แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คปก.ยื่นข้อเสนอนายกฯ แก้ไขรธน.ม.68, ม.237

ที่มา ประชาไท


คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ทำข้อเสนอหลังศึกษาร่างฯ-ฟังความคิดเห็นประชาชน ชงยกเลิกม.237 ยุบพรรคการเมือง-แก้ไขยื่นเรื่องอสส.ศาลรธน.
5 สิงหาคม 2556 - นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ลงนามในหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะคปก. เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ....(แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 68 และมาตรา 237) เสนอต่อนายกรัฐมนตรี  ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ หลังจากคปก.ได้พิจารณาศึกษาร่างฯ ทั้งจากข้อมูลทางวิชาการและการรับฟังความคิดเห็นจากหลายภาคส่วน
 
คปก.มีความเห็นว่า ในกรณีที่มีบุคคลหรือพรรคการเมืองกระทำการอันเชื่อว่าเป็นการล้มล้างการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ควรกำหนดให้ผู้ที่ทราบการกระทำต้องเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดให้ตรวจสอบข้อ เท็จจริงเสียก่อน แต่หากอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำนั้นย่อมมีสิทธิเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยตรงได้    อย่างไรก็ตามคปก.มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรกำหนดระยะเวลาในการเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อเป็นกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ โดยขอเสนอให้อัยการสูงสุดต้องพิจารณาและยื่นคำร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 30 วันนับแต่วันรับเรื่อง
 
ทั้งนี้ คปก. เห็นชอบกับหลักการที่ให้ยกเลิกวรรคท้ายของมาตรา 68 ที่เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการ เมืองที่ถูกยุบ เนื่องจากการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิก วุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 103 วรรคห้า และพระราชบัญญัติว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98  อีกทั้ง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอาจกระทบต่อคดีอาญา เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่น ตามมาตรา 216 วรรคห้าของรัฐธรรมนูญ
 
ขณะเดียวกันคปก.เห็นว่า ควรยกเลิกมาตรา 237 เนื่องจากบทบัญญัติมุ่งลงโทษพรรคการเมืองด้วยเหตุจากการกระทำผิดของผู้สมัคร รับเลือกตั้ง หรือหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเพียงกลุ่มบุคคลบางกลุ่มในพรรคการเมืองเท่านั้นการยุบพรรคการเมือง ทั้งพรรค มีผลทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น และประชาชน    ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ต้องพ้นจากสถานภาพของพรรคการเมืองนั้นไปด้วย เป็นการลงโทษคนกลุ่มใหญ่ซึ่งไม่ได้ร่วมรู้เห็นหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความ ผิด บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่เหมาะสมและไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ในทางการเมือง
 
อีกทั้ง บทบัญญัติเกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ได้กำหนดไว้แล้วในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 103 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98 จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดบทบัญญัติดังกล่าวไว้อีก  คปก. ขอเสนอให้ยกเลิกมาตรา 237 โดยแก้ไขร่างมาตรา4 จาก “ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” เป็น “ให้ยกเลิกมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น