิจฉัยก่อน แล้วค่อยมาถกเถียงในเรื่องข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่านายวสันต์ออกมายอมรับผิดว่าตัดสินคดี นี้ผิดพลาด ซึ่งต่อมาโฆษกศาลรัฐธรรมนูญได้ออกมาชี้แจงว่าไม่ได้ออกมายอมรับว่าตัดสินผิด พลาดเพียงแต่ลำดับขั้นตอนการเขียนคำวินิจฉัยไม่ถูกต้องเท่านั้นเอง

แต่ที่แน่ๆใครอ่านคำวินิจฉัยที่อ้างพจนานุกรมนั้นคงหัวเราะไม่ได้ร้องไห้ไม่ ออกเป็นแน่ เพราะทีตุลาการไปสอนหนังสือแล้วรับค่าตอบแทนบอกว่าไม่ใช่การรับจ้างแต่เป็น การไปให้ความรู้ แต่ทีสอนให้ทำกับข้าวทางโทรทัศน์ซึ่งก็เป็นการให้ความรู้เช่นกันกลับเป็นการ รับจ้างเล่นกันถึงต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเลยทีเดียว

ซึ่งการออกมาปฏิเสธนี้ก็ไม่ได้ผิดไปจากความคาดหมายของผมแต่อย่างใด เพราะเท่าที่ผมทราบยังไม่เคยได้ยินว่าศาลซึ่งไม่ว่าศาลไหนจะออกมายอมรับว่า ตนเองตัดสินผิดพลาด ถึงแม้จะรู้กันทั่วบ้านทั่วเมืองก็ตาม แต่ที่แน่ๆคงต้องรอให้ไก่ออกลูกเป็นตัวเสียก่อนนั่นแหล่ะครับจึงจะได้เห็น ว่าศาลออกมายอมรับว่าตนเองตัดสินผิด ซึ่งมันเกิดขึ้นได้ เพราะศาลก็คือคน มีชีวิตจิตใจ มีรัก โลภ โกรธ หลง ความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ที่แตกต่างกัน  ฯลฯ ในต่างประเทศจึงมีคณะกรรมการที่ออกมาวิจารณ์คำพิพากษาของศาลที่เรียกว่า Judicial Review Commission ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฏหมาย แม้ว่าจะไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำพิพากษาได้ก็ตาม แต่ก็มีผลต่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติและผลต่อ การพิจารณาคดีใหม่เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่บ้านเรายังไม่มีคณะกรรมการเช่นที่ว่านั้นแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากประเด็นข้างต้นแล้วนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญยังให้ความเห็นต่อกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคพลัง ประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมา ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวบ้านเมืองกำลังวุ่นวาย กลุ่มพันธมิตรฯ ปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล และกลุ่ม นปช. บุกบ้านพักของ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ หากขณะนั้นบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รัฐบาลและฝ่ายค้านจับมือกัน บ้านเมืองสามารถเดินหน้าต่อไปได้นั้น เชื่อว่าตุลาการเสียงข้างมากคงจะใช้ดุลพินิจไม่สั่งยุบพรรค เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ แต่ขณะนั้นบ้านเมืองวุ่นวาย หาทางออกไม่เจอ ศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องวินิจฉัยเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย แต่ก็แปลกดีพอถึงคราวคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กลับปล่อยให้คู่กรณีชกกันจนครบ ยกแล้วบอกว่าน้ำหนักเกิน

นอกจากนั้นยังให้ความเห็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นไปตามมาตรา 68 หรือไม่นั้นว่า กว่าที่ศาลรัฐธรรมนูญจะลงมติรับคำร้องใช้เวลาถกเถียงกันนานถึง 2 ชั่วโมงกว่า ตอนแรกถ้าไม่รับ สบาย ถ้ารับ เป็นเรื่อง แต่ก็กัดฟันรับไว้ก่อน เพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง ไต่สวนและไม่มีไรก็จบ (ที่มาของข่าวทั้งหมดจาก ลิงก์)

จากประเด็นยุบพรรคกับประเด็นรับคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ทำให้เกิดคำถามว่าตกลงแล้วศาลรัฐธรรมนูญใช้หลักเกณฑ์หรือหลักกฎหมายใดมา พิจารณากันแน่ เพราะปกติแล้วศาลมีหน้าที่พิจารณาคดีตามที่กฎหมายกำหนดหรือบัญญัติไว้ หากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดเจนก็ให้นำกฎหมายที่เทียบเคียงใด้มาใช้ หากไม่มีเลยก็ใช้หลักกฎหมายทั่วไปเข้ามาจับ ผมไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่บอกว่า “ศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องวินิจฉัยเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย” หรือ “หากขณะนั้นบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ...เชื่อว่าตุลาการเสียงข้างมากคงจะใช้ดุลพินิจไม่สั่งยุบพรรค” แล้วมาตรฐานอยู่ตรงไหน ความถูกความผิดอยู่ตรงไหน หรือว่าประเทศเราปกครองด้วยศาลหรือผู้พิพากษาตุลาการ(Ruled by Judges)ไปแล้ว

ส่วนประเด็นที่ว่า “ตอนแรกถ้าไม่รับ สบาย ถ้ารับ เป็นเรื่อง แต่ก็กัดฟันรับไว้ก่อน เพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง ไต่สวนแล้วไม่มีไรก็จบ” นั้นยิ่งฟังยิ่งทำให้เห็นถึงการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบเป็นอย่างยิ่ง เพราะแสดงให้เห็นว่า “จะรับก็ได้ ไม่รับก็ได้” ทั้งๆที่เป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน หลักกฎหมายเดียวกัน มิหนำซ้ำยังบอกอีกว่า “ไต่สวนแล้วไม่มีไรก็จบ” เสียอีกแน่ะ แล้วข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นน่ะมันจบจริงหรือเปล่า ความวุ่นวายตามมาเป็นโขยง ไม่ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯที่ยังค้างเติ่งอยู่รอวาระ 3 เป็นจะเกือบปีอยู่แล้วทั้งๆรัฐธรรมนูญกำหนดให้ลงมติวาระ 3 เมื่อพ้นกำหนด 15 วันจากวาระ 2 มิหนำซ้ำยังวางยาไว้อีกว่าหากจะแก้ไขทั้งฉบับให้ไปลงประชามติเสียก่อน ทั้งๆที่ดูจากคำวินิจฉัยส่วนตนมีเพียงเสียงเดียวเท่านั้นที่เสนอความเห็นนี้ ไม่รู้ว่าไปบรรจุอยู่ในคำวินิจฉัยกลางได้อย่างไร เล่นเอาปั่นป่วนกันไปหมด

บ้านเมืองที่ดีมีอารยธรรมนั้นปกครองด้วยหลักนิติรัฐซึ่งบรรดาการกระทำทั้ง หลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของ รัฐฝ่ายนิติบัญญัติ บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วย รัฐธรรมนูญ และ การควบคุมไม่ให้การกระทำขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการซึ่งมีความเป็นอิสระจาก องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารและองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ มิใช่ฝ่ายตุลาการจะไปบริหารเสียเองหรือบัญญัติสิ่งที่ไม่มีให้เกิดขึ้นหรือ ตีความนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยอ้างเหตุผลที่ไม่มีในกฎหมายเช่น “เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง” หรือ “กัดฟันรับไว้” เป็นต้น

อำนาจตุลาการเป็นอำนาจหนึ่งในสามของการจำแนกการใช้อำนาจอธิปไตย ไม่ได้อยู่เหนืออำนาจบริหารหรือนิติบัญญัติ มิหนำซ้ำเมื่อดูถึงที่มาแล้วยังยึดโยงกับประชาชนน้อยกว่าอีกสองอำนาจนั้น เสียด้วยซ้ำไป แต่ผลจากคำวินิจฉัยนั้นไปกดทับเหนืออำนาจบริหารและนิติบัญญัติจนไม่กล้าทำ อะไร ทำให้บ้านเมืองสะดุดหยุดอยู่ และเชื่อว่าหากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป อนาคตประเทศไทยก็คงเป็นอันที่สิ้นหวังอย่างแน่นอน

-----------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 20 มีนาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น