แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วีรพัฒน์ ปรียวงศ์ : ได้เวลาปฏิรูป ‘เวทีปฎิรูป’

ที่มา มติชน

http://www.matichon.co.th/online/2013/08/13754894401375489530l.jpg


ทันทีที่ นายกรัฐมนตรี′ เสนอเปิด เวทีระดมความคิดเห็น′ เชิญตัวแทนกลุ่มบุคคลที่หลากหลายมาร่วมเวทีกำหนดทิศทางการปฏิรูปการเมือง โดยร่วมมือร่วมใจกันอย่างสร้างสรรค์ และไว้เนื้อเชื่อใจกัน 

เกิดคำถามตามมาว่า เวทีเช่นนี้จำเป็นและมีประโยชน์หรือไม่ ?

คำ ถามนี้จะถูกตอบได้ก็ด้วยผลงานของเวทีนี้เอง ดังนั้น แทนที่เพียงจะตั้งคำถาม ผมจึงขอเสนอความเห็นเบื้องต้นก่อนจะลงมือลงแรงกัน ดังนี้

1. ไม่เชื่อใจกันทีหลังยังทัน

ความไว้เนื้อเชื่อใจถือเป็นกุญแจสำคัญ แม้เวทีจะยังไม่ทันเริ่ม ก็อาจมีบางฝ่ายออกตัวคัดค้านล่วงหน้าว่าจะไม่เข้าร่วม โดยอ้างว่าเวทีดังกล่าวถูกควบคุมหรือชักนำโดยรัฐบาล ผมเสนอว่าหากรัฐบาลมีความจริงใจ ก็อาจเป็นฝ่ายริเริ่มเสนอต่อสังคมว่า เวทีดังกล่าวไม่มีกติกาตายตัว แต่จะให้ผู้ร่วมเวทีช่วยกันออกแบบวิธีการพูดคุยกัน โดยรัฐบาลเป็นฝ่ายอำนวยความสะดวก เพื่อให้เกิดความสบายใจและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย  

2. เสริมได้แต่ไม่ซ้ำ

เวที ดังกล่าวไม่ควรถูกคาดหวังให้ทำหน้าที่ทดแทนกลไกการปฏิรูปต่างๆ ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะกลไกทางรัฐสภา แต่เวทีดังกล่าวควรเป็นกลไกที่เสริมและกระตุ้นกลไกอื่นที่มีอยู่แล้ว โดยอาศัยข้อดี คือ ความหลากหลาย และความยืดหยุ่น ทั้งนี้ ผมเสนอให้นำประสบการณ์ ความเห็น หรือข้อสรุปจากโครงการประชาเสวนาตลอดจนองค์กรเชิงปฏิรูปชุดอื่นๆ ที่เคยมีมาในอดีตและปัจจุบัน เช่นคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ที่ถูกตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)  คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) สภาพัฒนาการเมือง รวมทั้งองค์กรปฏิรูปที่ยังไม่ได้ตั้ง เช่น คณะกรรมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 81 (4) มาประกอบหรือต่อยอดในเวทีนี้ด้วย ก็น่าจะเป็นประโยชน์และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ

3. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งอยากฟัง

นอก จากรัฐบาลจะเชิญกลุ่มต่าง ๆ ตามที่ได้แถลงไปแล้วนั้น รัฐบาลอาจพิจารณาเชิญกลุ่มอดีตผู้พิพากษาตุลาการ และอดีตผู้นำเหล่าทัพที่เกษียณอายุราชการและไม่ต้องเกรงใจองค์กรตนอีกต่อไป ให้มาร่วมเวทีพูดคุยด้วย ทั้งนี้ ศาลและกองทัพเป็นฝ่ายที่มีบทบาทและอำนาจใน การเปลี่ยนแปลงการเมืองมาก แต่ประชาชนกลับเข้าถึงได้ยาก จะมีก็แต่เฉพาะอดีตประธานศาล หรือ ผู้บัญชาการทหารบางท่าน ที่สื่อสารกับสังคมมากเป็นพิเศษ แต่โดยรวมแล้ว ประชาชนยังถูกจำกัดโอกาสในการพูดคุยและทวงถามคำตอบจากศาลและกองทัพ ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ในศาลและกองทัพก็อาจถูกวัฒนธรรมองค์กรจำกัดโอกาสที่จะแสดงความเห็นของตนเองโดยอิสระเช่นกัน

4. สื่อและแขกมีปัญหาพอกัน

รัฐบาล ควรร่วมมือกับสื่อมวลชนที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนเวทีดังกล่าว ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ เช่น การถ่ายทอดสดและบันทึกกิจกรรมที่ประชาชนรับชมย้อนหลังได้ และอาจใช้เทคโนโลยีเพิ่มช่องทางมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วถึงมากขึ้น ที่สำคัญ สื่อมวลชนควรเพิ่มพื้นที่พูดคุยถกเถียงกัน มากกว่าที่จะกันวงสนทนาเฉพาะของฝ่ายตน เห็นได้จากสภาพปัจจุบัน ที่รัฐบาลพูดช่องทางหนึ่ง ฝ่ายค้านพูดช่องทางหนึ่ง ประชาชนแต่ละสี ก็รับฟังเฉพาะช่องทางของตน แต่กลับมีน้อยครั้งที่จะได้พูดคุยพร้อมกัน หรือรับฟังความเห็นที่ต่างกัน ในขณะเดียวกัน รัฐบาล ฝ่ายค้าน ผู้มีอำนาจ และแกนนำภาคประชาชน ก็ต้องพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการซักถามอย่างอดกลั้นและจริงใจ มากไปกว่าการสนทนาและเออออกับพิธีกรรู้ใจในรูปแบบที่ซ้ำซากไปมาดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น