ที่มา
ประชาไท
ประเด็นถกเถียงกันไม่รู้จักจบสิ้นสำหรับสังคมไทยนับตั้งแต่ที่
มีการแบ่งขั้วแบ่งสีกันอย่างชั
ดเจนเช่นนี้ก็คือประเด็นที่ว่า "สื่อเลือกข้างได้หรือไม่" "สื่อต้องเป็นกลาง"ไม่สามารถเชี
ยร์หรือต่อต้านใคร หรือ "สื่อควรจะต้องได้รับการคุ้
มครองเป็นพิเศษกว่าคนธรรมดาหรื
อไม่"
ล่าสุดที่เป็นประเด็นขึ้นมาก็คื
อกรณีที่มีการลอบปองร้ายนักหนั
งสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์โดยมี
แถลงการณ์ร่วมจากสมาคมนักข่
าวฯให้รัฐคุ้มครองเป็นกรณีพิ
เศษโดยอ้างว่าได้รับการคุ
กคามจากผลของการทำหน้าที่ซึ่
งแท้จริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรื
อไม่ยังไม่มีใครทราบ เพราะบางกระแสก็บอกว่
าอาจจะมาจากเรื่องส่วนตัวก็ได้ ที่สำคัญหนักกว่านั้นก็คือบอกว่
าผู้สื่อข่าวคนนั้
นหมดสภาพความเป็นสื่อไปแล้วนั
บตั้งแต่ไปเป็น สนช.ของคณะรัฐประหาร 19 กันยา
ผมไม่ได้ร่ำเรียนมาทางนิ
เทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์
โดยตรง แต่จากประสบการณ์ที่ผมได้รั
บและได้พบเห็นมาผมเห็นว่า
1)ประเด็นสื่อเลือกข้างได้หรือไม่คำตอบของผมก็คือได้ เพราะสื่อก็คือปุถุ
ชนคนธรรมดาไม่ได้วิเศษวิ
โสมาจากจากไหน ย่อมมีรักโลภโกรธหลง มีรสนิยมหรืออุดมการณ์ทางการเมื
องของตนเอง จึงไม่แปลกอะไรที่สื่อจะเลือกข้
าง แต่สิ่งที่ผมจะเน้นก็คือว่าแม้
ว่าสื่อจะเลือกข้างได้ แต่ข่าวต้องเป็นข่าว ข้อเท็จจริงต้องเป็นข้อเท็จจริง โดยไม่ใส่ความเห็นของตนเองหรื
อสำนักข่าวของตนลงไปไม่ว่าจะเป็
นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ ในต่างประเทศ เช่น ในอเมริกาเวลาจะมีการเลือกตั้
งสื่อสำคัญๆ เช่น วอชิงตันโพสต์ นิวยอร์กไทม์ หรือฟ็อกซ์นิวส์ที่เชียร์รีพั
บลิกันอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ฯลฯ ต่างประกาศตัวชัดเจนว่าตนเองสนั
บสนุนใครหรือเชียร์ใคร แต่ตัวเนื้อข่าวกับความเห็
นในคอลัมน์ต่างๆนั้นแยกกันชั
ดเจนว่าอันไหนเป็นข้อเท็จจริง อันไหนเป็นความเห็น ซึ่งต่างจากของพี่ไทยเราไม่รู้
ว่าว่าอันไหนเป็นเนื้อข่าวอั
นไหนเป็นความเห็น มั่วกันไปหมด ที่สุดๆก็คือพาดหัวข่าวใส่
อารมณ์เอียงข้างกันอย่างเต็มที่ ซึ่งนี่ยังไม่นับการ "เต้าข่าว"ซึ่งเป็นสิ่งที่เลวร้
ายมากแต่ก็มีให้เห็นอยู่เป็
นประจำ
2)สื่อต้องเป็นกลางหรือไม่คำตอบของประเด็นนี้ก็คล้ายๆกั
บประเด็นแรกว่าข่าวต้องเป็นข่าว ข้อเท็จจริงก็ต้องเป็นข้อเท็
จจริง ความเห็นก็เป็นส่วนความเห็น ซึ่งหากถามผม ผมก็ก็จะตอบได้ว่าไม่มี
ใครในโลกนี้หรอกที่เป็นกลางร้
อยเปอร์เซ็นต์ ต่อให้อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ แต่ขอให้เอียงน้อยหน่อยและอยู่
ในกรอบของจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3)สื่อต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษกว่าวิชาชีพอื่นหรือไม่คำตอบก็คือไม่ว่าอาชีพไหนๆต้
องได้รับการคุ้มครองจากรัฐ แต่จะมากน้อยหรือแตกต่างกันแค่
ไหนก็ต้องแล้วเหตุปัจจัยว่าเป็
นภัยอันตรายไกล้ถึงตัวหรือไม่ ถูกขู่อาฆาตและคุกคามว่าจะทำร้
ายให้ถึงแก่ชีวิตของตนเองหรื
อญาติมิตรหรือไม่ ฯลฯ หากไม่อยู่ในข่ายต่างๆเหล่านี้
สื่อก็ต้องได้รับการคุ้มครองเท่
าเทียมกับประชาชนทั่วไปที่พึ
งจะได้รับจากรัฐ ซึ่งจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กั
บประสิทธิภาพของหน่วยงานของรั
ฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในรัฐที่
ปกครองด้วยกฎหมายอย่างเท่าเที
ยมกัน เว้นเสียแต่ว่ารัฐนั้นสูญเสี
ยความเป็นนิติรัฐไปเป็นรัฐเผด็
จการหรือรัฐที่ล้มเหลว(failed state)ไปแล้ว
ในสังคมไทยเรานี้มีวงจรอุบาทว์
เกี่ยวกับวงการสื่อกับเจ้าหน้
าที่ของรัฐที่เล่าขานกันอย่างหั
วเราะไม่ออก จะร่ำไห้ก็ไม่ได้ แต่ก็เป็นความจริงก็คือวงจรที่
ว่า "ผู้
ร้ายกล้วตำรวจ ตำรวจกลัวผู้สื่อข่าว ผู้สื่อข่าวกลัวผู้ร้าย"
ในทำนองไก่เห็นนมงู งูเห็นนมไก่นั่นเอง เพราะต่างฝ่ายต่างหรือมีจุดอ่
อนที่สามารถถูกโจมตีได้ แต่ใครจะกลัวใครด้วยเหตุใดนั้
นคงไม่ต้องอธิบายลึ
กลงไปในรายละเอียดก็คงมองเห็
นภาพกันได้
กล่าวโดยสรุปก็คือว่าสื่อเลือกข้างได้ สื่อไม่จำเป็นต้องเป็นกลางแต่ขอให้อยู่ในกรอบของจรรยาบรรณของวิชาชีพ และสื่อก็อยู่ในสถานะเดียวกับประชาชนทั่วๆไปที่จะได้รับการคุ้มครองจากรัฐในฐานะผู้เสียภาษีอากรเหมือนกันหมายเหตุผู้เขียน
1)เขียนถึงเรื่อง "สื่อ"แล้วผมก็ขอเชิญชวน "สื่อ"และผู้ที่สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานแถลงข่าวการประกวด "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2556(Media Awards 2013)" และเวทีเสวนา "สื่อ: เสรีภาพ ความรับผิดชอบ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม(Freedom,Responsibility and Social Change)"ในวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2556 เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย(FCCT) อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ชั้นเพนท์เฮ้าส์(เชื่อมกับบีทีเอส สถานีชิดลม) จัดโดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ครับ
2)เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 21สิงหาคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น