ในขั้นต้นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นปฐมก่อนคือความแตกต่างระหว่าง สถาบันกษัตริย์กับองค์พระมหากษัตริย์นั้นมีความแตกต่างกัน ผู้เขียน จะย้อนไปถึงทฤษฎีหลักพื้นฐานทางกฎหมายเบื้องต้นเสียก่อนถึงความเป็นมาของ สถาบันกษัตริย์ ในทางสังคมวิทยานั้น ออปเพิลไฮเมอร์แบ่งสังคมออกเป็น5 ยุค
ใน ยุคแรกๆนั้นอำนาจทางการเมือง(le pouvoir politique) นั้นไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของผู้ใดเพราะมนุษย์ในยุคสังคมแบบบุพกาลนั้นยัง เชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติเป็นอาทิ ต่อมาเมื่อสังคมพัฒนาไปได้ในระดับหนึ่งเช่นเกิดสังคมล่าสัตว์และสังคมเพาะ ปลูกขึ้น มนุษย์ก็ยังหลีกไม่พ้นกับการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องมีผู้ที่สามารถติดต่อกับอำนาจเหนือธรรมชาติได้ ในยุคนี้เองได้เกิดผู้ทรงอำนาจทางการเมืองขึ้นซึ่งได้แก่เหล่าบรรดาหมอผี หรือพวกทรงเจ้า(shaman)ขึ้นเนื่องจากเป็นบุคคลที่สามรถติดต่อกับสิ่งลี้ลับ เหนือธรรมชาติได้ทำให้ในสังคมต่างยินยอมที่จะเชื่อฟังเหล่าบรรดาหมอผีเหล่า นั้น
เมื่อสังคมมนุษย์พัฒนาขึ้นในอีกระดับ ความเชื่อเรื่องเร้นลับก็ลดความสำคัญลงไปตามกาลเวลาและมนุษย์เองเริ่มที่จะ รวมตัวกันเข้ามาเพื่อแสวงหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินขึ้น จึงมีการสถาปนาระบบกษัตริย์ขึ้น ในยุคนี้เอง กษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมืองในการบริหารจัดการกิจกรรมของสังคม แต่อำนาจที่ว่านี้ยังไม่ใช่อำนาจอธิปไตยในความหมายของกฎหมายมหาชนยุคหลังที่ เริ่มสถาปนาโดย ฌอง โบแดง เพราะการเข้าสู่อำนาจของกษัตริย์ในยุคนี้อาศัยความสามารถส่วนตัวเป็นหลัก เช่นความหนุ่ม ความเข้มแข็ง ความสามารถในการรบ เป็นต้น นั่นหมายความว่าเมื่อกษัตริย์องค์ปัจจุบันหมดคุณสมบัติดังกล่าวพระองค์ย่อม ถูกบุคคลอื่นมาท้ายทายได้เสมอ ทำให้อำนาจที่มีนั้นไม่ใช่อำนาจสูงสุดในความเป็นจริง
จากสภาพการณ์ดังกล่าวทำให้สังคมเกิดความไม่แน่นอนในการวางตัวผู้มีอำนาจ สังคมเกิดความสั่นคลอน จึงมีการพัฒนาเทคนิคทางกฎหมายขึ้นเพื่อรักษาความมีอยู่ของสถาบันไว้โดยใช้ เทคนิคในเรื่องของการแยกอำนาจทางการเมืองออกจากตัวบุคคลและให้อำนาจทางการ เมืองนั้นเป็นของสถาบันที่สมมุติขึ้น(institutionnalisation du pouvoir politique) สถาบันที่ถูกจัดตั้งขึ้นนี้เรียกว่า "รัฐ" เทคนิคดังกล่าวแสดงออกทางหลักกฎหมายมหาชนได้ดังนี้
กษัตริย์ไม่ทรงสวรรคต ( Le roi ne meurt pas) กล่าวคือ เมื่อกษัตริย์องค์เดิมสวรรคต ราชเลขาธิการจะต้องประกาศว่ากษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ทันที และประชาชนจะกู่ตะโกนว่า กษัตริย์(องค์เดิม)สวรรคตแล้วขอกษัตริย์(องค์ใหม่)ทรงพระเจริญ(le roi est mort, vivre le roi, The king is dead, long live the king) หลักการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความถาวรของอำนาจ(perpétuel)ของอำนาจ อธิปไตย เช่นเดียวกับที่โบแดงกล่าวไว้ว่า"อำนาจไม่ตายไปพร้อมตัวบุคคล" นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นอีกว่ามีการแยกอำนาจออกจากตัวบุคคลไปไว้ที่สถาบัน ทางการเมืองหรือรัฐแล้ว หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า ตัวคนตายได้แต่สถาบันและอำนาจไม่ตายตามตัวบุคคล ซึ่งหลักการดังกล่าวได้พัฒนามาเป็นหลักเรื่องกษัตริย์ทรงมีสองพระวรกายคือ พระวรกายเนื้อและพระวรกายที่เป็นอมตะ[1] ส่งผลให้การสืบต่ออำนาจเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่แสดงออกมา เช่น กฎมณเพียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ หรือการตั้งตำแหน่งรัชทายาท(Dauphin)นอกจากนี้หลักกฎหมายนี้ได้พัฒนาต่อจน กลายเป็นหลักกฎหมายปกครองยุคใหม่ในเรื่องความต่อเนื่องของการจัดทำบริการ สาธารณะ(Continuité du service public)
ต่อเมื่อสังคมพัฒนาจนมีระบบกฎหมายและรัฐธรรมมนูญขึ้น สถาบันกษัตริย์ก็ได้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมตามกาลเวลา แต่สถานะของสถาบันกษัตริย์นั้นรวมถึงองค์พระมหากษัตริย์ ก็ไม่ได้เป็นที่สถิตย์ของอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจทางการเมืองอีกต่อไป เพราะอำนาจทางการเมืองนั้นได้ถูกประดิษฐานมาไว้ที่รัฐ(สมัยใหม่)แล้ว สถาบันกษัตริย์เป็นเพียงองค์กรที่ถูกจัดตั้งและรับรองสถานะโดยรัฐธรรมนูญ เท่านั้น
จากหลักทฤษฎีดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่า คำว่า สถาบันกษัตริย์กับองค์พระมหากษัตริย์นั้น เป็นคนละอย่างกัน สืบเนื่องมาจากประเด็นสาธารณะที่เรียกร้องให้มีการรักษาสถาบันกษัตริย์นั้น ผู้เขียนตั้งคำถามถึงคนรักสถาบันว่า แท้จริงแล้ววคุณรักพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันหรือต้องการรักษาสถาบันฯกัน แน่ หากคุณรักและอยากให้สถาบันฯคงอยู่กับสังคมไทยไปอีกนานเท่านาน คุณต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลที่เกิดขึ้นในสังคมให้ได้ก่อนว่า ทุกสังคมการเมืองย่อมต้องมีความเปลี่ยนแปลง มนุษย์เองยังต้องพัฒนาตัวเองหรือวิวัฒนาการไปตามทฤษฎีวิวัฒนาการ สถาบันทางการเมืองเองก็เช่นกันต้องปรับตัวให้มีความเป็นพลวัตรเข้ากันได้กับ สังคมประชาธิปไตยในปัจจุบัน คนรักสถาบันฯไม่สามารถสตาฟหรือหยุดเวลาของสถาบันได้ให้อยู่ในยุค 2501ได้ตลอดไป หากคุณรักสถาบันด้วยใจจริงคุณต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้สถาบันสามารถดำรง อยู่ได้ในภาวะที่โลกได้เปลี่ยนเป็นสังคมประชาธิปไตย กันเกือบหมดแล้ว โดยการแยกให้ออกระหว่างความรักในตัวบุคคลกับความรักและเทิดทูนในสถาบัน
ปัจฉิมบทแห่งข้อคิดเห็น คนที่อ้างว่ารักเจ้ารักในหลวงรักสถาบันต้องมีความกล้าหาญที่จะออกมาแสดงให้ เห็นว่าตนเองนั้นต้องการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยใจจริงไม่ใช่รักเฉพาะ ตัวบุคคลเท่านั้น เพราะการยึดโดยติดกับตัวบุคคลนั้นย่อมจะทำให้สถาบันเสื่อมเร็วขึ้นก่อนกาล นอกจากนี้บุคคลดังกล่าว ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกให้ได้และอย่าพยายามทำให้สถาบัน ต้องหยุดชะงักอยู่กับที่ ดังที่ทำอยู่ในปัจจุบันเพราะรังแต่จะทำให้ภาพของสถาบันเสื่อมลงโดยไว การแสดงออกซึ่งความรักควรแสดงออกด้วยความเคารพไม่ใช่การพยายามไล่หรือเนรเทศ คนที่ไม่เห็นด้วยออกไปจากแผ่นดินที่บรรพบุรุษของทุกคนในชาติร่วมกันสร้างมา
......คนรักเจ้าต้องตอบให้ได้ในวันนี้ว่ารักที่ตัวบุคคลหรือต้องการรักษาสถาบัน ?
[1]
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน
วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษธของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ, นิติธรรม, กรุงเทพฯ,
พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า34.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น