updated: 07 ธ.ค. 2556 เวลา 18:00:07 น.
การเมืองช่วงปลายเดือน พ.ย.ต่อเนื่อง
ธ.ค.ลุกเป็นไฟ มีคนบาดเจ็บล้มตายจากคำว่า "ประชาธิปไตย" อีกคำรบ
จนวันนี้การเมืองยังหาทางออกจากความขัดแย้งไม่เจอ
"ประชาชาติธุรกิจ" จึงขอให้ "โคทม อารียา" นักสันติวิธี แห่ง ม.มหิดล ช่วยหาทางออกจากวิกฤตครั้งนี้
ทางออกจากความขัดแย้งในมุมมองของ "โคทม" ติดตามได้ในบรรทัดถัดไป
"ประชาชาติธุรกิจ" จึงขอให้ "โคทม อารียา" นักสันติวิธี แห่ง ม.มหิดล ช่วยหาทางออกจากวิกฤตครั้งนี้
ทางออกจากความขัดแย้งในมุมมองของ "โคทม" ติดตามได้ในบรรทัดถัดไป
- สถานการณ์วิกฤตขณะนี้มีทางออกหรือไม่
ขึ้น อยู่กับภาคีความขัดแย้งหลัก ขณะนี้มีอยู่ 4 ภาคี ฝ่ายรัฐบาล นปช. พรรคประชาธิปัตย์ กปปส.จะมีทางออกหรือไม่ขึ้นอยู่กับ 4 ภาคีนี้ ถ้าเขาอยากหาทางออกร่วมกัน หาอะไรที่เป็นความเห็นพ้อง เขาก็ทำได้ แต่ถ้าเขาอยากได้ชัยชนะเด็ดขาด อันนี้ยาก เพราะอย่าลืมว่าแต่ละฝ่ายก็มีพลัง แต่ละฝ่ายก็มีอำเภอใจเป็นของตัวเอง มันต้องขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนมุมมองของ 4 ภาคี จากต่อสู้ให้ได้ชัยชนะเด็ดขาด มาเป็นร่วมกันหาทางออกให้แก่สังคมการเมือง
- ทั้ง 4 ภาคีต้องเปลี่ยนตัวเองอย่างไร
ไม่ ต้องเปลี่ยนความเชื่ออะไรทั้งสิ้น ยกเว้นความเชื่อเดียว คือมันมีทางที่จะไปสู่เป้าหมายของเขาได้โดยไม่จำเป็นต้องไปเอาชนะอีกฝ่าย หนึ่ง ก็ชักเย่อกันมา 8 ปี ก็อยู่ด้วยกันทั้งที่ไม่เปลี่ยนนี่แหละ แต่หากติกาที่จะอยู่ร่วมกัน
- แนวทางการหากติกาจะเกิดขึ้นอย่างไร
ก็ต้องคุยกันทั้ง 4 ภาคี แล้วคุยกันระดับสังคม คุยกันระดับนักวิชาการที่มีองค์ความรู้ และฝ่ายการเมืองสามวงใหญ่ ๆ
- แต่วันนี้พอภาคีใดภาคีหนึ่งพูดออกมา อีกภาคีหนึ่งก็ไม่ยอมรับกันแล้ว
ไม่ ทราบ เราก็ต้องพยายาม ผมเพียงแต่หวังว่าข้อเสนอมีเหตุผล เสนอซ้ำแล้วซ้ำอีก ถ้าสังคมขานรับบ้าง ถ้าเขายังไม่ฟัง เราก็เสนออีก ก็จะขอร้องให้เขาเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนวิธีการบรรลุเป้าหมายที่ไปด้วยกันได้
- กปปส.เสนอแบบสุดขั้ว แต่รัฐบาลยึดหลักการแบบเป๊ะ ๆ แล้วจะจบกันอย่างไร
ผม เองก็ยึดหลักการแบบเป๊ะ ๆ อันนี้เหมือนกัน รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุด และในนั้นผมเชื่อว่ายังมีพื้นที่พอที่จะเดินไปข้างหน้าได้ โดยอาศัยกลไกประชาธิปไตยตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นทางตัน
เรา แก้ปัญหาได้ ไม่ใช่ว่าเราเลิกเชื่อในประชาธิปไตย กปปส.ก็พูดประชาธิปไตยสมบูรณ์ นปช.ก็พูดประชาธิปไตย รัฐบาลก็พูดประชาธิปไตย แล้วเราจะโยนประชาธิปไตยทิ้งไปทำไม ประชาธิปไตยแก้ปัญหาได้
- ที่เถียงกันคือประชาธิปไตยของใครของมัน
ก็ ไม่เป็นไร แต่เรายึดหลักการใหญ่ไว้สิ ประชาธิปไตยคือประชาชนเป็นผู้กำหนด มีวิธีถามประชาชนเยอะแยะ แล้วประชาชนจะพยายามตอบมา คุณก็จะได้คำตอบที่เดินไปข้างหน้า นี่คือประชาธิปไตย แต่ถ้าคุณไปกำหนดว่าประชาธิปไตยต้องเป็นของฉัน มันก็ไปไม่ได้ อย่าไปบอกว่าฉันพกประชาธิปไตย คนอื่นไม่พก..มันก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยแล้ว
- มองว่าข้อเสนอ กปปส.เป็นประชาธิปไตยไหม
เขา จะต้องเอาความคิดนี้มาเสนอประชาชน ประชาชนเห็นคล้อยตาม ก็จะเป็นกติกาใหม่ รัฐธรรมนูญใหม่ พอถึงตรงนั้น เราก็เอาความคิดนั้นไปใช้ แต่มันต้องฟังเสียงหลาย ๆ ฝ่าย
- สุดท้าย กปปส.ต้องถอยไหม
จะ ว่าถอย เดี๋ยวเขาก็จะปฏิเสธ แต่ กปปส.ต้องกลับมาเข้าลู่ ลู่ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ถ้าเข้าลู่นี้มีอะไรทำได้ก็คุยกัน จะแก้รัฐธรรมนูญไหม มีความคิดยังไงก็ต้องเอาความคิดมาเสนอประชาชนส่วนใหญ่ แต่ขณะนี้เขาเสนอยังอยู่นอกลู่ ยังไม่เห็นว่าเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญได้อย่างไร
- กปปส.ต้องกลับมาในลู่แล้วค่อยเสนอทางปฏิรูปที่ถูกต้อง
ใช่ครับ
- การเจรจาที่ถูกต้องในมุมมองของอาจารย์ สามารถลดความขัดแย้งเป็นแบบไหน
4 ภาคีหลักก็คุยกันไป วิชาการก็คุยกันไปเป็นองค์ความรู้ สังคมก็เรียนรู้เกิดความเห็นแจ้งกระจ่างก็จะสนับสนุนข้อวิเคราะห์ของนักการ เมืองที่มีเหตุผล เราก็จะใช้สิ่งเหล่านี้ไปบอกกับนักการเมือง นักการเมืองวิเคราะห์ดูแล้วว่าเป็นกติกาเดินหน้าด้วยกันได้สังคมก็เคลื่อน
- แต่การปฏิรูปส่วนใหญ่ ฝ่ายการเมืองมักบอกว่าควรปฏิรูปการเมืองก่อน
ก็ เป็นประชาธิปไตยที่จำกัดวง ผู้นำตัดสินผู้ตามเชื่อฟัง ซึ่งเราพยายามเปลี่ยนไปเป็นการทำร่วมกัน ผู้นำก็มีส่วนชี้นำ ฝ่ายวิชาการก็มีส่วนศึกษาเรียนรู้ ฝ่ายสังคมก็มีส่วนแสดงออกอย่างใฝ่รู้ แต่ถ้าคุณบอกว่าให้ผู้นำทางการเมืองตัดสินใจไปเลย คนอื่นก็ยอมตาม มันก็เป็นโมเดลหนึ่ง ไม่ได้ว่าอะไร แต่ปัญหาขณะนี้คือฝ่ายผู้นำขัดแย้งทางการเมืองกันเองหนัก ไม่ได้เอาเหตุผลหลักการเข้าไปเท่าไหร่นัก จะให้ผู้นำ 4 ฝ่ายนำไปเลย เขาจะเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ที่จะนำ ผู้นำต้องเปลี่ยนมาเป็นผู้ตาม ต้องฟังนักวิชาการ ฟังประชาชน แต่ถ้านำไปโลด ไม่นำพาเหตุผล ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ต่าง ๆก็ไปไหนไม่รู้ เพราะขาดการเรียนรู้ในมุมกว้าง หรือบอกเฮ้ย...เอาประโยชน์ของผู้นำ ประโยชน์ของผู้ตามก็ได้บ้าง กระท่อนกระแท่น อันนี้ก็...เป็นผู้นำที่ประหลาดนะ
- ทางออกที่อาจารย์เสนอเทียบเคียงกับต่างประเทศได้บ้างไหม
ความ ขัดแย้งของเรายืดเยื้อมานาน เราได้ทดลงวิธีการต่าง ๆ มาจวนจะหมดกระบวนท่าแล้ว ทั้งรุนแรง และไม่รุนแรง ทั้งฉีกรัฐธรรมนูญและเขียนรัฐธรรมนูญ ได้ทดลองจนถึงจุดที่เอ๊ะ...เราจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ถ้ามาถึงจุดนี้ ผมคิดว่ามีโอกาสที่เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ยกตัวอย่างเขมรที่ลงลึกถึงขนาดเป็นโศกนาฏกรรมระดับโลก ในที่สุดก็ตกลง สหประชาชาติเข้ามาจัดการเลือกตั้ง ตั้งรัฐบาลผสม เขาเขียนรัฐธรรมนูญเลยว่ารัฐบาลต้องใช้เสียง 2 ใน 3
แอฟริกาใต้ก็ เหมือนกัน พอพ้นวิกฤตปุ๊บ ไม่เอาเสียงข้างมากธรรมดา บังคับให้คู่ขัดแย้งต้องประนีประนอมและปกครองร่วมกันสักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นค่อยว่ากัน หมายความว่าเขาไม่เอาลักษณะเสียงข้างมากกำชัยเด็ดขาด เสียงข้างมากต้องฟังเสียงข้างน้อย ถ้าเราไม่อยากให้การเมืองเป็นเสียงข้างมากกำชัย ก็ต้องหันมาใช้ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเสียงข้างน้อยมีปากมีเสียงได้
อาจเห็นว่าการเด็ด ขาดพรรคเดียวมันอาจไม่ไหวแล้วนะ เพราะจำนวนที่นั่งในสภาไม่เคยสะท้อนจำนวนคะแนนนิยมทั้งประเทศ ครั้งหนึ่งพรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์ คะแนนนิยมทั้งประเทศต่างกันนิดเดียว แต่จำนวน ส.ส.ต่างกันเยอะ แต่ถ้าเอาระบบสัดส่วนโดยจำนวนที่นั่งในสภาต้องเป็นสัดส่วนกับคะแนนนิยมของ ประชาชน เพราะฉะนั้น ยอมรับที่มีรัฐบาลผสมจะดีกว่าไหม แต่ต้องเป็นรัฐบาลผสมที่พรรคเล็กบอกว่าบางเรื่องฉันไม่เอาด้วย
- จำเป็นไหมจะต้องมีรัฐบาลแห่งชาติ
มี ก็ได้ไม่มีก็ได้ ไม่ได้พิเศษอะไรหรอก ก็มาจากการเลือกตั้งปกติ อย่างเยอรมันเขามีพรรคใหญ่ 2 พรรคที่เคยขับเคี่ยวกันมาตลอด คือพรรคคริสเตียนเดโมแครตกับโซเชียลเดโมแครต ตอนนี้พรรคใหญ่เขาจับมือกันเพื่อให้ได้เสียงพอ แต่กว่าจะตกลงเขาเถียงกันมากว่าจะมีนโยบายอย่างไร
ไม่ต้องถึงกับ รัฐบาลแห่งชาติก็ได้ หรือพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยไปรักใคร่ปรองดองกันทั้งหมดแล้วออกมา ตกลงกันว่าคุณมีนโยบายอย่างนี้ บางข้อผมรับไม่ได้ คุณตัดไปก่อนได้ไหม บางข้อรับได้ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ก็เอามาเขียนชัดเจนว่านี่คือลายแทงการบริหารราชการแผ่นดินในช่วงที่เราอยู่ ร่วมกัน
- สิ่งสำคัญที่จะลดความขัดแย้งทางการเมืองได้ต้องยอมรับความเห็นฝ่ายตรงข้าม
ฟังสิ ฟัง เขามีส่วนดีอะไร เราก็เอามาคิด ส่วนไม่ถูกต้องก็ไม่รับ อย่างนี้มันก็เสริมซึ่งกันและกัน ไม่ใช่ฉุดขากันและกัน
- วันนี้สังคมแบ่งแยกทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งไม่เอาประชาธิปัตย์ ฝ่ายหนึ่งไม่เอาเพื่อไทยและคุณทักษิณ จะมีโมเดลอะไรที่ทำให้คนหันกลับมาปรองดองได้ไหม
ไม่เอาก็ ไม่เอาต่อไป คำว่าปรองดองกับสมานฉันท์คนละระดับ สมานฉันท์ต้องเห็นเหมือนกันหมด แต่ก่อนอื่น ผมอยากใช้คำว่าคืนดีก่อน คือไม่โกรธ ไม่เกลียด ทำใจให้มันสบาย ๆ ยอมพูดยอมจากัน เพราะเราอยู่สังคมเดียวกัน จากนั้นก็วางระบบไปด้วยกันได้ ส่วนสมานฉันท์เฉพาะบางเรื่องใหญ่ ๆ ที่เห็นตรงกัน เช่น เห็นด้วยเรื่องประชาธิปไตย แต่รายละเอียดเห็นต่างกันไม่เป็นไร ยังคุยกันได้ คืนดี ปรองดอง แล้วมาสมานฉันท์ในบางเรื่อง
- แต่คืนดีก็ต้องมีคนยื่นมือออกไปก่อน ใครคือคนนั้น
ใคร ก็ได้ ขออย่าให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิเสธก็พอ ถึงเขาปฏิเสธก็ช่างเขาเถอะ คุณทะเลาะกับภรรยา คุณตั้งสติหายโกรธ แต่ไม่ง้อรอให้เขายื่นมือมาก่อน อาจทำให้ยิ่งมึนตึงเหินห่าง หย่าร้างกันเลยก็ได้ แต่ถ้าตั้งสติได้ คุณยื่นมือไปก่อน ใครมีสติในเรื่องไหน ก็ขอคืนดีด้วย ไม่เป็นไรหรอก
- นายกฯยิ่งลักษณ์ประกาศยอมยุบสภา ลาออก ถ้าม็อบยุติ ถือเป็นการคืนดีไหม
ถือเป็นการยื่นมือนะ
- แต่ กปปส.ปฏิเสธแล้วจะทำยังไง
ถ้า ทะเลาะกับภรรยา ง้อทีแรก เขายังโกรธอยู่ แล้วทำยังไง ตบเขาเลยดีไหม ก็ไม่ใช่ เฉย ๆ ไว้ก่อน รอให้อารมณ์มันลดลงหน่อย อันนี้ทางการเมือง 2 ก๊กทะเลาะกัน ก๊กนี้โอนอ่อนหน่อย ไอ้นี่ยังไม่ยอมเว้ย ไม่เป็นไรหรอก รอฟังเสียงประชาชนดู ผมไม่ถือว่า กปปส.ปฏิเสธ ไม่ดูดำดูดี ยังมีทางอยู่ พยายามต่อไป
- หมายความว่ารัฐบาลต้องง้อไปเรื่อย ๆ
ทำ ให้มันถูก ผ่อนปรน รับฟัง รัฐบาลมาทางนี้ ก็ทำต่อไป สมมติถ้าฟังเสียงประชาชนบอกว่า เนี่ย..ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผิดพลาด กลายเป็นชนวนลุกลามใหญ่โต อ้าว..ส.ส.คนที่ยื่นแก้ไขก็ออกมารับผิดชอบ นั่นแหละคนจุดชนวนตัวจริง ส.ส.คนอื่นไม่คัดค้านกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ก็เป็นคนจุดชนวนตัวที่สอง ก็ออกมาบอกสังคมว่าขอโทษนะ เราคิดว่าเรามีเจตนาดี คิดว่าจะตั้งต้นกันใหม่ จะได้คืนดีกัน แต่ที่ไหนได้ โกรธกันเป็นฟืนเป็นไฟ เราก็ต้องขอโทษด้วยอะไรทำนองนี้ เอาหลักจิตวิทยาธรรมดา ๆ
- วันนี้ไม่ใช่แค่รับผิดชอบเรื่องนิรโทษกรรม แต่ไปไกลถึงปฏิรูปประชาธิปไตย
เป็นเรื่องของรัฐบาลสิ (หัวเราะ) ทุกอย่างต้องเข้าลู่ประชาธิปไตย เชื่อในกลไกประชาธิปไตยก็เดินได้
- สรุปชวนให้ กปปส.กลับมาเข้าลู่
ถูกต้องเลย ก็ทุกคนพูดประชาธิปไตย ทุกคนก็บอกให้เคารพกฎหมาย นี่ไง ผมแปลที่ท่านพูดนั่นแหละ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น