"กูเกิล กลาส"กำลังจะกลายเป็นแว่นตาอัจฉริยะ
ที่พลิกโฉมการเชื่อมต่อผู้สวมใส่เข้ากับโลกออนไลน์แบบเรียลไทม์
แต่ในระหว่างที่อุปกรณ์สุดไฮเทคนี้ยังไม่วางตลาด
มีคนบางกลุ่มต้องการให้มีมาตรการควบคุมการบันทึกพฤติกรรมผู้ใช้งานกูเกิลกลา
ส เพราะเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
ในขณะที่บรรดาสาวกผู้คลั่งไคล้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สุดไฮเทค กำลังรอคอยสัมผัสประสบการณ์ใหม่จากการสวมใส่ "กูเกิล กลาส" แว่นตาอัจฉริยะรุ่น เอ็กพลอเรอร์จากค่ายกูเกิล ที่เตรียมวางตลาดในปี 2557 แต่กลับมีหลายคนมองว่า หากกูเกิลกลาสเป็นที่แพร่หลายจริง โลกใบนี้คงไม่มีอะไรที่เป็นความลับอีกต่อไป ทำให้อุปกรณ์ประเภทแว่นตาอัจฉริยะ ตกเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์
ด้วยคุณสมบัติของกูเกิลกลาส แอปพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะทำงานคล้ายกับสมาร์ทโฟนที่ใช้กันในปัจจุบัน ต่างกันตรงที่ แทนที่จะใช้มือสัมผัสหน้าจอ ก็เปลี่ยนเป็นการสั่งงานด้วยเสียง จากนั้น โปรแกรมจะประมวลเสียงให้กลายเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ ที่สำคัญ ยังเชื่อมต่อผู้สวมใส่เข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงทำให้สามารถรับข้อมูลข่าวสารทุกประเภทได้แบบวินาทีต่อวินาที หรือที่เรียกว่า "เรียลไทม์"
แต่สิ่งที่มาพร้อมกับคุณสมบัติอัจฉริยะนี้ คืออุปกรณ์ในลักษณะนี้สามารถบันทึกพฤติกรรมการใช้งานของผู้สวมใส่ได้ จากสิ่งที่พวกเขาสั่งการ ทำให้คนบางส่วนไม่เห็นด้วย เพราะเท่ากับว่า ผู้สวมใส่จะไม่เหลือความเป็นส่วนตัวอีกต่อไป คนกลุ่มนี้ออกมารณรงค์ในแคมเปญ ที่มีชื่อว่า "Stop the Cyborgs" หรือ "ยุติการใช้หุ่นยนต์" ซึ่งมีทั้งนักการเมือง นักกฎหมาย และบล็อกเกอร์เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
พวกเขาอธิบายว่า ตนเองไม่ใช่พวกต่อต้านเทคโนโลยี เพียงแต่อยากให้ผู้ใช้ตระหนักว่า สิ่งที่คิดและทำผ่านอุปกรณ์ที่มีลักษณะเดียวกับกูเกิลกลาส จะถูกบันทึกไว้ทั้งหมด โดยไม่มีการถามความยินยอมจากผู้สวมใส่ก่อน ดังนั้น พวกเขาเพียงต้องการให้มีการออกมาตรการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้สวมใส่ด้วย โดยเสนอให้กูเกิลถามก่อนทุกครั้งว่า ผู้สวมใส่กูเกิลกลาส จะยินยอมให้บันทึกสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ไม่เช่นนั้น ผู้ใช้จะต้องตกอยู่ในภาวะหวาดระแวง ว่าข้อมูลส่วนตัวจะถูกนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อใดก็ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานไม่พอใจในภายหลัง
ด้านกูเกิลชี้แจงว่า นวัตกรรมแว่นตาอัจฉริยะอันทรงพลังนี้ สามารถกำหนดรูปแบบใหม่ของวิถีชีวิตมนุษย์ในอนาคตได้ จึงออกแบบมาอย่างรอบคอบ โดยมีโปรแกรมที่ให้ผู้สวมใส่ สามารถกำหนดการใช้งานและฟีเจอร์ที่พวกเขาต้องการได้ด้วยตนเอง
ปัจจุบัน รัฐเวสต์เวอร์จิเนียของสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับประเด็นการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานแว่นตาอัจฉริยะ แล้ว โดยเตรียมออกมาตรการควบคุมการใช้แว่นตาอัจฉริยะทุกประเภท และห้ามใช้อุปกรณ์นี้ขณะขับรถ ไม่เช่นนั้น จะถูกปรับเป็นเงินก้อนโตทีเดียว
ในขณะที่บรรดาสาวกผู้คลั่งไคล้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สุดไฮเทค กำลังรอคอยสัมผัสประสบการณ์ใหม่จากการสวมใส่ "กูเกิล กลาส" แว่นตาอัจฉริยะรุ่น เอ็กพลอเรอร์จากค่ายกูเกิล ที่เตรียมวางตลาดในปี 2557 แต่กลับมีหลายคนมองว่า หากกูเกิลกลาสเป็นที่แพร่หลายจริง โลกใบนี้คงไม่มีอะไรที่เป็นความลับอีกต่อไป ทำให้อุปกรณ์ประเภทแว่นตาอัจฉริยะ ตกเป็นเป้าหมายของการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์
ด้วยคุณสมบัติของกูเกิลกลาส แอปพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะทำงานคล้ายกับสมาร์ทโฟนที่ใช้กันในปัจจุบัน ต่างกันตรงที่ แทนที่จะใช้มือสัมผัสหน้าจอ ก็เปลี่ยนเป็นการสั่งงานด้วยเสียง จากนั้น โปรแกรมจะประมวลเสียงให้กลายเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ ที่สำคัญ ยังเชื่อมต่อผู้สวมใส่เข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงทำให้สามารถรับข้อมูลข่าวสารทุกประเภทได้แบบวินาทีต่อวินาที หรือที่เรียกว่า "เรียลไทม์"
แต่สิ่งที่มาพร้อมกับคุณสมบัติอัจฉริยะนี้ คืออุปกรณ์ในลักษณะนี้สามารถบันทึกพฤติกรรมการใช้งานของผู้สวมใส่ได้ จากสิ่งที่พวกเขาสั่งการ ทำให้คนบางส่วนไม่เห็นด้วย เพราะเท่ากับว่า ผู้สวมใส่จะไม่เหลือความเป็นส่วนตัวอีกต่อไป คนกลุ่มนี้ออกมารณรงค์ในแคมเปญ ที่มีชื่อว่า "Stop the Cyborgs" หรือ "ยุติการใช้หุ่นยนต์" ซึ่งมีทั้งนักการเมือง นักกฎหมาย และบล็อกเกอร์เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
พวกเขาอธิบายว่า ตนเองไม่ใช่พวกต่อต้านเทคโนโลยี เพียงแต่อยากให้ผู้ใช้ตระหนักว่า สิ่งที่คิดและทำผ่านอุปกรณ์ที่มีลักษณะเดียวกับกูเกิลกลาส จะถูกบันทึกไว้ทั้งหมด โดยไม่มีการถามความยินยอมจากผู้สวมใส่ก่อน ดังนั้น พวกเขาเพียงต้องการให้มีการออกมาตรการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้สวมใส่ด้วย โดยเสนอให้กูเกิลถามก่อนทุกครั้งว่า ผู้สวมใส่กูเกิลกลาส จะยินยอมให้บันทึกสิ่งเหล่านี้หรือไม่ ไม่เช่นนั้น ผู้ใช้จะต้องตกอยู่ในภาวะหวาดระแวง ว่าข้อมูลส่วนตัวจะถูกนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อใดก็ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานไม่พอใจในภายหลัง
ด้านกูเกิลชี้แจงว่า นวัตกรรมแว่นตาอัจฉริยะอันทรงพลังนี้ สามารถกำหนดรูปแบบใหม่ของวิถีชีวิตมนุษย์ในอนาคตได้ จึงออกแบบมาอย่างรอบคอบ โดยมีโปรแกรมที่ให้ผู้สวมใส่ สามารถกำหนดการใช้งานและฟีเจอร์ที่พวกเขาต้องการได้ด้วยตนเอง
ปัจจุบัน รัฐเวสต์เวอร์จิเนียของสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับประเด็นการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานแว่นตาอัจฉริยะ แล้ว โดยเตรียมออกมาตรการควบคุมการใช้แว่นตาอัจฉริยะทุกประเภท และห้ามใช้อุปกรณ์นี้ขณะขับรถ ไม่เช่นนั้น จะถูกปรับเป็นเงินก้อนโตทีเดียว
by
Paparorn
28 มีนาคม 2556 เวลา 09:04 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น