แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คลิป: เสวนา มาตรา7 ทางออกวิกฤตสังคมไทย หรือไม่?

ที่มา Thai E-News



Published on Dec 6, 2013
เสวนา มาตรา7 ทางออกวิกฤตสังคมไทย หรือไม่?
โดย วิรพัฒน์ ปริยวงค์ อ.คณิน บุญสุวรรณ ดร.กระมล ทองธรรมชาติ และ รศ.ยุทธพร อิสระชัย
ดำเนินรายการโดย จอม เพชรประดับ ณ ห้อง วีนัส ชั้น 3 รร.มิราเคิลแกรนด์ หลักสี่ กรุงเทพฯ
วันศุกร์ ที่ 6 ธันวาคม 2556 ถ่ายทอดทางช่อง NBT

ooo
เรื่องเกี่ยวข้อว เพิ่มเติม: มติชน - ชำแหละมาตรา7 แก้วิกฤตได้จริงหรือ?

ชำแหละมาตรา7 แก้วิกฤตได้จริงหรือ?
หมายเหตุ - สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย และเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสันติ จัดเสวนา "มาตรา 7 ทางออกวิกฤตสังคมไทย หรือไม่?" เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ มีรายละเอียดดังนี้
ศ.ดร.กระมล ทองธรรมชาติ
อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ


สภาประชาชน ไปพ้องกับคอมมิวนิสต์ของจีน สำหรับประเทศไทยเป็นคำใหม่มากเเละไม่รู้ว่าอำนาจหน้าที่เป็นอย่างไร จะคล้ายของจีนหรือไม่หรือเป็นแบบเฉพาะของไทย ยังไม่รู้เเละไม่ทราบว่าจะมีขึ้นมาได้อย่างไร

เรื่องมาตรา 7 นั้นได้ยินบ่อยในอดีต เเต่ไม่เห็นได้เอามาใช้เลย เพราะค่อนข้างจะผิดรัฐธรรมนูญ เเละไม่รู้จะใช้อย่างไรให้ได้ผลเพราะรัฐธรรมนูญระบุชัดว่า มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข กว้างมาก เเละไม่เคยมีคำวินิจฉัยที่ยึดถือประเพณีได้ มีผู้พยายามเสนอให้มีนายกฯมาตรา 7 จริงๆ เเล้ว ตั้งไม่ได้ เเล้วใครจะเป็นคนตั้ง

ทางออก เราต้องคุยกันว่าจะเเก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีอยู่อย่างไร ซึ่งจะต้องเเก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เเละร่างใหม่เพื่อเเก้ปัญหาที่มีอยู่ตอนนี้ เพราะการยุบสภาไม่มีประโยชน์ ยุบตอนนี้ก็เหมือนเดิมเเละคิดว่ารัฐบาลชุดนี้ก็กลับมาเป็นใหม่ เพราะฉะนั้นเเก้รัฐธรรมนูญก่อนดีกว่า เเล้วค่อยยุบสภาต่อไป
รศ.ยุทธพร อิสรชัย
คณบดีรัฐศาสตร์ มสธ.

เรื่องมาตรา 7 สังคมกำลังสับสนว่าเป็นการขอนายกฯพระราชทาน เเท้จริงไม่ใช่ มาตรา 7 ถูกออกเเบบเอาไว้เป็นกลไกเพื่ออุดช่องว่างของรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีทางจะเขียนรัฐธรรมนูญได้ครอบคลุมทุกเรื่องทุกอย่างในพฤติกรรมของ มนุษย์ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อใดก็ตามรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่ไม่สามารถอธิบายได้ ก็ขอให้ใช้มาตรา 7 ระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไป เเละยังระบุด้วยว่าผู้มีอำนาจวินิจฉัยก็คือองค์กร เป็นผู้ใช้อำนาจในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่ว่าผู้ใดก็สามารถวินิจฉัยตามมาตรา 7 ได้ เพราะฉะนั้นตอนนี้ใช้มาตรา 7 ยังไม่ได้ เพราะบทบัญญัติต่างๆ ยังสามารถเคลื่อนตัวไปตามรัฐธรรมนูญได้ รัฐบาล รัฐสภาก็ยังสามารถทำหน้าที่ได้

ถ้าหากฟังตามข้อเสนอของ กปปส. หมายความว่านั่นต้องอยู่บนเงื่อนไขของยุบสภาก่อน เเละนายกฯก็ต้องลาออกจากการรักษาการ เเละเกิดปัญหาสุญญากาศทางการเมือง อย่างนั้นถึงจะสามารถใช้มาตรา 7 ได้ ต้องถามกลับไปว่า ยุบสภาจะเป็นทางออกหรือไม่
1.โดยทั่วไปการยุบสภาจะเกิดขึ้นในภาวะที่ฝ่ายบริหารมีความขัดเเย้งกับฝ่ายนิติบัญญัติ วันนี้ความขัดเเย้งในทางสภายังไม่มี

2.ถามว่ายุบเเล้วสามารถเเก้ปัญหาได้หรือไม่ ถ้าเเก้ตอนที่ยังมีคนขัดเเย้งกันอยู่ ท้ายสุดเเล้วความขัดเเย้งจะถูกส่งลงไปยังพื้นที่ของคนสองกลุ่มเเละอาจเกิด การปะทะกันในระหว่างกระบวนการหาเสียงเลือกตั้ง

สภาประชาชนถ้าจะมีได้ต้องดูว่า วันนี้กระบวนการขับเคลื่อนในทางการเมืองเดินต่อได้หรือไม่ ตอบว่าได้ ทำให้ภาวะที่ต้องมีสภาพิเศษนั้นยังไม่ถึงขั้นต้องมี

ต่อมาการบอกว่ารัฐสภาวันนี้มีปัญหา คุณต้องตอบให้ได้ว่าเเล้วสภาประชาชนดีกว่าอย่างไร

ทั้งนี้ การเเต่งตั้งเเละเลือกตั้งล้วนเกิดกระบวนการอุปถัมภ์ได้ทั้งนั้น ปัญหาสำคัญคือว่าระบบอุปถัมภ์ยังไม่ได้เอาออกจากสังคมไทย

เเละถ้าบอกว่าตั้งสภาประชาชน โดยอ้างมาตรา 3 เเต่มาตรา 3 บอกว่า อำนาจดังกล่าวต้องผ่านองค์กรผู้ใช้อำนาจ สรุปคือ จะต้องไม่เอาประชาธิปไตยทางตรงไปทำลายประชาธิปไตยตัวเเทน เเต่ต้องมาเพิ่มเติม คือหมายถึงเอามวลชนาธิปไตยมาล้มล้างไม่ได้

อย่างสภาสนามม้า ในอดีตก็ไม่เหมือนเเต่อาจใกล้เคียงเพราะเเต่งตั้งมาจากหลายอาชีพ เเละเลือกเข้ามานั่งด้วยกัน เเต่สังคมตอนนี้ซับซ้อนเกินว่านั้นเเล้ว ไม่ได้มีอาชีพเเค่นั้น มีอาชีพอิสระมากมาย เเล้วถามว่าจะมีโอกาสได้เข้าไปนั่งในสภาประชาชนไหม ในเรื่องความชัดเจน บทบาทหน้าที่ ความเป็นตัวเเทนประชาชนจะเกิดขึ้นได้อย่างไรใครจะเข้ามานั่งในสภา เเละจุดจบคืออะไร

ทั้งนี้ ในเชิงกฎหมาย รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด เเละบทบัญญัติสภาประชาชนยังไม่มี หาก นปช.บอกว่าอยากมีสภาประชาชนบ้าง เเล้วเราจะฟังสภาประชาชนของใคร

การเจรจาพูดคุยยังเป็นทางออกที่สำคัญ อาจจะเป็นการเลือกตัวเเทนของเเต่ละฝ่ายขึ้นมาพูดคุย หรือเทคนิควิธีอื่นๆ เเทนพูดกันระหว่างผู้ขัดเเย้งโดยตรง เเต่ถ้าพูดคุยไม่รู้เรื่องอีก ก็ให้เรื่องของการเเก้รัฐธรรมนูญเป็นทางออก มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ตามหลักประชาธิปไตยเเบบมีส่วนร่วม เป็น ส.ส.ร.ที่มีหน้าที่สื่อสาร มีเครือข่ายตัวเเทนในเเต่ละจังหวัด

อยากเเนะถึงนายกรัฐมนตรีให้เปิดเวทีไปสู่พื้นที่ต่างๆ รับฟังความคิดเห็น เเละเก็บความคิดเห็นเหล่านั้นมาสู่สภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นตัวกำหนดเเนว ทางของสังคม ก่อนทำประชาพิจารณ์จากประชาชน ต้องร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากความไว้วางใจจากประชาชนขึ้นมา การทำเวทีประชาพิจารณ์ หลังจากมี ส.ส.ร.จะเป็นการเปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็นครั้งประวัติศาสตร์ 
คณิน บุญสุวรรณ
นักวิชาการอิสระ ส.ส.ร.40

สำหรับคำว่าสภาประชาชน มองได้สองมิติ หนึ่งคือสภาผู้แทนราษฎร หลายประเทศเรียกว่าสภาประชาชน แต่ในอีกมิติหนึ่งคือ ตามที่มีผู้ที่เสนอสภาประชาชนมา แล้วไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ถ้าจะให้มีบทบัญญัติ ตามที่ตั้งชื่อว่า คณะกรรมการเปลี่ยนแปลงประเทศ คือชัดว่าเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ก็ต้องล้มรัฐธรรมนูญก่อน

ปัญหาวันนี้ การที่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่มา ส.ว. กลายเป็นวิกฤต ลามมาจนปัจจุบัน เพราะ ส.ว.สรรหา ที่ไม่ได้มาจากการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง ต้องการคงอำนาจของตน ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า การแก้ไขที่มา ส.ว. เป็นการขัด และล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ เป็นที่มาของการชุมนุมและต่อต้านทุกวันนี้

ถ้าให้มีสภาประชาชน ที่มาจากการแต่งตั้ง ก็ต้องเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะฉะนั้นการเสนอให้ตั้งสภาประชาชน มองไกลไปหรือเปล่า จะเกิดขึ้นได้หลังจากที่ได้ล้มรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว ถ้าไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ต้องมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ ข้อเสนอสภาประชาชน นอกจากนอกเหนือรัฐธรรมนูญแล้ว ยังถูกมองว่าท่านยึดอำนาจประเทศไปแล้วหรือเปล่า ล้มอำนาจรัฐธรรมนูญ เสนอตั้งนายกฯมาตรา 7 ยิ่งแล้วไปใหญ่ ไม่ได้เข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเลย

ในทางกฎหมายเป็นความพยายาม ขณะที่วิธีการคือ ยึดสถานที่ราชการ แถลงจุดยืนต่างๆ หมายความว่านึกเอาเองว่ายึดอำนาจแล้ว แต่นี่คือขั้นตอนของการพยายามยึดอำนาจ ถ้าความพยายามนี้ไม่สำเร็จแสดงว่าเป็นกบฏ ถ้าสำเร็จคือรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิก จะยึดอำนาจต้องล้มรัฐธรรมนูญก่อน เพราะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

ยังไงถ้านายกฯยุบสภาลาออก ก็มีขั้นตอน ทุกสิ่งมีบทบัญญัติรองรับอยู่แล้ว แต่ข้อเรียกร้องอยู่นอกเหนือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

การบอกว่ามวลมหาประชาชน คือคำเดียวกับปวงชนชาวไทย ต้องไม่ได้หมายความว่าคนล้านสองล้าน ต้องหมายถึงหกสิบกว่าล้าน ถ้ามวลมหาประชาชนต้องการเปลี่ยนแปลงยังไงก็ต้องกลับไปยังรัฐสภา ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินไปตามกระบวนการที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ทราบกันดีว่าเป็นของกลุ่มรัฐประหาร เขียนเพื่อเอาเปรียบฝ่ายตรงข้าม ดึงเอาศาลเข้ามา เอาเปรียบทางการเมือง ประชาชนที่ถูกเอาเปรียบตลอดมา ก็อดทน เลือกตั้งใหม่ก็เลือก อยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แม้กระทั่งการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน ในขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังคงมีความชอบธรรมสูงสุดอยู่แล้ว

มาตรา 7 ไม่ใช่ทางออก นำไปสู่ทางตัน โดยเมื่อสะท้อนว่าเป็นเจตจำนงของคนที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลอย่างหลากหลายรูป แบบ มาตรา 7 เมื่อจุดประเด็นแล้ว ประชาชนจะสับสนต้องพูดชัดเจนเลยว่าเป็นไปไม่ได้

การอ้างว่าเคยมีในอดีต ในอดีตไม่เคยมี มาตรา 7 เพิ่งมีในรัฐธรรมนูญ 2540 อ้างสมัยตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกฯ ในพระบรมราชโองการ ระบุว่าจอมพลถนอมลาออกจากตำแหน่ง และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ สมควรเป็นนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งธรรมนูญปกครอง 2515 เป็นกฎหมายสูงสุดขณะนั้นการอ้างว่าเป็นนายกฯพระราชทานนั้นไม่ใช่ ชอบอ้างว่าเป็นนายกฯพระราชทาน นี่เป็นการกระทำเข้าข่ายรบกวนเบื้องพระยุคลบาท

วันนี้ในเมื่ออยากหาทางออก ต้องขอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ที่ขอแก้กันมาแล้วไม่ยอม ขอร้องให้ท่านยินยอมให้รัฐสภาสามารถลงมติวาระสาม ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ค้างอยู่ แล้วหลังจากนั้นมาตกลงกันว่าถ้ามีการผ่านวาระสามไปแล้ว มีการตั้ง ส.ส.ร. โดยให้ประชาชนเลือกตั้ง รัฐสภามีหน้าที่ตั้งกฎหมาย หลังจากนั้นตกลงกันว่านายกฯยุบสภา และการยุบสภาต้องไม่ไปผูกพันกับการร่างรัฐธรรมนูญ

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักวิชาการอิสระ

คำว่า มาตรา 7 หรือสภาประชาชน คนที่อยู่เบื้องหลังคือนักวิชาการ ตอนนี้กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักวิชาการ ถือตัวเองเป็นอภิสิทธิ์ชน นี่แหละคือองค์ประกอบของสิ่งที่เรียกว่าอำนาจมืด เป็นประชาชนคนธรรมดาที่หลบอยู่ในที่มืด ออกมาแสดงความเห็น ไม่กล้าพูดตรงๆ ว่าต้องการอะไร มีอยู่ในทุกวงการ

ถ้าคุณอ้างได้ว่าวันนี้บ้านเมืองมีปัญหา นายกฯต้องยอมลาออก แล้วมีการพระราชทานนายกฯ ถ้ามาตรา 7 ถูกเอามาใช้ง่ายๆ แล้วถ้ารัฐบาลเอาบ้าง วันนี้การเมืองวุ่นวาย เพราะฝ่ายค้านไม่ทำหน้าที่ ขอเชิญอภิสิทธิ์ลาออก แล้วขอผู้นำฝ่ายค้านจากมาตรา 7 ศาลรัฐธรรมนูญตีความพิสดาร ขอให้ลาออก แล้วขอศาลรัฐธรรมนูญพระราชทานตามมาตรา 7 เป็นไปไม่ได้

ระบบกติกาบ้านเมืองมีอยู่ในรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของเด็กเล็กเอาแต่ใจ

คนที่เรียกตัวเองว่านักวิชาการ หรืออำนาจมืด ไม่รู้จะหาทางใดมาสู้กับรัฐบาล ขณะนี้คือการกลายพันธุ์ของเชื้อรัฐประหารหลัง 2475 ยึดอำนาจกันในกองทัพ 2549 พัฒนาขึ้นหน่อย ยึดอำนาจแต่รีบคืนอำนาจให้ประชาชน แต่แฝงอำนาจไว้ในองค์กรอิสระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น