คอลัมน์ สามัญสำนึกเดือนเมษายน นอกจากอากาศจะร้อนเพราะเป็นเดือนแรกของการเริ่มต้นฤดูร้อนแล้ว อุณหภูมิทางการเมืองก็ทำท่าร้อนไม่แพ้กัน
เพราะ ระหว่างวันที่ 15-19 เมษายน 2556 จะเป็นวันที่ฝ่ายทนายจากประเทศไทยเข้ากล่าวถ้อยแถลงต่อศาลโลกในคดีเขาพระ วิหารเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนศาลโลกจะมีคำวินิจฉัย ซึ่งคาดว่าการตัดสินคดีจะมีขึ้นในปลายปี
ราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนโน่น
ถึงแม้ว่าการตัดสินจะใช้เวลาถึงปลายปี แต่การเตรียมการเรื่องนี้ดูเหมือนจะนิ่งนอนใจ ชักช้าไม่ได้ โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ
ดัง นั้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ นำโดย คุณณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้เริ่มต้นอธิบายและทำความเข้าใจแก่สื่อมวลชนในเรื่องคดีเขาพระวิหาร พร้อมทั้งพูดถึงแนวทางการต่อสู้คดี
แน่นอนว่าจะขาดเสียไม่ได้กับการ มาเยือนครั้งนี้ คือ ท่านทูตวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ผู้เป็นหัวหน้าคณะต่อสู้คดีเขาพระวิหารฝ่ายไทย มาเป็นผู้บรรยายด้วย
มี หลายประเด็นเกี่ยวกับคดีดังกล่าวที่หยิบยกขึ้นมาพูดคุยชี้แจงและอธิบายกัน อย่าง "เปิดใจ" ไม่ว่าจะเป็นเส้นเขตแดน หรือเรื่องราวแต่หนหลังครั้งประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดปัญหาพิพาทครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักที่ทางคณะต่อสู้คดีฯนำมาพูดคุย เป็นประเด็นที่ว่า "ศาลโลกมีอำนาจตีความคำตัดสินเดิมปี 2505 หรือไม่ ?"
เพราะประเด็นนี้เกี่ยวโยงไปถึงเรื่องที่ทางกัมพูชา
ยื่นร้องไว้เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 ให้ศาลโลกตีความคำว่า "พื้นที่ใกล้เคียงปราสาท" หรือ "Vicinity"
ที่ตามคำตัดสินเดิมของศาลโลกเมื่อปี 2505 ระบุให้ฝ่ายไทยต้องถอนทหารออกจากบริเวณ "ใกล้เคียงตัวปราสาท"
ซึ่ง ถ้าหากให้ศาลโลกมีอำนาจตีความได้ ก็เท่ากับว่า (ตามที่ทางฝ่ายไทยเกรงกลัว) "พื้นที่ใกล้เคียงปราสาท" หรือ Vicinity ก็จะตกเป็นสิทธิ์ของกัมพูชา
ท่านทูตวีรชัยอธิบายว่า ต้องต่อสู้ว่าศาลโลกไม่มีอำนาจตีความ เพราะแม้อำนาจการตีความของศาลนั้นไม่มี
อายุความ แต่ต้องจำกัดอยู่ภายในกรอบคำพิพากษาเดิม ตามคำพิพากษาปี 2505
คำ อธิบายชี้แจงของคณะต่อสู้คดีฝ่ายไทย ยังพูดคุยในอีกหลาย ๆ ประเด็น ซึ่งในเวลาสองชั่วโมงเศษทำให้เห็นแนวทางและได้คำตอบเลา ๆ ว่า ผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ?
อาจจะแพ้ หรืออาจจะชนะ แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นยังเป็นข้อกังขามาถึงวันนี้ คือจุดเริ่มต้นของปัญหานี้ มันมาจากอะไร ?
หาก มิใช่-เพราะความขัดแย้งทางการเมืองของคนไทยเอง ที่เล่นเอาแพ้เอาชนะกันจนเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โตโดยฝ่ายหนึ่งมุ่งโค่นล้ม รัฐบาล ด้วยการสร้างเรื่องสร้าง ประเด็นเกินจริง ปลุกกระแสชาตินิยมจนคลุ้มคลั่งกันไปทั่ว นำไปสู่ความขัดแย้งและความเข้าใจผิดจนทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ ธุรกิจพังพินาศ แล้วภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาชาวโลกยังเสียหาย ถูกมองว่า "รังแกประเทศที่ด้อยกว่า"
ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ชัดเจนในการทำงาน ปิด ๆ บัง ๆ
จน ทำให้เกิดความเข้าใจว่าใช้อำนาจหน้าที่ทางการเมืองเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวโดยเอาแผ่นดินของชาติแลกเปลี่ยนตัวการทั้ง หลายอาจนอนสบายใจ กระดิกนิ้วเท้าเล่น แต่คนทั้งประเทศทุกข์ระทม
ก็ได้แต่ภาวนาว่า ศาลโลกที่เคารพจะเห็นแก่สันติภาพอย่างแท้จริง ด้วยการตัดสินให้พื้นที่ปัญหาเป็นเขต
สันติภาพ ปลอดทหาร เพื่อให้ชาวบ้านอยู่กินกันด้วยความสันติสุข
เพราะ ระหว่างวันที่ 15-19 เมษายน 2556 จะเป็นวันที่ฝ่ายทนายจากประเทศไทยเข้ากล่าวถ้อยแถลงต่อศาลโลกในคดีเขาพระ วิหารเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนศาลโลกจะมีคำวินิจฉัย ซึ่งคาดว่าการตัดสินคดีจะมีขึ้นในปลายปี
ราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนโน่น
ถึงแม้ว่าการตัดสินจะใช้เวลาถึงปลายปี แต่การเตรียมการเรื่องนี้ดูเหมือนจะนิ่งนอนใจ ชักช้าไม่ได้ โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ
ดัง นั้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ นำโดย คุณณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้เริ่มต้นอธิบายและทำความเข้าใจแก่สื่อมวลชนในเรื่องคดีเขาพระวิหาร พร้อมทั้งพูดถึงแนวทางการต่อสู้คดี
แน่นอนว่าจะขาดเสียไม่ได้กับการ มาเยือนครั้งนี้ คือ ท่านทูตวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ผู้เป็นหัวหน้าคณะต่อสู้คดีเขาพระวิหารฝ่ายไทย มาเป็นผู้บรรยายด้วย
มี หลายประเด็นเกี่ยวกับคดีดังกล่าวที่หยิบยกขึ้นมาพูดคุยชี้แจงและอธิบายกัน อย่าง "เปิดใจ" ไม่ว่าจะเป็นเส้นเขตแดน หรือเรื่องราวแต่หนหลังครั้งประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดปัญหาพิพาทครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักที่ทางคณะต่อสู้คดีฯนำมาพูดคุย เป็นประเด็นที่ว่า "ศาลโลกมีอำนาจตีความคำตัดสินเดิมปี 2505 หรือไม่ ?"
เพราะประเด็นนี้เกี่ยวโยงไปถึงเรื่องที่ทางกัมพูชา
ยื่นร้องไว้เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 ให้ศาลโลกตีความคำว่า "พื้นที่ใกล้เคียงปราสาท" หรือ "Vicinity"
ที่ตามคำตัดสินเดิมของศาลโลกเมื่อปี 2505 ระบุให้ฝ่ายไทยต้องถอนทหารออกจากบริเวณ "ใกล้เคียงตัวปราสาท"
ซึ่ง ถ้าหากให้ศาลโลกมีอำนาจตีความได้ ก็เท่ากับว่า (ตามที่ทางฝ่ายไทยเกรงกลัว) "พื้นที่ใกล้เคียงปราสาท" หรือ Vicinity ก็จะตกเป็นสิทธิ์ของกัมพูชา
ท่านทูตวีรชัยอธิบายว่า ต้องต่อสู้ว่าศาลโลกไม่มีอำนาจตีความ เพราะแม้อำนาจการตีความของศาลนั้นไม่มี
อายุความ แต่ต้องจำกัดอยู่ภายในกรอบคำพิพากษาเดิม ตามคำพิพากษาปี 2505
คำ อธิบายชี้แจงของคณะต่อสู้คดีฝ่ายไทย ยังพูดคุยในอีกหลาย ๆ ประเด็น ซึ่งในเวลาสองชั่วโมงเศษทำให้เห็นแนวทางและได้คำตอบเลา ๆ ว่า ผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ?
อาจจะแพ้ หรืออาจจะชนะ แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นยังเป็นข้อกังขามาถึงวันนี้ คือจุดเริ่มต้นของปัญหานี้ มันมาจากอะไร ?
หาก มิใช่-เพราะความขัดแย้งทางการเมืองของคนไทยเอง ที่เล่นเอาแพ้เอาชนะกันจนเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โตโดยฝ่ายหนึ่งมุ่งโค่นล้ม รัฐบาล ด้วยการสร้างเรื่องสร้าง ประเด็นเกินจริง ปลุกกระแสชาตินิยมจนคลุ้มคลั่งกันไปทั่ว นำไปสู่ความขัดแย้งและความเข้าใจผิดจนทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ ธุรกิจพังพินาศ แล้วภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาชาวโลกยังเสียหาย ถูกมองว่า "รังแกประเทศที่ด้อยกว่า"
ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ชัดเจนในการทำงาน ปิด ๆ บัง ๆ
จน ทำให้เกิดความเข้าใจว่าใช้อำนาจหน้าที่ทางการเมืองเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวโดยเอาแผ่นดินของชาติแลกเปลี่ยนตัวการทั้ง หลายอาจนอนสบายใจ กระดิกนิ้วเท้าเล่น แต่คนทั้งประเทศทุกข์ระทม
ก็ได้แต่ภาวนาว่า ศาลโลกที่เคารพจะเห็นแก่สันติภาพอย่างแท้จริง ด้วยการตัดสินให้พื้นที่ปัญหาเป็นเขต
สันติภาพ ปลอดทหาร เพื่อให้ชาวบ้านอยู่กินกันด้วยความสันติสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น