ที่มา
Thai E-News
"การนิรโทษกรรมในปี 2556
ต้องไม่ใช้การนิรโทษกรรมเช่นในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516,
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, เหตุการณ์ พฤษภาคม 2535
ที่เป็นการนิรโทษกรรมแบบ “เหมาเข่ง”
ที่ผู้ก่อความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองได้รับนิรโทษรรมไปด้วย
เพราะประวัติศาสตร์บอกเราชัดเจนแล้วว่า
ตราบใดที่ผู้กระทำผิดไม่ถูกลงโทษ ก็จะมีความรุนแรงตามมา"
โดยชาญวิทย์ เกษตรศิริ27 July 2013 at 01:04
สวัสดีท่านสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี และสุภาพชนหนึ่ง)ผมขอเริ่มด้วยข่าวของสำนักข่าว วอยส์ออฟอเมริกาเมื่อวันที่ 15
กรกฎาคม 2556
รายงานข่าวประธานาธิบดีพม่าให้สัญญาว่าจะไม่มีนักโทษการเมืองเหลืออยู่ภายในสิ้นปีhttp://www.voathai.com/content/burma-cameron-ct/1703325.htmlประธานาธิบดีเต็งเส่ง กล่าวระหว่างการปราศรัยที่ Chatham House
ในกรุงลอนดอนให้สัญญาด้วยว่า จะไม่มีนักโทษการเมืองหรือผู้ที่ถูกคุมขังเนื่องจากมีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาลเหลืออยู่ในพม่าภายในสิ้นปีนี้.......
โดยก่อนหน้านั้น 1
วัน เวปไซต์ของประธานาธิบดีพม่าระบุว่าประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้สั่งยุบเลิกกองกำลังด้านความมั่นคงที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิของชาวโรฮิงยาไปแล้ว และว่าความขัดแย้งต่างๆที่ยังมีอยู่ในประเทศขณะนี้ ล้วนแต่มีลักษณะและที่มาจากความไม่พอใจและความต้องการของชนต่างเชื้อชาติในประเทศทั้งสิ้นแน่นอนว่าเราอาจจะไม่เชื่อทั้งหมดของข่าวสาร ที่มาจากรัฐบาลประเทศพม่าแต่ก็นับว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี สำหรับประชาชนชาวพม่าที่เผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงมากกว่า เสี้ยวศตวรรษนับตั้งแต่เหตุการณ์ 8/8/88
อนึ่ง เราทั้งหลาย ก็ทราบกันดีว่า กัมพูชาเองพระมหากษัตริย์ก็พระราชทานอภัยโทษ ให้กับผู้นำพรรคฝ่ายค้าน สม รังสีทั้งนี้โดยข้อเสนอของ นรม ฮุนเซ็น ซึ่งนับได้ว่าภูมิภาคอาเซียนของเรากำลังมีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นสอง)แต่สำหรับสยามประเทศไทย ในพ.ศ. 2556
เรากลับต้องมาพูดถึง“108
เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง”
นับเป้นความน่าเศร้าอย่างยิ่ง เพราะแท้ที่จริงแล้ว เราไม่ควรจะมีเหตุผลใด ๆที่จะมี “
นักโทษการเมือง”
ที่เกิดจากการคิด พูด อ่าน เขียนที่มีความเห็นไม่ตรงกับอุดมการณ์รัฐแล้วในโลกปัจจุบันดังเช่นที่รัฐบาลพม่า กำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ในขณะนี้ในฐานะนักประวัติศาสตร์ ผมได้พบข้อมูล ระหว่าง พ.ศ. 2475
จนกระทั่งถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2556
เป็นเวลา 81
ปีว่าเรามีการ การออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาแล้ว 22
ฉบับโดยแบ่งออกเป็น พ.ร.ก. 4
ฉบับ,
พ.ร.บ. 17
ฉบับ และรัฐธรรมนูญ 1
ฉบับสาม)สาระสำคัญของ กม.นิรโทษกรรม ทั้ง 22
ฉบับ คือการนิรโทษกรรมให้กับการกระทำผิดต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น-
ความผิดฐานเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1
ฉบับ-
ความผิดฐานก่อกบฏ 6
ฉบับ-
ความผิดจากการก่อรัฐประหาร 10
ฉบับ-
ความผิดจากการต่อต้านสงครามของญี่ปุ่น 1
ฉบับ-
ความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง 3
ฉบับ-
ความผิดจากการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ 1
ฉบับสี่)ถ้านับกันตามเวลาแล้ว ในระยะเวลา 81
ปี เฉลี่ยแล้ว 3
ปีครึ่งเรามีกฎหมายนิรโทษกรรม 1
ฉบับโดยเหตุที่มากเช่นนั้น ก็เพราะเป็นการรวมเอาการรัฐประหาร 10
ฉบับและความผิดฐานกบฎ 6
ฉบับซึ่งส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งของชนชั้นนำเข้ามาไว้ซึ่งคิดเป็น 72.7
เปอร์เซ็นขณะที่การนิรโทษกรรมความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง 3
ฉบับในเหตุการณ์สำคัญคือห้า)เหตุการณ์ 14
ตุลาคม 2516
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่นักเรียนนิสิต นักศึกษาและประชาชนซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13
ตุลาคม พ.ศ.2516
เหตุการณ์ 6
ตุลาคม 2519
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุม
ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4
ถึงวันที่ 6
ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ พฤษภาคม 2535
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17
พฤษภาคม พ.ศ.2535
ถึงวันที่ 21
พฤษภาคม พ.ศ.2535
ที่กลายเป็นตลกร้ายในการเมืองไทยคือกฎหมายที่มุ่งจะนิรโทษกรรมความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง 3
ฉบับกลายเป็นว่าเป็นการ นิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐไปพร้อมกันด้วยหก)กฎหมายนิรโทษกรรมกลายเป็น “
ใบอนุญาตฆ่าประชาชน”
ผู้ซึ่งใช้สิทธ์ในทางการเมืองอย่างสุจริตไปโดยปริยายหลังกาการรัฐประหาร 19
กันยายน 2549
ตามมาด้วยความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาเกือบ 7
ปีที่มีการล้มตายของประชาชนกลางเมืองหลวง และหัวเมืองต่าง ๆในเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา 2553
จนกลายมาเป็นประวัติศาสตร์บาดแผล ที่ยากที่จะสมานได้ในเร็ววันแต่ผลพวงจากเหตุการณ์ดังกล่าวยังปรากฏนักโทษการเมืองที่ถูกจองจำมาเป็นเวลานานนับปี อยู่หลายร้อยคนเจ็ด)นี่เป็นเหตุผลที่เรามารวมตัวกัน ณ ที่นี่ เพื่อจะบอกว่านักโทษการเมือง จะต้องหมดไปจากประเทศไทยด้วยการออกฏหมายนิรโทษกรรมขณะเดียวกันการนิรโทษกรรมในปี 2556
ต้องไม่ใช้การนิรโทษกรรมเช่นในเหตุการณ์ เหตุการณ์ 14
ตุลาคม 2516,
เหตุการณ์ 6
ตุลาคม 2519,
เหตุการณ์ พฤษภาคม 2535
ที่เป็นการนิรโทษกรรมแบบ “
เหมาเข่ง”
ที่ผู้ก่อความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองได้รับนิรโทษรรมไปด้วยเพราะประวัติศาสตร์บอกเราชัดเจนแล้วว่าตราบใดที่ผู้กระทำผิดไม่ถูกลงโทษ ก็จะมีความรุนแรงตามมาอย่าให้ประวัติศาสตร์สอนเราว่าเราไม่เคยเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์ต่อไปอีกเลย
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 26 กรกฎาคม 2556
หมายเหตุ ขอขอบคุณธนาพล อิ๋วสกุล ที่ช่วยเหลือในการตระเตรียมข้อคิดนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น